อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า นิยามของคำว่า "สุขภาพแข็งแรง" ในเชิง Fitness ประกอบด้วยสมรรถนะร่างกาย 4 ประเภทด้วยกันคือ
- Endurance (ความทนทาน) การออกกำลังกายประเภท Cardio ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปทั้งการ วิ่ง ว่ายน้ำ โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ปอดและหัวใจ
- Strength (ความแข็งแรง) หรือการฝึกร่างกายแบบ Resistance Training มักนิยมในรูปแบบของ Body Weight หรือ Weight Training เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือเพื่อสร้างกล้ามเนื้อในมีขนาดใหญ่ขึ้น
- Balance (การทรงตัว) ในประเภทนี้โดยส่วนตัว ยอมรับว่าไม่ได้ให้ความสำคัญและไม่มีข้อมูลในการฝึกที่ชัดเจนนัก หากเพื่อนๆสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ขอความกรุณาด้วยครับ
- Flexibility (ความยืดหยุ่น) เช่นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผู้ออกกำลังกายที่ดีมักให้ความสำคัญกับการทำ Dynamic Stretching และ Static Stretching เป็นประจำอยู่แล้ว จึงเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายในทุกประเภท
อย่างไรก็ตามด้วยกระแสหลักของการออกกำลังกายทุกวันนี้เรามักพบว่า การออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายที่แตกต่างกันเช่น เพื่อสุขภาพ ลดความอ้วน หรือเพื่อลงสนามตามงานต่างๆ
ซึ่งในกลุ่มที่นิยมการวิ่งเป็นประจำมักพบว่า บางคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายประเภท Resistance Training ควบคู่กันไปแต่ในความเป็นจริงการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อการวิ่งเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการ Sprint หรือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ (จากประสบการณ์ตรง ส่วนตัวแล้วผมออกกำลังกายแบบ Weight training เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายคือเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ในช่วง Bulk up ที่เพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นมา 90กิโล+ โดยก่อนหน้าจะมีการฝึกกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ เมื่อเข้าสู่ช่วง Lean เพิ่มตารางการทำ Cardio โดยการวิ่งคุมโซนจะไม่มีปัญหาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าหรือขา)
นอกจากนี้ยังพบว่าบางกลุ่มมักมี "อคติ" กับการออกกำลังกายประเภทอื่นๆที่ไม่ใช่กระแสหลัก ผ่านประโยคที่ว่า
"ยกเวททำไม อยากผอมทำไมไม่ไปวิ่ง ว่ายน้ำ"
หรือ "อยากหุ่นดีต้องวิ่ง" ทั้งที่ความจริงแล้ว ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการวิ่งอย่างเดียวหุ่นมักจะเป็นประเภท Skinny หรือ Skinny Fat เสียมากกว่า เพราะบางคนมองข้ามโภชนาการ และการออกกำลังกายแบบแรงต้าน จึงทำให้การวิ่งที่มากเกินพอดีเช่นกันการวิ่งในระยะเวลาที่มากเกินไป เช่นการวิ่งมาราธอน ที่ร่างกายสลายกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานเพราะบริโภคสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอ เป็นต้น (นิยามหุ่นดีน่าจะหมายถึง สรีระที่บ่งบอกความเป็นเพศของตนผ่านทางร่างกายอย่างชัดเจนเช่น ผู้ชายมีไหล่กว้าง มีแผงอก หรือหลังเป็นทรงปิรามิดคว่ำ ผู้หญิงมีก้นกลมงอน มีต้นขาที่กระชับเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการวิ่งอย่างเดียวไม่สามารถให้ผลลัพธ์ทำนองนี้ได้อย่างแน่นอนจึงต้องมีการ Weight Training เข้ามาช่วย)
จุดประสงค์หลักของการตั้งกระทู่นี้นอกจากตั้งคำถาม ผมไม่ได้มีเจตนาเปรียบเทียบว่าการออกกำลังกายประเภทไหนดีกว่ากัน แต่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีควรจัดตารางให้มีความหลากหลาย ให้ความสำคัญกับโภชนาการและการพักผ่อนอย่างสมดุลกัน มากกว่าที่จะออกกำลังกายประเภทใดประเภทหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
เป็นกระทู่แรกที่ตั้งคำถามในเชิงสุขภาพและการออกกำลังกาย หากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ
ทำไมกระแสหลักของการออกกำลังกายในประเทศไทยมักนิยม Endurance Exercise มากกว่าการออกกำลังกายประเภทอื่น
- Endurance (ความทนทาน) การออกกำลังกายประเภท Cardio ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปทั้งการ วิ่ง ว่ายน้ำ โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ปอดและหัวใจ
- Strength (ความแข็งแรง) หรือการฝึกร่างกายแบบ Resistance Training มักนิยมในรูปแบบของ Body Weight หรือ Weight Training เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือเพื่อสร้างกล้ามเนื้อในมีขนาดใหญ่ขึ้น
- Balance (การทรงตัว) ในประเภทนี้โดยส่วนตัว ยอมรับว่าไม่ได้ให้ความสำคัญและไม่มีข้อมูลในการฝึกที่ชัดเจนนัก หากเพื่อนๆสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ขอความกรุณาด้วยครับ
- Flexibility (ความยืดหยุ่น) เช่นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ผู้ออกกำลังกายที่ดีมักให้ความสำคัญกับการทำ Dynamic Stretching และ Static Stretching เป็นประจำอยู่แล้ว จึงเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายในทุกประเภท
อย่างไรก็ตามด้วยกระแสหลักของการออกกำลังกายทุกวันนี้เรามักพบว่า การออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายที่แตกต่างกันเช่น เพื่อสุขภาพ ลดความอ้วน หรือเพื่อลงสนามตามงานต่างๆ
ซึ่งในกลุ่มที่นิยมการวิ่งเป็นประจำมักพบว่า บางคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายประเภท Resistance Training ควบคู่กันไปแต่ในความเป็นจริงการเสริมสร้างกล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อการวิ่งเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องการ Sprint หรือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ (จากประสบการณ์ตรง ส่วนตัวแล้วผมออกกำลังกายแบบ Weight training เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายคือเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ในช่วง Bulk up ที่เพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นมา 90กิโล+ โดยก่อนหน้าจะมีการฝึกกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ เมื่อเข้าสู่ช่วง Lean เพิ่มตารางการทำ Cardio โดยการวิ่งคุมโซนจะไม่มีปัญหาอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าหรือขา)
นอกจากนี้ยังพบว่าบางกลุ่มมักมี "อคติ" กับการออกกำลังกายประเภทอื่นๆที่ไม่ใช่กระแสหลัก ผ่านประโยคที่ว่า
"ยกเวททำไม อยากผอมทำไมไม่ไปวิ่ง ว่ายน้ำ"
หรือ "อยากหุ่นดีต้องวิ่ง" ทั้งที่ความจริงแล้ว ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการวิ่งอย่างเดียวหุ่นมักจะเป็นประเภท Skinny หรือ Skinny Fat เสียมากกว่า เพราะบางคนมองข้ามโภชนาการ และการออกกำลังกายแบบแรงต้าน จึงทำให้การวิ่งที่มากเกินพอดีเช่นกันการวิ่งในระยะเวลาที่มากเกินไป เช่นการวิ่งมาราธอน ที่ร่างกายสลายกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานเพราะบริโภคสารอาหารประเภทโปรตีนไม่เพียงพอ เป็นต้น (นิยามหุ่นดีน่าจะหมายถึง สรีระที่บ่งบอกความเป็นเพศของตนผ่านทางร่างกายอย่างชัดเจนเช่น ผู้ชายมีไหล่กว้าง มีแผงอก หรือหลังเป็นทรงปิรามิดคว่ำ ผู้หญิงมีก้นกลมงอน มีต้นขาที่กระชับเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการวิ่งอย่างเดียวไม่สามารถให้ผลลัพธ์ทำนองนี้ได้อย่างแน่นอนจึงต้องมีการ Weight Training เข้ามาช่วย)
จุดประสงค์หลักของการตั้งกระทู่นี้นอกจากตั้งคำถาม ผมไม่ได้มีเจตนาเปรียบเทียบว่าการออกกำลังกายประเภทไหนดีกว่ากัน แต่การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีควรจัดตารางให้มีความหลากหลาย ให้ความสำคัญกับโภชนาการและการพักผ่อนอย่างสมดุลกัน มากกว่าที่จะออกกำลังกายประเภทใดประเภทหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
เป็นกระทู่แรกที่ตั้งคำถามในเชิงสุขภาพและการออกกำลังกาย หากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ