การเจริญสมถะพร้อมกับเจริญวิปัสสนา
ให้ถึงเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เริ่มด้วย การทำใจให้เป็นกุศล
ศึกษาลมหายใจเข้าออก จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ
ทำสมาธิจนกระทั่งสมาธิแนบแน่น
อยู่กับกายกับจิต คือจิตตั้งมั่น
ไม่ซัดส่ายไปมา จนกระทั่งอยู่ในอารมณ์เดียว
เมื่อจิตเกิดวิตก คือตรึกในข้อธรรมที่จิตรู้สึกอารมณ์นั้น
จิตก็จะวิจารณ์คือจิตจะยกอารมณ์นั้นมาตรอง
ก็จะเรียกจิตนี้ว่าเกิดปฐมฌาน
จิตเห็นอารมณ์ คือกิเลส นิวรณ์
จิตก็จะตรึก ตรอง ในนิวรณธรรม
จิตมีอารมณ์อยู่อารมณ์เดียวคือแนบแน่นในอารมณ์นิวรณ์
เช่นจิตเห็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน
จิตก็ตรึก ตรองอยู่ในอารมณ์ฟุ้งซ่าน ก็เป็นสมถะ เป็นฌาน
จิตมีสติก็ตรองอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้น
แรกๆจิตมีสติเห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นมีรุนแรงมาก
เกิดขึ้น
อารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นก็ยัง
ตั้งอยู่ คือยังมีมากอยู่
จิตมีสติเห็นอารมณ์ที่ฟุ้งซ่านนั้นตั้งอยู่
แล้ว จิต มีสติ ก็เห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นค่อยๆลดระดับลง
จนกระทั่งอารมณ์ฟุ้งซ่านั้น
หมดไป
จิตมี สติ เห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จากจิต เกิดวิปัสสนาญาณ
จิตก็จะมีอารมณ์ที่ละเอียด นิวรรธรรมก็ถูกระงับไปได้
จิตก็เกิดปิติซาบซ่าน ก็เกิดทุติยฌาน
ทุติยฌาน จิตจะมีปิติ เด่นชัด เป็นอารมณ์ที่แนบแน่น
จิตก็จะมีสติรู้ถึงปิติ เห็นการเปลี่ยนแปลงที่กายที่ใจ
เห็นนิมิต นิมิต มีทั้งรูป นาม
เกิดปิติกาย ก็เป็นนิมิตทางรูป คือขนลุก ขนพอง ตัวสั่น
ตังแข็ง ตัวเบา ฟันใหญ่เท่าจอบ ปากหนา ปากยื่น ไปหาแสง ที่ตนเห็นนิมิต
ตัวติดกับพื้นเหมือนรากไม้เป็นเนื้อเดียวกัน
รู้สึกว่าตัวลอยได้ ตัวหมุนได้ ตัวใหญ่เท่าภูเขา
ตัวยืดสูงเท่าบ้าน
เกิดปิติที่ใจก็เป็นนิมิตทางนาม คือใจซาบซ่าน ใจสั่นระริก
ใจวาบหวิว ใจจะหลุดออกไปจากกาย ใจจะเสียดายในตน
ใจจะเสียดายในขันธ์5 ใจเกิดเป็นห่วง
เมื่อเกิดธรรมเหล่านี้
จิตจะมีสติรู้ เห็นอารมณ์ปิติเหล่านี้แปรเปลี่ยนไป ทุกขณะจิต
ตามกาลเวลา จิตก็จะเห็นปิติเหล่านี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตจะเกิดปัญญา ว่า
ธรรมะ ปิติเหล่านี้ที่เรามีอารมณ์รู้สึกอยู่ในปัจจุบัน
ไม่เที่ยง เป็นปรมัติอารมณ์แบบนี้นี่เอง
แปรเปลี่ยนไปทุกขณะจิต ทุกเวลา
จิตก็จะไม่สงสัยในธรรม ไม่สงสัยในปิติว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ไม่ไปยึดติดในปิติ เพราะเห็นว่ายึดติดไม่ได้
เพราะธรรมเหล่าย่อมที่จะเกิดขี้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา
ถ้าไปยึดก็จะเกิดตัวตนขึ้นมา เป็นการไปห่วงหาอาธรในปิติ
จิตก็จะละเอียดขึ้นอีกระดับ จนไม่มีปิติ จิตก็จะแนบแน่นอยู่ที่สุข
เป็นตติยฌาน เพราะมีปิติ จะมีสุขด้วย มีสุข ไม่มีปิติ ก็ได้
ตติยฌานจิตจะเป็นสุข จิตจะยึดแนบแน่นที่ความสุข กาย สุขใจ
สุขในสมาธิ เพราะสบายกาย สบายใจ
ทำให้กายเบา ใจเบา จิตเป็นบุญ ก็เกิดสุขใจ
เพราะจิตไม่มีปิติ เหลือแต่สุขเป็นอารมณที่แนบแน่น
จิตจะมีสติรู้เห็นว่า สุขได้เกิดขึ้น และตั้งอยู่แบบนั้น
จนสุขหมดไป จิตก็จะไม่หลงสุข ไม่ยึดสุข ไม่ติดสุข
เพราะจิตมีสติเห็นอารมณ์สุข ที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะจิต
ทุกขเวลา จิตเห็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง จิตเห็นทุกข์
ที่รู้สึกว่าสุขฃจิตเห็นว่า สุขในสมาธิก็ไม่เที่ยง
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จิตก็เลยไม่ยึดสุข
เมื่อจิตปล่อยวางสุข จิตก็ว่าง เกิดเอกัคคตารมณ์
มีอารมณ์เดียว เป็นเลิศ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง
ใจผุผ่อง คือมีสติบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
มีปัญญาผุดผ่อง เห็นธรรมะทั้งหลาย ได้ผุดผ่อง
จิตก็เกิดจตุตฌาน
เจริญสมถะ พร้อมกับเจริญวิปัสสนา
ให้ถึงเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
เริ่มด้วย การทำใจให้เป็นกุศล
ศึกษาลมหายใจเข้าออก จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ
ทำสมาธิจนกระทั่งสมาธิแนบแน่น
อยู่กับกายกับจิต คือจิตตั้งมั่น
ไม่ซัดส่ายไปมา จนกระทั่งอยู่ในอารมณ์เดียว
เมื่อจิตเกิดวิตก คือตรึกในข้อธรรมที่จิตรู้สึกอารมณ์นั้น
จิตก็จะวิจารณ์คือจิตจะยกอารมณ์นั้นมาตรอง
ก็จะเรียกจิตนี้ว่าเกิดปฐมฌาน
จิตเห็นอารมณ์ คือกิเลส นิวรณ์
จิตก็จะตรึก ตรอง ในนิวรณธรรม
จิตมีอารมณ์อยู่อารมณ์เดียวคือแนบแน่นในอารมณ์นิวรณ์
เช่นจิตเห็นอารมณ์ฟุ้งซ่าน
จิตก็ตรึก ตรองอยู่ในอารมณ์ฟุ้งซ่าน ก็เป็นสมถะ เป็นฌาน
จิตมีสติก็ตรองอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้น
แรกๆจิตมีสติเห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นมีรุนแรงมาก เกิดขึ้น
อารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นก็ยังตั้งอยู่ คือยังมีมากอยู่
จิตมีสติเห็นอารมณ์ที่ฟุ้งซ่านนั้นตั้งอยู่
แล้ว จิต มีสติ ก็เห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นค่อยๆลดระดับลง
จนกระทั่งอารมณ์ฟุ้งซ่านั้นหมดไป
จิตมี สติ เห็นอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จากจิต เกิดวิปัสสนาญาณ
จิตก็จะมีอารมณ์ที่ละเอียด นิวรรธรรมก็ถูกระงับไปได้
จิตก็เกิดปิติซาบซ่าน ก็เกิดทุติยฌาน
ทุติยฌาน จิตจะมีปิติ เด่นชัด เป็นอารมณ์ที่แนบแน่น
จิตก็จะมีสติรู้ถึงปิติ เห็นการเปลี่ยนแปลงที่กายที่ใจ
เห็นนิมิต นิมิต มีทั้งรูป นาม
เกิดปิติกาย ก็เป็นนิมิตทางรูป คือขนลุก ขนพอง ตัวสั่น
ตังแข็ง ตัวเบา ฟันใหญ่เท่าจอบ ปากหนา ปากยื่น ไปหาแสง ที่ตนเห็นนิมิต
ตัวติดกับพื้นเหมือนรากไม้เป็นเนื้อเดียวกัน
รู้สึกว่าตัวลอยได้ ตัวหมุนได้ ตัวใหญ่เท่าภูเขา
ตัวยืดสูงเท่าบ้าน
เกิดปิติที่ใจก็เป็นนิมิตทางนาม คือใจซาบซ่าน ใจสั่นระริก
ใจวาบหวิว ใจจะหลุดออกไปจากกาย ใจจะเสียดายในตน
ใจจะเสียดายในขันธ์5 ใจเกิดเป็นห่วง
เมื่อเกิดธรรมเหล่านี้
จิตจะมีสติรู้ เห็นอารมณ์ปิติเหล่านี้แปรเปลี่ยนไป ทุกขณะจิต
ตามกาลเวลา จิตก็จะเห็นปิติเหล่านี้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จิตจะเกิดปัญญา ว่า
ธรรมะ ปิติเหล่านี้ที่เรามีอารมณ์รู้สึกอยู่ในปัจจุบัน
ไม่เที่ยง เป็นปรมัติอารมณ์แบบนี้นี่เอง
แปรเปลี่ยนไปทุกขณะจิต ทุกเวลา
จิตก็จะไม่สงสัยในธรรม ไม่สงสัยในปิติว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ไม่ไปยึดติดในปิติ เพราะเห็นว่ายึดติดไม่ได้
เพราะธรรมเหล่าย่อมที่จะเกิดขี้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา
ถ้าไปยึดก็จะเกิดตัวตนขึ้นมา เป็นการไปห่วงหาอาธรในปิติ
จิตก็จะละเอียดขึ้นอีกระดับ จนไม่มีปิติ จิตก็จะแนบแน่นอยู่ที่สุข
เป็นตติยฌาน เพราะมีปิติ จะมีสุขด้วย มีสุข ไม่มีปิติ ก็ได้
ตติยฌานจิตจะเป็นสุข จิตจะยึดแนบแน่นที่ความสุข กาย สุขใจ
สุขในสมาธิ เพราะสบายกาย สบายใจ
ทำให้กายเบา ใจเบา จิตเป็นบุญ ก็เกิดสุขใจ
เพราะจิตไม่มีปิติ เหลือแต่สุขเป็นอารมณที่แนบแน่น
จิตจะมีสติรู้เห็นว่า สุขได้เกิดขึ้น และตั้งอยู่แบบนั้น
จนสุขหมดไป จิตก็จะไม่หลงสุข ไม่ยึดสุข ไม่ติดสุข
เพราะจิตมีสติเห็นอารมณ์สุข ที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะจิต
ทุกขเวลา จิตเห็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง จิตเห็นทุกข์
ที่รู้สึกว่าสุขฃจิตเห็นว่า สุขในสมาธิก็ไม่เที่ยง
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จิตก็เลยไม่ยึดสุข
เมื่อจิตปล่อยวางสุข จิตก็ว่าง เกิดเอกัคคตารมณ์
มีอารมณ์เดียว เป็นเลิศ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง
ใจผุผ่อง คือมีสติบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
มีปัญญาผุดผ่อง เห็นธรรมะทั้งหลาย ได้ผุดผ่อง
จิตก็เกิดจตุตฌาน