ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ทาง กสทช. กับทาง อย. จะเริ่มตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาที่ผิดกฏหมาย และโฆษณาเกินจริงทางเวบไซต์ เพื่อระงับการเผยแพร่โฆษณาดังกล่าวทางสื่อออนไลน์ หลังจากที่ผ่านมาตรวจสอบเฉพาะการโฆษณาผ่านหน้าจอโทรทัศน์ และวิทยุเท่านั้น
การดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และเจ้าหน้าที่ อย. ซึ่งปัจจุบันทาง อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมกับ กสทช. 6 คน แต่ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป จะส่งเจ้าหน้าที่มาเพิ่มอีก 6 คน เพื่อตรวจสอบทางอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปด้วย
ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบนั้น จะเป็นการเปิดเวบไซต์ต่าง ๆ และการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด อาทิเช่น ยาลดความอ้วน ยาลดน้ำหนัก ฯลฯ และเมื่อทางเจ้าหน้าที่ อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาผิดกฎหมาย หรือโฆษณาเกินจริง จะแจ้งเป็น URL และส่งต่อให้ทาง กสทช. แจ้งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ระงับเนื้อหาหรือโฆษณาจาก URL นั้นภายใน 2-3 วัน
หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ให้ความร่วมมือ จะมีโทษทางปกครอง คือ ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ที่มา :
https://www.marketingoops.com/news/biz-news/nbtc/
“สำนักงาน กสทช.” และ “อย.” เร่งระงับการโฆษณาผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือโฆษณาเกินจริง โดย อย. พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาที่ กสทช. หากผิดพร้อมออกคำสั่งระงับทันที
เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า จากนี้สำนักงาน กสทช. และ อย. จะทำงานร่วมกันโดยจะมีเจ้าหน้าที่จาก อย. มาประจำการที่ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ (โซเชียลมีเดีย) ที่ผิดกฎหมาย ที่สำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ผ่าน อย. และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาผ่านสถานีโทรทัศน์ หากพบว่ามีโฆษณาใดที่ผิดกฎหมาย อย. จะทำหนังสือแจ้งมาเพื่อให้เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งระงับโฆษณานั้นเป็นการชั่วคราว แล้วส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการกระทำอันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และ กสทช. ตามลำดับ จนกว่าผลการพิจารณาจะเป็นข้อยุติ
ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5(2) ที่ระบุว่าการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้าโดยหลอกลวง หรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูลอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับวันละ 100,000 บาท
เลขาธิการ อย. ขอย้ำเตือนมายังผู้บริโภค ไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนยาหรือสารอันตรายที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ ส่วนเครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาดและสวยงามเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของร่างกายได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณที่อวดอ้าง เกินความจริงทางสื่อต่าง ๆ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายโดยคาดไม่ถึง
หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556, อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th, รองเรียน ผาน Oryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์ ศรป. อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน กสทช. 1200
ที่มา :
https://www.nbtc.go.th/News/Press-Center/32122.aspx
ถึงคิวสื่อออนไลน์ "กสทช. – อย." ดีเดย์ 15 พ.ค.นี้ ตรวจเข้มโฆษณาเกินจริง
ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ทาง กสทช. กับทาง อย. จะเริ่มตรวจสอบเนื้อหาโฆษณาที่ผิดกฏหมาย และโฆษณาเกินจริงทางเวบไซต์ เพื่อระงับการเผยแพร่โฆษณาดังกล่าวทางสื่อออนไลน์ หลังจากที่ผ่านมาตรวจสอบเฉพาะการโฆษณาผ่านหน้าจอโทรทัศน์ และวิทยุเท่านั้น
การดำเนินการครั้งนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กสทช. และเจ้าหน้าที่ อย. ซึ่งปัจจุบันทาง อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมกับ กสทช. 6 คน แต่ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป จะส่งเจ้าหน้าที่มาเพิ่มอีก 6 คน เพื่อตรวจสอบทางอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปด้วย
ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบนั้น จะเป็นการเปิดเวบไซต์ต่าง ๆ และการค้นหาผ่านคีย์เวิร์ด อาทิเช่น ยาลดความอ้วน ยาลดน้ำหนัก ฯลฯ และเมื่อทางเจ้าหน้าที่ อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาผิดกฎหมาย หรือโฆษณาเกินจริง จะแจ้งเป็น URL และส่งต่อให้ทาง กสทช. แจ้งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ระงับเนื้อหาหรือโฆษณาจาก URL นั้นภายใน 2-3 วัน
หากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ให้ความร่วมมือ จะมีโทษทางปกครอง คือ ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี
ที่มา : https://www.marketingoops.com/news/biz-news/nbtc/
“สำนักงาน กสทช.” และ “อย.” เร่งระงับการโฆษณาผิดกฎหมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือโฆษณาเกินจริง โดย อย. พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาที่ กสทช. หากผิดพร้อมออกคำสั่งระงับทันที
เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า จากนี้สำนักงาน กสทช. และ อย. จะทำงานร่วมกันโดยจะมีเจ้าหน้าที่จาก อย. มาประจำการที่ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ (โซเชียลมีเดีย) ที่ผิดกฎหมาย ที่สำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ผ่าน อย. และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาผ่านสถานีโทรทัศน์ หากพบว่ามีโฆษณาใดที่ผิดกฎหมาย อย. จะทำหนังสือแจ้งมาเพื่อให้เลขาธิการ กสทช. มีคำสั่งระงับโฆษณานั้นเป็นการชั่วคราว แล้วส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการกระทำอันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และ กสทช. ตามลำดับ จนกว่าผลการพิจารณาจะเป็นข้อยุติ
ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ข้อ 5(2) ที่ระบุว่าการออกอากาศรายการหรือการโฆษณาที่มีเนื้อหาสาระในลักษณะเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการหรือสินค้าโดยหลอกลวง หรือกระทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับบริการหรือสินค้านั้น หรือโดยการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือข้อมูลอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับวันละ 100,000 บาท
เลขาธิการ อย. ขอย้ำเตือนมายังผู้บริโภค ไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่า อาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้ เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนยาหรือสารอันตรายที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ ส่วนเครื่องสำอางมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะอาดและสวยงามเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของร่างกายได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณที่อวดอ้าง เกินความจริงทางสื่อต่าง ๆ นอกจากจะเสียเงินโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจได้รับอันตรายโดยคาดไม่ถึง
หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน อย. 1556, อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th, รองเรียน ผาน Oryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์ ศรป. อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน กสทช. 1200
ที่มา : https://www.nbtc.go.th/News/Press-Center/32122.aspx