มาช่วยกันแจ้งเบาะแส โฆษณาเกินจริง กันค่ะ
จะเจอจากช่องทางไหน เอามาแชร์กันนะคะ
มีวิธีการสังเกต ว่า
โฆษณาเกินจริง มาฝากด้วยนะคะ
วิธีสังเกตคำ โฆษณาเกินจริง ของอาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่ปรากฏทางทีวี
โฆษณาเกินจริง บนสื่อโทรทัศน์ ที่เป็นประเด็นร้อนในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง กสทช. โดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ได้จัดทำ Infographic ในเรื่อง รู้เท่าทันโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ระวังคำโฆษณาเกินจริง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของคุณเอง
โดยการตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องดูที่ “เลขที่อนุญาตโฆษณา” ซึ่งแบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง
1. อาหาร
ต้องสังเกต ฆอ. …/…. โดยการโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณ ต้องขออนุญาตโฆษณา
2. ยา
ต้องสังเกต ฆท. …./…. โดยต้องมีเลขที่อนุญาตโฆษณาด้วย
3. เครื่องสำอาง
ไม่ต้องขออนุญาตโฆษณา โฆษณาได้แต่ต้องไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในสารสำคัญของเครื่องสำอาง
ข้อสังเกตว่าเป็น โฆษณาเกินจริง
โฆษณาอาหาร ต้องไม่แสดงสรรพคุณเรื่องการรักษาโรค และ สรรพคุณทางเวชสำอาง เช่น ทำให้ผิวขาวขึ้น ลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน หรือ รักษาโรคได้ครอบจักรวาลอกฟูรูฟิต ระงับกลิ่น หน้าอกเต่งตึง
โฆษณายา ต้องไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง เช่น บำบัดรักษาโรคให้หายขาด รักษาโรคเรื้องรังร้านแรงได้ เช่นมะเร็ง โรคหัวใจ เสริมสมรรถภาพทางเพศ
โฆษณาเครื่องสำอาง ต้องไม่แสดงสรรพคุณเกินจริง เช่นผิวขาวภายใน 7 วัน หน้าเรียวเด้งภายใน 1 นาที ลดสิวภายใน 3 วัน ใช้แล้วเสริมอำนาจ บารมี เงินทอง เรียกเสน่ห์ พูดอะไรก็เชื่อ
ทั้งนี้ โฆษณาเกินจริง และเป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง ถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค
หากพบโฆษณาเข้าข่าย โอ้อวดเกินจริง ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์
สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ สายด่วน กสทช. Call Center 1200 (โทรฟรี)#หยุดโฆษณาเกินจริง #ผู้บริโภคสื่อ #วิทยุ #โทรทัศน์
แบบไหนทีเรียกว่า โฆษณาเกินจริง มาลองดูกันแบบแบ่งตามระเภทผลิตภัณฑ์ อาหาร ยา เครื่องสำอาง
มาช่วยกันแจ้งเบาะแส โฆษณาเกินจริง กันค่ะ
จะเจอจากช่องทางไหน เอามาแชร์กันนะคะ
มีวิธีการสังเกต ว่า โฆษณาเกินจริง มาฝากด้วยนะคะ
วิธีสังเกตคำ โฆษณาเกินจริง ของอาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่ปรากฏทางทีวี
โฆษณาเกินจริง บนสื่อโทรทัศน์ ที่เป็นประเด็นร้อนในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง กสทช. โดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ได้จัดทำ Infographic ในเรื่อง รู้เท่าทันโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ระวังคำโฆษณาเกินจริง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของคุณเอง
โดยการตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องดูที่ “เลขที่อนุญาตโฆษณา” ซึ่งแบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง
1. อาหาร
ต้องสังเกต ฆอ. …/…. โดยการโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณ ต้องขออนุญาตโฆษณา
2. ยา
ต้องสังเกต ฆท. …./…. โดยต้องมีเลขที่อนุญาตโฆษณาด้วย
3. เครื่องสำอาง
ไม่ต้องขออนุญาตโฆษณา โฆษณาได้แต่ต้องไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในสารสำคัญของเครื่องสำอาง
ข้อสังเกตว่าเป็น โฆษณาเกินจริง
โฆษณาอาหาร ต้องไม่แสดงสรรพคุณเรื่องการรักษาโรค และ สรรพคุณทางเวชสำอาง เช่น ทำให้ผิวขาวขึ้น ลดความอ้วน ลดไขมันส่วนเกิน หรือ รักษาโรคได้ครอบจักรวาลอกฟูรูฟิต ระงับกลิ่น หน้าอกเต่งตึง
โฆษณายา ต้องไม่แสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง เช่น บำบัดรักษาโรคให้หายขาด รักษาโรคเรื้องรังร้านแรงได้ เช่นมะเร็ง โรคหัวใจ เสริมสมรรถภาพทางเพศ
โฆษณาเครื่องสำอาง ต้องไม่แสดงสรรพคุณเกินจริง เช่นผิวขาวภายใน 7 วัน หน้าเรียวเด้งภายใน 1 นาที ลดสิวภายใน 3 วัน ใช้แล้วเสริมอำนาจ บารมี เงินทอง เรียกเสน่ห์ พูดอะไรก็เชื่อ
ทั้งนี้ โฆษณาเกินจริง และเป็นเท็จ โอ้อวดเกินจริง ถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค
หากพบโฆษณาเข้าข่าย โอ้อวดเกินจริง ผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์
สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ สายด่วน กสทช. Call Center 1200 (โทรฟรี)#หยุดโฆษณาเกินจริง #ผู้บริโภคสื่อ #วิทยุ #โทรทัศน์