สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
คือว่า พวกอาหารกล่องแบบนั้น ในการผลิตนอกจากจะจะมีการใส่เครื่องปรุงที่มีความเค็มแล้ว
ยังจะมีการใส่ วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ที่มี Sodium เป็นส่วนประกอบด้วยครับ
โดยที่ ความเค็ม ในอาหารจะมาจาก เกลือแกง น้ำปลา ซีอิ้ว .... ซึ่งพวกของเค็มเหล่านี้
ก็คือ sodium chloride (NaCl) นั่นเองครับ แต่ .... ความเค็มไม่ได้มาจาก Sodium นะครับ
แต่มาจาก Chloride (ในเกลือแกง จะมี sodium 40% และ chloride 60%)
พวกสาร food additive ที่ ไม่เค็ม เหล่านี้นี่เอง ที่เป็นตัวการที่ทำให้อาหารกล่องมี Sodium สูงครับ
ขอยกตัวอย่างสารที่เจอบ่อยในอาหารกล่องบ้านเรา ....
Sodium acetate – วัตถุกันเสีย , รักษาความเป็นกรด
Sodium alginate – สารเพิ่มความข้นเหนียว , สารให้ความคงตัว
Sodium aluminosilicate - สารที่ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
Sodium benzoate – สารกันบูด
Sodium citrates – ควบคุมความเป็นกรด (ใส่มากใน วุ้น แยม ขนมหนืด ๆ)
Sodium metabisulfite – สารฟอกขาว
Sodium nitrate – สารกันบูด , สารทำให้สีคงตัว
Sodium sorbate – สารยับยั้งเชื้อรา
food additive ข้างต้น เป็นสารเคมีที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลครับ
ผู้ผลิตสามารถใส่ลงมาในอาหารได้ .... แต่ เป็นหน้าที่ของตัวเราเองที่จะต้องดู
ปริมาณ Sodium ที่บรรจุภัณฑ์อาหาร ว่าเราจะกินได้มากเท่าใดต่อ 1 วัน
อาหารบางอย่าง เช่น ขนมปังปอนด์ชิ้นใหญ่ ๆ สไตล์ฝรั่งเศสที่ขายกันตามร้านดี ๆ
แบบนั้นก็ Sodium สูงนะครับ ถึงแม้ว่าจะจืดสนิท หอม มัน แต่กลับมี sodium สูง
เนื่องจากใส่ food additive มากนั่นเอง
ขอแถมอีกเรื่อง .... อาหารบางอย่างที่เป็นสูตร Low sodium แต่ยังคงความอร่อยได้
เพราะเค้าใช้ Potassium chloride แทน NaCl ครับ ดังนั้นจึงปรุงให้เค็มกลมกล่อมได้เหมือนเดิม
แต่ sodium ต่ำ ไปเพิ่ม potassium แทน (ซึ่งดีกว่า แต่รสอาจแปลก ๆ ไปได้)
ยังจะมีการใส่ วัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ที่มี Sodium เป็นส่วนประกอบด้วยครับ
โดยที่ ความเค็ม ในอาหารจะมาจาก เกลือแกง น้ำปลา ซีอิ้ว .... ซึ่งพวกของเค็มเหล่านี้
ก็คือ sodium chloride (NaCl) นั่นเองครับ แต่ .... ความเค็มไม่ได้มาจาก Sodium นะครับ
แต่มาจาก Chloride (ในเกลือแกง จะมี sodium 40% และ chloride 60%)
พวกสาร food additive ที่ ไม่เค็ม เหล่านี้นี่เอง ที่เป็นตัวการที่ทำให้อาหารกล่องมี Sodium สูงครับ
ขอยกตัวอย่างสารที่เจอบ่อยในอาหารกล่องบ้านเรา ....
Sodium acetate – วัตถุกันเสีย , รักษาความเป็นกรด
Sodium alginate – สารเพิ่มความข้นเหนียว , สารให้ความคงตัว
Sodium aluminosilicate - สารที่ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
Sodium benzoate – สารกันบูด
Sodium citrates – ควบคุมความเป็นกรด (ใส่มากใน วุ้น แยม ขนมหนืด ๆ)
Sodium metabisulfite – สารฟอกขาว
Sodium nitrate – สารกันบูด , สารทำให้สีคงตัว
Sodium sorbate – สารยับยั้งเชื้อรา
food additive ข้างต้น เป็นสารเคมีที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลครับ
ผู้ผลิตสามารถใส่ลงมาในอาหารได้ .... แต่ เป็นหน้าที่ของตัวเราเองที่จะต้องดู
ปริมาณ Sodium ที่บรรจุภัณฑ์อาหาร ว่าเราจะกินได้มากเท่าใดต่อ 1 วัน
อาหารบางอย่าง เช่น ขนมปังปอนด์ชิ้นใหญ่ ๆ สไตล์ฝรั่งเศสที่ขายกันตามร้านดี ๆ
แบบนั้นก็ Sodium สูงนะครับ ถึงแม้ว่าจะจืดสนิท หอม มัน แต่กลับมี sodium สูง
เนื่องจากใส่ food additive มากนั่นเอง
ขอแถมอีกเรื่อง .... อาหารบางอย่างที่เป็นสูตร Low sodium แต่ยังคงความอร่อยได้
เพราะเค้าใช้ Potassium chloride แทน NaCl ครับ ดังนั้นจึงปรุงให้เค็มกลมกล่อมได้เหมือนเดิม
แต่ sodium ต่ำ ไปเพิ่ม potassium แทน (ซึ่งดีกว่า แต่รสอาจแปลก ๆ ไปได้)
แสดงความคิดเห็น
อยากรู้เหตุผลว่า อาหารกล่องสำเร็จรูปที่เวฟแล้วทานได้เลย ทำไมต้องมีโซเดียมเยอะ
ขอเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หน่อย ว่าโซเดียมเยอะ / ความเค็ม มันช่วยอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในอาหารนี้บ้างครับ