สวัสดีค่ะ จากกระทู้ที่แล้ว จขกท เล่าเรื่องไทม์ไลน์การเตรียมตัวสมัครเรียนต่อไปแล้ว กระทู้นี้ตอนที่ 2 ก็เลยจะมาเล่าเรื่องตอนที่สมัครทุนต่างๆค่ะ ว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง เจออุปสรรค(ที่คาดคิดและไม่คาดคิด)อะไรบ้างนะคะ
โตแล้วไปไหน ตอนที่ 1: Timeline และรวมทุนเรียนฟรีในยุโรป
https://ppantip.com/topic/37552171
หลังจากได้ลิสต์เรียบร้อยว่ามีทุนอะไรเปิดบ้าง เราสนใจสมัครทุนไหนบ้าง เราก็จะต้องมา “เลือก” ก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ ว่าเราจะสมัครอะไรบ้าง การสมัครหว่านไปหลายๆที่ นอกจากจะทำให้ราเหนื่อย เปลืองเงิน เปลืองเวลาแล้ว จะทำให้เราโฟกัสในสิ่งที่เราต้องเรียนได้อย่างไม่เต็มที่ค่ะ เพราะเราต้องเขียนจดหมายแนะนำตัวเพื่อสมัครแต่ละที่ซึ่งไม่เหมือนกัน และเราก็ต้องขอจดหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษาหลายฉบับเช่นกันค่ะ
จขกท ทำการบ้านหลายอย่างค่ะ เข้าเว็บคณะฯ เว็บมหาวิทยาลัย เข้าเฟสบุคกลุ่ม ไลค์เพจของหลักสูตร เพื่อหาข้อมูลต่างๆ อาทิ
1. ดูเงื่อนไข ข้อผูกมัด ของทุน
2. ทุน(เงิน)ที่ได้ว่าพอหรือไม่ในการใช้ชีวิตในประเทศนั้นๆ (เพราะจขกทไม่มีเงินซัพพอร์ตตัวเองค่ะ อันนี้ถ้าใครพอมีเงิน หรือที่บ้านช่วยออกให้ก็อาจจะให้ความสำคัญน้อยลงไปได้ค่ะ)
3. เงื่อนไขการจบ เงื่อนไขการทำวิจัย
4. รายชื่ออาจารย์ จำนวนเปเปอร์ ชื่อเสียงหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เรียน คุณภาพหลักสูตร
5. และสุดท้ายเนื่องจากว่า พอเราจบ เราก็ต้องหางานทำ จขกท ก็เลยอยากได้ความคิดเห็นจากคนที่เรียนอยู่จริงๆค่ะ ว่าตอนเรียน อาจารย์สอนดีมั้ย มี connections เยอะมั้ย จบแล้วหางานทำง่ายหรือยาก ที่คณะฯช่วยหางานมั้ย ซึ่งอันนี้ถ้าเราเข้าเว็บคณะ ก็อาจจะมีแบบโฆษณา บางเว็บก็ไม่มีเลยค่ะ จขกท เลยใช้วิธีหาชื่อคนที่เคยเรียนจากหน้า alumni ของหลักสูตรนั้นแล้วเข้า Linkedin ไป search ชื่อมาเลยค่ะ แล้วส่งข้อความไปหาคนใน Linkedin ที่เรียนอยู่หรือจบจากหลักสูตรนี้ค่ะ (อันนี้ต้องเรียบเรียงดีๆนะคะ เราเขียนไปขอความช่วยเหลือจากเขา ไม่ได้เขียนไปสั่งเขาค่ะ เขียนไปดีก็มักจะได้คำตอบดีค่ะ) ส่วนใหญ่เขาก็ใจดีมาก ตอบมาเกือบทุกคนค่ะ
พอเลือกได้แล้วว่าจะสมัครที่ไหนบ้างในยุโรป ก็เริ่มทำการลิสต์ว่าเราต้องใช้อะไรบ้างในการสมัคร จขกท เลือกมาได้ 6 โปรแกรมค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องใช้หลักฐานในการสมัครคล้ายๆกัน(แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ) ดังนี้ค่ะ
1. Passport
2. CV/Resume หรือ ประวัติส่วนตัว
3. Transcript
4. ใบปริญญา (อันนี้ถ้าตันฉบับเป็นภาษาไทย ต้องแนบทั้งภาษาไทยและอังกฤษ)
5. Recommendation letters จากอาจารย์ และ/หรือ เจ้านาย (หากทำงานแล้ว)
6. Statement of Purpose (SoP)/ Personal Statement (PS)/ Motivation Letter หรือ จดหมายแนะนำตัวของเรานั่นเองค่ะ
7. คะแนน IELTS (บางที่ก็รับ Toefl) ส่วนใหญ่ถ้าเป็นทุนสายวิทย์ก็มักจะขั้นต่ำ 6.0 ค่ะ (ยกเว้นทุนที่การแข่งขันสูงหน่อย หรือมหาวิทยาลัย Rank สูงๆหน่อยก็จะสูงได้ถึง 7.0) และบางทีก็มีการกำหนดเพิ่มเติมด้วยว่าทุกสกิลต้อง 5.5 ขึ้นไปด้วย แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปนะคะ IETLS 6.0 ขึ้นไปไม่ใช่เรื่องยาก จขกท ผ่านมาได้ ทุกคนก็ทำได้ค่ะ จขกท เคยรีวิวการสอบและการอ่านหนังสือสอบ IELTS ไว้ที่
เล่าประสบการณ์สอบ IELTS (British Council) เตรียมตัวเอง ไม่ได้เรียนพิเศษค่ะ
https://ppantip.com/topic/36904704
รีวิวสอบ IELTS เพิ่ม Writing จาก 6.5 ไป 7.5 ในหนึ่งเดือน (อ่านเองค่ะ)
https://ppantip.com/topic/37166429
นอกจาก 6 อย่างนี้แล้วบางที่ก็จะต้องการเอกสารเพิ่มเติมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น
1. เอกสารคำอธิบายรายวิชา ว่าแต่ละวิชาที่เราเรียนมาใน transcript นั้นสอนเรื่องอะไรบ้าง (ลองกลับไปถามสำนักทะเบียนของที่ที่เราจบมานะคะ บางมหาวิทยาลัยมีค่ะ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่มี เราต้องเขียนเอง)
2. Sample of work งานที่เราเคยทำผ่านมา อาจจะเป็นงานวิจัยหรือโครงงาน มักจะให้สรุปสั้นๆว่าเตยทำวิจัยอะไร อย่างไร ได้ผลยังไง
3. ผลการเรียนระดับมัธยม!! อันนี้ จขกท ก็ตกใจค่ะ เพราะจขกท สมัครเรียนปโท ไม่คาดคิดว่าจะขอด้วย 555 แต่ก็ไปหามาได้ค่ะ กลับไปที่ รร มัธยมที่เรียนมา ใส่เสื้อขาว ถ่ายรูปสองนิ้วปัจจุบัน เสียค่าธรรมเนียมแล้วก็ได้มาค่ะ โชคดีที่โรงเรียน จขกท ออกมาให้เป็นภาษาอังกฤษเลย ก็เลยไม่ต้องเอาไปแปลอีก
4. Scholarship form คือคำถามที่เราต้องตอบเพิ่มเพื่อการขอทุนค่ะ ก็จะเป็นคำถามเฉพาะของแต่ะหลักสูตรนั้นค่ะ
เอาล่ะ ข้อ 1 Passport ก็คงง่าย ใครไม่มีก็ไปทำได้ที่กรมการกงสุลค่ะ จขกท นั่งรถเมล์ไปทำที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ(ที่อื่นก็มี) เสียค่าธรรมเนียม 1000 บาท เดี๋ยวนี้เค้ามีให้จองคิวล่วงหน้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไปถึงรอแป๊บเดียวค่ะ ถ่ายรูป เซ็นชื่อ จ่ายเงิน กลับบ้านมารอพาสปอร์ต สบายใจ
ข้อ 2 ประวัติส่วนตัว ก็ใส่ข้อมูลพวก Email ที่อยู่ การศึกษา(พร้อมเกรดเฉลี่ย) ผลงานที่ผ่านมา(งนวิจัย/thesis/workshop) รางวัลที่เคยได้ กิจกรรมที่เคยทำ(และเกี่ยวกับสาขาที่สมัคร) สกิลที่มี (เช่น เขียนโปรแกรม ภาษาอะไรได้บ้างก็ใส่ไปเลยค่ะ) การทำ CV ให้ดูสวย น่าสนใจ ไม่รก และดู professional นั้นสามารถหาตัวอย่างได้ในกูเกิ้ลค่ะ เข้าเว็บเสียตังค์ไปดูไอเดียแล้วกลับมาออกแบบ CV ของตัวเองได้เลยค่ะ จขกท แนะนำเว็บแจก icon ต่างๆฟรี เอามาทำ CV ตัวเองง่ายๆค่ะที่
https://iconmonstr.com และเว็บฟรีเวกเตอร์
https://www.freepik.com (ของฟรีแต่ต้องดูเงื่อนไขการให้เครดิตก่อนใช้นะคะ)
จขกท ทำ CV ขึ้นมาจากการดู requirement ของทุนโปรแกรมก่อนค่ะ ว่าเค้าอยากรู้จักเราตรงไหนบ้าง แล้วก็ทำ CV หลักขึ้นมา 1 ฉบับ หลังจากนั้นก็ดัดแปลง เปลี่ยนข้อความ เน้นคำให้ตรงจุดของแต่ละทุนที่เขาเปิดรับสมัครนะคะ สรุป จขกท ก็จะมี CV ที่จะใช้สมัครเรียน 6 ที่ 6 ฉบับ แต่หน้าตาคล้ายๆกัน
ข้อ 3 - 4 Transcript+Certificate อันนี้น่าจะง่ายสุด สแกนมาให้ชัดๆ พร้อมเตรียมขอเอกสารเพิ่มจากที่ที่เราจบมาได้เลยค่ะ จขกท ขอมาเพิ่มอย่างละ 4 ฉบับเลยเพราะบางมหาวิทยาลัยต้องการให้เราส่งใบเหล่านี้ฉบับจริงข้ามน้ำข้ามทะเลไปให้เขาด้วยค่ะ
ข้อ 5 Recommendation Letter อันนี้โปรแกรมนึงมักจะขอ 2 ฉบับ ก็คือต้องขอจากอาจารย์ 2 ท่าน (บางที่ถ้าสมัครทุนด้วยจะเพิ่มเป็น 3 ฉบับ) จขกท สมัคร 6 ที่ + สมัครทุนด้วย เลยต้องใช้ตั้ง 13 ฉบับ! จขกท ก็เลยต้องมานั่งคิดว่าจขกท จะขอจดหมายยังไงดี 555
โชคดีที่ตอนเรียน จขกท ค่อนข้างตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมหลายอย่างค่ะ เลยค่อนข้างสนิทกับอาจารย์หลายๆท่าน จขกท ก็เลยลิสต์ชื่ออาจารย์มาได้สี่ท่าน ที่ จขกท สนิทและอาจารย์ก็รู้จักและรู้นิสัยของ จขกท เป็นอย่างดี จขกท ค่อนข้างมั่นใจว่า recommendation letter ที่ได้จากอาจารย์ทั้งสี่ท่านนี้จะต้องช่วยส่งให้ จขกท ได้ที่เรียนดีๆแน่นอนค่ะ 555 อีกอย่างท่านก็สอนวิชาที่เกี่ยวกับสาขาที่ จขกท ต้องการสมัครพอดีด้วยค่ะ (อันนี้แนะนำสำหรับคนที่จะไปขอจดหมายนะคะ ว่าให้เลือกอาจารย์ที่คุณรู้จักดีและอาจารย์ก็รู้จักคุณ จดหมายจะได้มีความเฉพาะเจาะจง น่าสนใจ ไม่ได้เป็นการเขียนแบบใส่ template ไปแบบเฉยๆค่ะ ที่สำคัญคืออาจารย์ควรจะมีควมทรงจำอันดีเกี่ยวกับตัวคุณด้วยะคะ ไม่งั้นจดหมายแนะนำอาจจะเป็นจดหมาย kill ตัวคุณเองก็ได้ค่ะ อิอิ) ขั้นแรก จขกท ก็ตัดสินใจว่าจะไปหาท่านด้วยตัวเองก่อนค่ะ ไปบอกด้วยตัวเองอาจารย์คงอยากเขียนให้มากกว่าส่งข้อความหาในเฟสบุคหรือส่งอีเมล์ไปอย่างเดียวเนอะ
จขกท ก็เดินทางกลับไปมหาวิทยาลัยเลยค่ะ แต่ก็นัดอาจารย์ไว้ล่วงหน้านะคะ บอกคร่าวๆว่าจะมาเยี่ยมและรบกวนขอจดหมายไปเรียนต่อค่ะ (อันนี้บางท่าน จขกท ก็นัดผ่านข้อความในเฟสบุค บางท่านก็นัดผ่านอีเมล์ ส่วนบางท่านนัดไม่ได้ก็ขอกันผ่าน messenger ใน facebook ก็มีค่ะ) จขกท กลับไปหาอาจารย์และก็เล่าให้ฟังว่าอยากไปเรียนต่อ สาขาไหน ทุนอะไร ประเทศอะไร โปรแกรมเป็นยังไง จบแล้วจะไปทำอะไรต่อ ฯลฯ พอให้อาจารย์ได้ทราบค่ะ ว่าเราจะเอาจดหมายไปทำอะไร พออาจารย์ตกลงจะเขียนจดหมายแนะนำให้ เราก็ขออีเมล์ของอาจารย์แต่ละท่านมาค่ะ
พอได้อีเมล์ของอาจารย์แต่ละท่านมา เราก็ทำลิสต์ว่าจะให้อาจารย์ท่านไหน ส่งจดหมายให้เราไปที่ไหนบ้าง แล้วเขียนอีเมล์หาอาจารย์เพื่อสรุปเรื่องที่เราไปคุยกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ ว่าเราจะให้อาจารย์ส่งไปที่ไหน โปรแกรมชื่ออะไร เรียนอะไร เดดไลน์การส่ง letter of recommendation คือเมื่อไร และต้อง submit จดหมายยังไง (บางที่ต้องให้ส่ง hard copy บางที่ให้ submit online บนหน้าเว็บ บางที่ก็มีแบบฟอร์มให้ค่ะ อันนี้เราต้องไปดูแล้วมาบอกอาจารย์นะคะ ไม่ใช่ให้อาจารย์ไปหาข้อมูลเอาเอง) ซึ่ง จขกท คิดว่าเราควรส่งอีเมล์ไปหาอาจารย์เพื่อขอ recommendation letter ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ เพราะอาจารย์ที่เรารักก็มักจะเป็นที่รักของลูกศิษย์หลายๆคน และอาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนมักจะยุ่งมากๆ เราต้องให้เวลาอาจารย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ สำหรับ จขกท พอมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร จขกท ก็รีบดู รีบตะลุยกรอก application form จนถึงหน้า recommendation letter แล้วรีบส่งอีเมล์หาอาจารย์ทันทีเลยค่ะ เลยไม่มีปัญหาเรื่อง submit ไม่ทัน deadline (แต่ก็เกือบๆไปอยู่นะ) ข้อดีของการให้เวลาเยอะก็คือ อาจารย์ของเราจะได้มีเวลาเขียนเต็มที่ ถ้าให้เวลาน้อย ท่านอาจจะรีบๆเขียน อาจจะไม่ specific หรืออาจจะเขียนให้ไม่ดีเท่าที่เราควรจะได้
บางคนอาจติดปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะเขียนหาอาจารย์อย่างไร จขกท ก็ขอแนะนำไว้คร่าวๆนะคะ ว่าให้ทักทายอย่างสุภาพ แนะนำตัวว่าเราเป็นใคร ชื่ออะไร ส่งอีเมล์มาเพื่อขอส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเรา และจะขอรบกวนอาจารย์ให้เขียน recommendation letter สำหรับสาขาที่เราจะไปเรียนต่อชื่อ xxx ซึ่งสาขานี้เรียนเกี่ยวกับ xxx หมดเขตส่งวันที่ xxxx ส่งจดหมายได้โดยการ xxxxx และเราก็แนบเอกสารข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับตัวเราเพื่อให้อาจารย์เป็นข้อมูลสำหรับการเขียนจดหมายค่ะ (เพราะอาจารย์สอนเด็กเยอะ อาจจะจำไม่ได้นะคะว่าเราเป็นใคร ทำอะไรมาบ้าง) ซึ่งในอีเมล์นี้ จขกท ก็แนบ CV ที่มีรูปตัวเองและtranscript ให้อาจารย์ไปค่ะ เผื่ออาจารย์จะอยากเขียนอะไรให้ specific ก็จะได้ดูจาก CV และก็จะทำให้ทุกอย่างมีเนื้อหาไปทางเดียวกันด้วยค่ะ
พอส่งอีเมล์ไป ก็คอยเข้าไปเช็คใน application page ของมหาวิทยาลัยที่เราสมัครค่ะ ว่าอาจารย์เราส่งจดหมายให้หรือยัง ถ้ายัง จขกท จะส่งอีเมล์ไปเตือนอาจารย์ก่อนถึง deadline ประมาน 1 สัปดาห์ค่ะ เผื่ออาจารย์ยุ่งอยู่แล้วลืม ท่านจะได้หาเวลาว่างมาเขียนจดหมายให้เราได้ทัน
------------------------------------------------
เริ่มยาวแล้ว ขอจบกระทู้นี้เท่านี้ก่อนนะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าถึงตอนเขียน SoP ว่า จขกท ทำยังไงบ้าง ดราม่าขนาดไหน 5555
จขกท คิดว่าคงไม่ค่อยมีคนอ่านกระทู้ แต่ว่า จขกท ก็อยากเขียนแล้วเก็บเอาไว้ ว่ากว่ามาจะเรียนได้ เราต้องผ่านอะไรมาบ้าง เลยจะมาเล่าต่อเมื่อมีเวลาและอารมณ์ค่ะ
บันทึกเรื่องราว ขอทุนฟรีไปเรียนนอก ตอนที่ 2: สมัครทุนไปนอก เขียนจดหมาย SoP ขอ recommendation letter
โตแล้วไปไหน ตอนที่ 1: Timeline และรวมทุนเรียนฟรีในยุโรป
https://ppantip.com/topic/37552171
หลังจากได้ลิสต์เรียบร้อยว่ามีทุนอะไรเปิดบ้าง เราสนใจสมัครทุนไหนบ้าง เราก็จะต้องมา “เลือก” ก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ ว่าเราจะสมัครอะไรบ้าง การสมัครหว่านไปหลายๆที่ นอกจากจะทำให้ราเหนื่อย เปลืองเงิน เปลืองเวลาแล้ว จะทำให้เราโฟกัสในสิ่งที่เราต้องเรียนได้อย่างไม่เต็มที่ค่ะ เพราะเราต้องเขียนจดหมายแนะนำตัวเพื่อสมัครแต่ละที่ซึ่งไม่เหมือนกัน และเราก็ต้องขอจดหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษาหลายฉบับเช่นกันค่ะ
จขกท ทำการบ้านหลายอย่างค่ะ เข้าเว็บคณะฯ เว็บมหาวิทยาลัย เข้าเฟสบุคกลุ่ม ไลค์เพจของหลักสูตร เพื่อหาข้อมูลต่างๆ อาทิ
1. ดูเงื่อนไข ข้อผูกมัด ของทุน
2. ทุน(เงิน)ที่ได้ว่าพอหรือไม่ในการใช้ชีวิตในประเทศนั้นๆ (เพราะจขกทไม่มีเงินซัพพอร์ตตัวเองค่ะ อันนี้ถ้าใครพอมีเงิน หรือที่บ้านช่วยออกให้ก็อาจจะให้ความสำคัญน้อยลงไปได้ค่ะ)
3. เงื่อนไขการจบ เงื่อนไขการทำวิจัย
4. รายชื่ออาจารย์ จำนวนเปเปอร์ ชื่อเสียงหลักสูตรและมหาวิทยาลัยที่เรียน คุณภาพหลักสูตร
5. และสุดท้ายเนื่องจากว่า พอเราจบ เราก็ต้องหางานทำ จขกท ก็เลยอยากได้ความคิดเห็นจากคนที่เรียนอยู่จริงๆค่ะ ว่าตอนเรียน อาจารย์สอนดีมั้ย มี connections เยอะมั้ย จบแล้วหางานทำง่ายหรือยาก ที่คณะฯช่วยหางานมั้ย ซึ่งอันนี้ถ้าเราเข้าเว็บคณะ ก็อาจจะมีแบบโฆษณา บางเว็บก็ไม่มีเลยค่ะ จขกท เลยใช้วิธีหาชื่อคนที่เคยเรียนจากหน้า alumni ของหลักสูตรนั้นแล้วเข้า Linkedin ไป search ชื่อมาเลยค่ะ แล้วส่งข้อความไปหาคนใน Linkedin ที่เรียนอยู่หรือจบจากหลักสูตรนี้ค่ะ (อันนี้ต้องเรียบเรียงดีๆนะคะ เราเขียนไปขอความช่วยเหลือจากเขา ไม่ได้เขียนไปสั่งเขาค่ะ เขียนไปดีก็มักจะได้คำตอบดีค่ะ) ส่วนใหญ่เขาก็ใจดีมาก ตอบมาเกือบทุกคนค่ะ
พอเลือกได้แล้วว่าจะสมัครที่ไหนบ้างในยุโรป ก็เริ่มทำการลิสต์ว่าเราต้องใช้อะไรบ้างในการสมัคร จขกท เลือกมาได้ 6 โปรแกรมค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องใช้หลักฐานในการสมัครคล้ายๆกัน(แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ) ดังนี้ค่ะ
1. Passport
2. CV/Resume หรือ ประวัติส่วนตัว
3. Transcript
4. ใบปริญญา (อันนี้ถ้าตันฉบับเป็นภาษาไทย ต้องแนบทั้งภาษาไทยและอังกฤษ)
5. Recommendation letters จากอาจารย์ และ/หรือ เจ้านาย (หากทำงานแล้ว)
6. Statement of Purpose (SoP)/ Personal Statement (PS)/ Motivation Letter หรือ จดหมายแนะนำตัวของเรานั่นเองค่ะ
7. คะแนน IELTS (บางที่ก็รับ Toefl) ส่วนใหญ่ถ้าเป็นทุนสายวิทย์ก็มักจะขั้นต่ำ 6.0 ค่ะ (ยกเว้นทุนที่การแข่งขันสูงหน่อย หรือมหาวิทยาลัย Rank สูงๆหน่อยก็จะสูงได้ถึง 7.0) และบางทีก็มีการกำหนดเพิ่มเติมด้วยว่าทุกสกิลต้อง 5.5 ขึ้นไปด้วย แต่อย่าเพิ่งท้อใจไปนะคะ IETLS 6.0 ขึ้นไปไม่ใช่เรื่องยาก จขกท ผ่านมาได้ ทุกคนก็ทำได้ค่ะ จขกท เคยรีวิวการสอบและการอ่านหนังสือสอบ IELTS ไว้ที่
เล่าประสบการณ์สอบ IELTS (British Council) เตรียมตัวเอง ไม่ได้เรียนพิเศษค่ะ
https://ppantip.com/topic/36904704
รีวิวสอบ IELTS เพิ่ม Writing จาก 6.5 ไป 7.5 ในหนึ่งเดือน (อ่านเองค่ะ)
https://ppantip.com/topic/37166429
นอกจาก 6 อย่างนี้แล้วบางที่ก็จะต้องการเอกสารเพิ่มเติมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น
1. เอกสารคำอธิบายรายวิชา ว่าแต่ละวิชาที่เราเรียนมาใน transcript นั้นสอนเรื่องอะไรบ้าง (ลองกลับไปถามสำนักทะเบียนของที่ที่เราจบมานะคะ บางมหาวิทยาลัยมีค่ะ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่มี เราต้องเขียนเอง)
2. Sample of work งานที่เราเคยทำผ่านมา อาจจะเป็นงานวิจัยหรือโครงงาน มักจะให้สรุปสั้นๆว่าเตยทำวิจัยอะไร อย่างไร ได้ผลยังไง
3. ผลการเรียนระดับมัธยม!! อันนี้ จขกท ก็ตกใจค่ะ เพราะจขกท สมัครเรียนปโท ไม่คาดคิดว่าจะขอด้วย 555 แต่ก็ไปหามาได้ค่ะ กลับไปที่ รร มัธยมที่เรียนมา ใส่เสื้อขาว ถ่ายรูปสองนิ้วปัจจุบัน เสียค่าธรรมเนียมแล้วก็ได้มาค่ะ โชคดีที่โรงเรียน จขกท ออกมาให้เป็นภาษาอังกฤษเลย ก็เลยไม่ต้องเอาไปแปลอีก
4. Scholarship form คือคำถามที่เราต้องตอบเพิ่มเพื่อการขอทุนค่ะ ก็จะเป็นคำถามเฉพาะของแต่ะหลักสูตรนั้นค่ะ
เอาล่ะ ข้อ 1 Passport ก็คงง่าย ใครไม่มีก็ไปทำได้ที่กรมการกงสุลค่ะ จขกท นั่งรถเมล์ไปทำที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ(ที่อื่นก็มี) เสียค่าธรรมเนียม 1000 บาท เดี๋ยวนี้เค้ามีให้จองคิวล่วงหน้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไปถึงรอแป๊บเดียวค่ะ ถ่ายรูป เซ็นชื่อ จ่ายเงิน กลับบ้านมารอพาสปอร์ต สบายใจ
ข้อ 2 ประวัติส่วนตัว ก็ใส่ข้อมูลพวก Email ที่อยู่ การศึกษา(พร้อมเกรดเฉลี่ย) ผลงานที่ผ่านมา(งนวิจัย/thesis/workshop) รางวัลที่เคยได้ กิจกรรมที่เคยทำ(และเกี่ยวกับสาขาที่สมัคร) สกิลที่มี (เช่น เขียนโปรแกรม ภาษาอะไรได้บ้างก็ใส่ไปเลยค่ะ) การทำ CV ให้ดูสวย น่าสนใจ ไม่รก และดู professional นั้นสามารถหาตัวอย่างได้ในกูเกิ้ลค่ะ เข้าเว็บเสียตังค์ไปดูไอเดียแล้วกลับมาออกแบบ CV ของตัวเองได้เลยค่ะ จขกท แนะนำเว็บแจก icon ต่างๆฟรี เอามาทำ CV ตัวเองง่ายๆค่ะที่ https://iconmonstr.com และเว็บฟรีเวกเตอร์ https://www.freepik.com (ของฟรีแต่ต้องดูเงื่อนไขการให้เครดิตก่อนใช้นะคะ)
จขกท ทำ CV ขึ้นมาจากการดู requirement ของทุนโปรแกรมก่อนค่ะ ว่าเค้าอยากรู้จักเราตรงไหนบ้าง แล้วก็ทำ CV หลักขึ้นมา 1 ฉบับ หลังจากนั้นก็ดัดแปลง เปลี่ยนข้อความ เน้นคำให้ตรงจุดของแต่ละทุนที่เขาเปิดรับสมัครนะคะ สรุป จขกท ก็จะมี CV ที่จะใช้สมัครเรียน 6 ที่ 6 ฉบับ แต่หน้าตาคล้ายๆกัน
ข้อ 3 - 4 Transcript+Certificate อันนี้น่าจะง่ายสุด สแกนมาให้ชัดๆ พร้อมเตรียมขอเอกสารเพิ่มจากที่ที่เราจบมาได้เลยค่ะ จขกท ขอมาเพิ่มอย่างละ 4 ฉบับเลยเพราะบางมหาวิทยาลัยต้องการให้เราส่งใบเหล่านี้ฉบับจริงข้ามน้ำข้ามทะเลไปให้เขาด้วยค่ะ
ข้อ 5 Recommendation Letter อันนี้โปรแกรมนึงมักจะขอ 2 ฉบับ ก็คือต้องขอจากอาจารย์ 2 ท่าน (บางที่ถ้าสมัครทุนด้วยจะเพิ่มเป็น 3 ฉบับ) จขกท สมัคร 6 ที่ + สมัครทุนด้วย เลยต้องใช้ตั้ง 13 ฉบับ! จขกท ก็เลยต้องมานั่งคิดว่าจขกท จะขอจดหมายยังไงดี 555
โชคดีที่ตอนเรียน จขกท ค่อนข้างตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมหลายอย่างค่ะ เลยค่อนข้างสนิทกับอาจารย์หลายๆท่าน จขกท ก็เลยลิสต์ชื่ออาจารย์มาได้สี่ท่าน ที่ จขกท สนิทและอาจารย์ก็รู้จักและรู้นิสัยของ จขกท เป็นอย่างดี จขกท ค่อนข้างมั่นใจว่า recommendation letter ที่ได้จากอาจารย์ทั้งสี่ท่านนี้จะต้องช่วยส่งให้ จขกท ได้ที่เรียนดีๆแน่นอนค่ะ 555 อีกอย่างท่านก็สอนวิชาที่เกี่ยวกับสาขาที่ จขกท ต้องการสมัครพอดีด้วยค่ะ (อันนี้แนะนำสำหรับคนที่จะไปขอจดหมายนะคะ ว่าให้เลือกอาจารย์ที่คุณรู้จักดีและอาจารย์ก็รู้จักคุณ จดหมายจะได้มีความเฉพาะเจาะจง น่าสนใจ ไม่ได้เป็นการเขียนแบบใส่ template ไปแบบเฉยๆค่ะ ที่สำคัญคืออาจารย์ควรจะมีควมทรงจำอันดีเกี่ยวกับตัวคุณด้วยะคะ ไม่งั้นจดหมายแนะนำอาจจะเป็นจดหมาย kill ตัวคุณเองก็ได้ค่ะ อิอิ) ขั้นแรก จขกท ก็ตัดสินใจว่าจะไปหาท่านด้วยตัวเองก่อนค่ะ ไปบอกด้วยตัวเองอาจารย์คงอยากเขียนให้มากกว่าส่งข้อความหาในเฟสบุคหรือส่งอีเมล์ไปอย่างเดียวเนอะ
จขกท ก็เดินทางกลับไปมหาวิทยาลัยเลยค่ะ แต่ก็นัดอาจารย์ไว้ล่วงหน้านะคะ บอกคร่าวๆว่าจะมาเยี่ยมและรบกวนขอจดหมายไปเรียนต่อค่ะ (อันนี้บางท่าน จขกท ก็นัดผ่านข้อความในเฟสบุค บางท่านก็นัดผ่านอีเมล์ ส่วนบางท่านนัดไม่ได้ก็ขอกันผ่าน messenger ใน facebook ก็มีค่ะ) จขกท กลับไปหาอาจารย์และก็เล่าให้ฟังว่าอยากไปเรียนต่อ สาขาไหน ทุนอะไร ประเทศอะไร โปรแกรมเป็นยังไง จบแล้วจะไปทำอะไรต่อ ฯลฯ พอให้อาจารย์ได้ทราบค่ะ ว่าเราจะเอาจดหมายไปทำอะไร พออาจารย์ตกลงจะเขียนจดหมายแนะนำให้ เราก็ขออีเมล์ของอาจารย์แต่ละท่านมาค่ะ
พอได้อีเมล์ของอาจารย์แต่ละท่านมา เราก็ทำลิสต์ว่าจะให้อาจารย์ท่านไหน ส่งจดหมายให้เราไปที่ไหนบ้าง แล้วเขียนอีเมล์หาอาจารย์เพื่อสรุปเรื่องที่เราไปคุยกับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งค่ะ ว่าเราจะให้อาจารย์ส่งไปที่ไหน โปรแกรมชื่ออะไร เรียนอะไร เดดไลน์การส่ง letter of recommendation คือเมื่อไร และต้อง submit จดหมายยังไง (บางที่ต้องให้ส่ง hard copy บางที่ให้ submit online บนหน้าเว็บ บางที่ก็มีแบบฟอร์มให้ค่ะ อันนี้เราต้องไปดูแล้วมาบอกอาจารย์นะคะ ไม่ใช่ให้อาจารย์ไปหาข้อมูลเอาเอง) ซึ่ง จขกท คิดว่าเราควรส่งอีเมล์ไปหาอาจารย์เพื่อขอ recommendation letter ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ เพราะอาจารย์ที่เรารักก็มักจะเป็นที่รักของลูกศิษย์หลายๆคน และอาจารย์มหาวิทยาลัยทุกคนมักจะยุ่งมากๆ เราต้องให้เวลาอาจารย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ สำหรับ จขกท พอมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัคร จขกท ก็รีบดู รีบตะลุยกรอก application form จนถึงหน้า recommendation letter แล้วรีบส่งอีเมล์หาอาจารย์ทันทีเลยค่ะ เลยไม่มีปัญหาเรื่อง submit ไม่ทัน deadline (แต่ก็เกือบๆไปอยู่นะ) ข้อดีของการให้เวลาเยอะก็คือ อาจารย์ของเราจะได้มีเวลาเขียนเต็มที่ ถ้าให้เวลาน้อย ท่านอาจจะรีบๆเขียน อาจจะไม่ specific หรืออาจจะเขียนให้ไม่ดีเท่าที่เราควรจะได้
บางคนอาจติดปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะเขียนหาอาจารย์อย่างไร จขกท ก็ขอแนะนำไว้คร่าวๆนะคะ ว่าให้ทักทายอย่างสุภาพ แนะนำตัวว่าเราเป็นใคร ชื่ออะไร ส่งอีเมล์มาเพื่อขอส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเรา และจะขอรบกวนอาจารย์ให้เขียน recommendation letter สำหรับสาขาที่เราจะไปเรียนต่อชื่อ xxx ซึ่งสาขานี้เรียนเกี่ยวกับ xxx หมดเขตส่งวันที่ xxxx ส่งจดหมายได้โดยการ xxxxx และเราก็แนบเอกสารข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับตัวเราเพื่อให้อาจารย์เป็นข้อมูลสำหรับการเขียนจดหมายค่ะ (เพราะอาจารย์สอนเด็กเยอะ อาจจะจำไม่ได้นะคะว่าเราเป็นใคร ทำอะไรมาบ้าง) ซึ่งในอีเมล์นี้ จขกท ก็แนบ CV ที่มีรูปตัวเองและtranscript ให้อาจารย์ไปค่ะ เผื่ออาจารย์จะอยากเขียนอะไรให้ specific ก็จะได้ดูจาก CV และก็จะทำให้ทุกอย่างมีเนื้อหาไปทางเดียวกันด้วยค่ะ
พอส่งอีเมล์ไป ก็คอยเข้าไปเช็คใน application page ของมหาวิทยาลัยที่เราสมัครค่ะ ว่าอาจารย์เราส่งจดหมายให้หรือยัง ถ้ายัง จขกท จะส่งอีเมล์ไปเตือนอาจารย์ก่อนถึง deadline ประมาน 1 สัปดาห์ค่ะ เผื่ออาจารย์ยุ่งอยู่แล้วลืม ท่านจะได้หาเวลาว่างมาเขียนจดหมายให้เราได้ทัน
------------------------------------------------
เริ่มยาวแล้ว ขอจบกระทู้นี้เท่านี้ก่อนนะคะ เดี๋ยวจะมาเล่าถึงตอนเขียน SoP ว่า จขกท ทำยังไงบ้าง ดราม่าขนาดไหน 5555
จขกท คิดว่าคงไม่ค่อยมีคนอ่านกระทู้ แต่ว่า จขกท ก็อยากเขียนแล้วเก็บเอาไว้ ว่ากว่ามาจะเรียนได้ เราต้องผ่านอะไรมาบ้าง เลยจะมาเล่าต่อเมื่อมีเวลาและอารมณ์ค่ะ