หากอ้างอิงจากจิตรกรรมเก่าแก่ นางเงือก ในความเข้าใจของคนไทยสมัยอยุธยามีทั้งขาและหางปลา?


จิตรกรรมรูปนางเงือกที่นำมาให้ชมนี้เป็นส่วนหนึ่งของสมุดภาพไตรภูมิพระร่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา คาดว่าจัดทำขึ้นราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง จขกท.
สังเกตเห็นสตรีนางหนึ่งนั่งพับเพียบอยู่ใกล้ๆสระน้ำ เธอมีทั้ง"ขา"และ"หาง"ชัดเจน(ซึ่งได้วงกลมไว้แล้วค่ะ) ลักษณะเช่นนี้บ่งบอกว่าเป็นเงือกแต่ต่างไปจากการรับรู้ของคนไทยในปัจจุบันเล็กน้อยคือเงือกนางนี้มีขา  จขกท.ได้เคยอ่านประเด็นถกเถียงมาหลายความเห็นว่าเงือกในความเข้าใจของคนไทยในอดีตเป็นอย่างไร? แล้วทำไมในเรื่อง พระอภัยมณี กลอนบรรยายตอนนางผีเสื้อสมุทรฆ่าเงือกเฒ่าจึงมีการบรรยายว่าหักขา?  ความจริงแล้วก็น่าจะเป็นเพราะเงือกในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่น่าจะมีทั้งหางปลาและขาคน สมาชิกท่านอื่นคิดเห็นเป็นประการใดมาคุยกันจ้า
ปล.จขกท.คิดว่าภาพเงือกสมัยอยุธยาที่นำมาให้ชมนี้เป็นภาพที่ชัดเจนเพราะเห็นนางเงือกเต็มๆตัว อย่างภาพเงือกที่ปรากฏบนผนังตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์นั้นเป็นสมัยอยุธยาก็จริงอยู่แต่เป็นภาพเงือกกำลังว่ายน้ำทำให้ไม่สามารถเห็นท่อนล่างว่าลักษณะอย่างไร ส่วนภาพเงือกสมัยอยุธยาบนผนังโบสถ์วัดช่องนนทรีนั้นก็เลือนลางไปมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่