คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ผมเข้าใจว่า จขกท จะสนใจเรื่องสิทธิ์ของเจ้าครองนครหรืแคว้นต่างๆ ในขณะนั้นว่ามีอะไรบ้าง? แต่จะตอบไล่จากคำถามแรกๆ มาก่อน
ทั้งคุณ hijack02 กับ คุณ HotChoc เขาก็ตอบไว้ถูกต้องในส่วนหนึ่ง
1) ที่ถามว่าเมื่อปรัสเซียรวมชาติเป็นจักรวรรดินั้น ผมแยกออกเป็น 2 ช่วง คือเมื่อปรัสเซียเริ่มต้นอาณาจักรในปี 1618 แล้วขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ ในปี 1763 - 1803 - 1815 จนถึงสุดท้ายคือ ปี 1866 ที่ชนะออสเตรียแล้วยังได้อาณาจักรฮันโนเวอร์เข้ามารวมด้วย
ให้ดูรูปแผนที่จะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
นี่คืออาณาจักรปรัสเซียเมื่อก่อนเข้ามารวมกันเป็น จักรวรรดิ์เยอรมัน หรือ Deutsches Kaiserreich
เมื่อมารวมกันเป็นจักรวรรดิ์เยอรมันในปี 1871 นั้น จักรวรรดิ์เยอรมันประกอบไปด้วย 26 ดินแดนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยประกอบไปด้วย 4 ราชอาณาจักร ที่เหลือนอกนั้นเป็นดินแดนเล็กๆ ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครเป็นของตนเอง
4 ราชอาณาจักรซึ่งมีกษัตริย์ปกครองนั้นได้แก่ Preußen, Sachsen, Bayern และ Württemberg (ผมใช้ภาษาเยอรมันนะครับ คงไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเองได้ถ้าต้องการ)
2) คำถามที่ว่าแล้วผู้ครองนครต่างๆ ที่ปรัสเซียไปทำสงครามชนะยึดมาได้นั้น ไปไหนหรืออยู่อย่างไร? มี 2 กรณีคือ ยังปกครองอยู่ต่อไปแต่อยู่ภายใต้การบริหารปกครองจากเมืองหลวงเบอร์ลิน หรือ ถ้าไม่ยอมรับก็ต้องหนีออกนอกราชอาณาจักรของตนเองไป เช่นกรณีของกษัตริย์ Georg V von Hannover ที่ทั้งๆ ที่รบชนะกองทัพปรัสเซียแต่ต้องยอมแพ้เพราะถูกล้อม แต่ไม่ยอมรับการปกครองภายใต้ปรัสเซียจึงหนีออกนอกประเทศไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสจนสิ้นพระชนม์
3) เมื่ออาณาจักรต่างตกอยู่ภายใต้ปรัสเซียแล้วต้องปรับตัวอย่างไร? เมื่อพิจารณาจากแผนที่ข้างล่างนี้จะเห็นว่า จักรวรรดิ์เยอรมันที่ประกอบไปด้วย 4 ราชอาณาจักรนั้น เฉพาะอาณาจักรปรัสเซียอาณาจักรเดียวก็กินพื้นที่ไปแล้ว 65% และมีจำนวนประชากรคิดเป็น 60% ของประชากรทั้งจักรวรรดิ์ ดังนี้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าปรัสเซียจะเป็นผู้ที่มีอำนาจชี้นำการปกครองเหนืออาณาจักรอื่นๆ ทั้งหมด
พื้นที่ของปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) เมื่อเทียบกับอาณาจักรที่เหลือ (สีส้มอ่อน)
4) คำถามสุดท้ายที่ถามว่า ระบบอภิสิทธ์ของเจ้าครองนครหรือเจ้ารัฐเยอรมันมีอย่างไรก่อนที่จะมีการออกกฏหมายล้มเลิกระบบกษัตริย์นั้น
หลักๆ แล้ว เจ้าครองนครไม่เพียงแต่ไม่ต้องเสียภาษีเท่านั้นแต่ยังเป็นผู้เก็บภาษีจากประชาชนและธุรกิจเป็นรายได้ของตนเองอีกต่างหาก และยังมีสิทธิ์เกณฑ์แรงงานประชาชนไปเป็นข้าทาสรับบริวารรับใช้ หรือ การเป็นทหาร มีอภิสิทธ์ในการเลือกตำแหน่งหรืออาชีพที่ดีที่สุดก่อนประชาชนธรรมดา อาชีพที่ว่าได้แก่ ผู้บริหารหรือปกครองในระดับต่างๆ อาชีพนายทหารระดับสูง และตำแหน่งที่มีอิทธิพลต่อการเมือง เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วสิทธิ์พิเศษเหล่านี้ยังสามารถส่งต่อตกทอดไปถึงรุ่นลูกต่อไปได้อีกด้วย
การเป็นเจ้านายระดับสูงยังสามารถมีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางของสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ได้อีกด้วย
หลังจากการล้มเลิกระบบกษัตริย์เมื่อ 11. August 1919 เป็นต้นมา สิทธิ์ที่หลงเหลืออยู่ 2 ข้อคือ 1) สามารถเก็บตำแหน่งเดิมไว้ได้แต่ต้องวางตำแหน่งหลังชื่อหน้า ให้เข้าใจง่ายก็คือใช่ตำแหน่งเป็นนามสกุลได้ เช่น Gloria von Thurn und Taxis หรือ Georg Friedrich Prinz von Preußen และไม่มีการตั้งใหม่ ถ้าหากว่าหมดผู้สืบทอดเชื้อสายชายที่จะสืบตำแหน่งได้ก็จะสิ้นสุดลงไปโดยอัตโนมัติ และ 2) สามารถเก็บทรัพย์สมบัติที่ได้รับตกทอดมาได้ในบางส่วน
ทั้งคุณ hijack02 กับ คุณ HotChoc เขาก็ตอบไว้ถูกต้องในส่วนหนึ่ง
1) ที่ถามว่าเมื่อปรัสเซียรวมชาติเป็นจักรวรรดินั้น ผมแยกออกเป็น 2 ช่วง คือเมื่อปรัสเซียเริ่มต้นอาณาจักรในปี 1618 แล้วขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ ในปี 1763 - 1803 - 1815 จนถึงสุดท้ายคือ ปี 1866 ที่ชนะออสเตรียแล้วยังได้อาณาจักรฮันโนเวอร์เข้ามารวมด้วย
ให้ดูรูปแผนที่จะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
นี่คืออาณาจักรปรัสเซียเมื่อก่อนเข้ามารวมกันเป็น จักรวรรดิ์เยอรมัน หรือ Deutsches Kaiserreich
เมื่อมารวมกันเป็นจักรวรรดิ์เยอรมันในปี 1871 นั้น จักรวรรดิ์เยอรมันประกอบไปด้วย 26 ดินแดนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยประกอบไปด้วย 4 ราชอาณาจักร ที่เหลือนอกนั้นเป็นดินแดนเล็กๆ ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครเป็นของตนเอง
4 ราชอาณาจักรซึ่งมีกษัตริย์ปกครองนั้นได้แก่ Preußen, Sachsen, Bayern และ Württemberg (ผมใช้ภาษาเยอรมันนะครับ คงไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเองได้ถ้าต้องการ)
2) คำถามที่ว่าแล้วผู้ครองนครต่างๆ ที่ปรัสเซียไปทำสงครามชนะยึดมาได้นั้น ไปไหนหรืออยู่อย่างไร? มี 2 กรณีคือ ยังปกครองอยู่ต่อไปแต่อยู่ภายใต้การบริหารปกครองจากเมืองหลวงเบอร์ลิน หรือ ถ้าไม่ยอมรับก็ต้องหนีออกนอกราชอาณาจักรของตนเองไป เช่นกรณีของกษัตริย์ Georg V von Hannover ที่ทั้งๆ ที่รบชนะกองทัพปรัสเซียแต่ต้องยอมแพ้เพราะถูกล้อม แต่ไม่ยอมรับการปกครองภายใต้ปรัสเซียจึงหนีออกนอกประเทศไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสจนสิ้นพระชนม์
3) เมื่ออาณาจักรต่างตกอยู่ภายใต้ปรัสเซียแล้วต้องปรับตัวอย่างไร? เมื่อพิจารณาจากแผนที่ข้างล่างนี้จะเห็นว่า จักรวรรดิ์เยอรมันที่ประกอบไปด้วย 4 ราชอาณาจักรนั้น เฉพาะอาณาจักรปรัสเซียอาณาจักรเดียวก็กินพื้นที่ไปแล้ว 65% และมีจำนวนประชากรคิดเป็น 60% ของประชากรทั้งจักรวรรดิ์ ดังนี้นจึงไม่ต้องสงสัยว่าปรัสเซียจะเป็นผู้ที่มีอำนาจชี้นำการปกครองเหนืออาณาจักรอื่นๆ ทั้งหมด
พื้นที่ของปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) เมื่อเทียบกับอาณาจักรที่เหลือ (สีส้มอ่อน)
4) คำถามสุดท้ายที่ถามว่า ระบบอภิสิทธ์ของเจ้าครองนครหรือเจ้ารัฐเยอรมันมีอย่างไรก่อนที่จะมีการออกกฏหมายล้มเลิกระบบกษัตริย์นั้น
หลักๆ แล้ว เจ้าครองนครไม่เพียงแต่ไม่ต้องเสียภาษีเท่านั้นแต่ยังเป็นผู้เก็บภาษีจากประชาชนและธุรกิจเป็นรายได้ของตนเองอีกต่างหาก และยังมีสิทธิ์เกณฑ์แรงงานประชาชนไปเป็นข้าทาสรับบริวารรับใช้ หรือ การเป็นทหาร มีอภิสิทธ์ในการเลือกตำแหน่งหรืออาชีพที่ดีที่สุดก่อนประชาชนธรรมดา อาชีพที่ว่าได้แก่ ผู้บริหารหรือปกครองในระดับต่างๆ อาชีพนายทหารระดับสูง และตำแหน่งที่มีอิทธิพลต่อการเมือง เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้วสิทธิ์พิเศษเหล่านี้ยังสามารถส่งต่อตกทอดไปถึงรุ่นลูกต่อไปได้อีกด้วย
การเป็นเจ้านายระดับสูงยังสามารถมีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางของสังคม ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ได้อีกด้วย
หลังจากการล้มเลิกระบบกษัตริย์เมื่อ 11. August 1919 เป็นต้นมา สิทธิ์ที่หลงเหลืออยู่ 2 ข้อคือ 1) สามารถเก็บตำแหน่งเดิมไว้ได้แต่ต้องวางตำแหน่งหลังชื่อหน้า ให้เข้าใจง่ายก็คือใช่ตำแหน่งเป็นนามสกุลได้ เช่น Gloria von Thurn und Taxis หรือ Georg Friedrich Prinz von Preußen และไม่มีการตั้งใหม่ ถ้าหากว่าหมดผู้สืบทอดเชื้อสายชายที่จะสืบตำแหน่งได้ก็จะสิ้นสุดลงไปโดยอัตโนมัติ และ 2) สามารถเก็บทรัพย์สมบัติที่ได้รับตกทอดมาได้ในบางส่วน
แสดงความคิดเห็น
ตอนที่ปรัสเซียทำการรวมชาติเยอรมัน เหล่าธรรมดาเจ้าแคว้น เจ้าชายได้ตำแหน่งอะไร หรือถูกถอดยศจากเจ้าแคว้นครับ?
และเคยอ่านเจอในบางกระทู้ว่า จักรพรรดิเยอรมันคนสุดท้าย (ไกเซอร์ วิลเฮล์ม ที่ 2 (Wilhelm II)) ถูกถอดลงจากตำแหน่ง และได้พาธรรมดาเจ้ารัฐ เจ้าแคว้น เจ้าชายลงมาด้วยเลยสงสัยว่าคืออะไรครับ?