ปุตตสูตร และ เอกธีตุสูตร เป็นสูตรสั้นๆ ที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ลาภสักการสังยุตต์ เป็นพระสูตรที่ทรงเตือนภิกษุถึงอันตรายของลาภสักการะ และทรงยกบุคคลตัวอย่างที่ดี ผู้ไม่ติดในลาภสักการะมาแสดงเพื่อให้ภิกษุกระทำตาม เนื้อความน่าจะมีเท่านี้ แต่ที่ผมยกมาเป็นกระทู้ เพราะว่าคำแปลศัพท์บางคำทำให้เวลาอ่านแล้วยังงงๆ อยู่ ผมจึงขอยกเนื้อความพระไตรปิฎกมาดังนี้:-
๓. ปุตตสูตร
[๕๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้
ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบ-
*คาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
ไปกว่า ฯ
[๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อวิงวอนบุตรคนเดียว
ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า ขอพ่อจงเป็นเช่น
จิตตคฤหบดี แลหัตถกอาฬวกอุบาสกเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสกผู้
เป็นสาวกของเรา จิตตคฤหบดีและหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นดุลเป็นประมาณ
เช่นนี้ ถ้าพ่อออกบวช ก็ขอจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็น
ดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ขอพ่อจงอย่าเป็นเช่นพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูก
ลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ ถ้าลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำภิกษุผู้เป็น
พระเสขะไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ ลาภสักการะแลชื่อ
เสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๓
คำที่น่า งง คือ เป็นดุลเป็นประมาณ นั้นเป็นอย่างไร?
และ พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูกลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ คือเป็นไปได้อย่างไร? เพราะพระเสขะซึ่งโดยปรกติหมายถึงพระโสดาบันขึ้นไป ซึ่งท่านเหล่านั้นจะเห็นอนิจจัง คือความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเป็นปรกติจิตไม่มีทางที่จะติดในลาภสักการะได้
อย่างเช่นท่าน
อนาถบินฑกเศรษฐี ผู้บรรลุโสดาบันท่านก็ให้ทานเสียจนหมดตัวจากเศรษฐีกลายเป็นคนจน
พระเจ้าพิมพิสาร ผู้บรรลุโสดาบันก็ยกราชสมบัติให้พระเจ้าอชาติศัตรูบุตรชายซึ่งถูกจับได้ว่าต้องการราชสมบัติ (อันนี้ต่างจากในหนังเรื่องพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ที่พระเจ้าอชาติศัตรูบุกยึด)
หรืออย่างนางวิสาขา ผู้บรรลุโสดาบัน ถวายมหาลดาปสาธน์ เพื่อสร้างบุพผาราม เป็นต้น
ผมจึงได้ศึกษาทั้งภาษาบาลีที่มา คำแปลภาษาไทยฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬา คำแปลภาษาอังฤษ และอรรถกถา (ต้องขอบคุณเวป 84000พระธรรมขันธ์ที่มีพระไตรปิฎกทุกภาษาให้ผมได้ศึกษาตามที่ผมอ้างมาทั้งหมด) จึงสรุปได้ดังนี้ว่า
คำว่า เอสา ตุลา เอตํ ปมาณํ พระไตรปิฎกฉบับหลวงแปลว่า เป็นดุลเป็นประมาณ เช่นนี้ ; ฉบับมหาจุฬา แปลว่า เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้ ; ฉบับ metta : e แปลว่า as standard examples (ตัวอย่างมาตรฐาน)
สรุปคำว่า ตุลา ตามศัพท์แปลว่า ตราชั่ง แต่เนื้อความตามกาลปัจจุบันนี้ควรแปลว่า มาตรฐาน; คำว่า ปมาณํ ตามศัพท์แปลว่า วัดหรือเปรีบบเทียบ เนื้อความหมายถึงผู้ที่ควรเปรียบเทียบ ตามกาลปัจจุบันนี้ควรแปลว่า ตัวอย่าง.
คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ พระไตรปิฎกฉบับหลวงแปลว่า พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล; ฉบับมหาจุฬาแปลว่า ผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ; ฉบับ metta:e แปลว่า without attaining your aim as a trainer. (ยังไม่บรรลุเป้าหมายขณะยังเป็นผู้ฝึกอยู่)
อ่านดูเนื้อความก็ยังชวนให้ฉงนอยู่จึงดูในอรรถกถา แต่น่าเสียดายว่าในพระสูตรนี้อรรถกถาไม่ได้อธิบายศัพท์นี้ใว้ จึงพิมพ์คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ 84000 ลงในกูเกิ้ล แล้วก็พบคำอธิบายคัพท์นี้ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต เล่ม 25 ข้อ 194 เสขสูตรที่ ๑ ว่าดังนี้:-
ในปฐมเสขสูตรพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เสกฺโข ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ มีความว่าอย่างไร ชื่อว่าเสกขะเพราะได้เสกขธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑- ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิอันเป็นเสกขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเสกขะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเสกขะ เพราะยังต้องศึกษา แม้ข้อนี้ก็ตรัสไว้ว่า๒- สิกฺขตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา เสกฺโขติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุยังต้องศึกษา ฉะนั้น จึงเรียกว่าเสกขะ.
ถามว่า ศึกษาอะไร?
ตอบว่า ศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพราะยังต้องศึกษา ดังนี้แล ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ.
แม้ผู้ที่เป็น กัลยาณปุถุชน ผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรโดยไม่เห็นแก่นอนมากนัก ประกอบความเพียรด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้นราตรีปลาย ด้วยหวังว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันนี้หรือในวันพรุ่งนี้ ท่านก็เรียกว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.
ในข้อนี้ ท่านประสงค์เอาพระเสกขะผู้ยังไม่แทงตลอด ที่แท้ก็เป็น กัลยาณปุถุชน.
ชื่อว่า อปฺปตฺตมานโส เพราะอรรถว่า ยังไม่บรรลุอรหัตผล. ท่านกล่าวราคะว่าเป็นมานสะ ในบทนี้ว่า๓-บทว่า มานสํ ได้แก่ ราคะเที่ยวไป ดุจตาข่ายลอยอยู่บนอากาศ. ได้แก่จิตในบทนี้ว่า๔- จิต มนะ ชื่อว่ามานสะ. ได้แก่พระอรหัตในบทนี้ว่า๕- พระเสกขะยังไม่บรรลุพระอรหัต พึงทำกาละในหมู่ชน.
ในสูตรนี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตอย่างเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นอันกล่าวได้ว่า อปฺปตฺตารหตฺตสฺสแปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต
จึงสรุปได้ดังนี้ว่า คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ ควรแปลว่า กัลยาณปุถุชน ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล
เพื่อเป็นวิทยาทานผมจึงยกพระบาลีและคำแปลมาทั้งพระสูตร โดยทำเป็นตารางคู่กันไว้เพื่อให้ใช้อ้างอิงกันต่อไปดังนี้ครับ แต่หากว่ามีข้อผิดพลาดอันใดขอท่านผู้รู้ภาษาบาลีได้โปรดชี้แจงให้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ (โปรดดูในเม้นต์ที่ 1 และ 2 ต่อกันนะครับ)
ปุตตสูตร และ เอกธีตุสูตร standard examples (ตัวอย่างมาตรฐาน) ในพระพุทธศาสนา
๓. ปุตตสูตร
[๕๖๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ... ได้
ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบ-
*คาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่ง
ไปกว่า ฯ
[๕๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อวิงวอนบุตรคนเดียว
ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า ขอพ่อจงเป็นเช่น
จิตตคฤหบดี แลหัตถกอาฬวกอุบาสกเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสกผู้
เป็นสาวกของเรา จิตตคฤหบดีและหัตถกอาฬวกอุบาสก เป็นดุลเป็นประมาณ
เช่นนี้ ถ้าพ่อออกบวช ก็ขอจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเถิด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็น
ดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ขอพ่อจงอย่าเป็นเช่นพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูก
ลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ ถ้าลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำภิกษุผู้เป็น
พระเสขะไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ ลาภสักการะแลชื่อ
เสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๓
คำที่น่า งง คือ เป็นดุลเป็นประมาณ นั้นเป็นอย่างไร?
และ พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูกลาภสักการะแลชื่อเสียงครอบงำ คือเป็นไปได้อย่างไร? เพราะพระเสขะซึ่งโดยปรกติหมายถึงพระโสดาบันขึ้นไป ซึ่งท่านเหล่านั้นจะเห็นอนิจจัง คือความเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเป็นปรกติจิตไม่มีทางที่จะติดในลาภสักการะได้
อย่างเช่นท่าน
อนาถบินฑกเศรษฐี ผู้บรรลุโสดาบันท่านก็ให้ทานเสียจนหมดตัวจากเศรษฐีกลายเป็นคนจน
พระเจ้าพิมพิสาร ผู้บรรลุโสดาบันก็ยกราชสมบัติให้พระเจ้าอชาติศัตรูบุตรชายซึ่งถูกจับได้ว่าต้องการราชสมบัติ (อันนี้ต่างจากในหนังเรื่องพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ที่พระเจ้าอชาติศัตรูบุกยึด)
หรืออย่างนางวิสาขา ผู้บรรลุโสดาบัน ถวายมหาลดาปสาธน์ เพื่อสร้างบุพผาราม เป็นต้น
ผมจึงได้ศึกษาทั้งภาษาบาลีที่มา คำแปลภาษาไทยฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬา คำแปลภาษาอังฤษ และอรรถกถา (ต้องขอบคุณเวป 84000พระธรรมขันธ์ที่มีพระไตรปิฎกทุกภาษาให้ผมได้ศึกษาตามที่ผมอ้างมาทั้งหมด) จึงสรุปได้ดังนี้ว่า
คำว่า เอสา ตุลา เอตํ ปมาณํ พระไตรปิฎกฉบับหลวงแปลว่า เป็นดุลเป็นประมาณ เช่นนี้ ; ฉบับมหาจุฬา แปลว่า เป็นผู้
ชั่งได้วัดได้ ; ฉบับ metta : e แปลว่า as standard examples (ตัวอย่างมาตรฐาน)
สรุปคำว่า ตุลา ตามศัพท์แปลว่า ตราชั่ง แต่เนื้อความตามกาลปัจจุบันนี้ควรแปลว่า มาตรฐาน; คำว่า ปมาณํ ตามศัพท์แปลว่า วัดหรือเปรีบบเทียบ เนื้อความหมายถึงผู้ที่ควรเปรียบเทียบ ตามกาลปัจจุบันนี้ควรแปลว่า ตัวอย่าง.
คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ พระไตรปิฎกฉบับหลวงแปลว่า พระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล; ฉบับมหาจุฬาแปลว่า ผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ; ฉบับ metta:e แปลว่า without attaining your aim as a trainer. (ยังไม่บรรลุเป้าหมายขณะยังเป็นผู้ฝึกอยู่)
อ่านดูเนื้อความก็ยังชวนให้ฉงนอยู่จึงดูในอรรถกถา แต่น่าเสียดายว่าในพระสูตรนี้อรรถกถาไม่ได้อธิบายศัพท์นี้ใว้ จึงพิมพ์คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ 84000 ลงในกูเกิ้ล แล้วก็พบคำอธิบายคัพท์นี้ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต เล่ม 25 ข้อ 194 เสขสูตรที่ ๑ ว่าดังนี้:-
ในปฐมเสขสูตรพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เสกฺโข ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ มีความว่าอย่างไร ชื่อว่าเสกขะเพราะได้เสกขธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑- ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิอันเป็นเสกขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเสกขะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเสกขะ เพราะยังต้องศึกษา แม้ข้อนี้ก็ตรัสไว้ว่า๒- สิกฺขตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา เสกฺโขติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุยังต้องศึกษา ฉะนั้น จึงเรียกว่าเสกขะ.
ถามว่า ศึกษาอะไร?
ตอบว่า ศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพราะยังต้องศึกษา ดังนี้แล ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ.
แม้ผู้ที่เป็น กัลยาณปุถุชน ผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรโดยไม่เห็นแก่นอนมากนัก ประกอบความเพียรด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้นราตรีปลาย ด้วยหวังว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันนี้หรือในวันพรุ่งนี้ ท่านก็เรียกว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.
ในข้อนี้ ท่านประสงค์เอาพระเสกขะผู้ยังไม่แทงตลอด ที่แท้ก็เป็น กัลยาณปุถุชน.
ชื่อว่า อปฺปตฺตมานโส เพราะอรรถว่า ยังไม่บรรลุอรหัตผล. ท่านกล่าวราคะว่าเป็นมานสะ ในบทนี้ว่า๓-บทว่า มานสํ ได้แก่ ราคะเที่ยวไป ดุจตาข่ายลอยอยู่บนอากาศ. ได้แก่จิตในบทนี้ว่า๔- จิต มนะ ชื่อว่ามานสะ. ได้แก่พระอรหัตในบทนี้ว่า๕- พระเสกขะยังไม่บรรลุพระอรหัต พึงทำกาละในหมู่ชน.
ในสูตรนี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตอย่างเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นอันกล่าวได้ว่า อปฺปตฺตารหตฺตสฺสแปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต
จึงสรุปได้ดังนี้ว่า คำว่า เสกฺขํ อปฺปตฺตมานสํ ควรแปลว่า กัลยาณปุถุชน ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล
เพื่อเป็นวิทยาทานผมจึงยกพระบาลีและคำแปลมาทั้งพระสูตร โดยทำเป็นตารางคู่กันไว้เพื่อให้ใช้อ้างอิงกันต่อไปดังนี้ครับ แต่หากว่ามีข้อผิดพลาดอันใดขอท่านผู้รู้ภาษาบาลีได้โปรดชี้แจงให้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ (โปรดดูในเม้นต์ที่ 1 และ 2 ต่อกันนะครับ)