พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. พฬิสสูตร
[๕๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
[๕๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืน
เบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้
แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น ฯ
[๕๔๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อของมารใจบาป
คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ
ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร
ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลาย
ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การ
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล ฯ
[๕๔๑] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักละ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภ สักการะและชื่อเสียง
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๙๐๔ - ๕๙๒๒. หน้าที่ ๒๔๘ - ๒๔๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5904&Z=5922&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=538
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[538-541]
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=16&A=538&Z=541
credit :
https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=10203197804698340&id=1604870167
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. พฬิสสูตร
[๕๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย
เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ
[๕๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืน
เบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้
แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น ฯ
[๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อของมารใจบาป
คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดี พอใจ
ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร
ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลาย
ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การ
บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล ฯ
[๕๔๑] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักละ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภ สักการะและชื่อเสียง
ที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษา
อย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๙๐๔ - ๕๙๒๒. หน้าที่ ๒๔๘ - ๒๔๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5904&Z=5922&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=538
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[538-541] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=16&A=538&Z=541
credit : https://touch.facebook.com/story.php?story_fbid=10203197804698340&id=1604870167