ทุกสรรพสิ่งมีเรื่องราว แม้แต่แก้วเบียร์ก็ยังมีเรื่องเล่า...
“วากิวบางกอก”
ร้านปิ้ง ย่าง แบบครอบครัว ร้านเล็กๆ ที่หลีกหนีความวุ่นวาย ไปอยู่นอกตัวเมือง
ด้วยความที่ชื่นชอบในการทานเนื้อย่างของเจ้าของร้าน “เฮียตั้ม” จึงมีความคิดที่จะเปิดร้านเล็กๆ สนอง need ให้ตัวเอง
เพราะต้องการให้ทุกคน มีโอกาสได้ทานเนื้อดีๆ กันได้ไม่ยาก
นั่งฟังประวัติความเป็นมาในการตัดสินใจเปิดร้าน พร้อมกับเรื่องราวว่า เนื้อวากิว เข้ามาอยู่ในไทยได้อย่างไร
Wagyu / 和牛 เป็นภาษาญี่ปุ่น ที่นำเอา 2 คำมารวมกัน
คือ วะ (和) แปลว่า ประเทศญี่ปุ่น และ กิว (牛) แปลว่า วัว
รวมกันเป็น วัวที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น
เนื้อวากิวในไทยนั้น ในครั้งเริ่มต้นจะถูกจำกัดอยู่ในภาคการศึกษา โดยนำวัวพ่อพันธุ์จากญี่ปุ่นเข้ามาในไทย
ทำการศึกษา และพัฒนาจนได้รับมาตรฐานรับรอง จนเกิดเป็น วากิวที่เลี้ยงในประเทศไทยเอง แล้วท้ายที่สุด
ถูกส่งผ่านมาอยู่ในภาคของเอกชน จนเรามีเนื้อวากิวที่คุณภาพดี แต่ราคาไม่สูงนักมาให้ทานกัน
ใครอยากรู้ประวัติเนื้อวากิวในไทยเพิ่มเติม ลองอ่านในเพจของทางร้านนะครับ
ในส่วนตัวผมเอง ผมเป็นคนไม่ทานเนื้อ จึงขออนุญาตข้ามมาสู่ เมนู หมูแทน
ที่นี่ใช้ หมูดำ คุโรบูตะ ครับ
เฮียตั้มเล่าให้ฟังถึงประวัติของเจ้าคุโรบูตะคร่าวๆ แล้วผมได้ตามเข้าไปอ่านในเพจของร้าน เลยขออุญาตเอามาส่งต่อสำหรับหลายๆท่านที่ชื่นชอบในการอ่าน
เจ้าหมูดำคุโรบุตะจะโด่งดังมากๆในประเทศญี่ปุ่น แต่แท้ที่จริงแล้วกลับถูกค้นพบที่ประเทศอังกฤษราวศตวรรษที่17 โดยผู้ที่ค้นพบชื่อว่า Oliver Cromwell ในตอนแรกๆ ก็ไม่ได้ชื่อญี่ปุ่นว่า คุโรบูตะ หรอกนะ หากแต่เรียกชื่อพันธุ์ว่า Berkshire
ศตวรรษที่18 ได้มีการมอบหมูสายพันธุ์ Berkshire ดังกล่าวให้จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นของขวัญ จนต่อยอดพัฒนาสายพันธุ์หมูชนิดนี้ขึ้นมา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามเสียใหม่ให้เป็นญี่ปุ่นของแท้นั่นก็คือ Kurobuta หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Black Hog
หมูดำคุโรบุตะสะดุ้งไฟ โดนไฟให้พอสุกจะได้หมูที่มีความนุ่มอร่อยครับ
โดยในส่วนของน้ำจิ้มที่ทางร้านเตรียมมาให้ เป็นน้ำจิ้มแจ่วแบบมะขามเปียกครับ รสชาติไทยๆ เป็นรสเปรี้ยวอมหวาน ไม่เผ็ดมาก
ในส่วนของน้ำจิ้มนั้นเป็นน้ำจิ้มสด ร้านทำวันต่อวันนะครับ โดยคุณแม่ของเจ้าของร้านทำเอง
ไฮไลท์ที่น่าสนใจก็คือ เตาครับ เตาที่ทางร้านเลือกใช้ คือ เตาฮิดะ เจ้าของร้านเลือกเพราะว่าเก็บความร้อนได้ดี
โดยส่วนตัวแอบสังเกตอยู่ว่าถ่านในเตาลุก และให้ความร้อนสม่ำเสมอ เป็นเวลานานทีเดียว
เตาฮิดะ มีดียังไง...
คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า การย่างเนื้อวากิว ด้วยเตาฮิดะ
ความหอมของดินจากแม่น้ำฮิดะ ที่นำมาขึ้นรูปเตานั้น
จะช่วยให้เนื้อวากิวมีกลิ่น และรสสัมผัสที่พิเศษกว่าเตาธรรมดา
แม่น้ำฮิดะ (ญี่ปุ่น: 飛騨川 Hida-gawa)
ดินเบาที่เกิดจากซากไดอะตอมทับถมในก้นแม่น้ำ
คือวัตถุดิบหลักในการหล่อเตาที่ละเอียดอ่อน
ส่วนถ่านที่ใช้ เป็นถ่านไร้ควันที่มีกำเนิดมาจากโครงการในพระราชดำริ
ควันที่เกิดขึ้นในภาพ จะเป็นคว้นที่เกิดจากน้ำมันจากหมูตกลงบนถ่านครับ
เวลาปกติ จะไม่มีควันใดมารบกวน
และแน่นอนหลายๆท่านบอกว่ามีเนื้อดีๆแล้ว มันต้องแกล้มกับเครื่องดื่มสีทองสักหน่อย
ร้านนี้ใช้แก้วแช่เย็น โดยแก้วที่ใช้นั้นเป็นแบบ “Seidel” แท้ๆ เนื้อหาจากเพจของร้านอีกเช่นเดิม
Seidel เชื่อว่าหลายคนจะต้องชอบแก้วประเภทนี้ เพราะมีหูจับที่ให้ความรู้สึกเฟิร์มมั่นคงเวลายกแก้วขึ้นดื่ม
แก้วตัวนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมัน รูปทรงป้อม ความหนาทนทานของ Seidel ทำให้เก็บความเย็นได้ดี
พื้นผิวที่เหมือนรังผึ้งถูกออกแบบมาให้กระทบกับแสง แล้วโชว์สีทองอร่าม
นอกจาก เนื้อวากิว และหมูคูโรบูตะแล้ว ทางร้านยังมีเมนูอื่นๆ ให้ได้ชิมกันอีก เช่น
ยำแหนม กะเทียมโทน เป็นยำที่รสชาติไม่โดดเด้งไปทางใดทางหนึ่ง คือ มันมีความเปรี้ยวแต่ไม่มาก
และมีรสหวานของน้ำกระเทียมดอง แถมเป็นกระเทียมโทนเสียด้วย อร่อยดีครับ ^^
เสิร์ฟมาในชามสังกะสีแบบโบราณ...
เมนูถัดไป เป็นเห็ดทอดครับ มีเห็ดสดอยู่ 3 ชนิดกับพริกหวาน ทีเด็ดคือ น้ำจิ้มครับ
ทางร้านเรียกว่า น้ำจิ้มฉงน... ลองชิมครั้งแรก ฉงนสมใจเจ้าของร้านเลยครับ งงคนทานเลยทีเดียว คือ บรรยายรสชาติไม่ถูก
ว่ามันเป็นน้ำจิ้มแบบไหน แต่ความรู้สึกชัดๆ คือ เหมือนผสมเหล้า แต่ทางร้านยืนยันนะครับ ว่าไม่มีส่วนผสมเป็นแอลกอฮอล์เลย
ชิมไปเรื่อยๆ จนหมด ก็ไม่มีคำตอบครับ ว่าจะนิยามน้ำจิ้มยังไงดี 555
อีกจานที่ได้ชิมวันนี้ เป็นเฟรนซ์ฟาย ครับ เป็นขนาดใหญ่ๆ อวบๆ ส่วนตัวผมชอบแบบนี้มากกว่าแท่งเรียวๆครับ
ผมว่าแบบนี้มันมีรสสัมผัสดี
อ้อ ร้านเป็นตึกแถวแบบห้องเดียว เจ้าของร้านขายเอง ดูแลเอง ให้ร้านเป็นแบบครอบครัวมาทานครับ
เล็กๆแต่ออบอวล
ภาพเขียนในบ้าน เป็นภาพของการทำธุรกิจการค้าของครอบครัวแต่ดังเดิม
ตู้ โต๊ะ ที่ใช้ในร้าน จะเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนร่วมมากับทางเจ้าของร้านในช่วงชีวิตต่างๆ
เจ้าของร้านตั้งใจให้ของทุกชิ้นในร้านมีเรื่องราวของตัวมันเอง
ด้วยความเป็นร้านปิ้ง ย่างที่ทำกันเองภายในครอบครัว เพื่อให้เป็นร้านสำหรับครอบครัวมาทานกัน
ใครมีโอกาสลองไปทานดูครับ
ส่วนตัวผม ประทับใจใน story ของร้าน ในส่วนของรสชาติอาหาร เป็นอาหารที่ผ่านการคัดเลือก และทำอย่างใส่ใจทีเดียวครับ
ร้านนี้ ผมชอบครับ ^^
ชื่อร้าน วากิวบางกอก
พิกัดร้าน ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย นนทบุรี
เวลาเปิด 17:00 น.
อุปกรณ์ถ่ายภาพ
a7 carl zeiss distagon 35/2zf
a7 leitz summicron-r 50/2
ใครต้องการรู้สาระเกี่ยวกับเบียร์ กับเนื้อวากิวเพิ่มเติม ลองเข้าไปชมเพจของร้านดูครับ ตามชื่อร้านเลยครับผม
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
[SR] วากิวบางกอก...ร้านเล็กๆแบบครอบครัว เพื่ออีกหลายๆครอบครัว
“วากิวบางกอก”
ร้านปิ้ง ย่าง แบบครอบครัว ร้านเล็กๆ ที่หลีกหนีความวุ่นวาย ไปอยู่นอกตัวเมือง
ด้วยความที่ชื่นชอบในการทานเนื้อย่างของเจ้าของร้าน “เฮียตั้ม” จึงมีความคิดที่จะเปิดร้านเล็กๆ สนอง need ให้ตัวเอง
เพราะต้องการให้ทุกคน มีโอกาสได้ทานเนื้อดีๆ กันได้ไม่ยาก
นั่งฟังประวัติความเป็นมาในการตัดสินใจเปิดร้าน พร้อมกับเรื่องราวว่า เนื้อวากิว เข้ามาอยู่ในไทยได้อย่างไร
Wagyu / 和牛 เป็นภาษาญี่ปุ่น ที่นำเอา 2 คำมารวมกัน
คือ วะ (和) แปลว่า ประเทศญี่ปุ่น และ กิว (牛) แปลว่า วัว
รวมกันเป็น วัวที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น
เนื้อวากิวในไทยนั้น ในครั้งเริ่มต้นจะถูกจำกัดอยู่ในภาคการศึกษา โดยนำวัวพ่อพันธุ์จากญี่ปุ่นเข้ามาในไทย
ทำการศึกษา และพัฒนาจนได้รับมาตรฐานรับรอง จนเกิดเป็น วากิวที่เลี้ยงในประเทศไทยเอง แล้วท้ายที่สุด
ถูกส่งผ่านมาอยู่ในภาคของเอกชน จนเรามีเนื้อวากิวที่คุณภาพดี แต่ราคาไม่สูงนักมาให้ทานกัน
ใครอยากรู้ประวัติเนื้อวากิวในไทยเพิ่มเติม ลองอ่านในเพจของทางร้านนะครับ
ในส่วนตัวผมเอง ผมเป็นคนไม่ทานเนื้อ จึงขออนุญาตข้ามมาสู่ เมนู หมูแทน
ที่นี่ใช้ หมูดำ คุโรบูตะ ครับ
เฮียตั้มเล่าให้ฟังถึงประวัติของเจ้าคุโรบูตะคร่าวๆ แล้วผมได้ตามเข้าไปอ่านในเพจของร้าน เลยขออุญาตเอามาส่งต่อสำหรับหลายๆท่านที่ชื่นชอบในการอ่าน
เจ้าหมูดำคุโรบุตะจะโด่งดังมากๆในประเทศญี่ปุ่น แต่แท้ที่จริงแล้วกลับถูกค้นพบที่ประเทศอังกฤษราวศตวรรษที่17 โดยผู้ที่ค้นพบชื่อว่า Oliver Cromwell ในตอนแรกๆ ก็ไม่ได้ชื่อญี่ปุ่นว่า คุโรบูตะ หรอกนะ หากแต่เรียกชื่อพันธุ์ว่า Berkshire
ศตวรรษที่18 ได้มีการมอบหมูสายพันธุ์ Berkshire ดังกล่าวให้จักรพรรดิญี่ปุ่นเป็นของขวัญ จนต่อยอดพัฒนาสายพันธุ์หมูชนิดนี้ขึ้นมา พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเสียงเรียงนามเสียใหม่ให้เป็นญี่ปุ่นของแท้นั่นก็คือ Kurobuta หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Black Hog
หมูดำคุโรบุตะสะดุ้งไฟ โดนไฟให้พอสุกจะได้หมูที่มีความนุ่มอร่อยครับ
โดยในส่วนของน้ำจิ้มที่ทางร้านเตรียมมาให้ เป็นน้ำจิ้มแจ่วแบบมะขามเปียกครับ รสชาติไทยๆ เป็นรสเปรี้ยวอมหวาน ไม่เผ็ดมาก
ในส่วนของน้ำจิ้มนั้นเป็นน้ำจิ้มสด ร้านทำวันต่อวันนะครับ โดยคุณแม่ของเจ้าของร้านทำเอง
ไฮไลท์ที่น่าสนใจก็คือ เตาครับ เตาที่ทางร้านเลือกใช้ คือ เตาฮิดะ เจ้าของร้านเลือกเพราะว่าเก็บความร้อนได้ดี
โดยส่วนตัวแอบสังเกตอยู่ว่าถ่านในเตาลุก และให้ความร้อนสม่ำเสมอ เป็นเวลานานทีเดียว
เตาฮิดะ มีดียังไง...
คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า การย่างเนื้อวากิว ด้วยเตาฮิดะ
ความหอมของดินจากแม่น้ำฮิดะ ที่นำมาขึ้นรูปเตานั้น
จะช่วยให้เนื้อวากิวมีกลิ่น และรสสัมผัสที่พิเศษกว่าเตาธรรมดา
แม่น้ำฮิดะ (ญี่ปุ่น: 飛騨川 Hida-gawa)
ดินเบาที่เกิดจากซากไดอะตอมทับถมในก้นแม่น้ำ
คือวัตถุดิบหลักในการหล่อเตาที่ละเอียดอ่อน
ส่วนถ่านที่ใช้ เป็นถ่านไร้ควันที่มีกำเนิดมาจากโครงการในพระราชดำริ
ควันที่เกิดขึ้นในภาพ จะเป็นคว้นที่เกิดจากน้ำมันจากหมูตกลงบนถ่านครับ
เวลาปกติ จะไม่มีควันใดมารบกวน
และแน่นอนหลายๆท่านบอกว่ามีเนื้อดีๆแล้ว มันต้องแกล้มกับเครื่องดื่มสีทองสักหน่อย
ร้านนี้ใช้แก้วแช่เย็น โดยแก้วที่ใช้นั้นเป็นแบบ “Seidel” แท้ๆ เนื้อหาจากเพจของร้านอีกเช่นเดิม
Seidel เชื่อว่าหลายคนจะต้องชอบแก้วประเภทนี้ เพราะมีหูจับที่ให้ความรู้สึกเฟิร์มมั่นคงเวลายกแก้วขึ้นดื่ม
แก้วตัวนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมัน รูปทรงป้อม ความหนาทนทานของ Seidel ทำให้เก็บความเย็นได้ดี
พื้นผิวที่เหมือนรังผึ้งถูกออกแบบมาให้กระทบกับแสง แล้วโชว์สีทองอร่าม
นอกจาก เนื้อวากิว และหมูคูโรบูตะแล้ว ทางร้านยังมีเมนูอื่นๆ ให้ได้ชิมกันอีก เช่น
ยำแหนม กะเทียมโทน เป็นยำที่รสชาติไม่โดดเด้งไปทางใดทางหนึ่ง คือ มันมีความเปรี้ยวแต่ไม่มาก
และมีรสหวานของน้ำกระเทียมดอง แถมเป็นกระเทียมโทนเสียด้วย อร่อยดีครับ ^^
เสิร์ฟมาในชามสังกะสีแบบโบราณ...
เมนูถัดไป เป็นเห็ดทอดครับ มีเห็ดสดอยู่ 3 ชนิดกับพริกหวาน ทีเด็ดคือ น้ำจิ้มครับ
ทางร้านเรียกว่า น้ำจิ้มฉงน... ลองชิมครั้งแรก ฉงนสมใจเจ้าของร้านเลยครับ งงคนทานเลยทีเดียว คือ บรรยายรสชาติไม่ถูก
ว่ามันเป็นน้ำจิ้มแบบไหน แต่ความรู้สึกชัดๆ คือ เหมือนผสมเหล้า แต่ทางร้านยืนยันนะครับ ว่าไม่มีส่วนผสมเป็นแอลกอฮอล์เลย
ชิมไปเรื่อยๆ จนหมด ก็ไม่มีคำตอบครับ ว่าจะนิยามน้ำจิ้มยังไงดี 555
อีกจานที่ได้ชิมวันนี้ เป็นเฟรนซ์ฟาย ครับ เป็นขนาดใหญ่ๆ อวบๆ ส่วนตัวผมชอบแบบนี้มากกว่าแท่งเรียวๆครับ
ผมว่าแบบนี้มันมีรสสัมผัสดี
อ้อ ร้านเป็นตึกแถวแบบห้องเดียว เจ้าของร้านขายเอง ดูแลเอง ให้ร้านเป็นแบบครอบครัวมาทานครับ
เล็กๆแต่ออบอวล
ภาพเขียนในบ้าน เป็นภาพของการทำธุรกิจการค้าของครอบครัวแต่ดังเดิม
ตู้ โต๊ะ ที่ใช้ในร้าน จะเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนร่วมมากับทางเจ้าของร้านในช่วงชีวิตต่างๆ
เจ้าของร้านตั้งใจให้ของทุกชิ้นในร้านมีเรื่องราวของตัวมันเอง
ด้วยความเป็นร้านปิ้ง ย่างที่ทำกันเองภายในครอบครัว เพื่อให้เป็นร้านสำหรับครอบครัวมาทานกัน
ใครมีโอกาสลองไปทานดูครับ
ส่วนตัวผม ประทับใจใน story ของร้าน ในส่วนของรสชาติอาหาร เป็นอาหารที่ผ่านการคัดเลือก และทำอย่างใส่ใจทีเดียวครับ
ร้านนี้ ผมชอบครับ ^^
ชื่อร้าน วากิวบางกอก
พิกัดร้าน ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย นนทบุรี
เวลาเปิด 17:00 น.
อุปกรณ์ถ่ายภาพ
a7 carl zeiss distagon 35/2zf
a7 leitz summicron-r 50/2
ใครต้องการรู้สาระเกี่ยวกับเบียร์ กับเนื้อวากิวเพิ่มเติม ลองเข้าไปชมเพจของร้านดูครับ ตามชื่อร้านเลยครับผม
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น