ซีพี ออลล์ จัดงานเสวนาพิเศษเซเว่นบุ๊คอวอร์ด หัวข้อ “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง” โดยมี “กนกวลี พจนปกรณ์” นายกสมาคมนักเขียนฯ “รอมแพง” และ “ปราปต์” นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ผู้สร้างปรากฏการณ์การเขียนแห่งยุคสมัย ร่วมเผยเคล็ดลับเทคนิคการเขียนนวนิยายให้กลายเป็นละครดัง เพื่อเป็นต้นแบบให้นักเขียนรุ่นใหม่ๆ โดยงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 ณ ห้องคราวน์4-5 ชั้น 21 โรงแรมคราวน์ พลาซ่า (ถนนพระราม 4 – ตรงข้ามรพ.จุฬา)
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินโครงการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัล เซเว่นบุ๊คอวอร์ด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมนักเขียนคุณภาพ และสนับสนุนผลงานที่มีเนื้อหาจรรโลงสังคม โดยได้รับเกียรติจากท่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณกรรมจำนวนมากมาร่วมตัดสิน เพื่อคัดสรรหนังสือดีมีคุณภาพทั้ง 7 ประเภทสู่สังคม ประกอบด้วย กวีนิพนธ์, นวนิยาย, นิยายภาพ (การ์ตูน), รวมเรื่องสั้น, วรรณกรรมสำหรับเยาวชน, สารคดี (ทั่วไป) และประเภทนักเขียนรุ่นเยาว์
“ปัจจุบันโครงการเซเว่นบุ๊คอวอร์ดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการยกย่องเชิดชูนักเขียนนวนิยายที่ประสบความสำเร็จ ผลิตผลงานที่สร้างชื่อเสียงและได้รับความนิยมทั้งในโลกออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายด้านซีเอสอาร์ของซีพี ออลล์ ที่มุ่งส่งเสริมการศึกษา พัฒนาการอ่าน การเรียนรู้และหวังว่าโครงการเซเว่นบุ๊คอวอร์ดจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนเพื่อร่วมกันสร้างสังคมอุดมปัญญา พัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป ขอขอบคุณวิทยากรที่ให้เกียรติและสละเวลาอันมีค่ามาร่วมเสวนามอบความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ให้แก่นักเขียนรุ่นใหม่และผู้สนใจ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นนักเขียนที่มีคุณภาพสูงในอนาคต”
สำหรับการเสวนาพิเศษหัวข้อ “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง” โดยมี นางกนกวลี พจนปกรณ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, น.ส. จันทร์ยวีร์ สมปรีดา (รอมแพง)และ นายชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) เป็นวิทยากรร่วมเผยเคล็ดลับเทคนิคในการเขียนนวนิยายที่สามารถนำไปสร้างให้เป็นละครดัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนยุคใหม่หันมาให้ความสนใจเขียนนวนิยายกันมากขึ้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
พิธีกรถามว่าปัจจุบันนี้ลักษณะของการอ่านการเขียนเป็นอย่างไรบ้าง?
อาจารย์กนกวลี - ปัจจุบันนี้คนอ่านอยากอ่านเรื่องที่มันสนุก ถ้าเรื่องไหนไม่สนุกก็ไม่อยากอ่าน นิยายไทยแนวสนุกๆ แบบนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นมีเรื่องสั้นสนุกนิ์นึกเกิดขึ้น
-ในสังคมบ้านเราเรื่องราวของนวนิยายต่างๆ ก็วนอยู่อย่างเดิม คือมีพล็อตเดิมๆ เนื่องจากมีพล็อตต่างๆ อยู่ไม่มากนัก แต่ตัวที่ทำให้นวนิยายเรื่องนั้นอ่านสนุกคือบริบทที่อยู่ในเรื่อง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่มีพล็อตลักษณะเดียวกันแต่รายละเอียดในเรื่องแตกต่างกันออกไป รวมทั้งสิ่งใหม่ๆ ที่ปรากฎอยู่ในเรื่องทำให้เรื่องนั้นสนุกขึ้น
-ในช่วงหลังนักเขียนในบ้านเราเริ่มมีเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการเล่าเรื่องมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่านวนิยายส่วนใหญ่จะเน้นกันที่พล็อตเรื่อง เรียกว่าเป็นเรื่องที่มีพล็อตเด่น แต่ปัจจุบันนวนิยายแข่งขันกันด้วยเทคนิคการนำเสนอที่แปลกใหม่ออกไป
-การเขียนวนิยายนั้นคือการเล่าเรื่องผ่านปากกาของผู้เขียน (แต่ในสมัยก่อนจะเล่ากันผ่านปากเรียกว่ามุขปาฐะ) เป็นการเล่าเรื่องราวของมนุษย์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์
-งานเขียนในสมัยใหม่อย่างเช่นงานของปราปต์ (กาหลมหรทึก) มีการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากในสมัยก่อน ทำให้นักเขียนรุ่นใหม่ๆ ต้องแสวงหาวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
-ในบ้านเราพอมีเรื่องดิจิทัลเข้ามาก็ทำให้รูปแบบการอ่านเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ปลายปี 2559 นิตยสารต่างๆ ที่นำเสนองานวรรณกรรมเริ่มปิดตัวกัน พอถึงปี 2560 ก็เริ่มปิดตัวกันมาก
-แต่พอไปดูในงานสัปดาห์หนังสือฯ จะเห็นว่ามีคนเดินเลือกหาซื้อหนังสือกันอยู่เยอะมาก จึงเดิคำถามขึ้นมามันคืออะไรกันแน่? เราจึงได้คำตอบว่าถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่คนก็ยังอ่านหนังสืออยู่ ซึ่งคนอ่านจะเลือกอ่านเฉพาะหนังสือที่ตัวเองชอบเท่านั้น
-ดังนั้นสิ่งที่จะดำรงอยู่ได้โดยไม่ล่มหายตายจากไปก็คือคอนเทนต์นั้นเอง หนังสือที่มีเนื้อหาที่ดีคนอ่านจะอยากอ่านกันมาก ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาดีเหล่านี้มันจะมีพลังส่งต่อไปสู่คนอ่านอย่างมากมาย หนังสือบางเล่มอ่านแล้วมันกระตุกจิตวิญญาณของคนอ่าน หนังสือบางเล่มอ่านแล้วช่วยเยียวยาบาดแผลที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจได้ หนังสือบางเล่มอ่านแล้วใช้เป็นไอดอล(เป็นตัวอย่างที่ดี)ได้ หนังสือบางเล่มอ่านแล้วมันกระชากพลังในตัวตนให้ลุกโชนขึ้นมาได้ ฯลฯ จึงสามารถบอกได้ว่าวรรณกรรมคือพลังแห่งการสร้างสรรค์
-และหนังสือบางเล่มนำเสนอสิ่งที่มืดมัวและดำมืดอันแฝงตัวอยู่ในหลืบลึกที่คนอ่านไม่เคยได้รับรู้มาก่อน คนอ่านอ่านแล้วจะได้เตรียมตัว ป้องกัน หลีกเลี่ยง หนีห่าง สิ่งที่มืดมนเหล่านั้นได้
พิธีกรถามว่า ปัจจุบันกระแสนิยมของการอ่านเป็นอย่างไรบ้าง?
อาจารย์กนกวลี – เนื่องจากมีดิจิทัลเข้ามา นักอ่านรุ่นเก่า(ผู้ใหญ่)เคยนิยมอ่านหนังสือเป็นเล่ม แต่พอนิตยสารและหนังสือต่างๆ ปิดตัวลงไป ทุกคนก็ตกใจกลัวว่าจะไม่มีหนังสือให้อ่านกันแล้ว แต่นักอ่านรุ่นใหม่(เด็กๆ)ใช้ไอแพ็คในการอ่าน เด็กรุ่นใหม่เขาเติบโตมากับสิ่งเหล่านี้เขาจึงคุ้นชินกับมันมากกว่า เขาจึงหาทางกำจัดข้อด้อยเชิงลบของการอ่านในสื่อดิจิทัลออกไปได้ จึงกลายเป็นว่าอ่านนักรุ่นเก่าเหมือนจะไม่มีหนังสือให้อ่าน เพราะว่าเขาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่เป็น ปัญหาจึงมาตกลงสู่นักอ่านรุ่นเก่าพวกนี้แทน
-พวกวัยรุ่นที่เป็นนักอ่านรุ่นใหม่ไปเดินซื้อหนังสือในงานหนังสือฯ พวกเขาจะซื้อเรื่องที่เขาเคยอ่านในเน็ตมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาชอบ เด็กวัยรุ่นพวกนี้จึงไปตามหาซื้อหนังสือเล่มมาเก็บไว้ กลายเป็นว่าเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งซื้อหนังสือมา 2 เล่มเหมือนกัน เล่มหนึ่งเขาเอาไว้อ่าน ส่วนอีกเล่มเขาเอาไว้เก็บ
-ดังนั้นนักเขียนในปัจจุบันนี้ต้องก้าวตามให้ทัน ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ให้เป็น เพื่อตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน
พิธีกร ถามคุณรอมแพงว่า กระแสละครบุพเพสันนิวาสกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับชาติ ตอนแรกที่คุณรอมแพงจะเขียนเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจอย่างไรบ้าง?
คุณรอมแพง – เริ่มต้นเป็นนักเขียนจริงๆ ตอนปี 2549 พอได้เขียนนวนิยายไปสักระยะหนึ่งแล้วก็มีความคิดอยากจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่ย่อยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้อ่านง่ายขึ้น
-ด้วยความที่เรียนจบมาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงมีความคิดที่อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ถ้าได้เขียนนวนิยายย้อนยุค (พีเรียด) สักเล่มคงจะดี เพราะเราเติบโตมาจากการอ่านนวนิยายเรื่อง ทวิภพ , เรือนมยุรา , สายโลหิต ฯลฯ
-เริ่มอ่านนวนิยายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พอคิดจะเขียนนวนิยายเราก็อยากจะเขียนให้เป็นนวนิยายรักแนวโรแมนติคคอมเมอร์ดี้ ยิ่งเป็นพีเรียดที่ตลกด้วยคิดว่าคนอ่านน่าจะชอบ และเป็นแนวที่เราถนัดด้วย
-เริ่มต้นจากการหาข้อมูลก่อนว่าจะเขียนถึงยุคไหนดี? จะย้อนไปยุคไหนดี? ถ้าเขียนยุครัชกาลที่ 5 มันก็ใกล้ตัวเกินไปเกือบจะเป็นปัจจุบันแล้ว คงจะเขียนแบบตลกมากไม่ได้แน่เพราะว่าลูกหลานเขายังคงอยู่ จึงตัดสินใจเขียนย้อนไปถึงยุคแผ่นดินสมเด็จพระนาราษณ์มหาราช ซึ่งเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองแล้ว มีชาวต่างชาติเข้ามาแล้ว น่าจะพอให้เราเข้าไปโลดแล่นในยุคนี้ได้ โดยตั้งใจจะเขียนเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้แบบไม่ฟันธงในประด็นทางประวัติศาสตร์เลย
-พอดีว่าไปค้นข้อมูลเจอจดหมายเหตุของชาวบ้าน อ่านเจอในเรื่องมีชีปะขาวที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของคนในยุคสมัยนั้นที่คนพวกนี้จะรักษาศีล 5 อย่างต่อเนื่อง จะเอาประเด็นนี้มาเริ่มผูกเรื่อง
-เรื่องบุพเพสันนิวาส หมายถึงเรื่องรักที่หายไปแล้วคืนกลับมาได้
-ตอนที่หาข้อมูลสำหรับเขียนเรื่องต้องเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติ และหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วก็ต้องไปดูสถานที่จริงด้วย ต้องไปที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ไปชมแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในจังหวัดอยุธยา ถึงทำให้เราเห็นเรื่องราวได้มากกว่า จนสามารถเห็นเป็นภาพตามที่เราสร้างเรื่องไว้ได้
-พอได้พล็อตเรื่องแล้ว ต่อไปที่จะพูดถึงก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่เราใช้อาจจะไม่เป็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริงมาก เพราะประวัติศาสตร์มันมีหลายกระแสมาก เราจึงพยายามจับเอากระแสที่เข้ากับนวนิยายของเรามากที่สุดมาใช้
-ความง่ายของการเขียนเรื่องนี้คือตัวนางเอกที่ย้อนไป ซึ่งเราสามารถใช้ความคิดเห็นของคนในยุคปัจจุบันได้ คือคิดว่าถ้าเราย้อนยุคไปได้จริงๆ เราอยากจะไปทำอะไรบ้าง เราก็ให้ตัวนางเอกไปทำในนวนิยายแทน ส่วนการที่ให้นางเอกกลับชาติไปเกิดใหม่แล้วยังจำความได้นั้น มันทำให้เรื่องเข้าถึงคนในยุคปัจจุบันได้
-ความยากของการเขียนเรื่องนี้คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ คือเราพยายามจะหาเหตุการณ์ต่างๆ ใส่ลงไปในนวนิยายโดยไม่ฟันธง แต่จะบอกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างนี้จริงในประวัติศาสตร์ โดยเล่าผ่านมุมมองของตัวการะเกด (ตัวนางเอก) เพื่อให้คนอ่านได้ฉุกคิดและหาเหตุผลของตัวเขาเองได้
จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง
ซีพี ออลล์ จัดงานเสวนาพิเศษเซเว่นบุ๊คอวอร์ด หัวข้อ “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง” โดยมี “กนกวลี พจนปกรณ์” นายกสมาคมนักเขียนฯ “รอมแพง” และ “ปราปต์” นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ผู้สร้างปรากฏการณ์การเขียนแห่งยุคสมัย ร่วมเผยเคล็ดลับเทคนิคการเขียนนวนิยายให้กลายเป็นละครดัง เพื่อเป็นต้นแบบให้นักเขียนรุ่นใหม่ๆ โดยงานนี้จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 ณ ห้องคราวน์4-5 ชั้น 21 โรงแรมคราวน์ พลาซ่า (ถนนพระราม 4 – ตรงข้ามรพ.จุฬา)
นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ซีพี ออลล์ ได้ดำเนินโครงการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัล เซเว่นบุ๊คอวอร์ด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมนักเขียนคุณภาพ และสนับสนุนผลงานที่มีเนื้อหาจรรโลงสังคม โดยได้รับเกียรติจากท่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณกรรมจำนวนมากมาร่วมตัดสิน เพื่อคัดสรรหนังสือดีมีคุณภาพทั้ง 7 ประเภทสู่สังคม ประกอบด้วย กวีนิพนธ์, นวนิยาย, นิยายภาพ (การ์ตูน), รวมเรื่องสั้น, วรรณกรรมสำหรับเยาวชน, สารคดี (ทั่วไป) และประเภทนักเขียนรุ่นเยาว์
“ปัจจุบันโครงการเซเว่นบุ๊คอวอร์ดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการยกย่องเชิดชูนักเขียนนวนิยายที่ประสบความสำเร็จ ผลิตผลงานที่สร้างชื่อเสียงและได้รับความนิยมทั้งในโลกออฟไลน์ และออนไลน์ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายด้านซีเอสอาร์ของซีพี ออลล์ ที่มุ่งส่งเสริมการศึกษา พัฒนาการอ่าน การเรียนรู้และหวังว่าโครงการเซเว่นบุ๊คอวอร์ดจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนเพื่อร่วมกันสร้างสังคมอุดมปัญญา พัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติต่อไป ขอขอบคุณวิทยากรที่ให้เกียรติและสละเวลาอันมีค่ามาร่วมเสวนามอบความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ให้แก่นักเขียนรุ่นใหม่และผู้สนใจ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นนักเขียนที่มีคุณภาพสูงในอนาคต”
สำหรับการเสวนาพิเศษหัวข้อ “จากนวนิยายรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสู่ละครดัง” โดยมี นางกนกวลี พจนปกรณ์ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย, น.ส. จันทร์ยวีร์ สมปรีดา (รอมแพง)และ นายชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) เป็นวิทยากรร่วมเผยเคล็ดลับเทคนิคในการเขียนนวนิยายที่สามารถนำไปสร้างให้เป็นละครดัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนยุคใหม่หันมาให้ความสนใจเขียนนวนิยายกันมากขึ้น โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
พิธีกรถามว่าปัจจุบันนี้ลักษณะของการอ่านการเขียนเป็นอย่างไรบ้าง?
อาจารย์กนกวลี - ปัจจุบันนี้คนอ่านอยากอ่านเรื่องที่มันสนุก ถ้าเรื่องไหนไม่สนุกก็ไม่อยากอ่าน นิยายไทยแนวสนุกๆ แบบนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นมีเรื่องสั้นสนุกนิ์นึกเกิดขึ้น
-ในสังคมบ้านเราเรื่องราวของนวนิยายต่างๆ ก็วนอยู่อย่างเดิม คือมีพล็อตเดิมๆ เนื่องจากมีพล็อตต่างๆ อยู่ไม่มากนัก แต่ตัวที่ทำให้นวนิยายเรื่องนั้นอ่านสนุกคือบริบทที่อยู่ในเรื่อง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่มีพล็อตลักษณะเดียวกันแต่รายละเอียดในเรื่องแตกต่างกันออกไป รวมทั้งสิ่งใหม่ๆ ที่ปรากฎอยู่ในเรื่องทำให้เรื่องนั้นสนุกขึ้น
-ในช่วงหลังนักเขียนในบ้านเราเริ่มมีเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการเล่าเรื่องมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่านวนิยายส่วนใหญ่จะเน้นกันที่พล็อตเรื่อง เรียกว่าเป็นเรื่องที่มีพล็อตเด่น แต่ปัจจุบันนวนิยายแข่งขันกันด้วยเทคนิคการนำเสนอที่แปลกใหม่ออกไป
-การเขียนวนิยายนั้นคือการเล่าเรื่องผ่านปากกาของผู้เขียน (แต่ในสมัยก่อนจะเล่ากันผ่านปากเรียกว่ามุขปาฐะ) เป็นการเล่าเรื่องราวของมนุษย์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์
-งานเขียนในสมัยใหม่อย่างเช่นงานของปราปต์ (กาหลมหรทึก) มีการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากในสมัยก่อน ทำให้นักเขียนรุ่นใหม่ๆ ต้องแสวงหาวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ
-ในบ้านเราพอมีเรื่องดิจิทัลเข้ามาก็ทำให้รูปแบบการอ่านเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ปลายปี 2559 นิตยสารต่างๆ ที่นำเสนองานวรรณกรรมเริ่มปิดตัวกัน พอถึงปี 2560 ก็เริ่มปิดตัวกันมาก
-แต่พอไปดูในงานสัปดาห์หนังสือฯ จะเห็นว่ามีคนเดินเลือกหาซื้อหนังสือกันอยู่เยอะมาก จึงเดิคำถามขึ้นมามันคืออะไรกันแน่? เราจึงได้คำตอบว่าถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่คนก็ยังอ่านหนังสืออยู่ ซึ่งคนอ่านจะเลือกอ่านเฉพาะหนังสือที่ตัวเองชอบเท่านั้น
-ดังนั้นสิ่งที่จะดำรงอยู่ได้โดยไม่ล่มหายตายจากไปก็คือคอนเทนต์นั้นเอง หนังสือที่มีเนื้อหาที่ดีคนอ่านจะอยากอ่านกันมาก ซึ่งหนังสือที่มีเนื้อหาดีเหล่านี้มันจะมีพลังส่งต่อไปสู่คนอ่านอย่างมากมาย หนังสือบางเล่มอ่านแล้วมันกระตุกจิตวิญญาณของคนอ่าน หนังสือบางเล่มอ่านแล้วช่วยเยียวยาบาดแผลที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจได้ หนังสือบางเล่มอ่านแล้วใช้เป็นไอดอล(เป็นตัวอย่างที่ดี)ได้ หนังสือบางเล่มอ่านแล้วมันกระชากพลังในตัวตนให้ลุกโชนขึ้นมาได้ ฯลฯ จึงสามารถบอกได้ว่าวรรณกรรมคือพลังแห่งการสร้างสรรค์
-และหนังสือบางเล่มนำเสนอสิ่งที่มืดมัวและดำมืดอันแฝงตัวอยู่ในหลืบลึกที่คนอ่านไม่เคยได้รับรู้มาก่อน คนอ่านอ่านแล้วจะได้เตรียมตัว ป้องกัน หลีกเลี่ยง หนีห่าง สิ่งที่มืดมนเหล่านั้นได้
พิธีกรถามว่า ปัจจุบันกระแสนิยมของการอ่านเป็นอย่างไรบ้าง?
อาจารย์กนกวลี – เนื่องจากมีดิจิทัลเข้ามา นักอ่านรุ่นเก่า(ผู้ใหญ่)เคยนิยมอ่านหนังสือเป็นเล่ม แต่พอนิตยสารและหนังสือต่างๆ ปิดตัวลงไป ทุกคนก็ตกใจกลัวว่าจะไม่มีหนังสือให้อ่านกันแล้ว แต่นักอ่านรุ่นใหม่(เด็กๆ)ใช้ไอแพ็คในการอ่าน เด็กรุ่นใหม่เขาเติบโตมากับสิ่งเหล่านี้เขาจึงคุ้นชินกับมันมากกว่า เขาจึงหาทางกำจัดข้อด้อยเชิงลบของการอ่านในสื่อดิจิทัลออกไปได้ จึงกลายเป็นว่าอ่านนักรุ่นเก่าเหมือนจะไม่มีหนังสือให้อ่าน เพราะว่าเขาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่เป็น ปัญหาจึงมาตกลงสู่นักอ่านรุ่นเก่าพวกนี้แทน
-พวกวัยรุ่นที่เป็นนักอ่านรุ่นใหม่ไปเดินซื้อหนังสือในงานหนังสือฯ พวกเขาจะซื้อเรื่องที่เขาเคยอ่านในเน็ตมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาชอบ เด็กวัยรุ่นพวกนี้จึงไปตามหาซื้อหนังสือเล่มมาเก็บไว้ กลายเป็นว่าเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งซื้อหนังสือมา 2 เล่มเหมือนกัน เล่มหนึ่งเขาเอาไว้อ่าน ส่วนอีกเล่มเขาเอาไว้เก็บ
-ดังนั้นนักเขียนในปัจจุบันนี้ต้องก้าวตามให้ทัน ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ให้เป็น เพื่อตามการเปลี่ยนแปลงให้ทัน
พิธีกร ถามคุณรอมแพงว่า กระแสละครบุพเพสันนิวาสกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับชาติ ตอนแรกที่คุณรอมแพงจะเขียนเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจอย่างไรบ้าง?
คุณรอมแพง – เริ่มต้นเป็นนักเขียนจริงๆ ตอนปี 2549 พอได้เขียนนวนิยายไปสักระยะหนึ่งแล้วก็มีความคิดอยากจะเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่ย่อยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้อ่านง่ายขึ้น
-ด้วยความที่เรียนจบมาจากคณะโบราณคดี สาขาวิชาเอกประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงมีความคิดที่อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ถ้าได้เขียนนวนิยายย้อนยุค (พีเรียด) สักเล่มคงจะดี เพราะเราเติบโตมาจากการอ่านนวนิยายเรื่อง ทวิภพ , เรือนมยุรา , สายโลหิต ฯลฯ
-เริ่มอ่านนวนิยายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ พอคิดจะเขียนนวนิยายเราก็อยากจะเขียนให้เป็นนวนิยายรักแนวโรแมนติคคอมเมอร์ดี้ ยิ่งเป็นพีเรียดที่ตลกด้วยคิดว่าคนอ่านน่าจะชอบ และเป็นแนวที่เราถนัดด้วย
-เริ่มต้นจากการหาข้อมูลก่อนว่าจะเขียนถึงยุคไหนดี? จะย้อนไปยุคไหนดี? ถ้าเขียนยุครัชกาลที่ 5 มันก็ใกล้ตัวเกินไปเกือบจะเป็นปัจจุบันแล้ว คงจะเขียนแบบตลกมากไม่ได้แน่เพราะว่าลูกหลานเขายังคงอยู่ จึงตัดสินใจเขียนย้อนไปถึงยุคแผ่นดินสมเด็จพระนาราษณ์มหาราช ซึ่งเป็นยุคที่มีความเจริญรุ่งเรืองแล้ว มีชาวต่างชาติเข้ามาแล้ว น่าจะพอให้เราเข้าไปโลดแล่นในยุคนี้ได้ โดยตั้งใจจะเขียนเรื่องบุพเพสันนิวาสนี้แบบไม่ฟันธงในประด็นทางประวัติศาสตร์เลย
-พอดีว่าไปค้นข้อมูลเจอจดหมายเหตุของชาวบ้าน อ่านเจอในเรื่องมีชีปะขาวที่มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของคนในยุคสมัยนั้นที่คนพวกนี้จะรักษาศีล 5 อย่างต่อเนื่อง จะเอาประเด็นนี้มาเริ่มผูกเรื่อง
-เรื่องบุพเพสันนิวาส หมายถึงเรื่องรักที่หายไปแล้วคืนกลับมาได้
-ตอนที่หาข้อมูลสำหรับเขียนเรื่องต้องเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติ และหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วก็ต้องไปดูสถานที่จริงด้วย ต้องไปที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ไปชมแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในจังหวัดอยุธยา ถึงทำให้เราเห็นเรื่องราวได้มากกว่า จนสามารถเห็นเป็นภาพตามที่เราสร้างเรื่องไว้ได้
-พอได้พล็อตเรื่องแล้ว ต่อไปที่จะพูดถึงก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ข้อมูลที่เราใช้อาจจะไม่เป็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริงมาก เพราะประวัติศาสตร์มันมีหลายกระแสมาก เราจึงพยายามจับเอากระแสที่เข้ากับนวนิยายของเรามากที่สุดมาใช้
-ความง่ายของการเขียนเรื่องนี้คือตัวนางเอกที่ย้อนไป ซึ่งเราสามารถใช้ความคิดเห็นของคนในยุคปัจจุบันได้ คือคิดว่าถ้าเราย้อนยุคไปได้จริงๆ เราอยากจะไปทำอะไรบ้าง เราก็ให้ตัวนางเอกไปทำในนวนิยายแทน ส่วนการที่ให้นางเอกกลับชาติไปเกิดใหม่แล้วยังจำความได้นั้น มันทำให้เรื่องเข้าถึงคนในยุคปัจจุบันได้
-ความยากของการเขียนเรื่องนี้คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ คือเราพยายามจะหาเหตุการณ์ต่างๆ ใส่ลงไปในนวนิยายโดยไม่ฟันธง แต่จะบอกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างนี้จริงในประวัติศาสตร์ โดยเล่าผ่านมุมมองของตัวการะเกด (ตัวนางเอก) เพื่อให้คนอ่านได้ฉุกคิดและหาเหตุผลของตัวเขาเองได้