โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา จะมีเม็ดเงินลงทุนถึง 2.4 หมื่นล้านบาท ในระยะทาง 220 กิโลเมตร
• รัฐบาลเปิดรับฟังความคิดเห็นสำหรับนักลงทุนว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการนี้ จนทำให้สามารถนำมาปรับปรุงยกร่างเป็น TOR เพื่อเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูง เพื่อจะปลุกการลงทุนในภาคตะวันออก
• คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้ามาร่วมลงทุนนอกเหนือจาก เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เคยมีข่าวว่าสนใจจะร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีน
โครงการขนาดใหญ่ระดับ 220,000 ล้านบาทของประเทศไทย ที่รัฐบาลลงทุนเพื่อที่จะพลิกฟื้นภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นประตูสู่การลงทุน
ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการบริษัทปตท. วันที่ 25 เมษายน อนุมัติการซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และหาพันธมิตร เพิ่มอีก 2 ราย BTS และ TEC
•
ปตท มีกระทรวงการคลัง โดยรัฐบาลถือหุ้นอยู่ 51 % มีกองทุนวายุภักษ์ 1 และกองทุนวายุภักษ์ 2 ซึ่งขายหน่วยลงทุนให้เอกชนอีก 12 % = รัฐบาลไทยจะถือหุ้นใหญ่อยู่
•
BTS ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบีทีเอส ก็คือ คุณคีรี กาญจนพาสน์ถือหุ้นอยู่ 26 % มีไทยเอ็นวีดีอาร์ จํากัด 8% มีคุณกวิน กาญจนพาสน์ 5% ธนาคารกรุงเทพจำกัดมหาชน 4.57 % และบริษัทเคทูเจโฮลดิ้งจำกัดอีก 3 %
•
STEC หรือ ชิโนไทย ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทซี ที เวนเจอร์จำกัด 15.35 % บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์จํากัด 8% The Bank of New York Mellon 5 % USB SD Singapore Branch 4.9 % และคุณอนุทิน ชาญวีรกุลอีก 4.69 %
เงื่อนไข TOR [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. ผู้ยื่นข้อขอเสนอจะต้องเป็นนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศก็ได้ แต่เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้วจะต้องจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลไทยขึ้นใหม่เพื่อเป็นนิติบุคคลคู่สัญญา
2. ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีคุณสมบัติด้านการเงินดังนี้
• ผู้ถือหุ้นหรือสมาชิกต้องมีมูลค่าสุทธิของกิจการแต่ละปี โดยคิดเฉลี่ยในรอบระยะเวลา 3 ปีล่าสุดรวมกันไม่ต่ำกว่า 45,000 ล้านบาท
• ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีหนังสือแสดงเจตจำนง หรือเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสดรวมเป็นเงินไม่น้อยกว่า 125,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่มีความสามารถนี้ จะต้องเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จริงๆ เพราะต้องมีหนังสือแบงค์การันตี 125,000 ล้านบาท ด้วย
3. ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ และบริการผู้โดยสาร
4. คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
• เป็นการประเมินแบบผ่านไม่ผ่าน
• ข้อเสนอด้านเทคนิคเป็นการประเมินแบบคะแนน
• ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนเป็นการประเมินผลประโยชน์สูงสุดที่รัฐจะได้รับ
• ข้อเสนออื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการเพื่อประโยชน์ต่อประเทศ
5. เมื่อเข้าร่วมประมูล นิติบุคคลจะต้องวางหลักประกันสัญญาณมูลค่า 10,000 ล้านบาท ในช่วงการออกแบบและก่อสร้าง
สำหรับโครงการขนาดใหญ่นี้ ที่จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล มีเงื่อนไข TOR แบบนี้ ใครบ้างจะสามารถเข้าร่วมการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้บ้าง
• โครงการนี้มีมูลค่าลงทุน 224,544 ล้านบาท
• วงเงินที่รัฐบาลจะร่วมลงทุน 119,425 ล้านบาท
• เอกชนร่วมลงทุนจะประหยัดงบประมาณรัฐ การดำเนินโครงการจะเสร็จตรงเวลา
• มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศไทย
• แบ่งความเสี่ยงในการบริหารจัดการให้เอกชน
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา จะมีผลประโยชน์จากการลงทุนรถไฟเส้นนี้จะให้ผลตอบแทนแก่ประเทศไทยตลอดอายุโครงการ
• ประมาณ 650,000 ล้านบาท
• ก่อให้เกิดการสร้างงานระหว่างการก่อสร้างได้ประมาณ 16,000 อัตรา เป็นคนงานที่จะมาร่วมก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
• ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ เช่น เหล็กประมาณ 1 ล้านตัน ใช้ปูนซีเมนต์ประมาณ 8 ล้านลบ.ม.
• เกิดการสร้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องประมาณ 100,000 อัตรา ในช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังจากที่โครงการนี้เปิดให้บริการ
• เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่บุคลากรของประเทศ
• เมื่อโครงการร่วมลงทุนหมดสัญญา ทรัพย์สิน และการดำเนินงานทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐบาล
เมื่อคณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบคัดเลือกเอกชน ผลการจราจร และร่างสัญญาร่วมลงทุน เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องจัดตั้งนิติบุคคลใหม่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือว่า Special purpose vehicle หรือว่า SPV โดยนิติบุคคลที่จดทะเบียนจะต้องเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกภายในกลุ่มอย่างน้อย 1 รายมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมด และแต่ละรายจะต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทั้งหมดส่วนการถือหุ้นของนิติบุคคลไทยรวมกันทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทั้งหมด และไม่น้อยกว่า 4 พันล้านบาท
สำหรับการให้บริการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 36,000 ล้านบาท ทั้งนี้นิติบุคคลที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ต้องเป็นรายเดียวกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก และผ่านการเจรจาแล้ว
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
• รัฐบาลเปิดรับฟังความคิดเห็นสำหรับนักลงทุนว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงการนี้ จนทำให้สามารถนำมาปรับปรุงยกร่างเป็น TOR เพื่อเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูง เพื่อจะปลุกการลงทุนในภาคตะวันออก
• คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้ามาร่วมลงทุนนอกเหนือจาก เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เคยมีข่าวว่าสนใจจะร่วมลงทุนกับนักลงทุนจีน
โครงการขนาดใหญ่ระดับ 220,000 ล้านบาทของประเทศไทย ที่รัฐบาลลงทุนเพื่อที่จะพลิกฟื้นภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นประตูสู่การลงทุน
ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการบริษัทปตท. วันที่ 25 เมษายน อนุมัติการซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และหาพันธมิตร เพิ่มอีก 2 ราย BTS และ TEC
• ปตท มีกระทรวงการคลัง โดยรัฐบาลถือหุ้นอยู่ 51 % มีกองทุนวายุภักษ์ 1 และกองทุนวายุภักษ์ 2 ซึ่งขายหน่วยลงทุนให้เอกชนอีก 12 % = รัฐบาลไทยจะถือหุ้นใหญ่อยู่
• BTS ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบีทีเอส ก็คือ คุณคีรี กาญจนพาสน์ถือหุ้นอยู่ 26 % มีไทยเอ็นวีดีอาร์ จํากัด 8% มีคุณกวิน กาญจนพาสน์ 5% ธนาคารกรุงเทพจำกัดมหาชน 4.57 % และบริษัทเคทูเจโฮลดิ้งจำกัดอีก 3 %
• STEC หรือ ชิโนไทย ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทซี ที เวนเจอร์จำกัด 15.35 % บริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์จํากัด 8% The Bank of New York Mellon 5 % USB SD Singapore Branch 4.9 % และคุณอนุทิน ชาญวีรกุลอีก 4.69 %
เงื่อนไข TOR [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้