ที่มา :
https://www.prachachat.net/ict/news-148324
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวาระสำคัญที่ต้องพิจารณาคือการตัดสินใจจัดประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานดีแทค
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า วาระการประชุมบอร์ด กสทช. ที่สำคัญคือการประมูลคลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม(แคท) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 2561 โดย กสทช. ได้เริ่มเตรียมการไว้ตั้งแต่ปลายปี 2560 แต่เนื่องจากเป็นรอยต่อที่บอร์ดชุดปัจจุบันกำลังหมดวาระ
แต่ในวันนี้การสรรหาบอร์ดชุดใหม่ ได้มีมติของสนช. และคำสั่งตามมาตรา 44 ออกมา ทำให้บอร์ดชุดนี้ตัดสินใจเดินหน้าจัดประมูลคลื่นให้ทันก่อนหมดสัมปทาน โดยมีมติเห็นด้วยกับความเห็นของสำนักงาน กสทช. ที่เสนอว่า ในส่วนของคลื่นความถี่ 900 MHz อาจจะมีประเด็นเรื่องการรบกวนกับคลื่นที่ได้จัดสรรให้กับระบบรถไฟขนส่งทางรางที่มีการใช้งานอยู่หรือไม่ จึงให้ชะลอการจัดประมูลไว้ก่อน จนกว่าจะมีผลการศึกษาที่ชัดเจน ทั้งกระทรวงคมนาคมได้เสนอขอใช้คลื่นความถี่เพิ่มจาก 5 MHz เป็น 10 MHz ด้วย โดยกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด ทั้งให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ทราบในการประชุมครั้งต่อไปด้วย
ขณะเดียวกันได้มีมติให้จัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ภายใต้สัมปทาน 45 MHz โดยเห็นด้วยกับร่างหลักเกณฑ์การจัดประมูลคลื่นที่ทางสำนักงาน กสทช. เสนอขึ้นไป คือให้เป็นการจัดสรรไปในแนวทางเดียวกับการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ครั้งก่อน และไม่ให้กลุ่มบริษัท แจ๊ส โมบาย บรอดแบนด์ เข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากได้ทิ้งการประมูลในครั้งก่อน
สำหรับร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จะมีคลื่นนำออกประมูลทั้งหมด 45 MHz แบ่งออกเป็น 3 ใบอนุญาตๆ ละ 15 MHz มีอายุใบอนุญาต 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูล 37,457 ล้านบาทต่อไลเซนส์ ซึ่งเป็นราคาที่กำหนดตามมติที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 31/2558 ที่กำหนดให้นำราคาสุดท้ายของการประมูลคลื่น 1800 MHz ในปี 2558 มาคำนวณเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน ในส่วนของการเคาะราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 75 ล้านบาท
ทั้งจะใช้กฎ N-1 คือ จำนวนไลเซนส์จะนำออกประมูลน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าประมูล ดังนั้นจะนำออกประมูลทั้ง 3 ใบอนุญาตต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่า 3 ราย หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะนำออกประมูล 2 ใบอนุญาต ถ้ามีผู้เข้าร่วมการประมูล 2 ราย จะนำคลื่นความถี่ออกมาประมูล 1 ชุด ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูล 1 ราย จะขยายเวลาเปิดรับผู้เข้าร่วมการประมูลไปอีก 30 วัน ถ้ายังไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพิ่ม ให้เปิดการประมูล โดยผู้เข้าร่วมการประมูลต้องเคาะเพิ่มราคา 1 ครั้ง
“ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้มีข้อพิพาท และสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเพราะการประมูลคลื่น 1800 MHz ในครั้งก่อน ซึ่งนำมาใช้เป็นราคาเริ่มต้นในครั้งนี้ ไม่ได้มีผู้ทิ้งการประมูลหรือมีผู้ประเข้าประมูลรายใดออกจากการประมูล จึงเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว ส่วนกฎ N-1 ทั้งระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างแห่งชาติ รวมถึงแนวทางของ ปปช. ระบุว่า ถ้าจำนวนที่นำออกประมูลเท่ากับจำนวนผู้เข้าประมูล ไม่เรียกว่าเป็นการประมูลเพราะถือว่าไม่มีการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องกำหนดไว้”
ส่วนการวางประกันสำหรับเข้าร่วมประมูลจะต้องวางแบงค์การันตีจำนวน 7,492 ล้านบาท แบ่งเป็นประกันการประมูล 1,873 ล้านบาท และค่าปรับหากมีการทิ้งประมูลอีก 5,619 ล้านบาท ดังนั้นหากมีผู้ทิ้งประมูลจะถูกยึดแบงค์การันตีทั้งหมด
สำหรับกรอบเวลาในการดำเนินการคือ จะนำร่างหลักเกณฑ์การประมูลประกาศลงราชกิจจานุเบกษาภายใน 4 พ.ค. 2561 จากนั้นจะประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูลระหว่าง 15 พ.ค. – 14 มิ.ย. 2561 เปิดให้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูล 15 มิ.ย. 2561 จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลในวันที่ 2 ก.ค. 2561 และจัดเคาะราคาประมูลในวันที่ 4 ส.ค. 2561 ซึ่งถือเป็นวันฤกษ์ดีเพราะเป็นวันสื่อสารแห่งชาติ
โดยผู้ชนะการประมูลจะมีเวลา 90 วันเพื่อนำเงินประมูลงวดแรกมาชำระ โดยเงื่อนไขการชำระเงิน จะแบ่งการชำระออกเป็น 3 งวด คือ งวดที่ 1 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 50% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
“ตามกรอบเวลาอาจจะต้องเข้าสู่ช่วงเยียวยาผู้บริโภคหลังสิ้นสุดสัมปทาน เพราะต้องให้เวลาผู้ชนะประมูล 90 วันในการชำระเงิน แต่จะเป็นช่วงเวลาไม่มากนัก”
กสทช.ถือฤกษ์ดี “4 ส.ค.” วันสื่อสารแห่งชาติ เคาะประมูลคลื่นดีแทค ยืนราคา 37,457 ล้าน ห้าม “แจ๊ส” เข้าร่วม
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2561 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวาระสำคัญที่ต้องพิจารณาคือการตัดสินใจจัดประมูลคลื่นภายใต้สัมปทานดีแทค
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า วาระการประชุมบอร์ด กสทช. ที่สำคัญคือการประมูลคลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม(แคท) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย. 2561 โดย กสทช. ได้เริ่มเตรียมการไว้ตั้งแต่ปลายปี 2560 แต่เนื่องจากเป็นรอยต่อที่บอร์ดชุดปัจจุบันกำลังหมดวาระ
แต่ในวันนี้การสรรหาบอร์ดชุดใหม่ ได้มีมติของสนช. และคำสั่งตามมาตรา 44 ออกมา ทำให้บอร์ดชุดนี้ตัดสินใจเดินหน้าจัดประมูลคลื่นให้ทันก่อนหมดสัมปทาน โดยมีมติเห็นด้วยกับความเห็นของสำนักงาน กสทช. ที่เสนอว่า ในส่วนของคลื่นความถี่ 900 MHz อาจจะมีประเด็นเรื่องการรบกวนกับคลื่นที่ได้จัดสรรให้กับระบบรถไฟขนส่งทางรางที่มีการใช้งานอยู่หรือไม่ จึงให้ชะลอการจัดประมูลไว้ก่อน จนกว่าจะมีผลการศึกษาที่ชัดเจน ทั้งกระทรวงคมนาคมได้เสนอขอใช้คลื่นความถี่เพิ่มจาก 5 MHz เป็น 10 MHz ด้วย โดยกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด ทั้งให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ทราบในการประชุมครั้งต่อไปด้วย
ขณะเดียวกันได้มีมติให้จัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ภายใต้สัมปทาน 45 MHz โดยเห็นด้วยกับร่างหลักเกณฑ์การจัดประมูลคลื่นที่ทางสำนักงาน กสทช. เสนอขึ้นไป คือให้เป็นการจัดสรรไปในแนวทางเดียวกับการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ครั้งก่อน และไม่ให้กลุ่มบริษัท แจ๊ส โมบาย บรอดแบนด์ เข้าร่วมประมูลได้ เนื่องจากได้ทิ้งการประมูลในครั้งก่อน
สำหรับร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จะมีคลื่นนำออกประมูลทั้งหมด 45 MHz แบ่งออกเป็น 3 ใบอนุญาตๆ ละ 15 MHz มีอายุใบอนุญาต 15 ปี ราคาเริ่มต้นประมูล 37,457 ล้านบาทต่อไลเซนส์ ซึ่งเป็นราคาที่กำหนดตามมติที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 31/2558 ที่กำหนดให้นำราคาสุดท้ายของการประมูลคลื่น 1800 MHz ในปี 2558 มาคำนวณเป็นพื้นฐานที่เป็นอัตราส่วนเดียวกัน ในส่วนของการเคาะราคาจะเพิ่มขึ้นรอบละ 0.2% ของราคาขั้นต่ำ คิดเป็น 75 ล้านบาท
ทั้งจะใช้กฎ N-1 คือ จำนวนไลเซนส์จะนำออกประมูลน้อยกว่าจำนวนผู้เข้าประมูล ดังนั้นจะนำออกประมูลทั้ง 3 ใบอนุญาตต่อเมื่อมีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่า 3 ราย หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะนำออกประมูล 2 ใบอนุญาต ถ้ามีผู้เข้าร่วมการประมูล 2 ราย จะนำคลื่นความถี่ออกมาประมูล 1 ชุด ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูล 1 ราย จะขยายเวลาเปิดรับผู้เข้าร่วมการประมูลไปอีก 30 วัน ถ้ายังไม่มีผู้เข้าร่วมการประมูลเพิ่ม ให้เปิดการประมูล โดยผู้เข้าร่วมการประมูลต้องเคาะเพิ่มราคา 1 ครั้ง
“ราคาเริ่มต้นประมูลคลื่น 1800 MHz ไม่ได้มีข้อพิพาท และสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงเพราะการประมูลคลื่น 1800 MHz ในครั้งก่อน ซึ่งนำมาใช้เป็นราคาเริ่มต้นในครั้งนี้ ไม่ได้มีผู้ทิ้งการประมูลหรือมีผู้ประเข้าประมูลรายใดออกจากการประมูล จึงเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว ส่วนกฎ N-1 ทั้งระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างแห่งชาติ รวมถึงแนวทางของ ปปช. ระบุว่า ถ้าจำนวนที่นำออกประมูลเท่ากับจำนวนผู้เข้าประมูล ไม่เรียกว่าเป็นการประมูลเพราะถือว่าไม่มีการแข่งขัน จึงจำเป็นต้องกำหนดไว้”
ส่วนการวางประกันสำหรับเข้าร่วมประมูลจะต้องวางแบงค์การันตีจำนวน 7,492 ล้านบาท แบ่งเป็นประกันการประมูล 1,873 ล้านบาท และค่าปรับหากมีการทิ้งประมูลอีก 5,619 ล้านบาท ดังนั้นหากมีผู้ทิ้งประมูลจะถูกยึดแบงค์การันตีทั้งหมด
สำหรับกรอบเวลาในการดำเนินการคือ จะนำร่างหลักเกณฑ์การประมูลประกาศลงราชกิจจานุเบกษาภายใน 4 พ.ค. 2561 จากนั้นจะประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประมูลระหว่าง 15 พ.ค. – 14 มิ.ย. 2561 เปิดให้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูล 15 มิ.ย. 2561 จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมประมูลในวันที่ 2 ก.ค. 2561 และจัดเคาะราคาประมูลในวันที่ 4 ส.ค. 2561 ซึ่งถือเป็นวันฤกษ์ดีเพราะเป็นวันสื่อสารแห่งชาติ
โดยผู้ชนะการประมูลจะมีเวลา 90 วันเพื่อนำเงินประมูลงวดแรกมาชำระ โดยเงื่อนไขการชำระเงิน จะแบ่งการชำระออกเป็น 3 งวด คือ งวดที่ 1 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 50% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล
งวดที่ 2 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย พร้อมหนังสือค้ำประกันการชำระค่าเงินประมูลฯ ในส่วนที่เหลือ ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
งวดที่ 3 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่จำนวน 25% ของราคาการประมูลสูงสุดของผู้ชนะการประมูลแต่ละราย ภายใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
“ตามกรอบเวลาอาจจะต้องเข้าสู่ช่วงเยียวยาผู้บริโภคหลังสิ้นสุดสัมปทาน เพราะต้องให้เวลาผู้ชนะประมูล 90 วันในการชำระเงิน แต่จะเป็นช่วงเวลาไม่มากนัก”