เกิดอะไรขึ้นกับเกษตรไทย ???

กระทู้สนทนา
เกิดอะไรขึ้นกับเกษตรไทย ??? สาสน์จาก CEO TaladGoo.com
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรไปทั่วโลก เราเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งทรัพยากรทางการเกษตร มีสำนวนไทยที่พูดกันมาตั้งแต่โบราณว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” หมายถึงการเปรียบเทียบกับในแหล่งน้ำทุกที่มีปลาชุกชุมและในนาก็มีข้าวสุดลูกหูลูกตา

กระนั้นก็ตามแม้ในปัจจุบันเรายังเป็นดินแดนที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ในพื้นที่เส้นศูนย์สูตรเดียวกันนั้น ยังมีอีกหลายประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่เช่นเดียวกัน ทั้งเวียดนาม อินเดีย พม่า กัมพูชา เป็นต้น ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่จะมีดีในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั้งสิ้น แต่ประเทศไทยได้เปรียบและโชคดีจากพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่โปรดพัฒนาแหล่งน้ำที่เป็นหัวใจของการเกษตรให้ทั่วถึงทุกท้องถิ่น จนทำให้ทุกพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศสามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อบริโภคในประเทศ และเกินความต้องการจนสามารถส่งออกได้ แต่!!

การเพาะปลูกที่เป็นจำนวนมากนี้ทำให้เกษตรกรใช้ที่ดินของตนเองเพาะปลูก เพื่อป้อนภาคเอกชนที่มีช่องทางจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศมากจนเกินไป ปลูกพืชเชิงเดียว (มีพื้นที่เท่าไรปลูกชนิดเดียวทั้งไร่) ไม่มีการปลูกผสมผสาน (ปลูกพืชหลายชนิดและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ทำกิจกรรมอื่นๆควบคู่) แต่ทั้งนี้คนรุ่นใหม่ที่เป็นผันตัวไปเป็นเกษตรกรมีความเข้าใจมากขึ้น จนถึงพัฒนาพื้นที่ตัวเองไปทำเกษตรนวัตกรรม ทำการเกษตรแบบออร์แกนิค ทำฟาร์มที่ควบคุมปัจจัยการผลิตได้ เป็นต้น โดยเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยควบคุม และเอาองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปปรับใช้อย่างดีทำให้เกิดปรับเปลี่ยนการเกษตรของไทยในอนาคต

ทั้งนี้หากเราย้อนกลับไปดูวงจรของพ่อค้าเกษตรที่ส่งออกกัน วงจรนี้ถูกกำหนดด้วยตลาดโลกซึ่งมีผู้ซื้อรายใหญ่จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเทรดเดอร์ชื่อดังระดับโลกในแต่ละวงการ ทั้งวงการน้ำตาล วงการข้าว วงการยางพารา กำหนดราคารับซื้อในราคาตลาดโลกทั้งที่มีราคาอ้างอิงและไม่มีราคาอ้างอิง ทำให้ผู้ส่งออกในแต่ละประเทศถูกกำหนดราคาได้ง่าย เช่น

ผู้ซื้อบอกว่าตอนนี้รับซื้อราคาได้ 380 usd ต่อตัน ใครต้องการขายราคานี้ก็รับออเดอร์ไป ผู้ส่งออกไทยบอกราคานี้ไม่ไหว ผู้ส่งออกเวียดนามบอกไหว ผู้ส่งออกอินเดียบอกไหว

สุดท้ายผู้ส่งออกไทยกัดฟันสู้ แล้วจะให้ทำยังไงต่อละ?

ผู้ส่งออกก็มาตั้งราคากับผู้ขายในประเทศต่อ ว่าราคานี้ขายไหม?

แล้วผู้ขายในประเทศก็ไปตั้งราคารับซื้อจากเกษตรกรต่อ สุดท้ายในห่วงโซ่นี้ยังหาผู้ชนะไม่ได้แน่นอน เพราะแต่ละคนได้กำไรไปคนละนิดละหน่อย (กรณีนี้พูดเฉพาะภาพรวมไม่ได้เจาะจงลึกไปถึงการเก็งกำไรของพ่อค้าแต่ละราย เพราะบางรายอยู่ในตลาดมานานจนเห็นวงจรชัดเจนอาจมีการซื้อผลผลิตตั่งแต่ราคาต่ำมาเก็งกำไร)

แล้วสรุปสุดท้ายเงินถึงมือเกษตรกรนิดเดียว ทั้งที่ในวงจรนี้เกษตรกรมีจำนวนมากกว่าพ่อค้าทั้งหมด

เงินที่เกษตรกรได้ เอาไปไหน?
การแบ่งสัดส่วนการใช้เงินของเกษตรกรส่วนใหญ่ คือการเอาไปจับจ่ายเพื่อซื้อเมล็ดพันธ์ุพืช ซื้อปุ๋ย ซื้อปัจจัยการผลิตอื่นๆ จ่ายค่าปรับปรุงดิน จ่ายค่าเช่านา เหลืออีกไม่มากที่ต้องส่งลูกเรียน ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แล้วทางรอดของเกษตรกรไทยจะมีทางเลือกไหนได้บ้าง ในเมื่อวงจรทุกปีก็ต้องเพาะปลูกแบบนี้ (เนื่องจากสินค้าเกษตรไม่เหมือนสินค้าอื่นๆ ที่สามารถผลิตได้วันนี้ พรุ่งนี้เก็บเกี่ยว ต้องใช้เวลาตั้งแต่เป็นเมล็ด เป็นกล้า ต้องอาศัยเวลาเติบโต)

ขอรัฐบาลช่วยเหรอ?  รัฐบาลก็ช่วยอยุ่แล้ว แล้วแต่นโยบาย จำนำบ้าง ประกันราคาบ้าง บ้างก็ช่วยลดต้นทุนการผลิต หรือจูงใจให้ปลูกพืชผสมผสานบ้าง ทั้งนี้เป็นมาตราการช่วยเหลือระยะสั้น หรือถ้านโยบายเปลี่ยนก็ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้นเกษตรกรต้องหาทางปรับตัวและยืนบนลำแข้งของตัวเองให้ได้

นี่คือที่มาของวงจรคร่าวๆ แต่จะมีหนทางไหนในการแก้ปัญหานี้ได้? โลกเราได้เปลี่ยนไปอย่างมากจากยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นยุคของอุตสาหกรรม ใครมีโรงงานคนนั้นได้เปรียบ จนยุคต่อมาเป็นยุคสื่อสารมวลชน ใครเร็วกว่าเป็นผู้ชนะ จนมายุคนี้เป็นยุคดิจิตอล ไม่เพียงแต่เร็วแต่ยังต้องตอบโจทย์ที่หลากหลายได้ มีประสิทธิภาพและสะดวกอีกด้วย

ยุคทองของเกษตรกรไทย
หากตระหนักดูแล้ว ยุคดิจิตอลคือโอกาสทองของเกษตรกรตัวเล็กๆ และผู้ประกอบการรายย่อยทั่วประเทศไทย แค่มีเครื่องมือสื่อสาร มีอินเตอร์เน็ต ทุกคนก็สามารถทำธุรกิจได้ ไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาแพงๆ ไม่ต้องมีทีมงานเยอะแยะ เรื่องพวกนี้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรไทยอย่างมากที่จะเสนอผลิตภัณฑ์ เสนอขาย ให้กับคนทั่วโลกได้โดยตัดวงจรหลายต่อหลายทอดออกไป ราคาก็สามารถกำหนดเองได้ระดับหนึ่ง

เกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตของไทยสิ่งที่ต้องทำในยุคนี้ คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตราฐานมากขึ้น มีแพคเกจที่ดีและสะดวกมากขึ้น พืชผลที่ผลิตออกมาต้องประณีตมากขึ้น อาจจะเสียเวลาเพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย แต่สามารถเสนอขายในราคาที่ดีกว่า เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ คือผู้ซื้อจะยอมรับการซื้อโดยตรงจากเกษตรกรเช่นกัน ถ้าเกษตรกรเหล่านั้นทำตามข้อตกลงและมาตราฐานได้

นี่คือที่มาของแนวคิด ‭TaladGoo.com‬ เบื้องต้น ที่จะผลักดันสร้างตลาดใหม่ๆ ให้แก่เกษตรกร นำเสนอให้ผู้ผลิตต้นน้ำ ผู้แปรรูปกลางน้ำ ผู้บริโภคและผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาพบกันบนแพลตฟอร์มดิจิตอล

สุดท้ายอนาคตของเกษตรกรไทยจะเป็นอย่างไร? เราคงต้องดูกันต่อ

นี่คือสาสน์จาก คุณธิติกร อ่อนตามธรรม CEO เว็บไซต์ TaladGoo

ที่มา : https://taladgoo.com/2018/03/28/เกษตรไทย/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่