เอ็นใต้ฝ่าเท้าจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆจะเชื่อมระหว่างกระดูกสันเท้าไปยังกระดูกนิ้วเท้า
ทำหน้าที่ช่วยพยุงส่วนโค้งของฝ่าเท้า ถ้าเอ็นฝ่าถูกยืดหรือเกิดแรงตึงมากเกินไปจะเดิดการบวมหรืออักเสบ ทำให้ขณะเดิน
หรือยืนจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าหรือปลายเท้าได้ ส่วนใหญ่พบในระหว่างอายุ 40-70 ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
และในผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สาเหตุ
เกิดจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า โดยการบาดเจ็บนี้มักจะเกิดจากการบาดเจ็บ
เล็กๆน้อยๆที่สะสมเป็นเวลานาน มักพบในผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง หรือมีปัญหาบริเวณอุ้งเท้า เช่นภาวะเท้าแบน
หรือส่วนโค้งของเท้ามากเกินไป นักวิ่งระยะไกล การใส่รองเท้าที่ไม่มีส่วนพยุงเท้า หรือมีส้นรองเท้าแข็งเกินไป
อาการ
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า จะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือยืนลงน้ำหนัก
แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งแล้วอาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้น หลังจากยืนหรือเดินนานๆจะมีอาหารปวดมากขึ้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.ในผู้ที่มีอาการอักเสบมากๆ ร่วมกับอาการปวด บวม แดง ร้อน ให้ทำการประคบเย็นบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า
หรือแช่ฝ่าเท้าในน้ำเย็น 15-20 นาที
2.หลังจากอาการบวม แดง ร้อน ลดลงให้ประคบร้อนบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า หรือแช่ฝ่าเท้าในน้ำอุ่น 20-30 นาที
หลังจากนั้นให้ทำการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อขาและฝ่าเท้า
3.ลดอาการปวดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเช่น อัลตร้าซาวด์ เครื่องเลเซอร์ เครื่อง short wave เป็นต้น
4.การติดเทปเพื่อลดอาการปวด
วิดีโอตัวอย่างการออกกำลังกายในผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
https://www.youtube.com/watch?v=6q0MUfIL_cA
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ เกิดจากสาเหตุใดและรักษาอย่างไร
ทำหน้าที่ช่วยพยุงส่วนโค้งของฝ่าเท้า ถ้าเอ็นฝ่าถูกยืดหรือเกิดแรงตึงมากเกินไปจะเดิดการบวมหรืออักเสบ ทำให้ขณะเดิน
หรือยืนจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าหรือปลายเท้าได้ ส่วนใหญ่พบในระหว่างอายุ 40-70 ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
และในผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สาเหตุ
เกิดจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า โดยการบาดเจ็บนี้มักจะเกิดจากการบาดเจ็บ
เล็กๆน้อยๆที่สะสมเป็นเวลานาน มักพบในผู้ที่มีเอ็นร้อยหวายตึง หรือมีปัญหาบริเวณอุ้งเท้า เช่นภาวะเท้าแบน
หรือส่วนโค้งของเท้ามากเกินไป นักวิ่งระยะไกล การใส่รองเท้าที่ไม่มีส่วนพยุงเท้า หรือมีส้นรองเท้าแข็งเกินไป
อาการ
ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า จะปวดมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียงหรือยืนลงน้ำหนัก
แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่งแล้วอาการปวดมักจะดีขึ้น หากการอักเสบรุนแรงขึ้น หลังจากยืนหรือเดินนานๆจะมีอาหารปวดมากขึ้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.ในผู้ที่มีอาการอักเสบมากๆ ร่วมกับอาการปวด บวม แดง ร้อน ให้ทำการประคบเย็นบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า
หรือแช่ฝ่าเท้าในน้ำเย็น 15-20 นาที
2.หลังจากอาการบวม แดง ร้อน ลดลงให้ประคบร้อนบริเวณส้นเท้าหรือใต้ฝ่าเท้า หรือแช่ฝ่าเท้าในน้ำอุ่น 20-30 นาที
หลังจากนั้นให้ทำการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อขาและฝ่าเท้า
3.ลดอาการปวดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเช่น อัลตร้าซาวด์ เครื่องเลเซอร์ เครื่อง short wave เป็นต้น
4.การติดเทปเพื่อลดอาการปวด
วิดีโอตัวอย่างการออกกำลังกายในผู้ป่วยเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
https://www.youtube.com/watch?v=6q0MUfIL_cA
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด