วันพุธ ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาตตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปยังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ทรงเป็นประธานในการบำเพ็ญกุศล ๒๐ ปีศาลรัฐธรรมนูญ และทรงชุบน้ำพระพุทธมนต์ชำระแววพระเนตรพระพุทธรูปประจำสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท ความตอนหนึ่งว่า
“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนให้บุคคล โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีหน้าที่ปกครอง และผู้มีหน้าที่ตัดสินอรรถคดี ต้องมีธรรมะที่เรียกว่า ‘พรหมวิหารธรรม’ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็น ‘ธรรมนูญ’ แห่งชีวิตและการทำงานเสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองบ้านเมือง ธรรมะประการสุดท้ายในพรหมวิหารธรรมคือ ‘อุเบกขาธรรม’ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อย่างไรก็ตาม ผู้คนทั้งหลายอาจจะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับความหมายของอุเบกขาที่ถูกต้อง
คำว่า ‘อุเบกขา’ นั้น คนไทยมักแปลกันว่า วางเฉย แล้วก็เลยทำให้พลอยเข้าใจไปว่าหมายถึง ความเฉยเมย หรือเมินเฉย จนเข้าข่ายการวางเฉยเพราะความไม่รู้ ซึ่งจัดเป็นบาปเป็นอกุศล
อันที่จริง อุเบกขาที่เป็นธรรมะในพรหมวิหารธรรม ต้องเป็นการวางเฉยเพราะความรู้ มีใจอันสงบนิ่งอยู่ด้วยปัญญา จัดเป็นธรรมฝ่ายกุศล คนที่นิ่งด้วยปัญญา ย่อมมีความพร้อมที่จะรักษาธรรมะ คือความถูกต้องไว้ได้
ตุลาการหรือผู้ทำงานด้านกฎหมายจึงต้องมีอุเบกขา เป็นหลักดำรงตนที่สำคัญที่สุด เพราะอุเบกขานี้เอง ที่จะเป็นตัวควบคุม ไม่ให้ความรู้สึกรัก รู้สึกชัง หรือรู้สึกกลัว เข้ามาครอบงำ จนมีใจสะทกสะท้านและเอนเอียงไป
นักกฎหมายต้องให้ ‘ปัญญา’ ทำหน้าที่เฉลยความไปตามที่เป็นจริง สภาวะเช่นนี้คือการครองอุเบกขาธรรมไว้ได้อย่างถูกต้อง และสภาวะเช่นนี้เองที่เรียกว่า ‘ความยุติธรรม’
ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายเช่นท่านทั้งหลาย จำเป็นต้องมีพรหมวิหารธรรมอย่างครบชุด แต่ต้องให้อุเบกขาธรรมเข้ากำกับอยู่ทุกขณะ อย่าเผลออ้างความเมตตา กรุณา หรือมุทิตา ทั้งๆ ที่มี ‘อคติ’ เข้าครอบงำ ถ้าอคติเข้าครอบงำเมื่อไร เมื่อนั้นแปลว่ากำลังเสียอุเบกขา คือความเป็นกลางไป
เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอฝากให้ทุกท่านไปศึกษาทบทวนธรรมะข้อ ‘อุเบกขา’ ให้กระจ่างและถี่ถ้วน เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เป็นหลักประกันความยุติธรรมของสังคมไทยสืบไป”
Facebook
สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
สภาวะเช่นนี้เองที่เรียกว่า ‘ความยุติธรรม’
โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระโอวาท ความตอนหนึ่งว่า
“สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนให้บุคคล โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีหน้าที่ปกครอง และผู้มีหน้าที่ตัดสินอรรถคดี ต้องมีธรรมะที่เรียกว่า ‘พรหมวิหารธรรม’ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็น ‘ธรรมนูญ’ แห่งชีวิตและการทำงานเสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและการปกครองบ้านเมือง ธรรมะประการสุดท้ายในพรหมวิหารธรรมคือ ‘อุเบกขาธรรม’ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อย่างไรก็ตาม ผู้คนทั้งหลายอาจจะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับความหมายของอุเบกขาที่ถูกต้อง
คำว่า ‘อุเบกขา’ นั้น คนไทยมักแปลกันว่า วางเฉย แล้วก็เลยทำให้พลอยเข้าใจไปว่าหมายถึง ความเฉยเมย หรือเมินเฉย จนเข้าข่ายการวางเฉยเพราะความไม่รู้ ซึ่งจัดเป็นบาปเป็นอกุศล
อันที่จริง อุเบกขาที่เป็นธรรมะในพรหมวิหารธรรม ต้องเป็นการวางเฉยเพราะความรู้ มีใจอันสงบนิ่งอยู่ด้วยปัญญา จัดเป็นธรรมฝ่ายกุศล คนที่นิ่งด้วยปัญญา ย่อมมีความพร้อมที่จะรักษาธรรมะ คือความถูกต้องไว้ได้
ตุลาการหรือผู้ทำงานด้านกฎหมายจึงต้องมีอุเบกขา เป็นหลักดำรงตนที่สำคัญที่สุด เพราะอุเบกขานี้เอง ที่จะเป็นตัวควบคุม ไม่ให้ความรู้สึกรัก รู้สึกชัง หรือรู้สึกกลัว เข้ามาครอบงำ จนมีใจสะทกสะท้านและเอนเอียงไป
นักกฎหมายต้องให้ ‘ปัญญา’ ทำหน้าที่เฉลยความไปตามที่เป็นจริง สภาวะเช่นนี้คือการครองอุเบกขาธรรมไว้ได้อย่างถูกต้อง และสภาวะเช่นนี้เองที่เรียกว่า ‘ความยุติธรรม’
ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายเช่นท่านทั้งหลาย จำเป็นต้องมีพรหมวิหารธรรมอย่างครบชุด แต่ต้องให้อุเบกขาธรรมเข้ากำกับอยู่ทุกขณะ อย่าเผลออ้างความเมตตา กรุณา หรือมุทิตา ทั้งๆ ที่มี ‘อคติ’ เข้าครอบงำ ถ้าอคติเข้าครอบงำเมื่อไร เมื่อนั้นแปลว่ากำลังเสียอุเบกขา คือความเป็นกลางไป
เพราะฉะนั้น อาตมภาพจึงขอฝากให้ทุกท่านไปศึกษาทบทวนธรรมะข้อ ‘อุเบกขา’ ให้กระจ่างและถี่ถ้วน เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เป็นหลักประกันความยุติธรรมของสังคมไทยสืบไป”
Facebook
สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช