แม้ในประเทศไทยจะมีความเคลื่อนไหวของการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม
(Social Enterprise -SE) มานานแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงในระดับที่จะสร้างผลกระทบต่อสังคม
Social Enterprise คือ ธุรกิจที่เป็นได้ทั้งประเภทที่หากำไรและไม่หากำไร ยึดถือการตอบแทนประโยชน์สู่สังคมเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจ
ธุรกิจในรูปแบบ Social Enterprise หรือ S.E. นั้นจะเน้นด้านการกระจายรายได้สู่หน่วยผลิตในกลุ่มสังคม
• คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
• ความเป็นธรรม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน (Sharing)
• กระจายข้อมูลข่าวสาร ความรู้และวิทยาการในมวลหมู่สมาชิก และเป็นธุรกิจที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Innovation) เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรการผลิตต่างๆให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
Social Enterprise ไม่ได้เป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย หากแต่เป็นการเอาแนวคิดระบบเศรษฐกิจในรูปแบบสหกรณ์ตามโครงการพระราชดำริ มาประยุกต์ให้เข้ากับการบริหารธุรกิจของเอกชน ทั้งในส่วนที่หากำไรและไม่หากำไร ยึดแนวทางด้านการพัฒนาสังคมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
คนไทยบางคนยังเข้าใจผิดว่า
CSR = SE แต่จริงๆ แล้ว
CSR ไม่ใช่ SE เพราะ CSR คือการนำผลกำไรเพียงส่วนเล็กน้อยมาจัดกิจกรรมทางสังคม แต่ในทางกลับกัน SE จะเน้นการสร้างผลกระทบทางสังคมผ่านตัวกิจกรรมหลักของกิจการ โดยผลกำไรที่เกิดขึ้นจะนำไปลงทุนซ้ำเพื่อสร้างผลกระทบทางสังคมที่มากยิ่งๆ ขึ้นไป
ความไม่คืบหน้าของการพัฒนา Social Enterprise - SE มาโดยตลอด ก็คือ การที่ไม่มีกฎหมายรองรับสถานะของกิจการประเภท SE จึงทำให้ไม่เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบการในลักษณะดังกล่าว
การผลักดันเรื่องการพัฒนา SE ของไทย ก็ต้องหยุดชะงักลงไปอีกครั้ง หลังจากร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ถูกครม.ปัดตก และให้กลับไปทบทวน ปรับแก้สาระบางส่วน ก่อนจะนำกลับมาพิจารณาในวาระการประชุมต่อไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถึงแม้ว่าการผลักดันร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้จะยังไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อไหร่จะผ่านครม. แต่ภาคเอกชนบางส่วนที่ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลในรูปแบบที่เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม กับกระทรวงพาณิชย์แล้ว
อย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก็ได้จัดตั้งกองทุน CP Social Impact Fund งบประมาณราว 1,000 ล้านบาท สนับสนุนกิจการเพื่อสังคม 2 กลุ่ม คือ
1.ลงทุนกับสตาร์ตอัพด้านสังคม ซึ่งจะคัดเลือกสตาร์ตอัพ 5 ราย จากกว่า 50 ราย เพื่อสนับสนุน โดยมุ่งเน้นธุรกิจหรือกิจการที่ผู้นำองค์กรมีแนวคิดเรื่องความยั่งยืน และธุรกิจต้องเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
2.กิจการที่มีลักษณะเป็นโครงการ SE และใช้จุดแข็งของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการเข้าไปช่วยเหลือบุคคล ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ อาจเป็นโครงการระยะยาว 5-10 ปี ฯลฯ
ขณะที่ บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จัดตั้งบริษัทเพื่อสังคมชื่อ “บจ.ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ (LPC)” ให้บริการทำความสะอาด โดยมุ่งเน้นความยั่งยืน ด้วยการเปิดโอกาสการจ้างงานกับกลุ่มสตรีด้อยโอกาสในสังคม โดยไม่ปันผลกลับมาที่บริษัท แต่จะปันผลกำไรกลับคืนสู่พนักงาน
ผู้อำนวยการสถาบัน Change Fusion องค์กรที่ทำงานด้านส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย มองว่า
"ต้องการให้รัฐบาลเร่งผลักดันกฎหมายฉบับนี้ เพราะจะทำให้ SE ได้รับการยอมรับจากสังคม และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด และเป็นการกระจายความช่วยเหลือไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมได้ในวงกว้าง ช่วยแก้ปัญหาทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ
หากไม่มีกฎหมายรองรับจะทำให้ SE รายเล็กรายย่อยในต่างจังหวัดจะไม่ได้รับการส่งเสริม คงทยอยล้มหายตายจาก เพราะกลุ่มนี้มีทุนไม่เยอะมาก แต่ดำเนินธุรกิจด้วยความตั้งใจจะยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน"
ทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า
"ที่ผ่านมากระทรวงการคลังให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับ SE ไปหมดแล้ว แต่ยังติดขัดที่รัฐควรตั้งกองทุนขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการจะจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมด้วยหรือไม่
ฝ่ายหนึ่งไม่อยากให้รัฐใส่เงินงบประมาณลงไปใส่ในกองทุนเพื่อทำธุรกิจ
อีกฝ่ายก็อยากให้คนที่มีแรงบันดาลใจเข้าถึงแหล่งทุนไปทำธุรกิจเพื่อสังคม
อีกฝ่ายก็มองว่าถ้าเกิดทำธุรกิจแล้ว และได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐทั้งหมดแล้ว รัฐยังต้องเอาเงินไปช่วยให้เขาทำธุรกิจอีกเหมาะสมหรือไม่"
ที่มา :
ดันร่างกฎหมายSEยังหืดจับ ยื้อปมตั้งกองทุน-เอกชนลุยไม่รอรัฐหนุน
สรุป ไม่ผ่านครม. ก็เพราะว่า
• ฝ่ายหนึ่งไม่อยากให้รัฐใส่เงินงบประมาณลงไปใส่ในกองทุนเพื่อทำธุรกิจ
• อีกฝ่ายก็มองว่าถ้าทำเป็นธุรกิจแล้ว และได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐทั้งหมดแล้ว ทำไมรัฐยังต้องเอาเงินไปช่วยให้เขาทำธุรกิจอีกเหมาะสมหรือไม่
SE คืออะไร ทำไมไม่ผ่านกฏหมาย
Social Enterprise คือ ธุรกิจที่เป็นได้ทั้งประเภทที่หากำไรและไม่หากำไร ยึดถือการตอบแทนประโยชน์สู่สังคมเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจ
ธุรกิจในรูปแบบ Social Enterprise หรือ S.E. นั้นจะเน้นด้านการกระจายรายได้สู่หน่วยผลิตในกลุ่มสังคม
• คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
• ความเป็นธรรม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน (Sharing)
• กระจายข้อมูลข่าวสาร ความรู้และวิทยาการในมวลหมู่สมาชิก และเป็นธุรกิจที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Innovation) เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการลดต้นทุนการผลิตและใช้ทรัพยากรการผลิตต่างๆให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
Social Enterprise ไม่ได้เป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในประเทศไทย หากแต่เป็นการเอาแนวคิดระบบเศรษฐกิจในรูปแบบสหกรณ์ตามโครงการพระราชดำริ มาประยุกต์ให้เข้ากับการบริหารธุรกิจของเอกชน ทั้งในส่วนที่หากำไรและไม่หากำไร ยึดแนวทางด้านการพัฒนาสังคมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ
คนไทยบางคนยังเข้าใจผิดว่า CSR = SE แต่จริงๆ แล้ว
CSR ไม่ใช่ SE เพราะ CSR คือการนำผลกำไรเพียงส่วนเล็กน้อยมาจัดกิจกรรมทางสังคม แต่ในทางกลับกัน SE จะเน้นการสร้างผลกระทบทางสังคมผ่านตัวกิจกรรมหลักของกิจการ โดยผลกำไรที่เกิดขึ้นจะนำไปลงทุนซ้ำเพื่อสร้างผลกระทบทางสังคมที่มากยิ่งๆ ขึ้นไป
ความไม่คืบหน้าของการพัฒนา Social Enterprise - SE มาโดยตลอด ก็คือ การที่ไม่มีกฎหมายรองรับสถานะของกิจการประเภท SE จึงทำให้ไม่เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบการในลักษณะดังกล่าว
การผลักดันเรื่องการพัฒนา SE ของไทย ก็ต้องหยุดชะงักลงไปอีกครั้ง หลังจากร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ถูกครม.ปัดตก และให้กลับไปทบทวน ปรับแก้สาระบางส่วน ก่อนจะนำกลับมาพิจารณาในวาระการประชุมต่อไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา : ดันร่างกฎหมายSEยังหืดจับ ยื้อปมตั้งกองทุน-เอกชนลุยไม่รอรัฐหนุน
สรุป ไม่ผ่านครม. ก็เพราะว่า
• ฝ่ายหนึ่งไม่อยากให้รัฐใส่เงินงบประมาณลงไปใส่ในกองทุนเพื่อทำธุรกิจ
• อีกฝ่ายก็มองว่าถ้าทำเป็นธุรกิจแล้ว และได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐทั้งหมดแล้ว ทำไมรัฐยังต้องเอาเงินไปช่วยให้เขาทำธุรกิจอีกเหมาะสมหรือไม่