สายทางเดินของวิปัสสนา
ในเมื่อจิตของเรามีความคิด คิดไปๆ เรารู้ไปๆ ในบางช่วงมันจะแยกเป็น ๓ มิติ
มิติหนึ่งคิดอยู่ไม่หยุด
มิติหนึ่งจ้องดูอยู่ ถ้ากายยังปรากฏอยู่
มิติหนึ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย
ตัวคิดไม่หยุด คือจิตเหนือสำนึก
ตัวเฝ้าดู คือสติผู้รู้
ตัวนิ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกายเป็นจิตใต้
สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน
ในเมื่อมันละเอียดไปๆ จนกระทั่งกายหายไป จิตจะหยุด นิ่ง สว่างไสว รู้ ตื่น เบิกบาน สภาวะที่เป็นความคิดที่เราผ่านไปแล้วนี่ จะเป็นเสมือนหนึ่ง เมฆหมอกหรืออะไรไปวนอยู่รอบจิต แต่จิตไม่ได้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้นๆ อันนี้แหละที่หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า
" ฐีติภูตัง "
สายการเดินของวิปัสสนามันจะต้องไปอย่างนี้
ความจริงนี่ ถ้าหากว่าความคิดเกิดขึ้น เรายินดียินร้าย พอใจ ไม่พอใจ มันก็เป็นจิตฟุ้งซ่าน แต่ถ้ามันสักแต่ว่าคิด คิดแล้วทิ้งไปๆ มันไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน ถึงแม้ว่ามันจะฟุ้งซ่านก็ตาม ไม่ฟุ้งซ่านก็ตาม เราเอาสติกำหนดรู้ไปๆ เมื่อจิตของเรามีพลังเข้มแข็งทางสมาธิแล้ว แล้วสติปัญญามันรู้ทันกัน
ถ้าสิ่งใดมันเกิดความพอใจยินดีขึ้นมา มันก็จะรู้ตัวว่านี่คือ " กามตัณหา "
ถ้ามันยินร้าย นี่คือ " วิภวตัณหา "
ถ้ามันไปยึด นี่คือ " ภวตัณหา "
ทีนี้จิตมันจะปรุงแต่งไป สุขไป ทุกข์ไป สติก็ตามรู้ๆ เรื่อยไป ในเมื่อมันมีพลังทางสติปัญญาเข้มแข็งขึ้นมา พอมันหยุดกึ๊กลงไป นิ่งปั๊บนิดหน่อย พอไหวตัวพั้บ อ้อ! นี่คือทุกขอริยสัจที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้มา มันจะไปตามครรลองของมันอย่างนี้
ทีแรกเราตั้งใจคิดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วนี่ มันวางอารมณ์ลง มีแต่ความคิดที่เกิดขึ้น-ดับไป เกิด ขึ้น-ดับไป อยู่แค่นั้น ความคิดที่เกิดขึ้น-ดับไปนี่เป็นอะไรก็ได้ แล้วแต่ จิตใต้สำนึกมันจะปรุงขึ้นมา อย่างนี้ไม่ใช่ความฟุ้งซ่าน ถ้ามันฟุ้งเราก็ไม่กลัว ถ้ามันคิดไป คิดแล้วสักแต่ว่าคิด คิดแล้วทิ้งไป คิดแล้วทิ้งไป อันนี้มันไม่ฟุ้ง แต่ว่าคิดแล้วมันดีใจไป เสียใจไป ร้องไห้ไป หัวเราะไป ทุกข์ไป สุขไป อันนี้มันฟุ้ง แต่ไม่เป็นไร
ถ้ามีลักษณะที่ มันฟุ้งนี่แหละดีที่สุด สติของเราก็จ้องดูอยู่นั่นแหละ จิตคิดเราก็รู้ คิดแล้วดีใจเราก็รู้ เสียใจเราก็รู้ สุขเราก็รู้ ทุกข์เราก็รู้
ธรรมชาติของจิต เมื่อมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก หนักๆ เข้ามันเพิ่ม พลังงานมากขึ้น สมาธิมั่นคง สติเป็นมหาสติ ทีนี้เขาจะกำหนดหมาย อารมณ์สิ่งรู้ที่ปรากฏขึ้น พอไปถึงจุดหนึ่งมันจะหยุดนิ่งปั๊บ พอไหว ตัวปั๊บ ถ้ามันไปกำหนดหมายทุกข์ มันก็จะบอกว่า นี่คือทุกขอริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อมันเข้มแข็งขึ้น มันก็จะมองดูสุขทุกข์เกิดขึ้นสลับกันไป แล้วมันจะได้ความรู้ว่า " นอกจากทุกข์ไม่มีอะไร เกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป " มันก็จะเหลือแค่
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดคลองนา (วัดป่าชินรังสี) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
FB : วิมุตติธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ขอบคุณผู้ที่เขียนข้อความนี้
สายทางเดินของวิปัสสนา
ในเมื่อจิตของเรามีความคิด คิดไปๆ เรารู้ไปๆ ในบางช่วงมันจะแยกเป็น ๓ มิติ
มิติหนึ่งคิดอยู่ไม่หยุด
มิติหนึ่งจ้องดูอยู่ ถ้ากายยังปรากฏอยู่
มิติหนึ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย
ตัวคิดไม่หยุด คือจิตเหนือสำนึก
ตัวเฝ้าดู คือสติผู้รู้
ตัวนิ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกายเป็นจิตใต้
สำนึกตัวคอยเก็บผลงาน
ในเมื่อมันละเอียดไปๆ จนกระทั่งกายหายไป จิตจะหยุด นิ่ง สว่างไสว รู้ ตื่น เบิกบาน สภาวะที่เป็นความคิดที่เราผ่านไปแล้วนี่ จะเป็นเสมือนหนึ่ง เมฆหมอกหรืออะไรไปวนอยู่รอบจิต แต่จิตไม่ได้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้นๆ อันนี้แหละที่หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า
" ฐีติภูตัง "
สายการเดินของวิปัสสนามันจะต้องไปอย่างนี้
ความจริงนี่ ถ้าหากว่าความคิดเกิดขึ้น เรายินดียินร้าย พอใจ ไม่พอใจ มันก็เป็นจิตฟุ้งซ่าน แต่ถ้ามันสักแต่ว่าคิด คิดแล้วทิ้งไปๆ มันไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน ถึงแม้ว่ามันจะฟุ้งซ่านก็ตาม ไม่ฟุ้งซ่านก็ตาม เราเอาสติกำหนดรู้ไปๆ เมื่อจิตของเรามีพลังเข้มแข็งทางสมาธิแล้ว แล้วสติปัญญามันรู้ทันกัน
ถ้าสิ่งใดมันเกิดความพอใจยินดีขึ้นมา มันก็จะรู้ตัวว่านี่คือ " กามตัณหา "
ถ้ามันยินร้าย นี่คือ " วิภวตัณหา "
ถ้ามันไปยึด นี่คือ " ภวตัณหา "
ทีนี้จิตมันจะปรุงแต่งไป สุขไป ทุกข์ไป สติก็ตามรู้ๆ เรื่อยไป ในเมื่อมันมีพลังทางสติปัญญาเข้มแข็งขึ้นมา พอมันหยุดกึ๊กลงไป นิ่งปั๊บนิดหน่อย พอไหวตัวพั้บ อ้อ! นี่คือทุกขอริยสัจที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้มา มันจะไปตามครรลองของมันอย่างนี้
ทีแรกเราตั้งใจคิดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วนี่ มันวางอารมณ์ลง มีแต่ความคิดที่เกิดขึ้น-ดับไป เกิด ขึ้น-ดับไป อยู่แค่นั้น ความคิดที่เกิดขึ้น-ดับไปนี่เป็นอะไรก็ได้ แล้วแต่ จิตใต้สำนึกมันจะปรุงขึ้นมา อย่างนี้ไม่ใช่ความฟุ้งซ่าน ถ้ามันฟุ้งเราก็ไม่กลัว ถ้ามันคิดไป คิดแล้วสักแต่ว่าคิด คิดแล้วทิ้งไป คิดแล้วทิ้งไป อันนี้มันไม่ฟุ้ง แต่ว่าคิดแล้วมันดีใจไป เสียใจไป ร้องไห้ไป หัวเราะไป ทุกข์ไป สุขไป อันนี้มันฟุ้ง แต่ไม่เป็นไร
ถ้ามีลักษณะที่ มันฟุ้งนี่แหละดีที่สุด สติของเราก็จ้องดูอยู่นั่นแหละ จิตคิดเราก็รู้ คิดแล้วดีใจเราก็รู้ เสียใจเราก็รู้ สุขเราก็รู้ ทุกข์เราก็รู้
ธรรมชาติของจิต เมื่อมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก หนักๆ เข้ามันเพิ่ม พลังงานมากขึ้น สมาธิมั่นคง สติเป็นมหาสติ ทีนี้เขาจะกำหนดหมาย อารมณ์สิ่งรู้ที่ปรากฏขึ้น พอไปถึงจุดหนึ่งมันจะหยุดนิ่งปั๊บ พอไหว ตัวปั๊บ ถ้ามันไปกำหนดหมายทุกข์ มันก็จะบอกว่า นี่คือทุกขอริยสัจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อมันเข้มแข็งขึ้น มันก็จะมองดูสุขทุกข์เกิดขึ้นสลับกันไป แล้วมันจะได้ความรู้ว่า " นอกจากทุกข์ไม่มีอะไร เกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป " มันก็จะเหลือแค่
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ
(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดคลองนา (วัดป่าชินรังสี) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
FB : วิมุตติธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ขอบคุณผู้ที่เขียนข้อความนี้