จากกระทู้ก่อน
https://m.ppantip.com/topic/37527374?
ที่ตอนท้ายบอกว่า จะทำอย่างไรดีกับรถไฟนอน หากทางคู่เสร็จเรียบร้อยแล้วและมีรถไฟด่วนพิเศษ expess train ที่จอดแบบรถไฟความเร็วสูง ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่-หนองคายเหลือเพียง 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ผู้โดยสารไม่มีความจำเป็นต้องนอนโดยสารอีกต่อไป
แล้วรถนอนล่ะจะทำอย่างไร คำตอบก็คือให้เป็นรถที่วิ่งจอดเมืองละ 1-2 สถานีแบบรถไฟความเร็วสูงแต่ให้วิ่งข้ามภูมิภาคครับ เช่น จากเชียงใหม่ไปหาดใหญ่ จากเชียงใหม่ไปตราด หรือจากเชียงใหม่ไปอรัญประเทศ ก็จะวิ่งจากต้นทางถึงปลายทางด้วยระยะเวลาเหมาะสมแก่การนอนพอดีครับ
และสิ่งที่จะต้องทำคือ ตัดเส้นทางจากอยุธยาเข้านครปฐม โดยไม่ผ่านกรุงเทพ แบบทางคู่แก่งคอย-ฉะเชิงเทราที่เป็นการเชื่อมภูมิภาคอีสานกับตะวันออกให้เดินทางไปมาได้เร็วขึ้น และทำรถไฟทางคู่จากบางซื่อวิ่งมามักกะสันเพื่อวิ่งไปตะวันออก เส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อนนั่นแหละครับ รถไฟสายเหนือกับสายใต้ก็จะสามารถวิ่งเข้าสู่บางซื่อและวิ่งต่อไปภาคตะวันออกได้เลย เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวด้วยรถไฟมากมายหลายสาย เช่น เชียงใหม่-สุราษฎร์ หนองคาย-พัทลุง อุบลราชธานี-นครศรีธรรมราช เป็นต้น
นครปฐมก็จะเป็นประตูใหญ่ไปสู่ภาคใต้ด้วยเส้นทางรถไฟที่เชื่อมเหนือ-ใต้ อีสานเหนือ-ใต้ อีสานใต้-ใต้ที่สะดวกสบาย และเหมาะแก่การนอนโดยสารไปถึงปลายทาง
ที่จริงแผนการจากภาครัฐ มีอยู่ว่าจะทำรถไฟทางคู่จากบ้านภาชีไปถึงเมืองกาญจน์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะผ่านจุดใดจุดหนึ่งของนครปฐมหรือไม่ ที่มา
https://www.prachachat.net/property/news-44782
ถ้าสร้างให้เชื่อมต่อกับสถานีใดสถานีหนึ่งของนครปฐม ก็จะเป็นการดีมาก สามารถไปภาคใต้ก็สะดวก ไปเมืองกาญจน์ก็สะดวกด้วย สามารถที่จะเกิดเส้นทางเดินทางบุรีรัมย์กาญจนบุรีก็ได้ เชื่อมการเดินทางจากภูมิภาคต่างๆเข้าสู่ภาคตะวันตกได้ด้วย ทำให้ท่องเที่ยวสะดวกสบายด้วยรถไฟ
สมมติว่า เกิดเส้นทางต่างๆดังนี้
เชียงใหม่-หาดใหญ่ ระยะทางประมาณ 1,677 กิโลเมตร หากวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ถึงปลายทาง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 km/h ใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง ออกจากเชียงใหม่ช่วงเย็นถึงที่หมายตอนเช้า เป็นระยะเวลาที่เหมาะแก่การนอนโดยสารไปใช่มั้ยล่ะครับ แถมยังสามารถเก็บผู้โดยสารที่ต้องการเดินจากเหนือไปใต้ เช่น ลำพูน-นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์-สุราษฎร์ธานี ได้ด้วย
ส่วนเชียงใหม่-ตราด(หากอนาคตรถไฟทางคู่ต่อไปถึง) เชียงใหม่-อรัญประเทศ ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 km/h ใช้เวลา 8-9 ชั่วโมงถึงปลายทางก็เหมาะแก่การนอนโดยสารเหมือนกันครับ
หนองคาย-พัทลุง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง 28 นาทีถึงปลายทาง วิ่งด้วยความเร็ว 120 km/h จะใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง 12 นาที
อุบลราชธานี-สุราษฎร์ธานี วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง 38 นาที และวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 km/h จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง 3 นาทีถึงปลายทาง
จะเห็นได้ว่ารถไฟใช้เวลาวิ่งข้ามภูมิภาคได้เร็วกว่ารถยนต์ 5-12 ชั่วโมง ทั้งรวดเร็วและสะดวกสบายกว่า ต่อไปรถไฟจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเดินทางที่ทุกคนประทับใจครับ
สิ่งที่สำคัญที่สำคัญคือ การตรงเวลา การเดินทางที่แน่นอน ย่อมสร้างความมั่นใจและประทับใจแก่ผู้ใช้บริการครับ
มาดูปัจจัยต่างๆที่ทำให้รถไฟญี่ปุ่นตรงเวลา
1.พนักงานขับรถมีความชำนาญสูง
2.การทำงานร่วมกันของบุคลากรรถไฟ
3.การบำรุงรักษาที่ดี
4.ทางรถไฟที่แยกกัน
5.ขบวนรถไฟที่ยาวมาก ทำให้ถ่ายเทผู้โดยสารจำนวนมากขึ้นรถไฟได้เร็ว
ที่มา
http://cappast.blogspot.com/2015/12/jptrain-ontime.html?m=1
ของไทยถ้าจะให้ตรงเวลาได้ก็คงต้องรอให้ทางคู่เสร็จ ถึงจะพัฒนาองค์ประกอบอื่นต่อไปครับ ซึ่งถ้าทำดีๆก็จะให้ทุกคนลืมภาพลักษณ์เก่าๆของรฟท.ไปเลย และรถไฟจะกลายเป็นตัวเลือกการโดยสาร การคมนาคมที่เป็นอันดับต้นๆที่คนต้องคิดถึงล่ะครับ
ถ้าตัดเส้นทางรถไฟจากอยุธยาเข้านครปฐม ก็จะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคได้เร็ว เชื่อมต่อจีนกับมาเลย์ได้ดีขึ้น
ที่ตอนท้ายบอกว่า จะทำอย่างไรดีกับรถไฟนอน หากทางคู่เสร็จเรียบร้อยแล้วและมีรถไฟด่วนพิเศษ expess train ที่จอดแบบรถไฟความเร็วสูง ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่-หนองคายเหลือเพียง 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ผู้โดยสารไม่มีความจำเป็นต้องนอนโดยสารอีกต่อไป
แล้วรถนอนล่ะจะทำอย่างไร คำตอบก็คือให้เป็นรถที่วิ่งจอดเมืองละ 1-2 สถานีแบบรถไฟความเร็วสูงแต่ให้วิ่งข้ามภูมิภาคครับ เช่น จากเชียงใหม่ไปหาดใหญ่ จากเชียงใหม่ไปตราด หรือจากเชียงใหม่ไปอรัญประเทศ ก็จะวิ่งจากต้นทางถึงปลายทางด้วยระยะเวลาเหมาะสมแก่การนอนพอดีครับ
และสิ่งที่จะต้องทำคือ ตัดเส้นทางจากอยุธยาเข้านครปฐม โดยไม่ผ่านกรุงเทพ แบบทางคู่แก่งคอย-ฉะเชิงเทราที่เป็นการเชื่อมภูมิภาคอีสานกับตะวันออกให้เดินทางไปมาได้เร็วขึ้น และทำรถไฟทางคู่จากบางซื่อวิ่งมามักกะสันเพื่อวิ่งไปตะวันออก เส้นทางรถไฟสายสีแดงอ่อนนั่นแหละครับ รถไฟสายเหนือกับสายใต้ก็จะสามารถวิ่งเข้าสู่บางซื่อและวิ่งต่อไปภาคตะวันออกได้เลย เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวด้วยรถไฟมากมายหลายสาย เช่น เชียงใหม่-สุราษฎร์ หนองคาย-พัทลุง อุบลราชธานี-นครศรีธรรมราช เป็นต้น
นครปฐมก็จะเป็นประตูใหญ่ไปสู่ภาคใต้ด้วยเส้นทางรถไฟที่เชื่อมเหนือ-ใต้ อีสานเหนือ-ใต้ อีสานใต้-ใต้ที่สะดวกสบาย และเหมาะแก่การนอนโดยสารไปถึงปลายทาง
ที่จริงแผนการจากภาครัฐ มีอยู่ว่าจะทำรถไฟทางคู่จากบ้านภาชีไปถึงเมืองกาญจน์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะผ่านจุดใดจุดหนึ่งของนครปฐมหรือไม่ ที่มา https://www.prachachat.net/property/news-44782
ถ้าสร้างให้เชื่อมต่อกับสถานีใดสถานีหนึ่งของนครปฐม ก็จะเป็นการดีมาก สามารถไปภาคใต้ก็สะดวก ไปเมืองกาญจน์ก็สะดวกด้วย สามารถที่จะเกิดเส้นทางเดินทางบุรีรัมย์กาญจนบุรีก็ได้ เชื่อมการเดินทางจากภูมิภาคต่างๆเข้าสู่ภาคตะวันตกได้ด้วย ทำให้ท่องเที่ยวสะดวกสบายด้วยรถไฟ
สมมติว่า เกิดเส้นทางต่างๆดังนี้
เชียงใหม่-หาดใหญ่ ระยะทางประมาณ 1,677 กิโลเมตร หากวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ถึงปลายทาง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 km/h ใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง ออกจากเชียงใหม่ช่วงเย็นถึงที่หมายตอนเช้า เป็นระยะเวลาที่เหมาะแก่การนอนโดยสารไปใช่มั้ยล่ะครับ แถมยังสามารถเก็บผู้โดยสารที่ต้องการเดินจากเหนือไปใต้ เช่น ลำพูน-นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์-สุราษฎร์ธานี ได้ด้วย
ส่วนเชียงใหม่-ตราด(หากอนาคตรถไฟทางคู่ต่อไปถึง) เชียงใหม่-อรัญประเทศ ที่วิ่งด้วยความเร็ว 120 km/h ใช้เวลา 8-9 ชั่วโมงถึงปลายทางก็เหมาะแก่การนอนโดยสารเหมือนกันครับ
หนองคาย-พัทลุง วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง 28 นาทีถึงปลายทาง วิ่งด้วยความเร็ว 120 km/h จะใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง 12 นาที
อุบลราชธานี-สุราษฎร์ธานี วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 140 km/h จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง 38 นาที และวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 km/h จะใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง 3 นาทีถึงปลายทาง
จะเห็นได้ว่ารถไฟใช้เวลาวิ่งข้ามภูมิภาคได้เร็วกว่ารถยนต์ 5-12 ชั่วโมง ทั้งรวดเร็วและสะดวกสบายกว่า ต่อไปรถไฟจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเดินทางที่ทุกคนประทับใจครับ
สิ่งที่สำคัญที่สำคัญคือ การตรงเวลา การเดินทางที่แน่นอน ย่อมสร้างความมั่นใจและประทับใจแก่ผู้ใช้บริการครับ
มาดูปัจจัยต่างๆที่ทำให้รถไฟญี่ปุ่นตรงเวลา
1.พนักงานขับรถมีความชำนาญสูง
2.การทำงานร่วมกันของบุคลากรรถไฟ
3.การบำรุงรักษาที่ดี
4.ทางรถไฟที่แยกกัน
5.ขบวนรถไฟที่ยาวมาก ทำให้ถ่ายเทผู้โดยสารจำนวนมากขึ้นรถไฟได้เร็ว
ที่มา http://cappast.blogspot.com/2015/12/jptrain-ontime.html?m=1
ของไทยถ้าจะให้ตรงเวลาได้ก็คงต้องรอให้ทางคู่เสร็จ ถึงจะพัฒนาองค์ประกอบอื่นต่อไปครับ ซึ่งถ้าทำดีๆก็จะให้ทุกคนลืมภาพลักษณ์เก่าๆของรฟท.ไปเลย และรถไฟจะกลายเป็นตัวเลือกการโดยสาร การคมนาคมที่เป็นอันดับต้นๆที่คนต้องคิดถึงล่ะครับ