หลังจากที่ทรู
ประกาศร่วมลงทุนโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำสายใหม่ SJC2 เสริมศักยภาพประเทศไทย
• แล้วอะไรคือ
โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำสายใหม่ SJC2 ?
ระบบเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทยในอนาคตจะมีความสำคัญในการช่วยยกระดับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีวงจรสื่อสารต่างประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ ISP หลายรายต้องเช่าวงจรสื่อสารต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อนำมาให้บริการ ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศปีละหลายพันล้าน ดังนั้น การลงทุนโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ เพื่อรองรับบริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศนี้ จะช่วยรองรับความต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศได้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการรองรับประชาคมอาเซียน และช่วยยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคง และสร้างเสถียรภาพในการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศด้วย.
หมายเหตุ : ในรูปขาดตำแหน่งประเทศไทย
เดิมที่ประเทศไทยเคยร่วมลงทุนในโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ SJC (South-East Asia Japan Cable System) เมื่อปี 25556 ที่จะเชื่อมต่อจากประเทศไทย ในจังหวัดสงขลา, สิงค์โปร์ (TUAS), บรูไน (Telisai), ฟิลิปปินส์ (Nasugbu), ฮ่องกง (Chung Hom Kok), จีน (Shantou) และญี่ปุ่น (ChiKura) โดยมีบริษัท Globe Telecom, Google, KDDI, Telkom Indonesia, SingTel, China Telecom, TOT, China Mobile, Chunghwa Telecom, และ Brunei International Gateway เป็นผู้ร่วมลงทุน ที่ให้บริการ 6 คู่ใยแก้วนำแสง รองรับได้ที่ 15 เทราไบต์ต่อวินาที (15 Tbit/s)
แต่สำหรับโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำสายใหม่ SJC2 จะถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพสูง จะมีความจุได้สูงสุดถึง 8 คู่ใยแก้วนำแสง (fiber pair) รองรับความจุ 144 เทราไบต์ต่อวินาที มีความยาวกว่า 10,500 กิโลเมตร มีจุดการเชื่อมต่อทั้งหมด 11 จุดในภูมิภาค คาดจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2020
โดยจะเชื่อมโยงประเทศไทย, สิงค์โปร์, กัมพูชา, เวียดนาม, ฮ่องกง, ไต้หวัน, จีน, เกาหลี และญี่ปุ่น ผ่านบริษัท China Mobile International; Chuan Wei; Chunghwa Telecom; Facebook; KDDI; Singtel; SK Broadband; และ VNPT
•
ทำไมทรูถึงสนใจเข้าร่วมการลงทุนในครั้งนี้
โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ SJC2 เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งกลุ่มทรูและประเทศไทย ซึ่งโครงการ SJC2 นี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบการสื่อสารของชาติและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
ทั้งนี้ การเพิ่มขนาดแบนด์วิดท์จะทำให้ทรูมีเครือข่ายเกตเวย์ที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะทำให้กลุ่มทรูมีโอกาสที่จะรุกขยายและสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการใช้งานด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค รวมทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเออีซี
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่า เวลาที่เกิดปัญหาสายเคเบิ้ลขาด บริษัทซ่อมบำรุง มีวิธีการเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลใต้ทะเลให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติกันยังไง
ทรูทุ่มสุดตัว พัฒนาอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศให้แรงเฟร่อ ภายในปี 2020
• แล้วอะไรคือ โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำสายใหม่ SJC2 ?
ระบบเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทยในอนาคตจะมีความสำคัญในการช่วยยกระดับการให้บริการทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศถือว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีวงจรสื่อสารต่างประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ ISP หลายรายต้องเช่าวงจรสื่อสารต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ เพื่อนำมาให้บริการ ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศปีละหลายพันล้าน ดังนั้น การลงทุนโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ เพื่อรองรับบริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศนี้ จะช่วยรองรับความต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศได้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการรองรับประชาคมอาเซียน และช่วยยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการสร้างความมั่นคง และสร้างเสถียรภาพในการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศด้วย.
เดิมที่ประเทศไทยเคยร่วมลงทุนในโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ SJC (South-East Asia Japan Cable System) เมื่อปี 25556 ที่จะเชื่อมต่อจากประเทศไทย ในจังหวัดสงขลา, สิงค์โปร์ (TUAS), บรูไน (Telisai), ฟิลิปปินส์ (Nasugbu), ฮ่องกง (Chung Hom Kok), จีน (Shantou) และญี่ปุ่น (ChiKura) โดยมีบริษัท Globe Telecom, Google, KDDI, Telkom Indonesia, SingTel, China Telecom, TOT, China Mobile, Chunghwa Telecom, และ Brunei International Gateway เป็นผู้ร่วมลงทุน ที่ให้บริการ 6 คู่ใยแก้วนำแสง รองรับได้ที่ 15 เทราไบต์ต่อวินาที (15 Tbit/s)
แต่สำหรับโครงการเคเบิ้ลใต้น้ำสายใหม่ SJC2 จะถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและมีประสิทธิภาพสูง จะมีความจุได้สูงสุดถึง 8 คู่ใยแก้วนำแสง (fiber pair) รองรับความจุ 144 เทราไบต์ต่อวินาที มีความยาวกว่า 10,500 กิโลเมตร มีจุดการเชื่อมต่อทั้งหมด 11 จุดในภูมิภาค คาดจะสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2020
โดยจะเชื่อมโยงประเทศไทย, สิงค์โปร์, กัมพูชา, เวียดนาม, ฮ่องกง, ไต้หวัน, จีน, เกาหลี และญี่ปุ่น ผ่านบริษัท China Mobile International; Chuan Wei; Chunghwa Telecom; Facebook; KDDI; Singtel; SK Broadband; และ VNPT
• ทำไมทรูถึงสนใจเข้าร่วมการลงทุนในครั้งนี้
โครงการเคเบิ้ลใต้น้ำ SJC2 เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งกลุ่มทรูและประเทศไทย ซึ่งโครงการ SJC2 นี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบการสื่อสารของชาติและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
ทั้งนี้ การเพิ่มขนาดแบนด์วิดท์จะทำให้ทรูมีเครือข่ายเกตเวย์ที่มีความหลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะทำให้กลุ่มทรูมีโอกาสที่จะรุกขยายและสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ สามารถรองรับความต้องการใช้งานด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค รวมทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเออีซี
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่า เวลาที่เกิดปัญหาสายเคเบิ้ลขาด บริษัทซ่อมบำรุง มีวิธีการเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลใต้ทะเลให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติกันยังไง