จีนกับญี่ปุ่น สองยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือดในการแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันเบนเข็มมาใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นทัพหน้าในการขยายอำนาจ ต่างฝ่ายต่างช่วงชิงข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และโจมตีจุดอ่อนของอีกฝ่ายกันอย่างไม่ลดราวาศอก ทั้งเรื่องการเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เทคโนโลยี ตลอดจนโครงข่ายการใช้งาน
แม้โลกจะรู้ว่าญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงมามากกว่า แต่จีนก็ตอบโต้ว่า ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ จีนพัฒนาเทคโนโลยีไปกว้างไกล มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากกว่าหมื่นกิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก แถมราคาถูกกว่า เพราะสร้างในปริมาณที่มากกว่าและค่าแรงถูกกว่า
ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นก็ชูประเด็นด้านความปลอดภัยของรถไฟฟ้าชินคันเซ็น ที่ไม่เคยมีประวัติเสียหาย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังชูจุดแข็งในการขายรถไฟแบบแพ็กเกจใหญ่ ซึ่งครอบคลุมระบบบริหารจัดการ การให้บริการตลอดอายุการใช้งาน หากมองกันในระยะยาวแล้ว ยังไงรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นก็คุ้มค่ากว่า
ต่างฝ่ายต่างมีดีมีเสียกันไปคนละด้าน และต่างแข่งขันกันอย่างไม่มีใครยอมใคร ผลัดกันรุกผลัดกันรับมาตลอด แต่หากมองในแง่ของลูกค้า ถือว่าเมื่อผู้ขายแข่งกันออกหมัดเด็ดคนละหมัดสองหมัดเช่นนี้ ประโยชน์ย่อมตกอยู่กับลูกค้าที่มีสิทธิเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด การมีผู้เสนอบริการหลายราย ก็ย่อมดีกว่ารายเดียวเป็นแน่แท้ และเชื่อว่าพี่ไทยไม่เคยเลือกอิงอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เพราะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดกับผลประโยชน์ของประเทศ และการไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจน ก็เป็นการบาลานซ์สถานการณ์และสถานภาพอย่างมีเหตุอันควรด้วย
อย่างตอนนี้เส้นกรุงเทพฯ – โคราช พี่จีนก็ได้ไปดำเนินการแล้ว ส่วนเส้นกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ก็มีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นจะได้ไปครอง อีกเส้นที่กำลังงวดเข้ามา ใกล้จะเปิด TOR ในไม่กี่วันนี้ คือ เส้นเชื่อม 3 สนามบิน: ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เส้นนี้จะเป็นญี่ปุ่นหรือจีน คงต้องรอลุ้นกันว่า กลุ่มทุนกลุ่มไหนจะได้ไป เพราะแต่ละกลุ่มก็มีพันธมิตรเหนียวแน่นของตนเองอยู่ เมื่อยังไม่ฟันธงก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีจากจีนหรือญี่ปุ่นเข้ามา เชื่อว่าก็ไม่เป็นปัญหากับการใช้งาน แต่หากมองให้ลึกกว่านั้น ถ้ามีกลุ่มทุนไหนหรือคนกลางที่สามารถเชื่อมประสานทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่น เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับไทยได้ ก็จะเป็นการ win-win ทุกฝ่าย คือ ทั้งจีนและญี่ปุ่นก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็ได้รับประโยชน์ ด้านผู้ที่สามารถเชื่อมสัมพันธ์สำเร็จก็เท่ากับได้ตอบแทนบุญคุณประเทศ ของแบบนี้ต้องมองกันหลายมิติ ซึ่งถ้าเป็นมิติที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ก็เป็นเรื่องน่ายินดี ที่สำคัญไม่ใช่เรื่องของการมองแบบโลกสวย แต่ความเป็นไปได้มีอยู่จริง
รถไฟความเร็วสูงในมิติ Win-Win
แม้โลกจะรู้ว่าญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงมามากกว่า แต่จีนก็ตอบโต้ว่า ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ จีนพัฒนาเทคโนโลยีไปกว้างไกล มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงมากกว่าหมื่นกิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก แถมราคาถูกกว่า เพราะสร้างในปริมาณที่มากกว่าและค่าแรงถูกกว่า
ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นก็ชูประเด็นด้านความปลอดภัยของรถไฟฟ้าชินคันเซ็น ที่ไม่เคยมีประวัติเสียหาย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังชูจุดแข็งในการขายรถไฟแบบแพ็กเกจใหญ่ ซึ่งครอบคลุมระบบบริหารจัดการ การให้บริการตลอดอายุการใช้งาน หากมองกันในระยะยาวแล้ว ยังไงรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นก็คุ้มค่ากว่า
ต่างฝ่ายต่างมีดีมีเสียกันไปคนละด้าน และต่างแข่งขันกันอย่างไม่มีใครยอมใคร ผลัดกันรุกผลัดกันรับมาตลอด แต่หากมองในแง่ของลูกค้า ถือว่าเมื่อผู้ขายแข่งกันออกหมัดเด็ดคนละหมัดสองหมัดเช่นนี้ ประโยชน์ย่อมตกอยู่กับลูกค้าที่มีสิทธิเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด การมีผู้เสนอบริการหลายราย ก็ย่อมดีกว่ารายเดียวเป็นแน่แท้ และเชื่อว่าพี่ไทยไม่เคยเลือกอิงอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เพราะต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดกับผลประโยชน์ของประเทศ และการไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจน ก็เป็นการบาลานซ์สถานการณ์และสถานภาพอย่างมีเหตุอันควรด้วย
อย่างตอนนี้เส้นกรุงเทพฯ – โคราช พี่จีนก็ได้ไปดำเนินการแล้ว ส่วนเส้นกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ก็มีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นจะได้ไปครอง อีกเส้นที่กำลังงวดเข้ามา ใกล้จะเปิด TOR ในไม่กี่วันนี้ คือ เส้นเชื่อม 3 สนามบิน: ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เส้นนี้จะเป็นญี่ปุ่นหรือจีน คงต้องรอลุ้นกันว่า กลุ่มทุนกลุ่มไหนจะได้ไป เพราะแต่ละกลุ่มก็มีพันธมิตรเหนียวแน่นของตนเองอยู่ เมื่อยังไม่ฟันธงก็ต้องรอลุ้นกันต่อไป
แต่ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีจากจีนหรือญี่ปุ่นเข้ามา เชื่อว่าก็ไม่เป็นปัญหากับการใช้งาน แต่หากมองให้ลึกกว่านั้น ถ้ามีกลุ่มทุนไหนหรือคนกลางที่สามารถเชื่อมประสานทั้งฝ่ายจีนและญี่ปุ่น เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับไทยได้ ก็จะเป็นการ win-win ทุกฝ่าย คือ ทั้งจีนและญี่ปุ่นก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยก็ได้รับประโยชน์ ด้านผู้ที่สามารถเชื่อมสัมพันธ์สำเร็จก็เท่ากับได้ตอบแทนบุญคุณประเทศ ของแบบนี้ต้องมองกันหลายมิติ ซึ่งถ้าเป็นมิติที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ก็เป็นเรื่องน่ายินดี ที่สำคัญไม่ใช่เรื่องของการมองแบบโลกสวย แต่ความเป็นไปได้มีอยู่จริง