พวกเรามักจะบอกว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อนะ
มันต้องมีลวดลายแบบหลวงพ่อบ้าง
หลวงพ่อนะรักษาสติตั้งแต่เป็นโยมเลยนะ
แล้วจิตนี้ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นตลอดเลย
จะเผลอจะหลงก็ชั่วแว็บเดียว ไม่นาน แว้บก็รู้สึกแล้ว
นี้ถ้าวันๆ เราตามใจกิเลสเรื่อยๆ
(แล้ว)บอกว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ
เนี่ย น่าอับอายขายหน้า เป็นการแอบอ้าง
คนเป็นลูกศิษย์กับครูบาอาจารย์
ไม่ใช่เป็นด้วยการยื่นใบสมัคร
การปฏิบัติเนี่ย เราจะเป็นลูกศิษย์ใคร
หมายถึงว่าเราสืบทอด
ถ้าเป็นแบบพระนะเขาเรียกว่าถือนิสัย
ถือนิสัยครูบาอาจารย์
อย่างเราเคารพครูบาอาจารย์องค์นี้
เราก็ไปขออยู่ในสังกัดท่าน ถือนิสัยท่าน
แล้วพวกเราไม่มีนิสัยแบบหลวงพ่อเลยนะ
วันๆ เอาแต่เล่น เอาแต่หลง อะไรอย่างนี้
อย่าไปโม้ดีกว่าว่าลูกศิษย์หลวงพ่อ
คนที่มีหูมีตาเขาจะเยาะเย้ยเอาว่าแอบอ้าง
พยายามรู้สึกตัว เรียนรู้สิ่งที่หลวงพ่อรู้ไว้
.
หลายคนชอบมาขอพรนะ
ขอให้เห็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็น รู้สิ่งที่หลวงพ่อรู้
หลวงพ่อเลยต้องขอกลับว่า
ขอให้ทำสิ่งที่หลวงพ่อทำด้วย!
ทำทานตามโอกาส ไม่เมาในทาน
รักษาศีลเป็นนิจ เรียกว่านิจศีล
ฝึกสมาธิทุกวัน ไม่ย่อหย่อน
เจริญปัญญา
เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์
แล้วเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม/กายใจ
ทำได้อย่างนี้ ค่อยสมภูมิเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหน่อย
ถ้าทำอย่างที่หลวงพ่อทำมานะ
เราก็จะเห็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็น
เข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อเข้าใจ
ทุกวันนี้
หาคนที่เข้าใจหลวงพ่อนี่หายากมากนะ
มีน้อยเต็มที
แล้วก็ไม่ค่อยได้ทำอย่างที่หลวงพ่อทำ
ศีล สมาธิ ปัญญา อะไร ย่อหย่อน
งั้นพวกเรา
อยากจะเข้าใจธรรมะที่หลวงพ่อเข้าใจนะ
แต่ไม่ลงมือปฏิบัตินะ ไม่มีวันเข้าใจหรอก
เข้าใจแต่ปาก
คนที่จะเข้าใจได้จริงๆ
มีน้อยนะ น้อยมากๆเลย
หลายปีมานี้หลวงพ่อไม่เคยเจอเลย
ไม่เคยเจอเลยช่วงหลายปีผ่านมานี้
ตั้งแต่สิ้นหลวงตามหาบัว
สิ้นคุณแม่จันดีนะ ที่พูดกันรู้เรื่อง
นี้พวกเราอยากได้ของดีของวิเศษนะ
(แต่)ศีลไม่รักษา สมาธิไม่ฝึกฝน ปัญญาไม่เจริญ
ไม่มีวันได้อะไรดีๆ
ได้แต่ร้องขอ
เอาผ้าไตรมาถวายหลวงพ่อชิ้นนึง แล้วก็อธิษฐาน
ธรรมใดที่หลวงพ่อรู้แล้วขอให้รู้ด้วย
หลวงพ่อจะตอบทันทีเลยว่า
ธรรมใดที่หลวงพ่อปฏิบัติแล้วขอให้ปฏิบัติด้วย
ผ้าไตรเอามาแลกธรรมะไม่ได้
ไม่มีอะไรเอามาแลกธรรมะได้นะ
เอากำลังกาย กำลังใจของเรานี้แหละ
มาแลกธรรมะเอา มาเรียนรู้เข้าไป
รู้ความจริงของกาย รู้ความจริงของใจ
ปฏิบัติให้ถูก แล้วปฏิบัติให้พอ มีสองตัว
อันแรกปฏิบัติให้ถูกก่อน
มีศีล ทำยังไงจะถูก ?
ตั้งใจรักษาศีล ๕ ข้อไว้ พยายามรักษา
ตั้งใจรักษา ตั้งใจงดเว้นบาปอกุศล ๕ ประการ
ทำยังไงจะมีสมาธิ ?
สมาธิมีสองอัน
สมาธิอันนึงเอาไว้พักผ่อน(อารัมมณูปนิชฌาน)
สมาธิอันนึงเอาไว้เดินปัญญา(ลักขณูปนิชฌาน)
(สมาธิสองอย่างนี้)ไม่เหมือนกัน
สมาธิที่พักผ่อนเนี่ย
จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่เป็นกุศล
แล้วจิตจะได้พักผ่อน มีความสุข ไม่ต้องร่อนเร่
เที่ยวแสวงหาอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ไปเรื่อยๆ
จิตจะมีความสุข
งั้นอยู่ที่เราเลือกอารมณ์นะ
เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข
เราก็อยู่กับอารมณ์อันนั้น
แต่อารมณ์อันนั้น ต้องไม่เป็นอารมณ์ที่ผิดศีลธรรม
อย่างเล่นไพ่แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้นะ
มีสมาธิในการเล่นไพ่ (เป็น)สมาธิออกนอก
สมาธิผิดศีลผิดธรรม อะไรอย่างนี้
งั้นเลือกอารมณ์ที่ไม่ผิดศีลธรรม แล้วก็ดูว่า
เราอยู่กับอารมณ์อันนั้นนะมีความสุขมั้ย ค่อยๆดูไป
.
อารมณ์กรรมฐานมี ๔๐ อย่างนะ
อารมณ์สมถะเรียก กรรมฐาน ๔๐
ตัดกสิณออก ไม่แนะนำ
กสิณเป็นช่องทางเอาไว้เล่นกีฬาทางใจ กีฬาของจิต
ทำกสิณ อย่างเราดูไฟเนี่ย
จิตรวมลงกับไฟข้างนอก (จิต)สว่างอยู่ข้างนอก
ไม่ย้อนมาที่กายที่ใจ เจริญวิปัสสนาไม่ได้
เพราะวิปัสสนาคือ การเรียนรู้ความจริงของกายของใจ
งั้นในกรรมฐานที่ใช้ทำสมถะนะ
หลวงพ่อไม่แนะนำกสิน ๑๐ ตัว
กสิณสี/ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อะไรอย่างนี้
กสิณธาตุสี่/กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ
กสิณช่องว่าง(อากาสกสิณ)
(กสิณ)พวกนี้ไม่แนะนำ
เพราะใจมันจะออกไปข้างนอก
ถ้าย้อนเข้ามาที่ตัวเองถึงจะภาวนาต่อได้ ต่อยอดได้
ไม่งั้นไปทางกสิณแล้วก็เนิ่นช้า
หลวงพ่อเคยไปทางกสิณ
หลวงพ่อเล่นอานาปานสติตั้งแต่เด็ก
แล้วมันก็ทำกสิณได้หลายตัว
ตัวลมมันเคลื่อนไหว
เห็นความเคลื่อนไหวเนี่ย คือกสิณลม
(ลม)มันไหลผ่านช่องจมูก
คือกสิณช่องว่าง เรียกอากาสกสิณ
(ลม)มันกระทบปลายจมูก ปลายจงอยปากเรา
อันเนี้ยปฐวีกสิณ/กสิณดิน
งั้นมีกสิณหลายตัวเลย
หายใจไป หายใจไป
กสิณทั้งหลายมันจะแปลเป็นแสงสว่าง
จากแสงสว่างเนี่ย ตรงอารมณ์กสิณที่เราดู
นี่เรียกว่าบริกรรมนิมิต
อย่างลมหายใจเนี่ยเป็นบริกรรมนิมิต
พอลมระงับไปกลายเป็นแสงสว่างนะ
เรียกว่าอุคคหนิมิต
แล้วเราชำนาญ
แสงเนี่ยเราย่อให้เล็กก็ได้
เวลาเล็กนะแสงมันจะเข้มมากเลย เข้มปึ๊ดเลย
ยิ่ง(เล็ก)เท่าปลายเข็มนะพลังมันจะมหาศาลเลย
หรือกระจาย(แสง)ให้กว้างขวางเต็มโลก
เหมือนพระอาทิตย์ พระจันทร์ อะไรอย่างนี้ เล่นได้
จิตมีวิตกคือ จิตตรึกถึงปฏิภาคนิมิต
ตรงนิมิตแสงที่เล็กได้ขยายได้ย่อได้
อะไรนี้ เรียกปฏิภาคนิมิต
จิตตรึกอยู่ในปฏิภาคนิมิต เรียกว่าวิตก
จิตเคล้าเคลียอยู่กับปฏิภาคนิมิตโดยไม่เจตนา
เรียกว่าวิจารณ์
จิตก็เกิดปีติ เกิดความสุข เกิดความเป็นหนึ่ง
(จิต)ไม่ร่อนเร่ไปไหน จิตก็เข้าสู่ปฐมฌาน
อันนี้เข้าสายฌานนะ สายฌาน
ตรงกสิณเนี่ย พลิกไปสายอภิญญาได้อีก
แล้วเล่นอันนี้เสียเวลามาก
ถ้าเรามีบุญพอ
พอได้ปฐมฌานแล้วเนี่ย
สติมันระลึกรู้ว่าจิตยังไหลไปจับอยู่ที่แสงสว่าง
มันก็วางแสงสว่าง คือละวิตก
ไม่เคล้าเคลียอยู่กับแสงสว่าง ก็ละวิจารณ์
จิตทวนกระแสเข้ามาหาจิต
มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง
จิตตรงนี้ได้สมาธิที่ดีแล้ว
สมาธิที่จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
สมาธิอย่างนี้เอาไว้เดินวิปัสสนาได้
ถัดจากนั้นเราสังเกตต่อไปอีก
ปีติเป็นความโลดโผนของจิต
บางทีโลดโผนออกมาถึงร่างกายนะ
ร่างกายโคลง โคลงไปโคลงมา ร่างกายลอย
บางทีรู้สึกร่างกายนี้เบาหวิวเลย
บางทีรู้สึกร่างกายนี้ใหญ่เป็นภูเขาเลยนะ
หนัก-แน่น อะไรอย่างนี้
นั่น(เป็น)อาการของปีติ
พอรู้ทันว่าเนี่ยเป็นสิ่งแปลกปลอม
เป็นภาระของจิต จิตก็วางปีติลง
เกิดความสงบระงับ มีปัสสัทธิ/สงบระงับ
มีความสุข มีอุเบกขาอยู่
แล้วก็ยังเห็นต่อไปอีก
สติ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้น
มันเห็นความสุขในสมาธินี้
ก็ยังเป็นความเสียดแทงเป็นภาระของจิต
จิตก็จะวางความสุขลง (จิต)เข้าถึงอุเบกขา
ตรงนี้สติของเราจะบริสุทธิ์ถึงขีดสุดแล้ว
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
เมื่อจิตมาถึงตรงนี้แล้วเนี่ย
พระพุทธเจ้าบอก
ให้โน้มน้อมจิตนี้ไปเพื่อญาณทัศนะ
ญาณทัศนะ ทัศนะแปลว่า การเห็น
เห็นอย่างมีปัญญานะ มีปัญญาขึ้นมา
คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง
ทำได้สองอย่าง
อย่างที่หนึ่ง ดูความเปลี่ยนแปลงขององค์ฌาน
อันนี้เรียกว่าทำสมาธิและปัญญาร่วมกัน
ใช้ปัญญากับสมาธิควบกัน(เดินปัญญาในฌาน)
อีกอันหนึ่ง
ถอนจิตออกจากสมาธินะ
มาอยู่ในโลกข้างนอกนี้
แล้วเจริญปัญญาด้วยการดูกาย หรือ เวทนา
อันนี้ทำสมาธิก่อน แล้วมาเจริญปัญญาทีหลัง
เนี่ยถ้าเส้นสายไปทางฌานนะ
จะทำได้สองอัน
คือทำฌานก่อนแล้วมาเดินปัญญา
หรือเดินปัญญาในฌาน
เดินปัญญาในฌาน
เราจะเห็นองค์ธรรมของฌานนะเปลี่ยนแปลง
.
สิ่งที่เป็นศัตรูของฌานที่สี่
ที่ทำให้ฌานที่สี่ตาย คืออะไรรู้มั้ย ?
อะไรที่ทำให้ฌานที่สี่ดับ ? ความสุข
ความสุขผุดขึ้นมาเกิดขึ้นมานะ
จิตก็ตกจากฌานที่สี่
(จิต)ไม่เป็นอุเบกขาแล้ว
อะไรทำให้ฌานที่สามตาย ? ปีติ
พอจิตมีปีตินะ จิตก็ตกจากฌานที่สาม
ลงมาเหลือฌานที่สอง
อะไรทำให้ฌานที่สองตาย ? วิตก วิจารณ์
จิตมันไหลเข้าไปดูอารมณ์อีก ฌานที่สองก็ดับ
อะไรทำให้ฌานที่หนึ่งตาย ?
อะไรเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของฌานที่หนึ่ง ?
เสียง เป็นศัตรูของฌานที่หนึ่ง
งั้นบางคนมาถามหลวงพ่อว่า
เวลาเข้าฌานที่หนึ่งแล้วยังได้ยินเสียงมั้ย ?
ถ้าจิตยังไหลไปหารูป
หาเสียง หากลิ่น หารส หาโผฏฐัพพะอยู่
จิตยังไหลไปหากามอยู่ ไม่ใช่ฌาน
เส้นทางนี้ไม่ต้องไปเดินหรอก เสียเวลา
หน้าตาอย่างพวกเราก็ทำฌานยาก
ฟุ้งซ่าน ไปเดินอีกเส้นหนึ่ง เส้นที่ใช้ขณิกสมาธิ
_/|\_ _/|\_ _/|\_
#หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม
18 กุมภาพันธ์ 2561
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 75
File: 610218B
พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 1:30--15:02
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่
Dhamma.com
.....
กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
.....
ลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ อิอิ หุหุ haha
มันต้องมีลวดลายแบบหลวงพ่อบ้าง
หลวงพ่อนะรักษาสติตั้งแต่เป็นโยมเลยนะ
แล้วจิตนี้ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นตลอดเลย
จะเผลอจะหลงก็ชั่วแว็บเดียว ไม่นาน แว้บก็รู้สึกแล้ว
นี้ถ้าวันๆ เราตามใจกิเลสเรื่อยๆ
(แล้ว)บอกว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ
เนี่ย น่าอับอายขายหน้า เป็นการแอบอ้าง
คนเป็นลูกศิษย์กับครูบาอาจารย์
ไม่ใช่เป็นด้วยการยื่นใบสมัคร
การปฏิบัติเนี่ย เราจะเป็นลูกศิษย์ใคร
หมายถึงว่าเราสืบทอด
ถ้าเป็นแบบพระนะเขาเรียกว่าถือนิสัย
ถือนิสัยครูบาอาจารย์
อย่างเราเคารพครูบาอาจารย์องค์นี้
เราก็ไปขออยู่ในสังกัดท่าน ถือนิสัยท่าน
แล้วพวกเราไม่มีนิสัยแบบหลวงพ่อเลยนะ
วันๆ เอาแต่เล่น เอาแต่หลง อะไรอย่างนี้
อย่าไปโม้ดีกว่าว่าลูกศิษย์หลวงพ่อ
คนที่มีหูมีตาเขาจะเยาะเย้ยเอาว่าแอบอ้าง
พยายามรู้สึกตัว เรียนรู้สิ่งที่หลวงพ่อรู้ไว้
.
หลายคนชอบมาขอพรนะ
ขอให้เห็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็น รู้สิ่งที่หลวงพ่อรู้
หลวงพ่อเลยต้องขอกลับว่า
ขอให้ทำสิ่งที่หลวงพ่อทำด้วย!
ทำทานตามโอกาส ไม่เมาในทาน
รักษาศีลเป็นนิจ เรียกว่านิจศีล
ฝึกสมาธิทุกวัน ไม่ย่อหย่อน
เจริญปัญญา
เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์
แล้วเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม/กายใจ
ทำได้อย่างนี้ ค่อยสมภูมิเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหน่อย
ถ้าทำอย่างที่หลวงพ่อทำมานะ
เราก็จะเห็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็น
เข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อเข้าใจ
ทุกวันนี้
หาคนที่เข้าใจหลวงพ่อนี่หายากมากนะ
มีน้อยเต็มที
แล้วก็ไม่ค่อยได้ทำอย่างที่หลวงพ่อทำ
ศีล สมาธิ ปัญญา อะไร ย่อหย่อน
งั้นพวกเรา
อยากจะเข้าใจธรรมะที่หลวงพ่อเข้าใจนะ
แต่ไม่ลงมือปฏิบัตินะ ไม่มีวันเข้าใจหรอก
เข้าใจแต่ปาก
คนที่จะเข้าใจได้จริงๆ
มีน้อยนะ น้อยมากๆเลย
หลายปีมานี้หลวงพ่อไม่เคยเจอเลย
ไม่เคยเจอเลยช่วงหลายปีผ่านมานี้
ตั้งแต่สิ้นหลวงตามหาบัว
สิ้นคุณแม่จันดีนะ ที่พูดกันรู้เรื่อง
นี้พวกเราอยากได้ของดีของวิเศษนะ
(แต่)ศีลไม่รักษา สมาธิไม่ฝึกฝน ปัญญาไม่เจริญ
ไม่มีวันได้อะไรดีๆ
ได้แต่ร้องขอ
เอาผ้าไตรมาถวายหลวงพ่อชิ้นนึง แล้วก็อธิษฐาน
ธรรมใดที่หลวงพ่อรู้แล้วขอให้รู้ด้วย
หลวงพ่อจะตอบทันทีเลยว่า
ธรรมใดที่หลวงพ่อปฏิบัติแล้วขอให้ปฏิบัติด้วย
ผ้าไตรเอามาแลกธรรมะไม่ได้
ไม่มีอะไรเอามาแลกธรรมะได้นะ
เอากำลังกาย กำลังใจของเรานี้แหละ
มาแลกธรรมะเอา มาเรียนรู้เข้าไป
รู้ความจริงของกาย รู้ความจริงของใจ
ปฏิบัติให้ถูก แล้วปฏิบัติให้พอ มีสองตัว
อันแรกปฏิบัติให้ถูกก่อน
มีศีล ทำยังไงจะถูก ?
ตั้งใจรักษาศีล ๕ ข้อไว้ พยายามรักษา
ตั้งใจรักษา ตั้งใจงดเว้นบาปอกุศล ๕ ประการ
ทำยังไงจะมีสมาธิ ?
สมาธิมีสองอัน
สมาธิอันนึงเอาไว้พักผ่อน(อารัมมณูปนิชฌาน)
สมาธิอันนึงเอาไว้เดินปัญญา(ลักขณูปนิชฌาน)
(สมาธิสองอย่างนี้)ไม่เหมือนกัน
สมาธิที่พักผ่อนเนี่ย
จิตสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่เป็นกุศล
แล้วจิตจะได้พักผ่อน มีความสุข ไม่ต้องร่อนเร่
เที่ยวแสวงหาอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ไปเรื่อยๆ
จิตจะมีความสุข
งั้นอยู่ที่เราเลือกอารมณ์นะ
เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข
เราก็อยู่กับอารมณ์อันนั้น
แต่อารมณ์อันนั้น ต้องไม่เป็นอารมณ์ที่ผิดศีลธรรม
อย่างเล่นไพ่แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้นะ
มีสมาธิในการเล่นไพ่ (เป็น)สมาธิออกนอก
สมาธิผิดศีลผิดธรรม อะไรอย่างนี้
งั้นเลือกอารมณ์ที่ไม่ผิดศีลธรรม แล้วก็ดูว่า
เราอยู่กับอารมณ์อันนั้นนะมีความสุขมั้ย ค่อยๆดูไป
.
อารมณ์กรรมฐานมี ๔๐ อย่างนะ
อารมณ์สมถะเรียก กรรมฐาน ๔๐
ตัดกสิณออก ไม่แนะนำ
กสิณเป็นช่องทางเอาไว้เล่นกีฬาทางใจ กีฬาของจิต
ทำกสิณ อย่างเราดูไฟเนี่ย
จิตรวมลงกับไฟข้างนอก (จิต)สว่างอยู่ข้างนอก
ไม่ย้อนมาที่กายที่ใจ เจริญวิปัสสนาไม่ได้
เพราะวิปัสสนาคือ การเรียนรู้ความจริงของกายของใจ
งั้นในกรรมฐานที่ใช้ทำสมถะนะ
หลวงพ่อไม่แนะนำกสิน ๑๐ ตัว
กสิณสี/ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อะไรอย่างนี้
กสิณธาตุสี่/กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ
กสิณช่องว่าง(อากาสกสิณ)
(กสิณ)พวกนี้ไม่แนะนำ
เพราะใจมันจะออกไปข้างนอก
ถ้าย้อนเข้ามาที่ตัวเองถึงจะภาวนาต่อได้ ต่อยอดได้
ไม่งั้นไปทางกสิณแล้วก็เนิ่นช้า
หลวงพ่อเคยไปทางกสิณ
หลวงพ่อเล่นอานาปานสติตั้งแต่เด็ก
แล้วมันก็ทำกสิณได้หลายตัว
ตัวลมมันเคลื่อนไหว
เห็นความเคลื่อนไหวเนี่ย คือกสิณลม
(ลม)มันไหลผ่านช่องจมูก
คือกสิณช่องว่าง เรียกอากาสกสิณ
(ลม)มันกระทบปลายจมูก ปลายจงอยปากเรา
อันเนี้ยปฐวีกสิณ/กสิณดิน
งั้นมีกสิณหลายตัวเลย
หายใจไป หายใจไป
กสิณทั้งหลายมันจะแปลเป็นแสงสว่าง
จากแสงสว่างเนี่ย ตรงอารมณ์กสิณที่เราดู
นี่เรียกว่าบริกรรมนิมิต
อย่างลมหายใจเนี่ยเป็นบริกรรมนิมิต
พอลมระงับไปกลายเป็นแสงสว่างนะ
เรียกว่าอุคคหนิมิต
แล้วเราชำนาญ
แสงเนี่ยเราย่อให้เล็กก็ได้
เวลาเล็กนะแสงมันจะเข้มมากเลย เข้มปึ๊ดเลย
ยิ่ง(เล็ก)เท่าปลายเข็มนะพลังมันจะมหาศาลเลย
หรือกระจาย(แสง)ให้กว้างขวางเต็มโลก
เหมือนพระอาทิตย์ พระจันทร์ อะไรอย่างนี้ เล่นได้
จิตมีวิตกคือ จิตตรึกถึงปฏิภาคนิมิต
ตรงนิมิตแสงที่เล็กได้ขยายได้ย่อได้
อะไรนี้ เรียกปฏิภาคนิมิต
จิตตรึกอยู่ในปฏิภาคนิมิต เรียกว่าวิตก
จิตเคล้าเคลียอยู่กับปฏิภาคนิมิตโดยไม่เจตนา
เรียกว่าวิจารณ์
จิตก็เกิดปีติ เกิดความสุข เกิดความเป็นหนึ่ง
(จิต)ไม่ร่อนเร่ไปไหน จิตก็เข้าสู่ปฐมฌาน
อันนี้เข้าสายฌานนะ สายฌาน
ตรงกสิณเนี่ย พลิกไปสายอภิญญาได้อีก
แล้วเล่นอันนี้เสียเวลามาก
ถ้าเรามีบุญพอ
พอได้ปฐมฌานแล้วเนี่ย
สติมันระลึกรู้ว่าจิตยังไหลไปจับอยู่ที่แสงสว่าง
มันก็วางแสงสว่าง คือละวิตก
ไม่เคล้าเคลียอยู่กับแสงสว่าง ก็ละวิจารณ์
จิตทวนกระแสเข้ามาหาจิต
มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง
จิตตรงนี้ได้สมาธิที่ดีแล้ว
สมาธิที่จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
สมาธิอย่างนี้เอาไว้เดินวิปัสสนาได้
ถัดจากนั้นเราสังเกตต่อไปอีก
ปีติเป็นความโลดโผนของจิต
บางทีโลดโผนออกมาถึงร่างกายนะ
ร่างกายโคลง โคลงไปโคลงมา ร่างกายลอย
บางทีรู้สึกร่างกายนี้เบาหวิวเลย
บางทีรู้สึกร่างกายนี้ใหญ่เป็นภูเขาเลยนะ
หนัก-แน่น อะไรอย่างนี้
นั่น(เป็น)อาการของปีติ
พอรู้ทันว่าเนี่ยเป็นสิ่งแปลกปลอม
เป็นภาระของจิต จิตก็วางปีติลง
เกิดความสงบระงับ มีปัสสัทธิ/สงบระงับ
มีความสุข มีอุเบกขาอยู่
แล้วก็ยังเห็นต่อไปอีก
สติ ปัญญา มันแก่กล้าขึ้น
มันเห็นความสุขในสมาธินี้
ก็ยังเป็นความเสียดแทงเป็นภาระของจิต
จิตก็จะวางความสุขลง (จิต)เข้าถึงอุเบกขา
ตรงนี้สติของเราจะบริสุทธิ์ถึงขีดสุดแล้ว
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
เมื่อจิตมาถึงตรงนี้แล้วเนี่ย
พระพุทธเจ้าบอก
ให้โน้มน้อมจิตนี้ไปเพื่อญาณทัศนะ
ญาณทัศนะ ทัศนะแปลว่า การเห็น
เห็นอย่างมีปัญญานะ มีปัญญาขึ้นมา
คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง
ทำได้สองอย่าง
อย่างที่หนึ่ง ดูความเปลี่ยนแปลงขององค์ฌาน
อันนี้เรียกว่าทำสมาธิและปัญญาร่วมกัน
ใช้ปัญญากับสมาธิควบกัน(เดินปัญญาในฌาน)
อีกอันหนึ่ง
ถอนจิตออกจากสมาธินะ
มาอยู่ในโลกข้างนอกนี้
แล้วเจริญปัญญาด้วยการดูกาย หรือ เวทนา
อันนี้ทำสมาธิก่อน แล้วมาเจริญปัญญาทีหลัง
เนี่ยถ้าเส้นสายไปทางฌานนะ
จะทำได้สองอัน
คือทำฌานก่อนแล้วมาเดินปัญญา
หรือเดินปัญญาในฌาน
เดินปัญญาในฌาน
เราจะเห็นองค์ธรรมของฌานนะเปลี่ยนแปลง
.
สิ่งที่เป็นศัตรูของฌานที่สี่
ที่ทำให้ฌานที่สี่ตาย คืออะไรรู้มั้ย ?
อะไรที่ทำให้ฌานที่สี่ดับ ? ความสุข
ความสุขผุดขึ้นมาเกิดขึ้นมานะ
จิตก็ตกจากฌานที่สี่
(จิต)ไม่เป็นอุเบกขาแล้ว
อะไรทำให้ฌานที่สามตาย ? ปีติ
พอจิตมีปีตินะ จิตก็ตกจากฌานที่สาม
ลงมาเหลือฌานที่สอง
อะไรทำให้ฌานที่สองตาย ? วิตก วิจารณ์
จิตมันไหลเข้าไปดูอารมณ์อีก ฌานที่สองก็ดับ
อะไรทำให้ฌานที่หนึ่งตาย ?
อะไรเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของฌานที่หนึ่ง ?
เสียง เป็นศัตรูของฌานที่หนึ่ง
งั้นบางคนมาถามหลวงพ่อว่า
เวลาเข้าฌานที่หนึ่งแล้วยังได้ยินเสียงมั้ย ?
ถ้าจิตยังไหลไปหารูป
หาเสียง หากลิ่น หารส หาโผฏฐัพพะอยู่
จิตยังไหลไปหากามอยู่ ไม่ใช่ฌาน
เส้นทางนี้ไม่ต้องไปเดินหรอก เสียเวลา
หน้าตาอย่างพวกเราก็ทำฌานยาก
ฟุ้งซ่าน ไปเดินอีกเส้นหนึ่ง เส้นที่ใช้ขณิกสมาธิ
_/|\_ _/|\_ _/|\_
#หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
แสดงธรรม ณ วัดสวนสันติธรรม
18 กุมภาพันธ์ 2561
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ 75
File: 610218B
พระธรรมเทศนาระหว่างนาที 1:30--15:02
ดาวน์โหลดไฟล์เสียงธรรมะได้ที่
Dhamma.com
.....
กราบคุณพระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
.....