ความหมายของ อุเทสิกเจดีย์

ยกบทวินิจฉัย แก่ธรรมุทเทส ๔ (ซึ่งควรแก่เจดีย์) ได้แก่

บุคคลผู้พิชิตความแก่ชรา ๑
บุคคลผู้พิชิตความเจ็บป่วย ๑
บุคคลผู้พิชิตซึ่งอารยทรัพย์ ๑
บุคคลผู้พิชิตใจสมาคม และคนในยุคสมัย ๑

ให้เป็นความหมายของ อุเทสิกเจดีย์

เมื่อยกตัวอย่างเข้ามา ถึงให้เห็นเป็นเรื่อง เจดีย์ สถูป และบุคคลที่ควรแก่สถูป  อันจะอัญเชิญ ได้ให้มีการนำพระอัฐิมาประจุไว้ ณ ที่นั้นเป็นต้น, จึงเป็นเรื่องวิตถารนัยแห่งพุทธสรีระ และพระพุทธานุภาพนั้น ซึ่งฟังๆดู จิตใจอาจจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไรนัก กับฉันทานุมัติของโบราณาจารย์ ที่จะนับ จะเกณฑ์ให้เรียกวิตถารนัยทุกๆคำสอนทุกอย่าง ให้ปรากฏเป็นแต่ชื่อเป็นพระพุทธรูปไปเสีย แต่ไม่บอกว่าให้สำคัญชื่อ!, เรื่องเล่าเมื่อนี้แล้ว จึงชี้แจงกล้อมพอแต่ให้เรียกอุเทสิกเจดีย์ ว่าคือพระพุทธรูป และพระพุทธรูปเล็กๆ ก็ให้เอามาเป็นเครื่องประดับ ยึดหน่วงใจก็ได้, แลจะหาให้เรียกพอแต่ว่าพระปฏิมาเท่านั้น ก็ไม่ให้เรียก คือพอแต่ให้รู้ว่าคืออนุสาวรีย์ตามบทวินิจฉัยเท่านั้น อย่างนั้นก็ไม่ให้บอก มุ่งจะข่มขี่ศัพท์ ทับกำหนดให้เรียกชื่อว่าพระพุทธรูป (สรีระ) เสียให้ได้ เป็นที่สุด กร่อนที ทำท่า ทำแต่ทางจะให้คิดไปทางเร้นลับ แต่ข้างเดียวเท่านั้น

ทั้งที่โดยที่แท้แล้ว จะให้คิดไปแต่ทางเร้นลับ ข้างเดียวเท่านั้นก็ไม่ถูก บทฉันทานุมัติอันต่อไปที่จะเกิดแก่คณาจารย์ในยุคสมัยภายหน้า ที่จะแปล อุเทศ ศัพท์ (อุเทสิก) ให้เป็นแต่พระปฏิมา เท่านั้น ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้, เพราะว่า “การคาดคะเนนับได้โดยฐานบุคคลที่พึงยกขึ้นกล่าว” เป็นบทอุทเทส เป็นทางให้คนเห็นว่า เป็นชื่อเจดีย์ (อุเทสิกะ) เป็นชื่อ ของเจดีย์บทซึ่งบรรจุรักษาพระไตรปิฎกซะมากกว่า (บทใดบทหนึ่ง) จะหาว่าเป็นสิ่งปั้นแสดงเป็นพระพุทธรูปนั้นไม่ค่อยน่าจะใช่ เพราะไม่ใช่ศัพท์ ไม่มีทีท่าอันน่าจะใช่ ว่าแต่จะให้เรียกเป็น “พระพุทธปฏิมาแล้ว” จึงจะพอเรียกอยู่บ้าง เพราะเป็นชื่อสมควรแก่การอนุสาวรีย์ ที่จะยกเป็นบทอนุสรณ์ อันถึงที่เหมาะที่ควรแก่เฉพาะถูปารหบุคคลอันใดที่ได้ยกขึ้นกล่าว

เทียบบทที่ยกขึ้นแสดงโดยฐานบุคคลที่พึงยกขึ้นกล่าว ให้เป็นชื่อพระพุทธรูปไปหมดแล้ว เอาชื่อพระพุทธรูปเป็นเจติยสถาน ฟังดูไม่สมพอเรื่องกัน ธรรมุทเทศในข้อหนึ่งๆจึงไม่อาจยกไว้เป็นข้อวินิจฉัยโดยอัศจรรย์ได้เลย, ให้ตกเป็นเจดีย์กลวง! ดั่งคนนั้นได้ตั้งอยู่ในทรวงขององค์พระปฏิมานั้นๆเสมอไป ไม่สมพอให้จิตใครได้แส่หาสารัตถะอื่นใดมากกว่านั้นได้, เพราะชื่อว่าอุเทสิกะ ตามบทอุทเทสของธรรม ซึ่งจะยกไว้แล้วตามบทวินิจฉัยอันเป็นอัศจรรย์นั้น ยกกันมาไม่ถูก ตั้งกันมาไม่ถูก มองกันไปข้างหน้าก็ยังไม่ถูก โจทก์ย้ำวิตถารนัยให้เป็นรูปทางสรีระไปแล้ว ยกอิตถีภาวะขึ้นเป็นเอกอนุสรณ์ แล้วอาจยอมสยบตาม ทำความเลอะเลือนฟั่นเฟือนให้ผิดไปจากรูปเดิม (ศัพท์) ของชื่อเจดีย์, ว่านั่นเป็นอนุสรณ์ อันควรแก่มเหศักดิ์ คนทุกที่ควรเข้ากราบไหว้เป็นอนุสนธิประกอบแก่กำลังใจไว้ในทางภายใน, สุดแท้แต่โบราณาจารย์คณะที่มีฉันทานุมัติจะให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้ ในแต่ละเหล่า ละคนก็จงได้กระทำไป ด้วยว่าจะชื่อเป็นแท้จริงตามความหมายแต่ไร แต่ไหนมา ยิ่งกว่านี้ ยังไม่ต้องให้คิด

เจติยะ ศัพท์นี้ น่าจะมาจากศัพท์ต้นๆ เป็นเรื่อง อย่างคำว่า โชยฺติ เป็น ชฺโยติ ชเยฺติ เป็น เชยฺติ เป็น เชติยฺ แล้วเป็น เจติย ดั่งนี้เป็นต้น, พูดมา เรียงมาเป็น ๔ อย่างนั้น ในสามข้อแรก จึงว่าแก่ เจดีย์ธาตุ ซึ่งนั้น ก็คือหมู่มวลดารา (บรรจุพระบรมธาตุ), เจดีย์บริโภค ซึ่งนั้น ก็คือหมู่มวลดารา (สิ่งต่างๆของพระพุทธเจ้า(โชยฺติ)), ธรรมเจดีย์พุทธพจน์นั้น ก็คือหมู่มวลดารา (บรรจุจารึกคัมภีร์ทั้งหมด), ก็จะมีแต่ประการที่ ๔ เท่านั้น (อุเทสิกะ) ที่จะใช้บทหนึ่งยกบทอุเทศหนึ่ง อุทเทสเดียว สถานเดียวจะให้ยกขึ้นได้ ทั้งโดยพระวจนะด้วย และโดยฐานบุคคลก็ได้ยกด้วย แต่ว่าให้เป็นสถานเดียว คือเป็นบทอุเทศเดียว ว่าถึงแก่ถูปารหบุคคล เป็นต้น อาทิ คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกฯ พระอรหันต์ พระเจ้าจักรพรรดิ์ องค์ใดองค์หนึ่ง,

อุเทสิกะเจดีย์ สื่อความหมายกล้อมกัน ล้อกันเหมือนหลอกๆ กร่อนที มีค่า มีความเสียหายไปแล้ว ด้วยเป็นไปจากประกาศของคนที่ยังไม่ยอมจะศึกษา และพิเคราะห์ให้เข้าทางกลาง ตามตรง ตามความที่จะไม่ต้องเร้นลับ, เสียไปเพราะว่า เพราะแท้ๆแล้วคนสมัยเดี๋ยวนี้  ส่วนมากมักไม่ฉงนสงสัยว่า “บทอุเทศบทเดียวโดยฐานบุคคลจะพึงกล่าว” แลจะยกด้วยบทเป็นอภิฐานแก่มหาวินิจฉัยตามข้อความ ล่วงลุถึงพ้นอิตถีภาวะทางอนุสรณ์ (รูปพระพุทธรูป ตามที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้) จะต้องเป็นไปได้อย่างไร? ด้วยเดี๋ยวนี้คนมักเข้าใจว่า อุเทสิกะเจดีย์ หมายถึงรูปพระปฏิมารูปนั้นๆ (โดยมากมักทำเป็นอิตถีรูป ไม่ให้มีศรีษะรูปโล้น) ไม่ได้มีใครหารู้ว่าชื่อแห่งพระปฏิมารูปนั้นบอกไว้ด้วยชื่อบทศัพท์บทใด ยกไว้เป็นชื่อสำคัญอยู่บ้าง (โดยมากองค์พระปฏิมามักปรากฏด้วยชื่อ ที่นับว่าเป็นชื่อทางปุริสธรรม), เพราะบทอุเทสหนึ่งย่อมต้องให้คิดไปตรงๆตามความหมายอยู่แล้ว ย่อมจะไม่ใช่ที่ ที่จะบอกแก่วิตถารนัย อันหลายหลากประการทางพุทธกิจตามส่วนของพระพุทธสรีระ (เปรียบหมู่มวลดารา) ซึ่งเป็นประหนึ่งมวลหมู่ดารา (โชยฺติ) อันจะยกขึ้นด้วยบทอุทเทสเพียงบทเดียว ด้วยฐานที่ทรงเป็นบุคคล (พุทธรูป) นั้นยกไม่ได้,

แต่ด้วยบท (อุเทศ) ใดบทหนึ่ง (ดั่งชื่อ ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ หรือดาวนำทาง เป็นต้น) จึงให้ยกขึ้นได้ ด้วยฐานที่เป็น ถูปารหบุคคล ซึ่งควรแก่บทของสถูป เจดีย์ ตามชื่อบทธรรมในอุทเทสนั้นๆ และถูปารหบุคคลนั้น ที่มีชื่อด้วยคุณ คุณูปการ ๔ เหล่า ซึ่งพิชิตแล้ว เป็นดังนี้ คือ พระพุทธเจ้า ๑, พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑, พระอรหันต์ ๑, และพระเจ้าบรมจักรพรรดิ์ ๑
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่