อปฺปฏิโม รูปปั้นไม่ไช่พระพุทธเจ้าแน่

อปฺปฏิโม รูปปั้นไม่ไช่พระพุทธเจ้าแน่


[๑๔๓] เอกปุคฺคโล ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ

อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม อปฺปฏิภาโค ๑ อปฺปฏิปุคฺคโล
อสโม อสมสโม ทิปทานํ อคฺโค กตโม เอกปุคฺคโล ตถาคโต
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อยํ โข ภิกฺขเว เอกปุคฺคโล โลเก
อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ อทุติโย อสหาโย อปฺปฏิโม อปฺปฏิสโม
อปฺปฏิภาโค อปฺปฏิปุคฺคโล อสโม อสมสโม ทิปทานํ อคฺโคติ ฯ

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกบุคคลบาลี หน้าต่างที่ ๒ / ๒.
บทว่า อปฺปฏิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่ารูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20.0&i=139&p=2

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

เอกบุคคลบาลี

[๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด
ขึ้นเป็นผู้ไม่มีที่สอง ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบ
เสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใคร
เปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วย
พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฯ
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=585&Z=627

แต่บาลีซึ่งเป็นบทหลักใช้ว่า อปฏิโม ก็คือ อปฏิมา นั่นเอง
ปฏิมา แปลว่า รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า ถ้าอปฏิมา ก็คือไม่มีรูปเปรียบ นี่ชัดเจนอยู่แล้ว
ผมยอมรับว่าผมค้นเจอคำว่าพุทธปฏิมานี่ สามที่ผมไม่โกหกปิดบัง แต่เจอในอรรถกถาไม่ใช่ในพระสูตร ซึ่งสองบทนี้แย้งกันจึงต้องยึดตามพระสูตรซึ่งเป็นบทหลัก ผมจึงใช้หลักมหาประเทศซึ่งต้องยึดบทหลัก อย่างคำว่าอปฏิโม ก็เป็นที่รู้ชัดได้

แล้วรูปปั้นนั้นก็ไม่ใช่ อุทเทสิกเจดีย์

อรรถกถา กาลิงคโพธิชาดก

พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่าง อานนท์. พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้าง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑. พระอานนทเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าอาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1790

สำหรับรูปเปรียบนั้นไม่ใช่อุทเทสิกเจดีย์อย่างแน่นอน ธาตุเจดีย์ คือ พระบรมสารีริกธาตุ ปริโภคเจดีย์ คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าเคยใช้สอย เช่น บาตร สถานที่ ต้นศรีมหาโพธิ์ สำหรับอุทเทสิกเจดีย์นั้น ท่านกล่าวว่าไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น อย่าลืมนะว่าไม่มีวัตถุปรากฏ ถ้ายังงงอีกก็ให้ดูคำว่า อปฏิโม ที่เป็นบาลีข้างต้นก็แล้วกัน.

นี่เป็นเรื่องจริงที่นำมาแนะนำ มาศึกษาตามความเป็นจริงกันตามหลักฐาน ไม่ได้พูดลอยๆ แบบคิดเอง.


ที่มาข้อความ
http://board.palungjit.org/f25/เรื่องรูปปั้นภาค-๒-337457-last-post.html
1.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่