ใครที่ได้ชมละครบุพเพสันนิวาส หรือแต่เดิมเป็นคนที่ชอบในเรื่องราวของประวัติศาสตร์อยู่แล้ว คงจะรู้จัก เจ้าพระยาโกษาธิบดีสองพี่น้อง ซึ่งเป็นขุนนางที่มีบทบาทสำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เป็นอย่างดี ผู้พี่นั้นคือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ซึ่งรับผิดชอบกรมพระคลัง และเคยเป็นแม่ทัพคนสำคัญในรัชสมัยนั้นด้วย ส่วนผู้น้องก็คือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งในเวลาต่อมา ตระกูลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็ได้สืบต่อมาจนเป็นราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน
ซึ่งบทประพันธ์ โครงกระดูกในตู้ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้นกล่าวไว้ว่า "...เจ้าพระยาโกศาปาน*มีบุตรคนหนึ่งชื่อขุนทอง ได้เป็นพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรคนหนึ่งชื่อทองคำ ได้เป็นพระยาราชนิกุล พระยาราชนิกุล (ทองคำ) มีบุตรชายชื่อทองดี ได้เป็นพระอักษรสุนทร (ทองดี) มีบุตรชายชื่อทองด้วง..."
ซึ่งทองด้วงนั้น ในเวลาต่อมาก็คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีนั่นเอง หากพูดตามประสาชาวบ้าน เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็จะเป็น เทียด (พ่อของทวด) ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๑ ก็จะทรงเป็น ลื่อ ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งตามจริงนั้น ไม่มีคำว่า โหลน ในภาษาไทย คำว่าโหลนเกิดจากเพลงเราสู้ในท่อนที่ว่า "ลูกหลานเหลนโหลนในภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย" โดยใส่คำว่าโหลนลงไปเพื่อให้วรรคตรงกับทำนองเท่านั้น หากจะนับกันจริง ๆ ก็จะต้องนับเป็น ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด
ออกทะเลไปซะไกลเลย ขออภัย สำหรับกระทู้นี้ ผมจะพูดถึงวัดแห่งหนึ่งซึ่งเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งสอง นั่นคือ วัดสมณโกฏฐาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
อุโบสถและเจดีย์
สำหรับวัดสมณโกฏฐารามนั้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำตระกูล เคยมีบางแหล่งกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าแม่วัดดุสิต มารดาของสองเจ้าพระยาโกษาธิบดี และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ถึงแก่กรรมลงในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเพทราชาได้เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพที่วัดนี้ แต่จากหลักฐานหลาย ๆ อย่าง ทั้งทางภูมิศาสตร์และอื่น ๆ ทำให้สันนิษฐานว่าสถานที่พระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่วัดดุสิตไม่น่าจะเป็นวัดสมณโกฏฐารามแห่งนี้ แต่น่าจะเป็นวัดดุสิดาราม
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานนามว่า พระสมณโกฏบพิตร ปัจจุบัน วัดสมณโกฏฐารามแห่งนี้เป็นวัดที่ยังมีพระจำพรรษาอยู่
องค์พระประธานในซากวิหารเก่า
ผมได้ไปเยือนและถ่ายภาพวัดนี้มาเมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.๒๕๕๙ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งตอนที่ไปผมยังไม่ทราบประวัติของวัดนี้ และไม่ทราบด้วยว่าภายในวัดมีศาลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) จึงไม่ได้ไปกราบไหว้หรืออะไร มาทราบก็เมื่อภายหลังว่าวัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งสองท่าน
ในตอนนี้ที่ละครบุพเพสันนิวาสกำลังดัง และผู้คนกำลังให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์ ก็อยากให้ลองมาแวะชมวัดนี้นะครับ วัดอยู่ใกล้ ๆ กับทางเข้าตลาดน้ำอโยธยา กราบพระเสร็จแล้วจะแวะซื้อของฝากกลับบ้านก็ได้ ทั้งอิ่มบุญ อิ่มกาย อิ่มใจ และอิ่มท้องครับ
*โกศาปานในท่อนที่ยกมานั้นสะกดตามที่เขียนในเรื่องโครงกระดูกในตู้
วัดแห่งเจ้าพระยาโกษาฯ สองพี่น้อง วัดสมณโกฏฐาราม
ซึ่งบทประพันธ์ โครงกระดูกในตู้ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้นกล่าวไว้ว่า "...เจ้าพระยาโกศาปาน*มีบุตรคนหนึ่งชื่อขุนทอง ได้เป็นพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) มีบุตรคนหนึ่งชื่อทองคำ ได้เป็นพระยาราชนิกุล พระยาราชนิกุล (ทองคำ) มีบุตรชายชื่อทองดี ได้เป็นพระอักษรสุนทร (ทองดี) มีบุตรชายชื่อทองด้วง..."
ซึ่งทองด้วงนั้น ในเวลาต่อมาก็คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรีนั่นเอง หากพูดตามประสาชาวบ้าน เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ก็จะเป็น เทียด (พ่อของทวด) ของรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๑ ก็จะทรงเป็น ลื่อ ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งตามจริงนั้น ไม่มีคำว่า โหลน ในภาษาไทย คำว่าโหลนเกิดจากเพลงเราสู้ในท่อนที่ว่า "ลูกหลานเหลนโหลนในภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย" โดยใส่คำว่าโหลนลงไปเพื่อให้วรรคตรงกับทำนองเท่านั้น หากจะนับกันจริง ๆ ก็จะต้องนับเป็น ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด
ออกทะเลไปซะไกลเลย ขออภัย สำหรับกระทู้นี้ ผมจะพูดถึงวัดแห่งหนึ่งซึ่งเป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งสอง นั่นคือ วัดสมณโกฏฐาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
สำหรับวัดสมณโกฏฐารามนั้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง แต่ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำตระกูล เคยมีบางแหล่งกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าแม่วัดดุสิต มารดาของสองเจ้าพระยาโกษาธิบดี และเป็นพระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ถึงแก่กรรมลงในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเพทราชาได้เสด็จมาพระราชทานเพลิงศพที่วัดนี้ แต่จากหลักฐานหลาย ๆ อย่าง ทั้งทางภูมิศาสตร์และอื่น ๆ ทำให้สันนิษฐานว่าสถานที่พระราชทานเพลิงศพเจ้าแม่วัดดุสิตไม่น่าจะเป็นวัดสมณโกฏฐารามแห่งนี้ แต่น่าจะเป็นวัดดุสิดาราม
ผมได้ไปเยือนและถ่ายภาพวัดนี้มาเมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.๒๕๕๙ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งตอนที่ไปผมยังไม่ทราบประวัติของวัดนี้ และไม่ทราบด้วยว่าภายในวัดมีศาลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) จึงไม่ได้ไปกราบไหว้หรืออะไร มาทราบก็เมื่อภายหลังว่าวัดแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเจ้าพระยาโกษาธิบดีทั้งสองท่าน
ในตอนนี้ที่ละครบุพเพสันนิวาสกำลังดัง และผู้คนกำลังให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์ ก็อยากให้ลองมาแวะชมวัดนี้นะครับ วัดอยู่ใกล้ ๆ กับทางเข้าตลาดน้ำอโยธยา กราบพระเสร็จแล้วจะแวะซื้อของฝากกลับบ้านก็ได้ ทั้งอิ่มบุญ อิ่มกาย อิ่มใจ และอิ่มท้องครับ
*โกศาปานในท่อนที่ยกมานั้นสะกดตามที่เขียนในเรื่องโครงกระดูกในตู้