วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนแผ่นดินจีน
ค.ศ. 1949 กว๋อหมินตั่งนับถอยหลังรอวันพ่ายแพ้ พรรคคอมมิวนิสต์รุกคืบเข้ามาทุกขณะจิต เจียงไคเช็ค 蒋介石 ถอยร่นจนสุดถอย วันเวลาของเขาบนแผ่นดินเกิดเหลือน้อยลงทุกทีๆ
โรงเรียนการทหารหวงผู่แห่งสุดท้ายที่เมืองเฉิงตู
เจียงไคเช็คถอยร่นจนมาถึงฐานที่มั่นสุดท้ายที่เมืองเฉิงตู ซึ่งตอนนั้น โรงเรียนการทหารหวงผู่ 黄埔军校 ย้ายมาตั้งอยู่ที่นี่แล้ว โดยมีพลโทจางเย่าหมิง 張耀明 เป็นผู้บัญชาการโรงเรียน โรงเรียนการทหารหวงผู่ ณ ยามนี้ กลายเป็นเสมือนฐานบัญชาการหลักของจอมพลเจียงไคเช็ค
วันที่ 14 เดือนกันยายน ค.ศ. 1949 ในพิธีตรวจพลสวนสนาม เจียงไคเช็คขึ้นกล่าวปราศัยกับบรรดานายทหารและนักเรียนนายร้อยกว่า 6,000 นาย ที่รอต้อนรับเขาอยู่ เจียงไคเช็คกล่าวอย่างเข้มแข็งว่า
“กำลังพลของพวกเรานั้นพร้อมจะสู้รบกับศัตรูเสมอ การเอาชนะโจรคอมมิวนิสต์นั้นเป็นเรื่องง่าย เหมือนลมพัดใบไม้ร่วง” แต่เมื่อพูดถึงตรงนี้ น้ำเสียงเขากลับสั่นเครือ “แต่ที่น่าแค้นใจ คือมีนายทหารที่จบจากโรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นผู้ทรยศ...”
ด้วยความพลุ่งพล่านใจไม่ทันระวัง ฟันปลอมของเจียงไคเช็คก็ร่วงจากปากหล่นลงบนพื้นเวที!!!
เจียงไคเช็ค ในปี 1949
เสี้ยววินาทีนั้น ทุกคนต่างตะลึงงัน เจียงไคเช็คเองก็ยืนอึ้ง ก้มไปเก็บฟันปลอมก็ไม่งาม ไม่เก็บก็ไม่ได้
เจี่ยงจิงกว๋อ บุตรชายท่านจอมพล พอได้สติรีบกวักมือเรียกนายทหารสองนายก้มลงไปเก็บฟันปลอม ในเวลาเดียวกัน พลโทจางเย่าหมิงก็สั่งให้เริ่มต้น “สวนสนาม” ทันที แก้หน้ากู้สถานการณ์ให้เจียงไคเช็คได้ทันท่วงที
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 เจียงไคเช็คเข้าร่วมในพิธีศพนายพลหูจงหนาน ขุนพลคู่ใจที่คุ้มกันเขาระหว่างทิ้งแผ่นดินจีนมาไต้หวันในปี 1949
และเมื่อการตรวจพลสวนสนามเริ่มต้นขึ้น เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นอีก เมื่อแถวรถปืนใหญ่ เคลื่อนมาถึงหน้าเวทีตรงบริเวณที่ท่านจอมพลนั่งอยู่ รถปืนใหญ่คันแรกกลับหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนต่อ นายทหารองครักษ์กว่าสิบนายรีบกรูเข้าอารักขาท่านจอมพลที่นั่งเหงื่อไหลโซมกายด้วยความตกใจ เมื่อรถคันแรกไม่เคลื่อน ขบวนรถถังปืนใหญ่ก็มากระจุกกันอยู่ตรงหน้าเวทีนั่นเอง แต่นี่ไม่ใช่แผนลอบสังหารอะไรเลย กลับเป็นเพียงแค่ รถคันแรกที่ขับต่อไปไม่ได้ เพราะน้ำมันหมด!!! เจียงไคเช็คถึงกับเปรยขึ้นว่า ตลอดชีวิต
ตรวจพลสวนสนามมานับร้อยๆ ครั้ง ยังไม่เคยพบเคยเจอเรื่องแบบวันนี้ ที่สุด การตรวจพลสวนสนามที่เหล่านักเรียน
นายร้อยตระเตรียมกันมานานก็ต้องจบลงกลางคัน
และแล้ว วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนจีนแผ่นดินใหญ่ก็มาถึงในเดือนธันวาคม ปี 1949 นั่นเอง บางตำรากล่าวว่า เจียงไคเช็คทิ้งจีนแผ่นดินใหญ่ไปไต้หวันตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม บ้างกล่าวว่า เป็นวันที่ 10 ธันวาคม แต่ในหนังสือ Tales of The Republic of China 中华民国在大陆的真相 ระบุว่า ที่จริงแล้ว เป็นวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ที่เจียงไคเช็คและพวกขึ้นเครื่องบินจากจีนแผ่นดินใหญ่ไป
เมืองเฉิงตู มีสนามบินอยู่ 2 แห่ง ทางเหนือห่างจากตัวเมืองไป 5 กิโลเมตรคือ สนามบิน เฟิ่งหวงซาน 鳯凰山 ซึ่งเป็นสนามบินที่เจียงไคเช็คใช้เป็นประจำ ส่วนทางตอนใต้ห่างจากตัวเมืองไป 30 กิโลเมตร คือสนามบินเมืองซินจิน 新津 ที่แม้เพียบพร้อม แต่ก็ห่างไกล จึงรักษาความปลอดภัยระหว่างการเดินทางได้ยากกว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์หากจะจับตัวเจียงไคเช็ค ก็คงไปดักที่สนามบินเฟิ่งหวงซานที่เจียงใช้เป็นประจำ
เจี่ยงจิงกว๋อและนายพลหูจงหนาน 胡宗南 จึงเลือกสนามบินซินจินแทน โดยวางกองกำลังไว้ตลอดเส้นทางเพื่อคุ้มกันท่านจอมพล
เจียงไคเช็ควัยหนุ่ม กับ ดร. ซุน ยัดเซ็น 1924
คืนวันที่ 13 เวลาห้าทุ่มกว่า ณ โรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียงไคเช็คเรียกเจี่ยงจิงกว๋อมายืนข้างกาย
แล้วทั้งคู่ก็ยืนร้องเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วยกัน
ทางหนึ่งร้องเพลง!
ทางหนึ่งร้องไห้!
น้ำตาลูกผู้ชายด้วยความอาลัย
เพลงยังไม่ทันจบ นายทหารก็เข้ามารายงานว่า พบการเคลื่อนไหวผิดปกติรอบๆ โรงเรียนการทหาร ที่นี่คงไม่ปลอดภัย ต้องเริ่มออกเดินทางแล้ว นายทหารคนดังกล่าวยังบอกอีกว่า “ประตูหน้าคงไม่ปลอดภัย ควรหนีออกทางประตูด้านหลังหรือไม่ก็ประตูด้านตะวันออก” แต่จอมพลเจียงไคเช็คยืนยันเสียงแข็งว่า
เจียงไคเช็ค เหมาเจ๋อตง สองพยัคฆ์ชิงแผ่นดินจีน
“เมื่อเข้ามา ก็มาทางประตูใหญ่ จะออกไป ก็ไปทางประตูใหญ่นั่นแหละ ไม่ต้องมากความ”
แล้วทั้งหมดก็ขึ้นรถ เคลื่อนขบวนออกจากประตูหน้าของโรงเรียน โดยมีรถถังปิดหน้า ปิดหลัง รักษาความปลอดภัย
ขบวนของจอมพลมาถึงสนามบินซินจินในเวลาตีสามของวันรุ่งขึ้น (14 ธันวาคม 1949) ทันใดนั้น กองกำลังใต้ดินของพรรคคอมมิวนิสต์ก็ปรากฏขึ้น!
เกิดการปะทะกันในทันที ทหารฝ่ายกว๋อหมินตั่ง สู้พลางถอยพลาง
จนพารถท่านจอมพลและคณะวิ่งเข้ารันเวย์มาจนถึงเครื่องบินที่จอดอยู่ เจียงไคเช็คค้อมศีรษะให้เหล่าสหายร่วมรบ แล้วกล่าวกับนายพลหูจงหนานว่า
“พบกันที่ไต้หวัน” “台湾见”
จากวันนั้น 13 ธันวาคม ค.ศ. 1949 วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนจีนแผ่นดินใหญ่ จนถึงวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1975 ที่ลมหายใจสุดท้ายของเจียงไคเช็คหลุดลอยจากร่าง เขาไม่เคยมีโอกาสได้กลับไป
เหยียบแผ่นดินแม่เลยสักครั้งเดียว
เครดิต
http://www.gypzyworld.com/article/view/890
วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนแผ่นดินจีน
ค.ศ. 1949 กว๋อหมินตั่งนับถอยหลังรอวันพ่ายแพ้ พรรคคอมมิวนิสต์รุกคืบเข้ามาทุกขณะจิต เจียงไคเช็ค 蒋介石 ถอยร่นจนสุดถอย วันเวลาของเขาบนแผ่นดินเกิดเหลือน้อยลงทุกทีๆ
โรงเรียนการทหารหวงผู่แห่งสุดท้ายที่เมืองเฉิงตู
เจียงไคเช็คถอยร่นจนมาถึงฐานที่มั่นสุดท้ายที่เมืองเฉิงตู ซึ่งตอนนั้น โรงเรียนการทหารหวงผู่ 黄埔军校 ย้ายมาตั้งอยู่ที่นี่แล้ว โดยมีพลโทจางเย่าหมิง 張耀明 เป็นผู้บัญชาการโรงเรียน โรงเรียนการทหารหวงผู่ ณ ยามนี้ กลายเป็นเสมือนฐานบัญชาการหลักของจอมพลเจียงไคเช็ค
วันที่ 14 เดือนกันยายน ค.ศ. 1949 ในพิธีตรวจพลสวนสนาม เจียงไคเช็คขึ้นกล่าวปราศัยกับบรรดานายทหารและนักเรียนนายร้อยกว่า 6,000 นาย ที่รอต้อนรับเขาอยู่ เจียงไคเช็คกล่าวอย่างเข้มแข็งว่า
“กำลังพลของพวกเรานั้นพร้อมจะสู้รบกับศัตรูเสมอ การเอาชนะโจรคอมมิวนิสต์นั้นเป็นเรื่องง่าย เหมือนลมพัดใบไม้ร่วง” แต่เมื่อพูดถึงตรงนี้ น้ำเสียงเขากลับสั่นเครือ “แต่ที่น่าแค้นใจ คือมีนายทหารที่จบจากโรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นผู้ทรยศ...”
ด้วยความพลุ่งพล่านใจไม่ทันระวัง ฟันปลอมของเจียงไคเช็คก็ร่วงจากปากหล่นลงบนพื้นเวที!!!
เจียงไคเช็ค ในปี 1949
เสี้ยววินาทีนั้น ทุกคนต่างตะลึงงัน เจียงไคเช็คเองก็ยืนอึ้ง ก้มไปเก็บฟันปลอมก็ไม่งาม ไม่เก็บก็ไม่ได้
เจี่ยงจิงกว๋อ บุตรชายท่านจอมพล พอได้สติรีบกวักมือเรียกนายทหารสองนายก้มลงไปเก็บฟันปลอม ในเวลาเดียวกัน พลโทจางเย่าหมิงก็สั่งให้เริ่มต้น “สวนสนาม” ทันที แก้หน้ากู้สถานการณ์ให้เจียงไคเช็คได้ทันท่วงที
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 เจียงไคเช็คเข้าร่วมในพิธีศพนายพลหูจงหนาน ขุนพลคู่ใจที่คุ้มกันเขาระหว่างทิ้งแผ่นดินจีนมาไต้หวันในปี 1949
และเมื่อการตรวจพลสวนสนามเริ่มต้นขึ้น เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นอีก เมื่อแถวรถปืนใหญ่ เคลื่อนมาถึงหน้าเวทีตรงบริเวณที่ท่านจอมพลนั่งอยู่ รถปืนใหญ่คันแรกกลับหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนต่อ นายทหารองครักษ์กว่าสิบนายรีบกรูเข้าอารักขาท่านจอมพลที่นั่งเหงื่อไหลโซมกายด้วยความตกใจ เมื่อรถคันแรกไม่เคลื่อน ขบวนรถถังปืนใหญ่ก็มากระจุกกันอยู่ตรงหน้าเวทีนั่นเอง แต่นี่ไม่ใช่แผนลอบสังหารอะไรเลย กลับเป็นเพียงแค่ รถคันแรกที่ขับต่อไปไม่ได้ เพราะน้ำมันหมด!!! เจียงไคเช็คถึงกับเปรยขึ้นว่า ตลอดชีวิต
ตรวจพลสวนสนามมานับร้อยๆ ครั้ง ยังไม่เคยพบเคยเจอเรื่องแบบวันนี้ ที่สุด การตรวจพลสวนสนามที่เหล่านักเรียน
นายร้อยตระเตรียมกันมานานก็ต้องจบลงกลางคัน
และแล้ว วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนจีนแผ่นดินใหญ่ก็มาถึงในเดือนธันวาคม ปี 1949 นั่นเอง บางตำรากล่าวว่า เจียงไคเช็คทิ้งจีนแผ่นดินใหญ่ไปไต้หวันตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม บ้างกล่าวว่า เป็นวันที่ 10 ธันวาคม แต่ในหนังสือ Tales of The Republic of China 中华民国在大陆的真相 ระบุว่า ที่จริงแล้ว เป็นวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1949 ที่เจียงไคเช็คและพวกขึ้นเครื่องบินจากจีนแผ่นดินใหญ่ไป
เมืองเฉิงตู มีสนามบินอยู่ 2 แห่ง ทางเหนือห่างจากตัวเมืองไป 5 กิโลเมตรคือ สนามบิน เฟิ่งหวงซาน 鳯凰山 ซึ่งเป็นสนามบินที่เจียงไคเช็คใช้เป็นประจำ ส่วนทางตอนใต้ห่างจากตัวเมืองไป 30 กิโลเมตร คือสนามบินเมืองซินจิน 新津 ที่แม้เพียบพร้อม แต่ก็ห่างไกล จึงรักษาความปลอดภัยระหว่างการเดินทางได้ยากกว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์หากจะจับตัวเจียงไคเช็ค ก็คงไปดักที่สนามบินเฟิ่งหวงซานที่เจียงใช้เป็นประจำ
เจี่ยงจิงกว๋อและนายพลหูจงหนาน 胡宗南 จึงเลือกสนามบินซินจินแทน โดยวางกองกำลังไว้ตลอดเส้นทางเพื่อคุ้มกันท่านจอมพล
เจียงไคเช็ควัยหนุ่ม กับ ดร. ซุน ยัดเซ็น 1924
คืนวันที่ 13 เวลาห้าทุ่มกว่า ณ โรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียงไคเช็คเรียกเจี่ยงจิงกว๋อมายืนข้างกาย
แล้วทั้งคู่ก็ยืนร้องเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วยกัน
ทางหนึ่งร้องเพลง!
ทางหนึ่งร้องไห้!
น้ำตาลูกผู้ชายด้วยความอาลัย
เพลงยังไม่ทันจบ นายทหารก็เข้ามารายงานว่า พบการเคลื่อนไหวผิดปกติรอบๆ โรงเรียนการทหาร ที่นี่คงไม่ปลอดภัย ต้องเริ่มออกเดินทางแล้ว นายทหารคนดังกล่าวยังบอกอีกว่า “ประตูหน้าคงไม่ปลอดภัย ควรหนีออกทางประตูด้านหลังหรือไม่ก็ประตูด้านตะวันออก” แต่จอมพลเจียงไคเช็คยืนยันเสียงแข็งว่า
เจียงไคเช็ค เหมาเจ๋อตง สองพยัคฆ์ชิงแผ่นดินจีน
“เมื่อเข้ามา ก็มาทางประตูใหญ่ จะออกไป ก็ไปทางประตูใหญ่นั่นแหละ ไม่ต้องมากความ”
แล้วทั้งหมดก็ขึ้นรถ เคลื่อนขบวนออกจากประตูหน้าของโรงเรียน โดยมีรถถังปิดหน้า ปิดหลัง รักษาความปลอดภัย
ขบวนของจอมพลมาถึงสนามบินซินจินในเวลาตีสามของวันรุ่งขึ้น (14 ธันวาคม 1949) ทันใดนั้น กองกำลังใต้ดินของพรรคคอมมิวนิสต์ก็ปรากฏขึ้น!
เกิดการปะทะกันในทันที ทหารฝ่ายกว๋อหมินตั่ง สู้พลางถอยพลาง
จนพารถท่านจอมพลและคณะวิ่งเข้ารันเวย์มาจนถึงเครื่องบินที่จอดอยู่ เจียงไคเช็คค้อมศีรษะให้เหล่าสหายร่วมรบ แล้วกล่าวกับนายพลหูจงหนานว่า
“พบกันที่ไต้หวัน” “台湾见”
จากวันนั้น 13 ธันวาคม ค.ศ. 1949 วันสุดท้ายของเจียงไคเช็คบนจีนแผ่นดินใหญ่ จนถึงวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1975 ที่ลมหายใจสุดท้ายของเจียงไคเช็คหลุดลอยจากร่าง เขาไม่เคยมีโอกาสได้กลับไป
เหยียบแผ่นดินแม่เลยสักครั้งเดียว
เครดิต http://www.gypzyworld.com/article/view/890