ตั้งอยู่ที่ในซอยข้างศาลจังหวัดเชียงใหม่เก่า ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
แต่สันนิษฐานว่า สร้างโดยมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผู้หนึ่ง หลังจากพระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว
อาจสร้างเป็นวัดไว้ประจำตระกูล เพื่อ
เป็นพุทธบูชาหรือเพื่อเป็นการไถ่บาปหลังการออกไปทำศึกแล้วเข่นฆ่าผู้คนมากมาย
เดิมมีหลายชื่อ เช่น พันธนุนมดี , วัดอุดมดี , วัดพนมดี , วันต้นหมากเหนือ
เคยใช้เป็นสำนักเรียนสำหรับลูกเจ้าขุนมูลนายในสมัยแต่ก่อน
และเคยที่เรียนของนักเรียนยุพราชวิทยาลัยก่อนที่โรงเรียนจะสร้างเสร็จ
หอไตร
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2372 โดยเจ้ามหาอุปราชมหาวงศ์
ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาสามชั้น ส่วนยอดเป็นฉัตรเก้าชั้น
ซุ้มประตู-หน้าต่าง และเสาอาคารประดับด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้
วิหารหลวงหลังปัจจุบัน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีเสาไม้ด้านหน้าอาคาร
หน้าบันแกะสลักไม้ปิดทองลวดลายพรรณพฤกษาและดอกบัวภาย
บานประตูไม้เก่า ภาพเลือนลางไป น่าจะเป็นภาพทวารบาร
พระอุโบสถ
อยู่ด้านข้างของพระวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2377
ด้านหน้าประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก
หน้าบันแบบม้าต่างไหมประดับกระจกสี
แท่งสีขาวคือเสมา
เจดีย์
เหมือนเจดีย์หลังวิหารวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/37185215
เป็นเจดีย์ทรงกลม
คือ
เรือนธาตุ เป็นรูปทรงกลมคล้าย องค์ระฆังคว่ำ
สันนิษฐานว่ามาจากเจดีย์สาญจี ที่ประเทศอินเดีย
เรียกเจดีย์รูปครึ่งวงกลม กว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ
หมายถึงศูนย์กลางจักรวาล ... เขาพระสุเมรุ
น่าจะรับอิทธิพลมาจาก ประเทศศรีลังกา
ผ่านมาจากอาณาจักรสุโขทัยใน
สมัยพญากือนา
เจดีย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนองค์ระฆัง และส่วนยอด
ฐานเขียง สี่เหลี่ยมรับน้ำหนัก
ฐานเขียงย่อมุม
ฐานบัวสี่เหลี่ยม คว่ำและหงาย ย่อมุม
ฐานบัวลูกแก้ว แปดเหลี่ยม ซ้อนกันสามชั้น
ส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ เป็นรูปทรงกลม ระฆังคว่ำ
บัลลังก์ ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร เม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด
มีช้างที่มุมเจดีย์ทั้งสี่
ไปวัดดวงดีครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง เพื่อไปไหว้พระเจ้าดวงดี
ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในกุฏิไม้หลังเดิม ไม่กล้านำมาไว้ในวิหารเกรงว่าจะหาย
มีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปบอกว่าสร้างใน
สมัยพญากือนา รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย
ในช่วงที่ไปตรงกับทางวัดนำออกมาให้สักการะ
พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก
พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม
พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย
พระอังสา(บ่า)ใหญ่
บั้นพระองค์เล็ก
ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี
ประทับบนฐานดอกบัว
พระพุทธรูปที่มีจีวรเป็นริ้ว
น่าจะเลียนแบบจากกลุ่มพระพุทธรูปในซุ้มเจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ 19
มีองค์ที่ไม่มีจีวรห่มจะเห็นได้ เครดิตท่านสมาชิกพันทิป คุณสองแผ่นดินค่ะ
ที่ล้านนาได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยได้
พระพุทธรูปจีวรแบบนี้ยังพบที่วัดกอก จ.น่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.google.co.th/maps/uv?hl=th&pb=!1s0x31278fd3f8a81fff:0x22b76717343115b0!2m22!2m2!1i80!2i80!3m1!2i20!16m16!1b1!2m2!1m1!1e1!2m2!1m1!1e3!2m2!1m1!1e5!2m2!1m1!1e4!2m2!1m1!1e6!3m1!7e115!4shttps://lh5.googleusercontent.com/p/AF1QipPPOPpshbreh3-VQAMfEiQfnI0-TrtZZToD2IJA%3Dw173-h175-n-k-no!5z4LiE4LmJ4LiZ4Lir4Liy4LiU4LmJ4Lin4LiiIEdvb2dsZQ&imagekey=!1e10!2sAF1QipPPOPpshbreh3-VQAMfEiQfnI0-TrtZZToD2IJA
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดดวงดี
ตั้งอยู่ที่ในซอยข้างศาลจังหวัดเชียงใหม่เก่า ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
แต่สันนิษฐานว่า สร้างโดยมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผู้หนึ่ง หลังจากพระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว
อาจสร้างเป็นวัดไว้ประจำตระกูล เพื่อ
เป็นพุทธบูชาหรือเพื่อเป็นการไถ่บาปหลังการออกไปทำศึกแล้วเข่นฆ่าผู้คนมากมาย
เดิมมีหลายชื่อ เช่น พันธนุนมดี , วัดอุดมดี , วัดพนมดี , วันต้นหมากเหนือ
เคยใช้เป็นสำนักเรียนสำหรับลูกเจ้าขุนมูลนายในสมัยแต่ก่อน
และเคยที่เรียนของนักเรียนยุพราชวิทยาลัยก่อนที่โรงเรียนจะสร้างเสร็จ
หอไตร
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2372 โดยเจ้ามหาอุปราชมหาวงศ์
ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาสามชั้น ส่วนยอดเป็นฉัตรเก้าชั้น
ซุ้มประตู-หน้าต่าง และเสาอาคารประดับด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้
วิหารหลวงหลังปัจจุบัน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร หรือ ราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีเสาไม้ด้านหน้าอาคาร
หน้าบันแกะสลักไม้ปิดทองลวดลายพรรณพฤกษาและดอกบัวภาย
บานประตูไม้เก่า ภาพเลือนลางไป น่าจะเป็นภาพทวารบาร
พระอุโบสถ
อยู่ด้านข้างของพระวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2377
ด้านหน้าประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลัก
หน้าบันแบบม้าต่างไหมประดับกระจกสี
แท่งสีขาวคือเสมา
เจดีย์
เหมือนเจดีย์หลังวิหารวัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นเจดีย์ทรงกลม
คือ
เรือนธาตุ เป็นรูปทรงกลมคล้าย องค์ระฆังคว่ำ
สันนิษฐานว่ามาจากเจดีย์สาญจี ที่ประเทศอินเดีย
เรียกเจดีย์รูปครึ่งวงกลม กว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ
หมายถึงศูนย์กลางจักรวาล ... เขาพระสุเมรุ
น่าจะรับอิทธิพลมาจาก ประเทศศรีลังกา
ผ่านมาจากอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญากือนา
เจดีย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนองค์ระฆัง และส่วนยอด
ฐานเขียง สี่เหลี่ยมรับน้ำหนัก
ฐานเขียงย่อมุม
ฐานบัวสี่เหลี่ยม คว่ำและหงาย ย่อมุม
ฐานบัวลูกแก้ว แปดเหลี่ยม ซ้อนกันสามชั้น
ส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ เป็นรูปทรงกลม ระฆังคว่ำ
บัลลังก์ ปล้องไฉน ปลียอด ฉัตร เม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด
มีช้างที่มุมเจดีย์ทั้งสี่
ไปวัดดวงดีครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง เพื่อไปไหว้พระเจ้าดวงดี
ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในกุฏิไม้หลังเดิม ไม่กล้านำมาไว้ในวิหารเกรงว่าจะหาย
มีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปบอกว่าสร้างในสมัยพญากือนา รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย
ในช่วงที่ไปตรงกับทางวัดนำออกมาให้สักการะ
พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก
พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม
พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย
พระอังสา(บ่า)ใหญ่
บั้นพระองค์เล็ก
ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี
ประทับบนฐานดอกบัว
พระพุทธรูปที่มีจีวรเป็นริ้ว
น่าจะเลียนแบบจากกลุ่มพระพุทธรูปในซุ้มเจดีย์วัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ 19
มีองค์ที่ไม่มีจีวรห่มจะเห็นได้ เครดิตท่านสมาชิกพันทิป คุณสองแผ่นดินค่ะ
ที่ล้านนาได้รับอิทธิพลจากสุโขทัยได้
พระพุทธรูปจีวรแบบนี้ยังพบที่วัดกอก จ.น่าน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้