วัดอุโมงค์ในเชียงใหม่นั้นมีสองวัดคือ
1 วัดอุโมงมหาเถรจันทร์ อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดคามวาสี คือวัดในเมือง
2 วัดอุโมงค์ อยู่เชิงดอยสุเทพ เป็นวัดอรัญวาสี คือวัดป่า สร้างขึ้นบริเวณป่าไผ่ 11 กอ จึงมีอีกชื่อว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า สิบเอ็ด + อาราม )
เมื่อพญามังรายมหาราชตกลงพระทัยจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพ
ได้ทูลเชิญพ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง
ไปปรึกษาการสร้างเมืองที่เวียงเหล็กซึ่งเป็นที่ประทับ
เมื่อวางผังเมืองเรียบร้อย
ได้สร้างวัดขึ้นก่อน ในราวปี พ.ศ.1839-1840
เพื่อเป็นจุดรวมใจให้สร้างเมืองเชียงใหม่สำเร็จโดยราบรื่น ไม่มีอุปสรรค
ชื่อวัดโพธิ์น้อย ... วัดแรกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่
อุโบสถ
สร้างพร้อมกับวัดโพธิ์น้อย ได้บูรณะมาหลายสมัยจนปัจจุบัน
เป็นลักษณะล้านนา คือยกเก็จผนังเพื่อแบ่งพื้นที่ใชสอยภายใน
ก่อด้วยอิฐถือปูนขาว
เสาและโครงหลังคาเป็นไม้สักทั้งหลัง เดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบ
บันไดมกร ... ต้วเป็นนาค ขาและปากเป็นจระเข้
พระประธาน
ปัจจุบันเรียกท่านว่าหลวงพ่อสมใจนึก
หล่อด้วยโลหะ หุ้มองค์พระ
เกศาดอกบัวตูม และลงรักปิดทองทับอีก ปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ
วิหาร และ เจดีย์สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา
วิหารล้านนาแบบปิด
ยกเก็จผนัง และหลังคาซ้อน แบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในออกเป็นส่วน ๆ
พระประธาน ... หลวงพ่อโต ... หลวงพ่อใหญ่
หล่อด้วยปูนลงรักปิดทอง
เกศาแบบเปลวเพลิงสร้างราวปี พ.ศ.1910-1914 สมัยของพญากือนา
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริดรมดำเกศาดอกบัวตูม
พระพุทธรูปองค์อื่นในวิหาร
จีวรสีแดงซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้ปิดทอง เหมือนหลวงพ่อในพระอุโบสถตอนก่อนการบูรณะ
องค์พระจะเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
มีเด็กคนบ้านเมืองวัวชื่อจันทร์
เมื่ออายุ 16 ปีได้ ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ
ต่อมาได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์น้อย ได้สามปีก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ต่อมาอีก 3 พรรษา เจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ พระอาจารย์ได้ล้มป่วย มีอาการหนัก
พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและไปเฝ้าไข้
ท่านอาจารย์จึงได้มอบคัมภีร์ มหาโยคีมันตระประเภท ให้
พร้อมทั้งแนะนำให้เอาไปทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด
เมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบ จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม
สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว
เมื่อผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ
พระภิกษุจันทร์ได้ไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ
ทำพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ ... พันเที่ยว
ในคืนที่สาม ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมา
ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์ที่สวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้า
ถามว่า ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ?
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า
“เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”
ถามว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ ?
หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตรเภทจบแล้ว
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า
“เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา”
ผู้นั้นพูดว่า
“เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ”
แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ (ในตำนานว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยว)
พระภิกษุจันทร์แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวล
ก็จับเอาทั้งมือทั้งหมาก
รูปที่คล้ายนมุษย์นั้น ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า
อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด” แล้วก็หายวับไป
จากนั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ
และเมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไป
พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อย
เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก
เวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติก็จะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง
เมื่อพระภิกษุมีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลย
ทำให้พญากือนาทรงโปรดปรานเป็นอันมาก
แต่เพราะพระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ
พญากือนาจึงสร้างอุโมงค์ให้พระเถระจันทร์อยู่เป็นที่ ให้ทั้งสองวัดคือ
วัดในเมือง ที่วัดโพธิ์น้อย ... เปลี่ยนชื่อเป็น ... วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
และ
วัดวัดในป่าไผ่ 11 กอ หรือ วัดเวฬุกัฎฐาราม ... คิอ ... วัดอุโมค์ เชิงดอยสุเทพ
ท่านมรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77
มีพระเจดีย์มี 2 องค์ ... เรียกพระเจดีย์เพราะสร้างโดยกษัตริย์
คือพญากือนากษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 6
พระเจดีย์องค์ที่ 1 พระเจดีย์อุโมงค์
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง สร้าง พ.ศ.1910
เพื่อถวายท่านมหาเถรจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อยในขณะนั้น ใช้บำเพ็ญภาวนา
และได้เปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์น้อย เป็น วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
เจดีย์และลานหน้าเจดีย์ พระท่านว่า เป็นของเดิมที่ไม่ได้บูรณะแม้แต่น้อย
การเรียงอิฐ
พระเจดีย์องค์ที่ 2
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง หรือด้านหลังวิหารหลวง
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916 สมัยพญากือนา
เป็นเจดีย์ทรงกลม
คือ
เรือนธาตุ เป็นรูปทรงกลมคล้าย องค์ระฆังคว่ำ
สันนิษฐานว่ามาจากเจดีย์สาญจี ที่ประเทศอินเดีย
เรียกเจดีย์รูปครึ่งวงกลม กว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ
หมายถึงศูนย์กลางจักรวาล ... เขาพระสุเมรุ
น่าจะรับอิทธิพลมาจาก ประเทศศรีลังกา
ผ่านมาจากอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญากือนา
เจดีย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนองค์ระฆัง และส่วนยอด
ฐานเขียง สี่เหลี่ยมซ้อนชั้น 2 ชั้น ทำหน้าที่รับน้ำหนัก
ฐานเขียงย่อมุม 2 ชึ้น
ฐานบัว อยู่เหนือจากฐานเขียง คล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยม คว่ำและหงาย ย่อมุม
ฐานบัวลูกแก้ว แปดเหลียม ซ้อนชั้นกันขึ้นไป สามชั้น
ส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ เป็นรูปทรงกลม ระฆังคว่ำ
ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ คือ ฐานรูปแปดเหลี่ยมขนาดเล็กวางเหนือองค์ระฆัง
ปล้องไฉน
ปลียอด
ฉัตร
เม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด
วัดอยุ่บนถนนสายเดียวกับวัดเชียงมั่น
ทราบมาว่า
หลวงโยนะการพิจิตร-พ่อค้าไม้ชาวพม่า
เมื่อท่านได้บูรณะสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศานาที่ไหน
จะพบดอกสัญญลักษณ์หลวงโยนะการพิจิตร ด้วยเสมอ
และเจดีย์นี้พบลายดอกประจำยาม
เป็นวัดที่ครั้งแรกไปถ่ายรูปมาแล้วตั้งแต่ปลายปี 2557 แต่ไม่ครบถ้วน จึงไปอีกครั้ง
ที่พิเศษคือวัดนี้อนุญาติให้ผู้หญิงเข้าไปไหว้พระสมใจนึกในพระอุโบสถได้
ซึ่งปกติวัดทางภาคเหนือนั้นทำไม่ได้
โดยแจ้งความจำนงกับพระท่าน ในเวลาที่เปิดให้เข้าไปไหว้
พระท่านจะก็จะนำชม พร้อมทั้งอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
วัดอุโมงค์ในเชียงใหม่นั้นมีสองวัดคือ
1 วัดอุโมงมหาเถรจันทร์ อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดคามวาสี คือวัดในเมือง
2 วัดอุโมงค์ อยู่เชิงดอยสุเทพ เป็นวัดอรัญวาสี คือวัดป่า สร้างขึ้นบริเวณป่าไผ่ 11 กอ จึงมีอีกชื่อว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า สิบเอ็ด + อาราม )
เมื่อพญามังรายมหาราชตกลงพระทัยจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ ระหว่างแม่น้ำปิงกับดอยสุเทพ
ได้ทูลเชิญพ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง
ไปปรึกษาการสร้างเมืองที่เวียงเหล็กซึ่งเป็นที่ประทับ
เมื่อวางผังเมืองเรียบร้อย
ได้สร้างวัดขึ้นก่อน ในราวปี พ.ศ.1839-1840
เพื่อเป็นจุดรวมใจให้สร้างเมืองเชียงใหม่สำเร็จโดยราบรื่น ไม่มีอุปสรรค
ชื่อวัดโพธิ์น้อย ... วัดแรกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่
อุโบสถ
สร้างพร้อมกับวัดโพธิ์น้อย ได้บูรณะมาหลายสมัยจนปัจจุบัน
เป็นลักษณะล้านนา คือยกเก็จผนังเพื่อแบ่งพื้นที่ใชสอยภายใน
ก่อด้วยอิฐถือปูนขาว
เสาและโครงหลังคาเป็นไม้สักทั้งหลัง เดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบ
บันไดมกร ... ต้วเป็นนาค ขาและปากเป็นจระเข้
พระประธาน
ปัจจุบันเรียกท่านว่าหลวงพ่อสมใจนึก
หล่อด้วยโลหะ หุ้มองค์พระ
เกศาดอกบัวตูม และลงรักปิดทองทับอีก ปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิราบ
วิหาร และ เจดีย์สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา
วิหารล้านนาแบบปิด
ยกเก็จผนัง และหลังคาซ้อน แบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในออกเป็นส่วน ๆ
พระประธาน ... หลวงพ่อโต ... หลวงพ่อใหญ่
หล่อด้วยปูนลงรักปิดทอง
เกศาแบบเปลวเพลิงสร้างราวปี พ.ศ.1910-1914 สมัยของพญากือนา
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริดรมดำเกศาดอกบัวตูม
พระพุทธรูปองค์อื่นในวิหาร
จีวรสีแดงซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้ปิดทอง เหมือนหลวงพ่อในพระอุโบสถตอนก่อนการบูรณะ
องค์พระจะเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
มีเด็กคนบ้านเมืองวัวชื่อจันทร์
เมื่ออายุ 16 ปีได้ ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ
ต่อมาได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์น้อย ได้สามปีก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ต่อมาอีก 3 พรรษา เจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ พระอาจารย์ได้ล้มป่วย มีอาการหนัก
พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและไปเฝ้าไข้
ท่านอาจารย์จึงได้มอบคัมภีร์ มหาโยคีมันตระประเภท ให้
พร้อมทั้งแนะนำให้เอาไปทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด
เมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบ จะทำให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม
สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว
เมื่อผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ
พระภิกษุจันทร์ได้ไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ
ทำพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ ... พันเที่ยว
ในคืนที่สาม ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมา
ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์ที่สวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้า
ถามว่า ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ?
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า
“เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”
ถามว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ ?
หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตรเภทจบแล้ว
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า
“เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา”
ผู้นั้นพูดว่า
“เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ”
แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ (ในตำนานว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยว)
พระภิกษุจันทร์แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวล
ก็จับเอาทั้งมือทั้งหมาก
รูปที่คล้ายนมุษย์นั้น ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า
อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด” แล้วก็หายวับไป
จากนั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ
และเมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไป
พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อย
เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก
เวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติก็จะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง
เมื่อพระภิกษุมีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลย
ทำให้พญากือนาทรงโปรดปรานเป็นอันมาก
แต่เพราะพระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ
พญากือนาจึงสร้างอุโมงค์ให้พระเถระจันทร์อยู่เป็นที่ ให้ทั้งสองวัดคือ
วัดในเมือง ที่วัดโพธิ์น้อย ... เปลี่ยนชื่อเป็น ... วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
และ
วัดวัดในป่าไผ่ 11 กอ หรือ วัดเวฬุกัฎฐาราม ... คิอ ... วัดอุโมค์ เชิงดอยสุเทพ
ท่านมรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77
มีพระเจดีย์มี 2 องค์ ... เรียกพระเจดีย์เพราะสร้างโดยกษัตริย์
คือพญากือนากษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 6
พระเจดีย์องค์ที่ 1 พระเจดีย์อุโมงค์
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารหลวง สร้าง พ.ศ.1910
เพื่อถวายท่านมหาเถรจันทร์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์น้อยในขณะนั้น ใช้บำเพ็ญภาวนา
และได้เปลี่ยนชื่อวัดโพธิ์น้อย เป็น วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
เจดีย์และลานหน้าเจดีย์ พระท่านว่า เป็นของเดิมที่ไม่ได้บูรณะแม้แต่น้อย
การเรียงอิฐ
พระเจดีย์องค์ที่ 2
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารหลวง หรือด้านหลังวิหารหลวง
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1916 สมัยพญากือนา
เป็นเจดีย์ทรงกลม
คือ
เรือนธาตุ เป็นรูปทรงกลมคล้าย องค์ระฆังคว่ำ
สันนิษฐานว่ามาจากเจดีย์สาญจี ที่ประเทศอินเดีย
เรียกเจดีย์รูปครึ่งวงกลม กว่า อัณฑะ หรือ ครรภะ
หมายถึงศูนย์กลางจักรวาล ... เขาพระสุเมรุ
น่าจะรับอิทธิพลมาจาก ประเทศศรีลังกา
ผ่านมาจากอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพญากือนา
เจดีย์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนองค์ระฆัง และส่วนยอด
ฐานเขียง สี่เหลี่ยมซ้อนชั้น 2 ชั้น ทำหน้าที่รับน้ำหนัก
ฐานเขียงย่อมุม 2 ชึ้น
ฐานบัว อยู่เหนือจากฐานเขียง คล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยม คว่ำและหงาย ย่อมุม
ฐานบัวลูกแก้ว แปดเหลียม ซ้อนชั้นกันขึ้นไป สามชั้น
ส่วนองค์ระฆังหรือส่วนเรือนธาตุของเจดีย์ เป็นรูปทรงกลม ระฆังคว่ำ
ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ คือ ฐานรูปแปดเหลี่ยมขนาดเล็กวางเหนือองค์ระฆัง
ปล้องไฉน
ปลียอด
ฉัตร
เม็ดน้ำค้างในส่วนปลายสุด
วัดอยุ่บนถนนสายเดียวกับวัดเชียงมั่น
ทราบมาว่า
หลวงโยนะการพิจิตร-พ่อค้าไม้ชาวพม่า
เมื่อท่านได้บูรณะสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศานาที่ไหน
จะพบดอกสัญญลักษณ์หลวงโยนะการพิจิตร ด้วยเสมอ
และเจดีย์นี้พบลายดอกประจำยาม
เป็นวัดที่ครั้งแรกไปถ่ายรูปมาแล้วตั้งแต่ปลายปี 2557 แต่ไม่ครบถ้วน จึงไปอีกครั้ง
ที่พิเศษคือวัดนี้อนุญาติให้ผู้หญิงเข้าไปไหว้พระสมใจนึกในพระอุโบสถได้
ซึ่งปกติวัดทางภาคเหนือนั้นทำไม่ได้
โดยแจ้งความจำนงกับพระท่าน ในเวลาที่เปิดให้เข้าไปไหว้
พระท่านจะก็จะนำชม พร้อมทั้งอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง