วัดอุโมงค์ในเชียงใหม่นั้นมีสองวัดคือ
1 วัดอุโมงมหาเถรจันทร์ อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดคามวาสี คือวัดในเมือง
2 วัดอุโมงค์ อยู่เชิงดอยสุเทพ เป็นวัดอรัญวาสี คือวัดป่า สร้างขึ้นบริเวณป่าไผ่ 11 กอ จึงมีอีกชื่อว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า 11 + อาราม )
หลังจากพญามังรายมหาราช สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้ว
ได้ทรงสร้างวัด ทั้งฝ่ายคามวาสี และฝ่ายอรัญวาสี
ต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า
พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ที่เมืองนครศรีธรรมราชมายังเมืองสุโขทัย
ได้ทรงทราบว่า
พระสงฆ์ลังกาแตกฉานพระไตรปิฎก และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยกว่าพระไทย
จึงได้ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป
มีพระมหากัสสปะเถระเป็นหัวหน้า
ทรงเห็นว่า
ระเบียบประเพณีในการประพฤติอาจจะไม่เหมือนพระที่เชียงใหม่
จึงโปรดให้สร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกาขึ้นที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ
เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาเป็นครั้งแรก
จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระ
วางแผนผังวัดให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ
วัดจึงมีเขตพุทธาวาส
... เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ ...
และสังฆาวาส
... เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น สาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน ...
ทรงขนานวัดนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม ... วัดไผ่ 11 กอ ...
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า 11 + อาราม)
บันไดทางเข้าวัด
สิงห์เฝ้าวัด
เมื่องจากเป็นวัดที่อยู่เชิงเขา จึงเป็นชั้น ๆ
ทางขึ้นชั้นแรก
แนวอิฐกำแพงของวัด มีสามด้าน
ยักษี
... ป้ายเล็ก ๆ เขียนว่า กูรู้หมดทุกอย่าง ยกเว้นตัวกู คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนโตไม่อวด ...
ยักษา มีสีหน้า น่าเกรงขาม
พ.ศ. 1910 สมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์มังราย
มีพระเถระชาวล้านนารูปหนึ่ง
มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏกและภาษามคธ นามว่าพระมหาเถระจันทร์
พระภิกษุจันทร์ได้บรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอเมื่ออายุได้ 16 ปี
ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ วัดโพธิ์น้อย (วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์) ในจังหวัดเชียงใหม่
และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้ล้มป่วยหนัก
พระภิกษุจันทร์ได้เฝ้าพยาบาลอาจารย์
ท่านจึงได้มอบคัมภีร์ชื่อ มหาโยคีมันตระประเภทให้ก่อนที่จะมรณภาพ
แนะนำว่าให้ทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด
เมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะมีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม
สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว
เมื่อพระอาจารย์ถึงแก่มรณภาพ
พระภิกษุจันทร์ได้ไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ
ทำพิธีท่องมหาโยคีมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ ... พันเที่ยว
ในคืนที่สาม ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมา
ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์ที่สวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้า
ถามว่า : ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ?
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า : เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด
ถามว่า : ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิต หรือจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนจบ
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า : เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา
ผู้นั้นพูดว่า : เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ
แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ ... ในตำนานว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยว
พระภิกษุจันทร์แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวล
ก็จับเอาทั้งมือทั้งหมาก
รูปที่คล้ายนมุษย์นั้น ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า : อสติกโรติ ... ท่านจงหาสติมิได้เถิด
แล้วก็หายวับไป
จากนั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ
และเมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไป
พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อย
เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก
เวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติก็จะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง
เมื่อพระภิกษุมีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลย
ทำให้พญากือนาทรงโปรดปรานเป็นอันมาก
แต่เพราะพระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ
พญากือนาจึงสร้างอุโมงค์ให้พระเถระจันทร์อยู่เป็นที่ ให้ทั้งสองวัดคือ
วัดในเมือง ที่วัดโพธิ์น้อย ... คือ ... วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
และ
วัดวัดในป่าไผ่ 11 กอ หรือ วัดเวฬุกัฎฐาราม ... คิอ ... วัดอุโมค์ เชิงดอยสุเทพ
ท่านมรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77
อุโมค์ของวัดอุโมงค์อยู่ใต้ฐานของเจดีย์
มีทางเข้าออกด้านหน้า 3 ช่อง
อุโมงค์ซ้าย เลี้ยวขวาได้ทางเดียว
อุโมงค์กลาง เลี้ยวซ้ายและขวา
พระประธาน ด้านบนมีจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมัน
มองมาทางอุโมงค์ซ้าย
ฝาผนังด้านในอุโมงค์ เจาะช่องสำหรับจุดประทีป เป็นระยะ
สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน
มองมาทางอุโมงค์ขวา
อุโมงค์ขวา เลี้ยวซ้ายมาอุโมงค์กลาง
และตรงขึ้นไปบนทางออกอุโมงค์บนฐานเจดีย์
ส่วนที่หลังคาครอบคือ อุโมงค์
ช่องให้แสงสว่างแก่อุโมงค์
ข้างอุโมค์ทางทิศใต้
บันไดขึ้นไปสู่องค์เจดีย์
มกร
คายนาค 5 เศียร
หางมกร
พระเจดีย์ใหญ่
ทรงลังกา ... ระฆังคว่ำ
ซึ่งพญากือนาทรงบูรณะขึ้นใหม่ด้วยการพอกปูนทับของเก่า
พร้อมกับการสร้างอุโมงค์ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930
ฐานเขียง ฐานปัทม์ ฐานบัวลูกแก้ว 3 ชั้น รับองค์เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ บัลลังก์ เสาหาน ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว
ลวดลายบนบัลลังก์และเสาหาน
เจ้าชื่น สิโรรส ได้มาพบสถานที่ที่ถูกทิ้งให้รกร้างแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2491
ได้นิมนต์ท่านพุทธทาสภิกขุมาแสดงธรรมและขอให้ท่านอยู่ประจำที่เชียงใหม่
ท่านพุทธทาสได้ขึ้นมาแสดงธรรมให้ชาวเชียงใหม่ฟังเป็นเวลา 15 วัน
แต่ท่านไม่อาจจำพรรษาอยู่ได้ จึงได้ให้ ภิกขุ ปัญญานันทะ มาประจำที่เชียงใหม่
ท่านปัญญานันทภิขุมาอยู่ถึง 10 ปี ก่อนที่จะมาเริ่มสร้างวัดชลประทานรังสฤษดิ์
จึงมีสื่อธรรมแบบสวนโมกข์ เช่น
เสาอโศก
โรงมหรสพทางวิญญาณ ภาพหินสลัก
ต้นไม้พูดได้
วัดที่สร้างในสมัยพญามังราย ... วัดอุโมงค์
1 วัดอุโมงมหาเถรจันทร์ อยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดคามวาสี คือวัดในเมือง
2 วัดอุโมงค์ อยู่เชิงดอยสุเทพ เป็นวัดอรัญวาสี คือวัดป่า สร้างขึ้นบริเวณป่าไผ่ 11 กอ จึงมีอีกชื่อว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า 11 + อาราม )
หลังจากพญามังรายมหาราช สร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้ว
ได้ทรงสร้างวัด ทั้งฝ่ายคามวาสี และฝ่ายอรัญวาสี
ต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า
พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกา ที่เมืองนครศรีธรรมราชมายังเมืองสุโขทัย
ได้ทรงทราบว่า
พระสงฆ์ลังกาแตกฉานพระไตรปิฎก และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยกว่าพระไทย
จึงได้ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคำแหงมหาราชมา 5 รูป
มีพระมหากัสสปะเถระเป็นหัวหน้า
ทรงเห็นว่า
ระเบียบประเพณีในการประพฤติอาจจะไม่เหมือนพระที่เชียงใหม่
จึงโปรดให้สร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกาขึ้นที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ
เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการนำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาประดิษฐานในลานนาเป็นครั้งแรก
จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระ
วางแผนผังวัดให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ
วัดจึงมีเขตพุทธาวาส
... เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ ...
และสังฆาวาส
... เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น สาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน ...
ทรงขนานวัดนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม ... วัดไผ่ 11 กอ ...
(เวฬุ แปลว่า ต้นไผ่ + เอกาทส แปลว่า 11 + อาราม)
บันไดทางเข้าวัด
สิงห์เฝ้าวัด
เมื่องจากเป็นวัดที่อยู่เชิงเขา จึงเป็นชั้น ๆ
ทางขึ้นชั้นแรก
แนวอิฐกำแพงของวัด มีสามด้าน
ยักษี
... ป้ายเล็ก ๆ เขียนว่า กูรู้หมดทุกอย่าง ยกเว้นตัวกู คนดีไม่เบ่ง คนเก่งไม่โม้ คนโตไม่อวด ...
ยักษา มีสีหน้า น่าเกรงขาม
พ.ศ. 1910 สมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์มังราย
มีพระเถระชาวล้านนารูปหนึ่ง
มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏกและภาษามคธ นามว่าพระมหาเถระจันทร์
พระภิกษุจันทร์ได้บรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอเมื่ออายุได้ 16 ปี
ต่อมาได้อยู่จำพรรษาที่ วัดโพธิ์น้อย (วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์) ในจังหวัดเชียงใหม่
และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ได้ล้มป่วยหนัก
พระภิกษุจันทร์ได้เฝ้าพยาบาลอาจารย์
ท่านจึงได้มอบคัมภีร์ชื่อ มหาโยคีมันตระประเภทให้ก่อนที่จะมรณภาพ
แนะนำว่าให้ทำพิธีเล่าเรียนในที่สงัด
เมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะมีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม
สามารถเล่าเรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็ว
เมื่อพระอาจารย์ถึงแก่มรณภาพ
พระภิกษุจันทร์ได้ไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ
ทำพิธีท่องมหาโยคีมันตระประเภทให้ได้ครบพันคาบ ... พันเที่ยว
ในคืนที่สาม ท่านก็มองเห็นแสงสว่างตรงมา
ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์ที่สวยงามอย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้า
ถามว่า : ท่านมาทำอะไร และปรารถนาอะไร ?
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า : เรามาทำศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด
ถามว่า : ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิต หรือจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนจบ
พระภิกษุจันทร์ตอบว่า : เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา
ผู้นั้นพูดว่า : เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ
แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ ... ในตำนานว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยว
พระภิกษุจันทร์แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่งของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวล
ก็จับเอาทั้งมือทั้งหมาก
รูปที่คล้ายนมุษย์นั้น ก็กล่าวเป็นคำคาถาว่า : อสติกโรติ ... ท่านจงหาสติมิได้เถิด
แล้วก็หายวับไป
จากนั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊กลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ
และเมื่อเห็นว่าถูกทำลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไป
พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อย
เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎกได้แม่นยำรวดเร็วมาก
เวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติก็จะเที่ยวจาริกไปในที่สงบสงัด เพื่อบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง
เมื่อพระภิกษุมีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลย
ทำให้พญากือนาทรงโปรดปรานเป็นอันมาก
แต่เพราะพระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัดบำเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ
พญากือนาจึงสร้างอุโมงค์ให้พระเถระจันทร์อยู่เป็นที่ ให้ทั้งสองวัดคือ
วัดในเมือง ที่วัดโพธิ์น้อย ... คือ ... วัดอุโมงมหาเถรจันทร์
และ
วัดวัดในป่าไผ่ 11 กอ หรือ วัดเวฬุกัฎฐาราม ... คิอ ... วัดอุโมค์ เชิงดอยสุเทพ
ท่านมรณะภาพลงด้วยอายุได้ประมาณ 77
อุโมค์ของวัดอุโมงค์อยู่ใต้ฐานของเจดีย์
มีทางเข้าออกด้านหน้า 3 ช่อง
อุโมงค์ซ้าย เลี้ยวขวาได้ทางเดียว
อุโมงค์กลาง เลี้ยวซ้ายและขวา
พระประธาน ด้านบนมีจิตรกรรมฝาผนังสีน้ำมัน
มองมาทางอุโมงค์ซ้าย
ฝาผนังด้านในอุโมงค์ เจาะช่องสำหรับจุดประทีป เป็นระยะ
สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน
มองมาทางอุโมงค์ขวา
อุโมงค์ขวา เลี้ยวซ้ายมาอุโมงค์กลาง
และตรงขึ้นไปบนทางออกอุโมงค์บนฐานเจดีย์
ส่วนที่หลังคาครอบคือ อุโมงค์
ช่องให้แสงสว่างแก่อุโมงค์
ข้างอุโมค์ทางทิศใต้
บันไดขึ้นไปสู่องค์เจดีย์
มกร
คายนาค 5 เศียร
หางมกร
พระเจดีย์ใหญ่
ทรงลังกา ... ระฆังคว่ำ
ซึ่งพญากือนาทรงบูรณะขึ้นใหม่ด้วยการพอกปูนทับของเก่า
พร้อมกับการสร้างอุโมงค์ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930
ฐานเขียง ฐานปัทม์ ฐานบัวลูกแก้ว 3 ชั้น รับองค์เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ บัลลังก์ เสาหาน ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว
ลวดลายบนบัลลังก์และเสาหาน
เจ้าชื่น สิโรรส ได้มาพบสถานที่ที่ถูกทิ้งให้รกร้างแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2491
ได้นิมนต์ท่านพุทธทาสภิกขุมาแสดงธรรมและขอให้ท่านอยู่ประจำที่เชียงใหม่
ท่านพุทธทาสได้ขึ้นมาแสดงธรรมให้ชาวเชียงใหม่ฟังเป็นเวลา 15 วัน
แต่ท่านไม่อาจจำพรรษาอยู่ได้ จึงได้ให้ ภิกขุ ปัญญานันทะ มาประจำที่เชียงใหม่
ท่านปัญญานันทภิขุมาอยู่ถึง 10 ปี ก่อนที่จะมาเริ่มสร้างวัดชลประทานรังสฤษดิ์
จึงมีสื่อธรรมแบบสวนโมกข์ เช่น
เสาอโศก
โรงมหรสพทางวิญญาณ ภาพหินสลัก
ต้นไม้พูดได้