สงสัยว่าทำไมคนจีนโพ้นทะเลตลอดจนคนไทยเชื้อสายจีนจากที่ลำบากทำไมถึงร่ำรวยได้แต่ทำไมคนไทยแท้ถึงทำได้ยากเย็นจังครับ???

อันนี้ไม่ได้ตั้งใจสบประมาทคนไทยแท้ที่เป็นบรรพบุรุษผู้มีพระคุณของไทยนะครับแต่แค่สงสัยทำไมคนไทยเชื้อสายจีนบรรพบุรุษเขาหอบเสื่อผืนหมอนใบลำบากยากเย็นไม่มีจะกินไม่มีอะไรติดตัว ทำไมเขาถึงตั้งตัวจนรวยได้ภายในรุ่น2รุ่นหรือบางคนเก่งหน่อยก็เริ่มมีกินตั้งแต่รุ่นแรก แต่ทำไมคนไทยแท้โดยเฉพาะเกษตรกรที่รับวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยทำไมตั้งตัวไม่ได้พึ่งตัวเองไม่ได้จนต้องให้รัฐบาลช่วยอย่างเดียว ทำไมคนจีนโพ้นทะเลเขาถึงพึ่งตัวเองได้ หาวิธีเอาตัวรอดโดยไม่ต้องให้ใครมาอุ้มแบบเกษตรกรไทยแท้หลายๆคนเพราะอะไร เพราะเขามีสมาคม คอนเน็คชั่นด้วย หรือว่าเขามีการปลูกฝังค่านิยมในการเรียนรู้ที่ถูกต้องในการรับการศึกษาการเรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาคุณภาพตัวเอง ทำไมคนจีนเขาถึงขวนขวายจนเอาตัวรอดจากความจนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องได้รับการอุ้มมาก อันนี้สงสัยอยากรู้มากทำไมคนไทยแท้พวกรากหญ้าหรือคนที่บ่นว่าเอาตัวรอดลืมตาอ้าปากไม่ได้ต้องให้รัฐมาช่วยเหลือมาก ทำไมลูกมังกรถึงพึ่งตัวเองได้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 30
อันนี้ขอเพิ่มเติมจากบันทึกของฝรั่งสมัยก่อน เอามาจาก https://gmlive.com/french-ambassador-view-on-prai-system-during-narai-reign


ทูตฝรั่งสมัยพระนารายณ์ เวทนาชาวสยามไม่อาจก้าวหน้า เพราะระบบไพร่เป็นอุปสรรค

อย่างหนึ่งเมื่อพูดถึงความเจริญรุ่งเรือง เราก็ต้องนึกถึงความรู้และวิทยาการ ลาลูแบร์ ทูตแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งได้เดินทางมาสยามในแผ่นดินพระนารายณ์พอดี บอกว่า ในยุคนั้นคนสยามต้องเล่าเรียนกับพระในวัด แต่ก็แค่พอให้อ่านออกเขียนได้และนับเลขเป็นเท่านั้น ไม่มีการสอนเรื่องของกฎหมาย ประวัติศาสตร์ หรือศาสตร์อื่นใดอีก และแม้จะเรียนกับพระแต่ก็น้อยคนนักจะรู้บาลีจนแตกฉานยกเว้นจะบวชนานๆ หรือได้รับราชการ

ด้วยเหตุนี้ แม้ลาลูแบร์จะชมชาวสยามว่าสติปัญญาดี แต่ก็ไม่รู้ศาสตร์อะไรลึกๆ เหมือนที่สอนในวิทยาลัยในโลกตะวันตก การแพทย์ก็ยังต้องพึ่งแพทย์จีนเป็นหลัก (ซึ่งฝรั่งสมัยนั้นดูถูกว่าเป็นเพียงหมอเถื่อน) ความรู้ด้านการผ่าตัด หรือกายวิภาคก็ไม่มี

ในด้านงานฝีมือ ชาวสยามก็ไม่ได้เก่งกาจเท่าใดนัก เพราะไม่มีการรวมกลุ่มวิชาชีพ การถ่ายทอดองค์ความรู้จึงไม่เป็นระบบ ความรู้ในเรื่องวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมก็เลยมีอย่างจำกัด

“ชาวสยามรู้จักเผาอิฐและทำปูนซีเมนต์ได้อย่างดี และกระบวนช่างก่ออิฐถือปูนก็มิใช่ชั่ว. แม้กระนั้นอาคารที่เป็นตึกของเขาก็ไม่สู้ทนทานถาวรเท่าไรนัก ทั้งนี้ก็เพราะลงรากไว้ตื้นมากนั่นเอง แม้แต่ป้อมปราการของเขาก็มิได้ลงรากไว้แต่ประการใด” ลาลูแบร์กล่าว

ฝรั่งหลายคนเมื่อได้มาเห็นสังคมสยามยุคจารีตยังกล่าวหาว่าชาวสยามนั้น “เกียจคร้าน” วันๆ ไม่รู้จักทำอะไรจึงไม่เจริญ ลาลูแบร์เองก็เช่นกัน แต่เขาก็ยังบอกด้วยว่า ความไม่เจริญก้าวหน้าในด้านการอาชีพของคนสยามนั้นไม่ได้มาจากความเกียจคร้าน แต่เป็นปัญหาจาก “ระบบ”

ลาลูแบร์อ้างว่า ค่าภาษีอากรของสยามนั้นดุนัก ชาวบ้านจึงต้องซ่อนทรัพย์สินมีค่าไว้อย่างมิดชิด จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย และระบบไพร่ที่ชายต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปปีละกว่า 6 เดือนก็ยิ่งทำให้หลายคนไม่คิดจะเรียนรู้ศาสตร์อันใดให้เชี่ยวชาญ

“ด้วยเหตุที่ชายฉกรรจ์ต้องไปทำงานหลวงเสียปีละ 6 เดือน และบ่อยครั้งก็ไม่แน่นักว่าจะถูกเกณฑ์เพียงชั่ว 6 เดือนเท่านั้น จึงไม่มีใครหน้าไหนในประเทศนี้ที่จะกล้าแสดงตนว่าเป็นช่างผู้ชำนาญในวิชาใดวิชาหนึ่ง ด้วยเกรงว่าจะถูกใช้ให้ทำงานฉลองพระเดชพระคุณไปชั่วนาตาปีโดยมิได้รับค่าตอบแทนประการใดเลย. และโดยเหตุที่บรรดาเลกทั้งหลายถูกจ่ายให้ไปทำงานจิปาถะ ทุกคนจึงต้องขวนขวายฝึกปรือตนให้รู้จักทำงานเป็นอย่างโน้นนิดอย่างนี้หน่อยพอให้หลังพ้นหวายเท่านั้น”

ลาลูแบร์กล่าวต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ “ชาวสยามจึงไม่รู้งานและไม่ประสงค์ที่จะรู้งานอย่างอื่น นอกจากงานอันตนถูกใช้ให้ทำจำเจอยู่เท่านั้น” งานก่อสร้างใหญ่จึงจำเป็นต้องอาศัยช่างฝรั่ง ซึ่งเขาบอกว่า บางคนก็รู้แค่งูๆ ปลาๆ เท่านั้น แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้คนสยามทำกันเอง

ในมุมมองของทูตฝรั่งเศส ระบบไพร่จึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ชาวสยามยากที่จะเจริญก้าวหน้าได้

เช่นเดียวกับหลวงวิจิตรวาทการนักคิดผู้วางรากฐานชาตินิยมไทยก็เคยกล่าวว่า

“ชาติไทยเราไม่ถนัดในการค้าและอุตสาหกรรม ก็เพราะเราต้องเป็นทาส เป็นไพร่ทำงานให้นายมาตลอด 5 ศตวรรษ และงานที่ทำนั้น ก็เป็นแต่งานขุดดินฟันหญ้า ทำไร่ ทำนา แล้วผลประโยชน์ทั้งหมดก็ตกอยู่แก่นาย ระบอบการปกครองแบบอยุธยา ที่ตกทอดมาจนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นระบอบที่บาปกรรมทำความเสื่อมโทรมให้แก่ชาติและนิสัยใจคอของพลเมืองไทย”




และอันนี้ก็อีกอันนึง https://voicetv.co.th/read/SyQscdhXG
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่