ผมมองลงไปจากช่องหน้าต่างของเครื่องบินโบอิ้งลำโต ก่อนที่ล้อจะแตะรันเวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยะเหมินเกาฉี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “สนามบินเซี่ยะเหมิน” ภาพตึกสูงเป็นระเบียบสวยงามตามแนวชายหาดเบื้องล่าง ทำให้ผมคิดไกลไปว่า จีน ซึ่งได้ชื่อว่ามีพลเมืองมากมายมหาศาล และบางส่วนก็กระจัดกระจายออกไปอยู่นอกประเทศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "ชาวจีนโพ้นทะเล" มีพลังขับเคลื่อนหรือแรงผลักดันอะไร จึงทำให้ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่เฉกเช่นทุกวันนี้ได้
คำว่า
"จีนโพ้นทะเล" ผมพึ่งเข้าใจจากการเดินทางในทริปนี้ นี่เอง ...พวกเขาคือชาวจีนนอกบ้านเกิดเมืองนอนอันไกลโพ้น แต่ยังมีจิตใจผูกพันเมืองแม่ ทั้งในเชิงการเมือง วัฒนธรรม และความรู้สึก มีชาวจีนหลายคนยังคงเรียกตัวเองว่า "จีนโพ้นทะเล"ด้วยความภาคภูมิใจ เพราะอาจจะเป็นเครื่องเตือนใจว่าพวกเขายังคงเป็นสมาชิกของครอบครัวใหญ่ คือประเทศจีนอันเกรียงไกร
"หากชาวจีนโพ้นทะเลผูกพันกับแผ่นดินเกิดถึงเพียงนี้ แล้วแรงผลักดันอะไรที่ทำให้พวกเขายอมละทิ้งครอบครัวและสุสานบรรพบุรุษ ออกเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปตั้งรกรากในแดนไกล"...นั่นคือคำถามในใจผมที่จะต้องกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนอีกครั้ง
โลกทัศน์ของชาวจีนถือว่าความกตัญญูคือสุดยอดของคุณธรรมทั้งมวล และหาได้จำกัดอยู่แต่เพียงกตัญญูต่อบุพการีเท่านั้น แต่กินความกว้างไปถึงความกตัญญูต่อธรรมชาติและสังคมที่ตนเองได้พึ่งพาอาศัยอีกด้วย
ในฐานะสื่อมวลชนคนหนึ่ง ผมมีโอกาส เดินทางร่วมทริปกับลูกหลานมังกรจีนโพ้นทะเล สกุล "สีบุญเรือง" พร้อมกับ คณะนักธุรกิจหนานจิ้งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวหนานจิ้งประเทศไทย รวมแล้วกว่า 90 ชีวิต เพื่อ "เปิดเส้นทางธุรกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมณฑลฝูเจี้ยน" (เซี่ยะเหมิน-จางโจว-บ้านดินหนานจิ้ง) นำโดย
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง นายกสมาคมกิตติมศักดิ์และ
คุณ ฉฏา สีบุญเรือง นายกสมาคมนักธุรกิจหนานจิ้ง
[SR] สายสัมพันธ์กตัญญู...ลูกหลานจีนโพ้นทะเล
ผมมองลงไปจากช่องหน้าต่างของเครื่องบินโบอิ้งลำโต ก่อนที่ล้อจะแตะรันเวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยะเหมินเกาฉี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “สนามบินเซี่ยะเหมิน” ภาพตึกสูงเป็นระเบียบสวยงามตามแนวชายหาดเบื้องล่าง ทำให้ผมคิดไกลไปว่า จีน ซึ่งได้ชื่อว่ามีพลเมืองมากมายมหาศาล และบางส่วนก็กระจัดกระจายออกไปอยู่นอกประเทศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "ชาวจีนโพ้นทะเล" มีพลังขับเคลื่อนหรือแรงผลักดันอะไร จึงทำให้ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่เฉกเช่นทุกวันนี้ได้
คำว่า "จีนโพ้นทะเล" ผมพึ่งเข้าใจจากการเดินทางในทริปนี้ นี่เอง ...พวกเขาคือชาวจีนนอกบ้านเกิดเมืองนอนอันไกลโพ้น แต่ยังมีจิตใจผูกพันเมืองแม่ ทั้งในเชิงการเมือง วัฒนธรรม และความรู้สึก มีชาวจีนหลายคนยังคงเรียกตัวเองว่า "จีนโพ้นทะเล"ด้วยความภาคภูมิใจ เพราะอาจจะเป็นเครื่องเตือนใจว่าพวกเขายังคงเป็นสมาชิกของครอบครัวใหญ่ คือประเทศจีนอันเกรียงไกร
"หากชาวจีนโพ้นทะเลผูกพันกับแผ่นดินเกิดถึงเพียงนี้ แล้วแรงผลักดันอะไรที่ทำให้พวกเขายอมละทิ้งครอบครัวและสุสานบรรพบุรุษ ออกเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปตั้งรกรากในแดนไกล"...นั่นคือคำถามในใจผมที่จะต้องกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์การอพยพของชาวจีนอีกครั้ง
โลกทัศน์ของชาวจีนถือว่าความกตัญญูคือสุดยอดของคุณธรรมทั้งมวล และหาได้จำกัดอยู่แต่เพียงกตัญญูต่อบุพการีเท่านั้น แต่กินความกว้างไปถึงความกตัญญูต่อธรรมชาติและสังคมที่ตนเองได้พึ่งพาอาศัยอีกด้วย
ในฐานะสื่อมวลชนคนหนึ่ง ผมมีโอกาส เดินทางร่วมทริปกับลูกหลานมังกรจีนโพ้นทะเล สกุล "สีบุญเรือง" พร้อมกับ คณะนักธุรกิจหนานจิ้งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวหนานจิ้งประเทศไทย รวมแล้วกว่า 90 ชีวิต เพื่อ "เปิดเส้นทางธุรกิจ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมณฑลฝูเจี้ยน" (เซี่ยะเหมิน-จางโจว-บ้านดินหนานจิ้ง) นำโดย ดร.อรรชกา สีบุญเรือง นายกสมาคมกิตติมศักดิ์และ คุณ ฉฏา สีบุญเรือง นายกสมาคมนักธุรกิจหนานจิ้ง
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น