บทความนี้คัดย่อจาก หนังสือ “กิจกรรมทางการเมืองของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย (ค.ศ. 1906-1939)”
ของศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เขียนโดย เซี่ยกวงชาวจีนจากมณฑลไห่หนาน
ที่เคยเข้ามาศึกษาและทำงานในเมืองไทย เซี่ยกวงศึกษาประวัติศาสตร์ไทยหลายสิบปี
และยังเคยทำงานในสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลแห่งประเทศจีน ส่วนผู้แปลคือ เชาวน์ พงษ์พิชิต เป็นนักวิชาการอิสระ
และนักเขียนที่มีผลงานเกี่ยวจีนศึกษาจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้จึงน่าสนใจที่ใช้ข้อมูลจีนเป็นหลัก
ทั้งเขียนและแปลโดยบุคคลที่ทำงานเรื่องจีนศึกษาอย่างแท้จริง แต่เนื่องจากจัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันอาจจะหาอ่านได้ยาก
จึงขอคัดเนื้อหาบางส่วนมาเผยแพร่ดังนี้
การปฏิวัติซินไฮ่[1] (10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ) ที่มีดร.ซุนยัดเซ็น
เป็นผู้ก่อการและผู้นำนั้นเป็นการปฏิวัติที่โค้นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาระบบอสาธารณรัฐในประเทศจีน
ในเวลาดังกล่าว ประเทศไทยก็ยังอยู่ระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ทางการไทยต้องหาทุกวิถีทางที่จะสกัดมิให้กระแสแนวคิดชาตินิยมและประชาธิปไตยซึ่งกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยของจีนนํามาเผยแพร่นั้นส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของ สังคมไทย
ทั้งนี้เห็นได้จากท่าทีและมาตรการบางอย่างของทางการไทยที่ได้แสดง ในช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติซินไฮ่ ของจีนดังนี้
การเมือง 2 แนวคิด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นระยะฟักตัวของการปฏิวัติซินไฮ่นั้น
บนเวทีการเมืองจีนเกิดมีความคิดทางการเมือง 2 กระแสต่อสู้กันอย่างดุเดือด
กระแสหนึ่งเป็นของกลุ่มนิยมการปฏิวัติที่มีซุนยัดเซ็นผู้จัดตั้งและ ผู้นําการปฏิวัติประชาธิปไตยประเทศจีนเป็นตัวแทน
กลุ่มนี้ต้องการก้าวไปตามวิถีทางปฏิวัติประชาธิปไตย
อีกกระแสหนึ่งเป็นของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่มีคังโหย่วเหวยและเหลียงฉีเชาเป็นตัวแทน
กลุ่มนี้ต้องการก้าวไปตามวิถีทางที่ให้มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
เซี่ยวฮูดเส็ง สีบุญเรืองสองกลุ่มดังกล่าวขัดแย้งกันและก็ต่อสู้กัน
ต่างฝ่ายต่างก็ส่งคนออกไปโฆษณาแนวความคิดของตนต่อชาวจีนโพ้นทะเลในท้องที่ต่างๆ ทั่วโลก
และทั้งสองฝ่ายได้ส่งคนมาทําการโฆษณาต่อชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย
เพื่อแสวงหาผู้สนับสนุน รวบรวมกําลังและตั้งฐานของฝ่ายตนขึ้นมา
ฝ่ายนิยมกษัตริยได้รับการสนับสนุนจากนายเจิ้งจื้อหย่ง (แต้ตี้ย่ง หรือ ยี่กอฮง) ผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้น
เขาเป็นหัวหน้าหงเหมินเทียนตี้ฮุ้ย (อังยี่) สมาคมลับของชาวจีนโพ้นทะเล
ฝ่ายปฏิวัติด้รับการสนับสนุนจากนายเซียวฝอเฉิง (เซียวฮุดเส็ง ศรีบุญเรือง ) ผู้ทรงอิทธิพลในสมาคมซันเหอฮุ่ย (ซาฮะหวย)
สมาคมลับของชาวจีนดพ้นทะเลอีกแห่งหนึ่ง
ซุนยัดเซ็นเองก็เคยเดินทางเข้ามาทําการ โฆษณาการปฏิวัติและจัดตั้งองค์กรปฏิวัติด้วยตนเองในประเทศไทย
เหตุนี้เอง สังคมชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยสมัยนั้นจึงได้มีกระแสความคิดทางการเมืองสองกระแส
ได้แก่ ฝ่ายปฏิวัติกับฝ่ายนิยมกษัตริย์เผชิญหน้ากัน
ปี ค.ศ. 1909 สมาคมจงหัวฮุยสั่วจัดตั้งโรงเรียนจีนชื่อว่า “หัวอี้เสียถาง”
ขณะเดียวกันฝ่ายสาขาถงเหมิงฮุย[2]ก็ได้ตั้งโรงเรียน ขึ้นมาแห่งหนึ่งที่ย่านสามเสนให้ชื่อว่า “กอเหวินเสียถาง”
โรงเรียนแห่งนี้ยังมีองค์กรผนวกอีกองค์กรหนึ่งมีชื่อว่า “ผู่ทงซูเป้าเหยียนซัวเซ่อ-สมาคมห้องสมุดและปาฐกถาสามัญ” ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1910 ยังได้ตั้งโรงเรียน “ซินหมิน” ขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งด้วยความร่วมมือของชาวจีนโพ้นทะเลที่ใช้ภาษาแต้จิ๋ว, กวางตุ้งและฮกเกี้ยน ต่อมาอีก ไม่นานนักยังได้ตั้งโรงเรียน “ต้าถง” ขึ้นมาอีกโรงเรียนหนึ่ง
การก่อตั้งโรงเรียนและห้องสมุดดังกล่าวล้วนเป็นวิธีการที่สมาคมลงเหมิงฮุ่ย ใช้ดําเนินการโฆษณาและจัดตั้งกําลังปฏิวัติ และก็เป็นฐานปฏิบัติการที่ ถงเหมิงฮุย ใช้ดําเนินการต่อสู้กับกลุ่มนิยมกษัตริย์เพื่อได้มาซึ่งความสนับสนุนของมวลชน
“การต่อสู้ระหว่างกลุ่มนิยมกษัตริย์กับกลุ่มปฏิวัติของจีนในประเทศไทย ต่างฝ่ายต่างก็โฆษณาเผยแพร่แนวความคิดที่ปรากฏในประเทศจีน ยังผลกระตุ้นให้ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยมีจิตสํานึกรักชาติจีนอย่างแรงกล้า”
“ความแตกต่างทางแนวความคิดระหว่างกลุ่มการเมืองทั้งสองดังกล่าวยังผลให้เกิดการโต้แย้งโดยลายลักษณ์กรุนแรง” ซึ่ง “ได้มีบทบาทเร่งรัดการปลูกฝังความคิดทางการเมืองให้แก่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงโดยปราศจากข้อกังขา”
มารดาผู้ให้กำเนิดการปฏิวัติ
ซุนยัดเซ็นดำเนินกิจกรรมปฏวัตินอกประเทศจีน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล
สำหรับประเทศไทยซุนยัดเซ็นเดินทางมาถึง 4 ครั้ง โดยหวังการสนับสนุนขององค์กรอั้งยี่กลุ่มต่างๆ
ในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลที่มีแนวความคิดต่อต้านราชสำนักชิง
แม้ 2 ครั้งแรกจะเป็นการเคลื่อนไหวลับๆ แต่ตํารวจไทยก็ยังได้ไปค้นบ้านของหลินเหวินอิง ซึ่ง ดร.ซุนยัดเซ็นพักอาศัยอยู่
หมายจะจับกุมตัวท่าน ย่อมแสดงว่าทางการไทยไม่ต้อนรับการเข้ามาทำกิจกรรมปฏิวัติในประเทศไทยของเขา
ซุนยัดเซ็นเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และประกอบกิจกรรมอย่างเปิดเผย
เพื่อระดมทุนสำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมปฏิวัติ ในช่วงนี้ซุนยัดเซ็น กับนายเซียวฮุดเส็งได้พบปะกับยี่กอฮง หั
วหน้าองค์กรอั้งยี่ที่สนับสนุนกลุ่มนิยมกษัตริย์และเชิญให้มาเข้าร่วมสมาคมถงเหมินฮุ่ยเป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีแสดงปาฐกถาเรียกร้องให้ชาวจีนโพ้นทะเลสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยที่ต้องการโค่นล้มราชสํานักชิงแมนจู เป็นที่อึกทึกครึกโครมไปทั่วสังคมชาวจีนโพ้นทะเล
ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียอาคเนย์บริจาคเงินร่วมสนับสนุนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยระหว่างปี 1907-1908 มียอดรวมถึง 150,000 หยวน ในจำนวนนี้มาจากประเทศอินโดจีนและไทย 60,000 หยวน จนซุนยัดเซ็นยกย่องว่า “ชาวจีนโพ้นทะเลคือมารดาผู้ให้กำเนิดการปฏิวัติ”
ปฏิวัติซินไฮ่ กับผลกระทบในเมืองไทย บทความที่ดีมากๆที่ทุกควรควรอ่าน ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็น
ของศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เขียนโดย เซี่ยกวงชาวจีนจากมณฑลไห่หนาน
ที่เคยเข้ามาศึกษาและทำงานในเมืองไทย เซี่ยกวงศึกษาประวัติศาสตร์ไทยหลายสิบปี
และยังเคยทำงานในสมาคมชาวจีนโพ้นทะเลแห่งประเทศจีน ส่วนผู้แปลคือ เชาวน์ พงษ์พิชิต เป็นนักวิชาการอิสระ
และนักเขียนที่มีผลงานเกี่ยวจีนศึกษาจำนวนมาก หนังสือเล่มนี้จึงน่าสนใจที่ใช้ข้อมูลจีนเป็นหลัก
ทั้งเขียนและแปลโดยบุคคลที่ทำงานเรื่องจีนศึกษาอย่างแท้จริง แต่เนื่องจากจัดพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ปัจจุบันอาจจะหาอ่านได้ยาก
จึงขอคัดเนื้อหาบางส่วนมาเผยแพร่ดังนี้
การปฏิวัติซินไฮ่[1] (10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ) ที่มีดร.ซุนยัดเซ็น
เป็นผู้ก่อการและผู้นำนั้นเป็นการปฏิวัติที่โค้นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาระบบอสาธารณรัฐในประเทศจีน
ในเวลาดังกล่าว ประเทศไทยก็ยังอยู่ระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่ทางการไทยต้องหาทุกวิถีทางที่จะสกัดมิให้กระแสแนวคิดชาตินิยมและประชาธิปไตยซึ่งกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยของจีนนํามาเผยแพร่นั้นส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของ สังคมไทย
ทั้งนี้เห็นได้จากท่าทีและมาตรการบางอย่างของทางการไทยที่ได้แสดง ในช่วงก่อนและหลังการปฏิวัติซินไฮ่ ของจีนดังนี้
การเมือง 2 แนวคิด
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นระยะฟักตัวของการปฏิวัติซินไฮ่นั้น
บนเวทีการเมืองจีนเกิดมีความคิดทางการเมือง 2 กระแสต่อสู้กันอย่างดุเดือด
กระแสหนึ่งเป็นของกลุ่มนิยมการปฏิวัติที่มีซุนยัดเซ็นผู้จัดตั้งและ ผู้นําการปฏิวัติประชาธิปไตยประเทศจีนเป็นตัวแทน
กลุ่มนี้ต้องการก้าวไปตามวิถีทางปฏิวัติประชาธิปไตย
อีกกระแสหนึ่งเป็นของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่มีคังโหย่วเหวยและเหลียงฉีเชาเป็นตัวแทน
กลุ่มนี้ต้องการก้าวไปตามวิถีทางที่ให้มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
เซี่ยวฮูดเส็ง สีบุญเรืองสองกลุ่มดังกล่าวขัดแย้งกันและก็ต่อสู้กัน
ต่างฝ่ายต่างก็ส่งคนออกไปโฆษณาแนวความคิดของตนต่อชาวจีนโพ้นทะเลในท้องที่ต่างๆ ทั่วโลก
และทั้งสองฝ่ายได้ส่งคนมาทําการโฆษณาต่อชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย
เพื่อแสวงหาผู้สนับสนุน รวบรวมกําลังและตั้งฐานของฝ่ายตนขึ้นมา
ฝ่ายนิยมกษัตริยได้รับการสนับสนุนจากนายเจิ้งจื้อหย่ง (แต้ตี้ย่ง หรือ ยี่กอฮง) ผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้น
เขาเป็นหัวหน้าหงเหมินเทียนตี้ฮุ้ย (อังยี่) สมาคมลับของชาวจีนโพ้นทะเล
ฝ่ายปฏิวัติด้รับการสนับสนุนจากนายเซียวฝอเฉิง (เซียวฮุดเส็ง ศรีบุญเรือง ) ผู้ทรงอิทธิพลในสมาคมซันเหอฮุ่ย (ซาฮะหวย)
สมาคมลับของชาวจีนดพ้นทะเลอีกแห่งหนึ่ง
ซุนยัดเซ็นเองก็เคยเดินทางเข้ามาทําการ โฆษณาการปฏิวัติและจัดตั้งองค์กรปฏิวัติด้วยตนเองในประเทศไทย
เหตุนี้เอง สังคมชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยสมัยนั้นจึงได้มีกระแสความคิดทางการเมืองสองกระแส
ได้แก่ ฝ่ายปฏิวัติกับฝ่ายนิยมกษัตริย์เผชิญหน้ากัน
ปี ค.ศ. 1909 สมาคมจงหัวฮุยสั่วจัดตั้งโรงเรียนจีนชื่อว่า “หัวอี้เสียถาง”
ขณะเดียวกันฝ่ายสาขาถงเหมิงฮุย[2]ก็ได้ตั้งโรงเรียน ขึ้นมาแห่งหนึ่งที่ย่านสามเสนให้ชื่อว่า “กอเหวินเสียถาง”
โรงเรียนแห่งนี้ยังมีองค์กรผนวกอีกองค์กรหนึ่งมีชื่อว่า “ผู่ทงซูเป้าเหยียนซัวเซ่อ-สมาคมห้องสมุดและปาฐกถาสามัญ” ต่อจากนั้นในปี ค.ศ. 1910 ยังได้ตั้งโรงเรียน “ซินหมิน” ขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งด้วยความร่วมมือของชาวจีนโพ้นทะเลที่ใช้ภาษาแต้จิ๋ว, กวางตุ้งและฮกเกี้ยน ต่อมาอีก ไม่นานนักยังได้ตั้งโรงเรียน “ต้าถง” ขึ้นมาอีกโรงเรียนหนึ่ง
การก่อตั้งโรงเรียนและห้องสมุดดังกล่าวล้วนเป็นวิธีการที่สมาคมลงเหมิงฮุ่ย ใช้ดําเนินการโฆษณาและจัดตั้งกําลังปฏิวัติ และก็เป็นฐานปฏิบัติการที่ ถงเหมิงฮุย ใช้ดําเนินการต่อสู้กับกลุ่มนิยมกษัตริย์เพื่อได้มาซึ่งความสนับสนุนของมวลชน
“การต่อสู้ระหว่างกลุ่มนิยมกษัตริย์กับกลุ่มปฏิวัติของจีนในประเทศไทย ต่างฝ่ายต่างก็โฆษณาเผยแพร่แนวความคิดที่ปรากฏในประเทศจีน ยังผลกระตุ้นให้ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยมีจิตสํานึกรักชาติจีนอย่างแรงกล้า”
“ความแตกต่างทางแนวความคิดระหว่างกลุ่มการเมืองทั้งสองดังกล่าวยังผลให้เกิดการโต้แย้งโดยลายลักษณ์กรุนแรง” ซึ่ง “ได้มีบทบาทเร่งรัดการปลูกฝังความคิดทางการเมืองให้แก่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงโดยปราศจากข้อกังขา”
มารดาผู้ให้กำเนิดการปฏิวัติ
ซุนยัดเซ็นดำเนินกิจกรรมปฏวัตินอกประเทศจีน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล
สำหรับประเทศไทยซุนยัดเซ็นเดินทางมาถึง 4 ครั้ง โดยหวังการสนับสนุนขององค์กรอั้งยี่กลุ่มต่างๆ
ในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลที่มีแนวความคิดต่อต้านราชสำนักชิง
แม้ 2 ครั้งแรกจะเป็นการเคลื่อนไหวลับๆ แต่ตํารวจไทยก็ยังได้ไปค้นบ้านของหลินเหวินอิง ซึ่ง ดร.ซุนยัดเซ็นพักอาศัยอยู่
หมายจะจับกุมตัวท่าน ย่อมแสดงว่าทางการไทยไม่ต้อนรับการเข้ามาทำกิจกรรมปฏิวัติในประเทศไทยของเขา
ซุนยัดเซ็นเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 และประกอบกิจกรรมอย่างเปิดเผย
เพื่อระดมทุนสำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมปฏิวัติ ในช่วงนี้ซุนยัดเซ็น กับนายเซียวฮุดเส็งได้พบปะกับยี่กอฮง หั
วหน้าองค์กรอั้งยี่ที่สนับสนุนกลุ่มนิยมกษัตริย์และเชิญให้มาเข้าร่วมสมาคมถงเหมินฮุ่ยเป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้ยังมีแสดงปาฐกถาเรียกร้องให้ชาวจีนโพ้นทะเลสนับสนุนการปฏิวัติประชาธิปไตยที่ต้องการโค่นล้มราชสํานักชิงแมนจู เป็นที่อึกทึกครึกโครมไปทั่วสังคมชาวจีนโพ้นทะเล
ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียอาคเนย์บริจาคเงินร่วมสนับสนุนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยระหว่างปี 1907-1908 มียอดรวมถึง 150,000 หยวน ในจำนวนนี้มาจากประเทศอินโดจีนและไทย 60,000 หยวน จนซุนยัดเซ็นยกย่องว่า “ชาวจีนโพ้นทะเลคือมารดาผู้ให้กำเนิดการปฏิวัติ”