ประวัติหยวนซื่อไข่
หยวนซื่อไข่เกิดที่เมืองเซี่ยงเฉิงมณฑลเหอหนันในปี 1859 สมัยนั้นจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิง (清朝) ซึ่งเป็นชนเผ่าแมนจูปกครอง หยวนซื่อไข่เองในสมัยนั้นก็ได้เข้าเป็นทหารรับใช้ของราชวงศ์ชิงและได้ไต่เต้าขึ้นมาจนมีอำนาจมาก
ต่อมา
"ซุนยัดเซน"ได้ทำการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) ขึ้นในปี 1911 หยวนซื่อไข่ในตอนนั้นเป็นผู้นำกองทัพเป่ย์หยาง (北洋) ทหารรับใช้ราชวงศ์ชิง เขาได้ตัดสินใจทรยศต่อราชวงศ์ชิงและให้ความร่วมมือกับซุนยัดเซนในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง
ด้วยเหตุนี้การปฏิวัติจึงประสบความสำเร็จไปด้วยดี ราชวงศ์ชิงล่มสลาย ประเทศจีนได้เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
ด้วยผลงานของเขาในครั้งนี้ทำให้ต่อมาก็ได้ทำให้หยวนซื่อไข่กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีนในวันที่ 10 มีนาคม 1912 ทั้งที่ในขณะนั้นมีผู้คนวิจารณ์ว่าคนที่เหมาะกับการเป็นผู้นำจริงๆควรจะเป็นซุนยัดเซนมากกว่า แต่เนื่องจากหยวนซื่อไข่เป็นผู้นำทางทหาร มีอำนาจต่อรองสูง ดังนั้นจึงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำได้อย่างง่ายดาย
ต่อมาหยวนซื่อไข่ซึ่งได้รับอำนาจมาอยู่ในมือแล้วกลับพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้อำนาจของตนเองแข็งแกร่งขึ้น เขาพยายามกำจัดซุนยัดเซนและพรรคพวกออกไป บางคนถูกลอบสังหาร เช่นซ่งเจี้ยวเหริน (宋教仁) ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (国民党) ยุคแรกเริ่มซึ่งเป็นรากฐานของพรรคก๊กมินตั๋งของซุนยัดเซนที่ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ในภายหลัง
ส่วนซุนยัดเซนต้องลี้ภัยไปอยู่ญี่ปุ่นในปี 1913 ระหวางที่อยู่ที่นั่นเขาก็พยายามหาทางปฏิวัติหยวนซื่อไข่มาโดยตลอด แต่อำนาจของหยวนซื่อไข่นั้นแข็งแกร่งมาก
แต่แล้วในปี 1915 หยวนซื่อไข่ก็กลับพยายามรื้อฟื้นระบบกษัตริย์ขึ้นมาโดยตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิเสียเอง การทำของเขาในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านไปทั่วประเทศ โดยมีผู้นำคนสำคัญในการต่อต้านคือไช่เอ้อ (蔡锷) ผู้นำรัฐบาลมณฑลยูนนานขณะนั้น
ผลจากการต่อต้าน ในที่สุดหยวนซื่อไข่ก็ต้องยอมละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นกษัตริย์ลง เขายอมก้าวลงจากบรรลังในวันที่ 20 มีนาคม 1916 แต่แล้วหลังจากนั้นกลับล้มป่วยและตายลงเนื่องจากไตวาย
เขาจบชีวิตลงได้อย่างถูกจังหวะคล้ายกับหนีจากกรรมที่ตัวเองก่อไว้ได้ทันท่วงที แต่กลับทิ้งปัญหาไว้มากมายให้กับประเทศ เพราะหลังจากนั้นประเทศจีนได้เข้าสู่ยุคขุนศึกภาคเหนือ มีผู้นำหลายฝ่ายประกาศอ้างตัวเป็นผู้นำประเทศ ทำให้จีนตอนนั้นเหมือนแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ความวุ่นวายนี้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะรวบรวมประเทศได้ก็คือในปี 1927
การเตรียมการสถาปนาจักรวรรดิ
หลังจากหยวน ซื่อไข่ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เขาจึงได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อรวบอำนาจและกำจัดผู้นำทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามให้พ้นจากตำแหน่ง เพื่อรักษาฐานอำนาจ หยวนจึงได้ให้ความร่วมมือกับชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในจีนยุคนั้นด้วย
ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2458 หยวนได้แนะนำให้หยางตู้ (楊度) และบุคคลอื่นๆ ให้มีการหาเสียงสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นใหม่ หลังจากนั้นในวันที่ 11 ธันวาคม ปีเดียวกัน สภาแห่งชาติซึ่งอยู่ในอำนาจของหยวนก็ได้เลือกให้หยวนขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิจีน หยวนแสร้งปฏิเสธรับตำแหน่ง แต่ยอม "ผ่อนปรน" รับตำแหน่งดังกล่าวเมื่อสภามีการลงมติอีกครั้งในวันเดียวกัน[1] ในวันรุ่งขึ้น (12 ธันวาคม) หยวน ซื่อไข่ ภายใต้การสนับสนุนของหยวน เก้อติง (Yuan Keding) ผู้เป็นบุตร ก็ได้ประกาศก่อตั้งจักรวรรดิจีนขึ้นใหม่ โดยหยวน ซื่อไข่ ดำรงตำแหน่ง
"มหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน" (中華帝國大皇帝) พร้อมขนานนามรัชศกใหม่ว่า "รัชศกหงเซียน" (洪憲) อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งหยวน ซื่อไข่เป็นจักรพรรดิข้างต้นไม่ได้มีพิธีการราชาภิเษกแต่อย่างใด หลังจากนั้นไม่นาน หยวนจึงเริ่มทำการอวยยศแบบศักดินาให้แก่ญาติสนิทและมิตรสหายของตนจำนวนมาก เพื่อหวังประกันความมั่นคงและความภักดีต่อหยวนจากบุคคลเหล่านั้น
ราชสกุลอ้ายซินเจี๋ยหลอ (ราชสกุลของจักรพรรดิจีนในราชวงศ์ชิงเดิม) ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในพระราชวังต้องห้ามในฐานะราชวงศ์ต่างประเทศ (เพราะราชสกุลอ้ายซินเจี๋ยหลอมีต้นกำเนิดจากชาวแมนจู) ได้ให้การ "รับรอง" การขึ้นสู่ตำแหน่งจักรพรรดิของหยวน และยังได้เสนอให้มี "การเสกสมรส" ระหว่างบุตรสาวของหยวนกับอดีตจักรพรรดิผู่อี๋อีกด้วย
ปฏิกิริยาต่อต้านและการล่มสลาย
ปี พ.ศ. 2459 กลายเป็น "รัชศกหงเซียน ปีที่ 1" (洪憲元年) มากกว่าจะเป็น "ปีสาธารณรัฐ ปีที่ 5" (民國五年) ซึ่งเป็นชื่อปีปฏิทินที่ใช้อยู่ในเวลานั้น[1] หยวนไม่เพียงแต่จะถูกต่อต้านจากเหล่านักปฏิวัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดานายทหารภายใต้การบังคับบัญชาของหยวน ซึ่งเชื่อว่าการที่หยวนก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิจะทำให้เขาสามารถปกครองประเทศได้โดยเป็นอิสระจากการสนับสนุนของฝ่ายทหาร
หลังการสถาปนาจักรวรรดิ มณฑลต่างๆ ก็เริ่มก่อการกบฏขึ้น โดยเริ่มจากมณฑลยูนนาน
กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลดังกล่าวได้รวมตัวกันเป็น "กองทัพปกป้องชาติ" (護國軍) และเปิดฉากสงครามปกป้องชาติเพื่อขับไล่รัฐบาลของหยวน มณฑลอื่นๆ จึงประกาศแยกตนเป็นอิสระจากรัฐบาลกลางเป็นลำดับถัดมา นายทหารฝ่ายหยวนในกองทัพเป่ยหยางไม่อาจทำการรบต่อต้านฝ่ายกองทัพปกป้องชาติอย่างเด็ดขาดและพ่ายแพ้ในสมรภูมิต่างๆ
จากความอ่อนแอของหยวนและการขาดความนิยมจากมหาชน ทำให้บรรดามหาอำนาจต่างชาติต่างถอนการสนับสนุนรัฐบาลของหยวน (แต่ก็ไม่ยอมเลือกข้างฝ่ายใดในสงครามครั้งนี้ด้วย) จักรวรรดิญี่ปุ่นแสดงท่าทีคุกคามครั้งแรกด้วยการขู่จะส่งทหารบุกเข้ามาในจีน เสนอแนะให้มีการขับหยวนออกจากตำแหน่ง และประกาศยอมรับคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายว่าอยู่ในฐานะ "สงครามระหว่างรัฐต่อรัฐ" ("state of war") และอนุญาตให้ประชาชนของตนให้ความช่วยเหลือฝ่ายสาธารณรัฐได้[1]
จากการเผชิญหน้ากับแรงต่อต้านในทุกด้าน ทำให้หยวนต้องประกาศชะลอพิธีการสถาปนาจักรวรรดิออกไปเพื่อบรรเทาความไม่พอใจจากฝ่ายตรงข้าม จากนั้นจึงมีการตัดงบประมาณในพิธีการดังกล่าวลงในวันที่ 1 มีนาคมของปีนั้น
หยวนได้หารือร่วมกับเหลียง จืออี้ (Liang Shiyi) ในเรื่องการเลิกล้มระบอบราชาธิปไตย และได้ประกาศยุบเลิกจักรวรรดิจีนในที่สุด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม และ "รัชศกหงเซียน ปีที่ 1" ก็ถูกยกเลิกในวันถัดมา พร้อมกับการนำระบบปีปฏิทินสาธารณรัฐจีนกลับมาใช้อีกครั้ง รวมเวลาทั้งหมดแล้ว หยวน ซื่อไข่ ได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิเพียง 83 วัน
หลังจากที่หยวนเสียชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน รองประธานาธิบดี หลี หยวนหง (Li Yuanhong) ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับต่อมา และได้มีการแต่งตั้งนายพลต้วน ฉีรุ่ย (Duan Qirui) แห่งกองทัพเป่ยหยาง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ พร้อมกันนี้ยังได้มีการฟื้นฟูสภาแห่งชาติและรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐขึ้นใหม่อีกครั้ง
แม้กระนั้นก็ตาม อำนาจของรัฐบาลกลางที่ปักกิ่งก็อ่อนแอลงไปมาก และการสิ้นสุดสมัยจักรวรรดิของหยวน ซื่อไข่ ได้นำไปสู่จีนยุคขุนศึกและสงครามกลางเมืองครั้งใหม่แทบจะทันที
จากประวัติของเขา ทำให้มีนักประวัติศาสตร์ไม่น้อยถือว่าเขาเป็นทรราชย์คนหนึ่ง เคยอ่านบทความหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับหยวนซื่อไข่ เป็นบทความที่เขียนในลักษณะที่เขาเป็นตัวร้ายเต็มที่ มีการใส่อารมณ์เขียนด้วยความเกลียดชัง
ผลงานของเขาสมัยปฏิวัติซินไฮ่นั้นก็มาจากการทรยศ เขาไม่ได้ทำอะไรมากมายเลยแต่สุดท้ายกลับได้รับความดีความชอบไปเต็มๆ
จักรพรรดิกวางซวี่
ในความจริงแล้วก่อนหน้านั้นเขาเคยมีชื่อเสียงจากการทรยศมาครั้งหนึ่งคือในสมัยที่เป็นข้ารับใช้ของราชวงศ์ชิงอยู่ ตอนสมัยจักรพรรดิกวางซวี่ (光绪) นั้นซูสีไทเฮา (慈禧太后) มีอำนาจการปกครองสูงสุด
จักรพรรดิกวางซวี่วางแผนจะปฏิวัติเพื่อล้มอำนาจของซูสีไทเฮาและคืนอำนาจให้ตัวเอง และพระองค์ต้องการปรับใช้รูปแบบการปกครองแบบอังกฤษโดยให้ปกครองแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้นั่นเอง แต่หยวนซื่อไข่นำแผนนั้นไปบอกซูสีไทเฮา แผนของจักรพรรดิกวางซวี่ก็เลยล่มลงและถูกนำตัวไปขัง เหตุการณ์นั้นก็ทำให้หยวนซื่อไข่ได้รับความดีความชอบจากซูสีไทเฮาไปไม่น้อย
นั่นทำให้บางคนบอกว่าหยวนซื่อไข่ยอมทรยศได้ทุกคนเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ถึงอย่างนั้นก็มีผู้คนบางส่วนชื่นชมเขาว่าเป็นนักการเมืองการทหารที่ดีเหมือนกัน
Credit
th.wikipedia.org/wiki/จักรวรรดิจีน_(พ.ศ._2458–2459
http://two-gen.com/board/index.php?topic=5402.0
♦️♦️♦️ประวัติศาสตร์มีให้เรียนรู้มากี่ยุคสมัย อำนาจที่มีมากเหลือตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ปล่อยวางกันบ้างครับท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย♦️♦️♦️
🍁🍁🍁"หยวนซื่อไข่"ประธานาธิบดีคนแรกและผู้ทรยศต่อประชาชน🍁🍁🍁
หยวนซื่อไข่เกิดที่เมืองเซี่ยงเฉิงมณฑลเหอหนันในปี 1859 สมัยนั้นจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิง (清朝) ซึ่งเป็นชนเผ่าแมนจูปกครอง หยวนซื่อไข่เองในสมัยนั้นก็ได้เข้าเป็นทหารรับใช้ของราชวงศ์ชิงและได้ไต่เต้าขึ้นมาจนมีอำนาจมาก
ต่อมา"ซุนยัดเซน"ได้ทำการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) ขึ้นในปี 1911 หยวนซื่อไข่ในตอนนั้นเป็นผู้นำกองทัพเป่ย์หยาง (北洋) ทหารรับใช้ราชวงศ์ชิง เขาได้ตัดสินใจทรยศต่อราชวงศ์ชิงและให้ความร่วมมือกับซุนยัดเซนในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง
ด้วยเหตุนี้การปฏิวัติจึงประสบความสำเร็จไปด้วยดี ราชวงศ์ชิงล่มสลาย ประเทศจีนได้เปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
ด้วยผลงานของเขาในครั้งนี้ทำให้ต่อมาก็ได้ทำให้หยวนซื่อไข่กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีนในวันที่ 10 มีนาคม 1912 ทั้งที่ในขณะนั้นมีผู้คนวิจารณ์ว่าคนที่เหมาะกับการเป็นผู้นำจริงๆควรจะเป็นซุนยัดเซนมากกว่า แต่เนื่องจากหยวนซื่อไข่เป็นผู้นำทางทหาร มีอำนาจต่อรองสูง ดังนั้นจึงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำได้อย่างง่ายดาย
ต่อมาหยวนซื่อไข่ซึ่งได้รับอำนาจมาอยู่ในมือแล้วกลับพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้อำนาจของตนเองแข็งแกร่งขึ้น เขาพยายามกำจัดซุนยัดเซนและพรรคพวกออกไป บางคนถูกลอบสังหาร เช่นซ่งเจี้ยวเหริน (宋教仁) ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง (国民党) ยุคแรกเริ่มซึ่งเป็นรากฐานของพรรคก๊กมินตั๋งของซุนยัดเซนที่ถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ในภายหลัง
ส่วนซุนยัดเซนต้องลี้ภัยไปอยู่ญี่ปุ่นในปี 1913 ระหวางที่อยู่ที่นั่นเขาก็พยายามหาทางปฏิวัติหยวนซื่อไข่มาโดยตลอด แต่อำนาจของหยวนซื่อไข่นั้นแข็งแกร่งมาก
แต่แล้วในปี 1915 หยวนซื่อไข่ก็กลับพยายามรื้อฟื้นระบบกษัตริย์ขึ้นมาโดยตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิเสียเอง การทำของเขาในครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านไปทั่วประเทศ โดยมีผู้นำคนสำคัญในการต่อต้านคือไช่เอ้อ (蔡锷) ผู้นำรัฐบาลมณฑลยูนนานขณะนั้น
ผลจากการต่อต้าน ในที่สุดหยวนซื่อไข่ก็ต้องยอมละทิ้งความทะเยอทะยานที่จะเป็นกษัตริย์ลง เขายอมก้าวลงจากบรรลังในวันที่ 20 มีนาคม 1916 แต่แล้วหลังจากนั้นกลับล้มป่วยและตายลงเนื่องจากไตวาย
เขาจบชีวิตลงได้อย่างถูกจังหวะคล้ายกับหนีจากกรรมที่ตัวเองก่อไว้ได้ทันท่วงที แต่กลับทิ้งปัญหาไว้มากมายให้กับประเทศ เพราะหลังจากนั้นประเทศจีนได้เข้าสู่ยุคขุนศึกภาคเหนือ มีผู้นำหลายฝ่ายประกาศอ้างตัวเป็นผู้นำประเทศ ทำให้จีนตอนนั้นเหมือนแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ความวุ่นวายนี้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะรวบรวมประเทศได้ก็คือในปี 1927
การเตรียมการสถาปนาจักรวรรดิ
หลังจากหยวน ซื่อไข่ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง เขาจึงได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อรวบอำนาจและกำจัดผู้นำทางการเมืองฝ่ายตรงข้ามให้พ้นจากตำแหน่ง เพื่อรักษาฐานอำนาจ หยวนจึงได้ให้ความร่วมมือกับชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในจีนยุคนั้นด้วย
ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2458 หยวนได้แนะนำให้หยางตู้ (楊度) และบุคคลอื่นๆ ให้มีการหาเสียงสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นใหม่ หลังจากนั้นในวันที่ 11 ธันวาคม ปีเดียวกัน สภาแห่งชาติซึ่งอยู่ในอำนาจของหยวนก็ได้เลือกให้หยวนขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิจีน หยวนแสร้งปฏิเสธรับตำแหน่ง แต่ยอม "ผ่อนปรน" รับตำแหน่งดังกล่าวเมื่อสภามีการลงมติอีกครั้งในวันเดียวกัน[1] ในวันรุ่งขึ้น (12 ธันวาคม) หยวน ซื่อไข่ ภายใต้การสนับสนุนของหยวน เก้อติง (Yuan Keding) ผู้เป็นบุตร ก็ได้ประกาศก่อตั้งจักรวรรดิจีนขึ้นใหม่ โดยหยวน ซื่อไข่ ดำรงตำแหน่ง "มหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีน" (中華帝國大皇帝) พร้อมขนานนามรัชศกใหม่ว่า "รัชศกหงเซียน" (洪憲) อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งหยวน ซื่อไข่เป็นจักรพรรดิข้างต้นไม่ได้มีพิธีการราชาภิเษกแต่อย่างใด หลังจากนั้นไม่นาน หยวนจึงเริ่มทำการอวยยศแบบศักดินาให้แก่ญาติสนิทและมิตรสหายของตนจำนวนมาก เพื่อหวังประกันความมั่นคงและความภักดีต่อหยวนจากบุคคลเหล่านั้น
ราชสกุลอ้ายซินเจี๋ยหลอ (ราชสกุลของจักรพรรดิจีนในราชวงศ์ชิงเดิม) ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในพระราชวังต้องห้ามในฐานะราชวงศ์ต่างประเทศ (เพราะราชสกุลอ้ายซินเจี๋ยหลอมีต้นกำเนิดจากชาวแมนจู) ได้ให้การ "รับรอง" การขึ้นสู่ตำแหน่งจักรพรรดิของหยวน และยังได้เสนอให้มี "การเสกสมรส" ระหว่างบุตรสาวของหยวนกับอดีตจักรพรรดิผู่อี๋อีกด้วย
ปฏิกิริยาต่อต้านและการล่มสลาย
ปี พ.ศ. 2459 กลายเป็น "รัชศกหงเซียน ปีที่ 1" (洪憲元年) มากกว่าจะเป็น "ปีสาธารณรัฐ ปีที่ 5" (民國五年) ซึ่งเป็นชื่อปีปฏิทินที่ใช้อยู่ในเวลานั้น[1] หยวนไม่เพียงแต่จะถูกต่อต้านจากเหล่านักปฏิวัติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบรรดานายทหารภายใต้การบังคับบัญชาของหยวน ซึ่งเชื่อว่าการที่หยวนก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิจะทำให้เขาสามารถปกครองประเทศได้โดยเป็นอิสระจากการสนับสนุนของฝ่ายทหาร
หลังการสถาปนาจักรวรรดิ มณฑลต่างๆ ก็เริ่มก่อการกบฏขึ้น โดยเริ่มจากมณฑลยูนนาน
กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลดังกล่าวได้รวมตัวกันเป็น "กองทัพปกป้องชาติ" (護國軍) และเปิดฉากสงครามปกป้องชาติเพื่อขับไล่รัฐบาลของหยวน มณฑลอื่นๆ จึงประกาศแยกตนเป็นอิสระจากรัฐบาลกลางเป็นลำดับถัดมา นายทหารฝ่ายหยวนในกองทัพเป่ยหยางไม่อาจทำการรบต่อต้านฝ่ายกองทัพปกป้องชาติอย่างเด็ดขาดและพ่ายแพ้ในสมรภูมิต่างๆ
จากความอ่อนแอของหยวนและการขาดความนิยมจากมหาชน ทำให้บรรดามหาอำนาจต่างชาติต่างถอนการสนับสนุนรัฐบาลของหยวน (แต่ก็ไม่ยอมเลือกข้างฝ่ายใดในสงครามครั้งนี้ด้วย) จักรวรรดิญี่ปุ่นแสดงท่าทีคุกคามครั้งแรกด้วยการขู่จะส่งทหารบุกเข้ามาในจีน เสนอแนะให้มีการขับหยวนออกจากตำแหน่ง และประกาศยอมรับคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายว่าอยู่ในฐานะ "สงครามระหว่างรัฐต่อรัฐ" ("state of war") และอนุญาตให้ประชาชนของตนให้ความช่วยเหลือฝ่ายสาธารณรัฐได้[1]
จากการเผชิญหน้ากับแรงต่อต้านในทุกด้าน ทำให้หยวนต้องประกาศชะลอพิธีการสถาปนาจักรวรรดิออกไปเพื่อบรรเทาความไม่พอใจจากฝ่ายตรงข้าม จากนั้นจึงมีการตัดงบประมาณในพิธีการดังกล่าวลงในวันที่ 1 มีนาคมของปีนั้น
หยวนได้หารือร่วมกับเหลียง จืออี้ (Liang Shiyi) ในเรื่องการเลิกล้มระบอบราชาธิปไตย และได้ประกาศยุบเลิกจักรวรรดิจีนในที่สุด เมื่อวันที่ 22 มีนาคม และ "รัชศกหงเซียน ปีที่ 1" ก็ถูกยกเลิกในวันถัดมา พร้อมกับการนำระบบปีปฏิทินสาธารณรัฐจีนกลับมาใช้อีกครั้ง รวมเวลาทั้งหมดแล้ว หยวน ซื่อไข่ ได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิเพียง 83 วัน
หลังจากที่หยวนเสียชีวิตในวันที่ 5 มิถุนายน รองประธานาธิบดี หลี หยวนหง (Li Yuanhong) ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับต่อมา และได้มีการแต่งตั้งนายพลต้วน ฉีรุ่ย (Duan Qirui) แห่งกองทัพเป่ยหยาง ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐ พร้อมกันนี้ยังได้มีการฟื้นฟูสภาแห่งชาติและรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐขึ้นใหม่อีกครั้ง
แม้กระนั้นก็ตาม อำนาจของรัฐบาลกลางที่ปักกิ่งก็อ่อนแอลงไปมาก และการสิ้นสุดสมัยจักรวรรดิของหยวน ซื่อไข่ ได้นำไปสู่จีนยุคขุนศึกและสงครามกลางเมืองครั้งใหม่แทบจะทันที
จากประวัติของเขา ทำให้มีนักประวัติศาสตร์ไม่น้อยถือว่าเขาเป็นทรราชย์คนหนึ่ง เคยอ่านบทความหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับหยวนซื่อไข่ เป็นบทความที่เขียนในลักษณะที่เขาเป็นตัวร้ายเต็มที่ มีการใส่อารมณ์เขียนด้วยความเกลียดชัง
ผลงานของเขาสมัยปฏิวัติซินไฮ่นั้นก็มาจากการทรยศ เขาไม่ได้ทำอะไรมากมายเลยแต่สุดท้ายกลับได้รับความดีความชอบไปเต็มๆ
จักรพรรดิกวางซวี่
ในความจริงแล้วก่อนหน้านั้นเขาเคยมีชื่อเสียงจากการทรยศมาครั้งหนึ่งคือในสมัยที่เป็นข้ารับใช้ของราชวงศ์ชิงอยู่ ตอนสมัยจักรพรรดิกวางซวี่ (光绪) นั้นซูสีไทเฮา (慈禧太后) มีอำนาจการปกครองสูงสุด จักรพรรดิกวางซวี่วางแผนจะปฏิวัติเพื่อล้มอำนาจของซูสีไทเฮาและคืนอำนาจให้ตัวเอง และพระองค์ต้องการปรับใช้รูปแบบการปกครองแบบอังกฤษโดยให้ปกครองแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้นั่นเอง แต่หยวนซื่อไข่นำแผนนั้นไปบอกซูสีไทเฮา แผนของจักรพรรดิกวางซวี่ก็เลยล่มลงและถูกนำตัวไปขัง เหตุการณ์นั้นก็ทำให้หยวนซื่อไข่ได้รับความดีความชอบจากซูสีไทเฮาไปไม่น้อย
นั่นทำให้บางคนบอกว่าหยวนซื่อไข่ยอมทรยศได้ทุกคนเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ถึงอย่างนั้นก็มีผู้คนบางส่วนชื่นชมเขาว่าเป็นนักการเมืองการทหารที่ดีเหมือนกัน
Credit
th.wikipedia.org/wiki/จักรวรรดิจีน_(พ.ศ._2458–2459
http://two-gen.com/board/index.php?topic=5402.0
♦️♦️♦️ประวัติศาสตร์มีให้เรียนรู้มากี่ยุคสมัย อำนาจที่มีมากเหลือตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้ ปล่อยวางกันบ้างครับท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย♦️♦️♦️