คำนำ
7 Days in Entebbe คือภาพยนตร์ซึ่งสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปี 1976 หรือเมื่อเกือบ 41 ปีก่อน แต่คนรุ่นหลังอย่างเช่นคนยุค Gen Y (คนที่เกิดในช่วงปี 1980-2000) และคนยุค Gen Z (ที่เกิดหลังปี 2000) อาจไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเหตุการณ์สุดระทึกครั้งนั้นมาก่อน
หากมีการจัดอันดับวิกฤตจี้ตัวประกันครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ย่อมมีชื่อของเหตุการณ์ที่เอนเทบเบ ประเทศยูกันดา ติดอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะในแง่ของความอุกอาจของผู้ก่อการร้าย จำนวนตัวประกัน และบรรดาประเทศที่เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันอีรุงตุงนัง
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ความสำเร็จของทหารอิสราเอลในปฏิบัติการชิงตัวประกัน ซึ่งไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนบนโลกในยุคนั้น ทั้งพวกที่ติดตามข่าว และกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมโดยตรง
เช้าวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 1976 จุดเริ่มต้นมาจากบนเครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์ฟรานซ์ (Air France) จากเมืองเทลอาวีฟ, ประเทศอิสราเอล สู่กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส เที่ยวบิน AF-139
นั่นคือ เมื่อเครื่องบินแวะจอดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ก็ถูกสลัดอากาศ 4 คนที่แฝงตัวอยู่ในคราบผู้โดยสารจี้เครื่องบิน พร้อมควบคุมผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องกว่า 240 ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอิสราเอลหรือคนเชื้อสายยิวไว้เป็นตัวประกัน ก่อนจะบังคับให้นักบินเปลี่ยนเส้นทางบินจากจุดหมายในปารีส ให้ไปลงที่สนามบิน
เอนเทบเบ ในประเทศยูกันดา
แต่ก่อนที่เครื่องบินจะไปถึงเอนเทบเบ สลัดอากาศได้ควบคุมเครื่องบินไปแวะจอดเติมเชื้อเพลิงที่เมืองเบงกาซี ประเทศลิเบีย และอยู่ที่นั่นนานถึง 7 ชั่วโมง ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังประเทศยูกันดา และที่นี่เอง คือที่ซึ่งได้สร้างวีรกรรมของทหารหาญอิสราเอลใน
‘ปฏิบัติการเอมเทบเบ’ จนเป็นตำนานเล่าขานแก่คนรุ่นหลัง
ทหารฝ่ายอิสราเอล
ย้อนมาที่สลัดอากาศกลุ่มนี้พวกเขาเป็นใครมาจากไหน? และทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร?
ผู้ก่อการร้ายบนเครื่องทั้ง 4 คน ประกอบไปด้วย 2 สมาชิกแนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine /PFLP) ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่มีแนวคิดสุดโต่ง และเคียดแค้นชาวยิวเป็นทุนเดิม จากปมขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ เรื่องการแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล
นอกเหนือจากสมาชิกชาวปาเลสไตน์ 2 คนนี้แล้ว ยังมีสมาชิกกลุ่มกองโจร Revolutionary Cells (RZ) ที่เป็นชาวเยอรมันอีก 2 คน ซึ่งมีความจงเกลียดจงชังชาวยิวได้เข้าร่วมขบวนการก่อการร้ายยึดเครื่องบิน AF-139 นี้ด้วย
และปฏิบัติการจี้เครื่องบินครั้งนี้ อาจได้รับการสนับสนุนจากนาย
อีดี อามิน ผู้นำเผด็จการทหารของยูกันดา
ผู้ก่อการร้ายจาก 2 กลุ่ม 4 คน ได้ประกาศข้อเรียกร้องขอแลกตัวประกันบนเครื่อง กับนักโทษการเมือง 53 คน (แบ่งเป็นนักโทษชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกักขังในอิสราเอล 40 คน และนักโทษที่ถูกขังในประเทศอื่นๆ อีก 13 คน)
หลังเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ นายอีดี อามิน ผู้นำยูกันดา ได้เดินทางมาต้อนรับผู้ก่อการร้ายด้วยตัวเอง จากนั้นพวกเขาได้ควบคุมตัวประกันทั้งหมดไปยังอาคารพักผู้โดยสารเก่า เพื่อคัดแยกผู้โดยสารสัญชาติอิสราเอล และชาวต่างชาติที่มีเชื้อสายยิว ออกจากผู้โดยสารกลุ่มใหญ่ ก่อนจะคุมตัวพวกเขาไปแยกขังไว้ในอีกห้องหนึ่ง
น็อนโซ่ อโนซี่ รับบทเป็น อีดี อามิน
วันที่ 30 มิถุนายน 1976
ที่ประเทศอูกันดา ผู้ก่อการร้ายได้ตัดสินใจปล่อยตัวประกันกลุ่มแรก 48 คนที่ไม่ใช่ชาวยิวและส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้หญิงและเด็ก ให้บินกลับกรุงปารีส วันถัดมารัฐบาลอิสราเอลได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเจรจาด้วย ส่งผลให้ผู้ก่อการร้ายยอมปล่อยตัวประกันเพิ่มอีก 100 คน และเลื่อนกำหนดเส้นตายจากวันที่ 1 กรกฎาคม เป็น 4 กรกฎาคม แต่ขู่ว่า หากข้อเรียกร้องของพวกเขาไม่ได้รับการสนองตอบ พวกเขาก็จะเริ่มสังหารตัวประกันซึ่งมีอยู่ 106 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชาวยิว 84 คน ชาวฝรั่งเศส 10 คน และลูกเรือแอร์ฟรานซ์ 12 คน
ที่ประเทศอิสราเอลในช่วงเวลาเดียวกัน บรรดาเจ้าหน้าที่ข่าวกรองหน่วย Mossad (มอสสาด) แห่งอิสราเอลอันเลื่องชื่อลือลั่นในฝีมือ กำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆ เท่าที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุด จากนั้นได้ประชุมกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อหาทางช่วยตัวประกัน
ฝ่ายอิสราเอลประชุมหาทางคลี่คลายสถานการณ์
โดยหนึ่งในผู้ออกแบบภารกิจคือ เอฮุด บารัค อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยคอมมานโด ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนในปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน แต่คราวนี้เป็นภารกิจที่หนักหนาสาหัส เพราะพวกเขามีข้อมูลเกี่ยวกับยูกันดาไม่มาก แถมยังไม่รู้พิกัดทำเลที่ตั้งของเอนเทบเบเลยด้วยซ้ำ
ดังนั้นภารกิจครั้งนี้ จึงเป็นบททดสอบที่ท้าทายที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของ เอฮุด บารัค ผู้ซึ่งต่อมา เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล
"เอาแค่นี้ก่อนครับ ที่เหลือไปดูไปลุ้นในภาพยนตร์กัน ^^"
จากวันนั้น จนถึงวันนี้ แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 41 ปีแล้ว แต่สำหรับตัวประกันที่ยังมีชีวิตอยู่ ความทรงจำในวันนั้น ยังคงสดใหม่ราวกับเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน เพราะ 7 วันที่เอนเทบเบ ยาวนานราวกับถูกพันธนาการในคุกชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะตอนนั้นตัวประกันส่วนใหญ่คิดว่า พวกเขาจะมีจุดจบที่นั่น และไม่มีวันได้กลับบ้านอีก
7 Days in Entebbe จะพาเราย้อนกลับไปสัมผัสกับเหตุการณ์ครั้งนั้น ผ่านมุมมองของตัวละครต่างๆ และภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังได้นักแสดงระดับแม่เหล็กอย่าง โรซามันด์ ไพค์ (จาก Gone Girl) และ แดเนียล บรูห์ล (จาก Captain America: Civil War) มารับบทเป็น 2 ผู้ก่อการร้ายชาวเยอรมันจากกลุ่ม Revolutionary Cells ที่จี้เครื่องบิน
โรซามันด์ ไพค์ รับบทเป็น บริจิตต์ คุห์ลมันน์ / แดเนียล บรูห์ล รับบทเป็น วิลฟรีด โบเซ
ตัวอย่างซับไทยของ 7 Days in Entebbe
7 Days in Entebbe เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้ มีกำหนดฉายวันที่ 5 เมษายน 2018
จบกระทู้การพรีวิวข้อมูล สวัสดีครับ
พรีวิวข้อมูลภาพยนตร์ "7 DAYS IN ENTEBBE เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้" เข้าฉาย 5 เมษายน 2018 by หลวงจีนหอไตร
7 Days in Entebbe คือภาพยนตร์ซึ่งสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปี 1976 หรือเมื่อเกือบ 41 ปีก่อน แต่คนรุ่นหลังอย่างเช่นคนยุค Gen Y (คนที่เกิดในช่วงปี 1980-2000) และคนยุค Gen Z (ที่เกิดหลังปี 2000) อาจไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเหตุการณ์สุดระทึกครั้งนั้นมาก่อน
หากมีการจัดอันดับวิกฤตจี้ตัวประกันครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ย่อมมีชื่อของเหตุการณ์ที่เอนเทบเบ ประเทศยูกันดา ติดอยู่ในนั้นอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะในแง่ของความอุกอาจของผู้ก่อการร้าย จำนวนตัวประกัน และบรรดาประเทศที่เข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันอีรุงตุงนัง
แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ความสำเร็จของทหารอิสราเอลในปฏิบัติการชิงตัวประกัน ซึ่งไม่เคยเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนบนโลกในยุคนั้น ทั้งพวกที่ติดตามข่าว และกลุ่มคนที่มีส่วนร่วมโดยตรง
เช้าวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 1976 จุดเริ่มต้นมาจากบนเครื่องบินโดยสารของสายการบินแอร์ฟรานซ์ (Air France) จากเมืองเทลอาวีฟ, ประเทศอิสราเอล สู่กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส เที่ยวบิน AF-139
นั่นคือ เมื่อเครื่องบินแวะจอดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ก็ถูกสลัดอากาศ 4 คนที่แฝงตัวอยู่ในคราบผู้โดยสารจี้เครื่องบิน พร้อมควบคุมผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องกว่า 240 ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอิสราเอลหรือคนเชื้อสายยิวไว้เป็นตัวประกัน ก่อนจะบังคับให้นักบินเปลี่ยนเส้นทางบินจากจุดหมายในปารีส ให้ไปลงที่สนามบิน เอนเทบเบ ในประเทศยูกันดา
แต่ก่อนที่เครื่องบินจะไปถึงเอนเทบเบ สลัดอากาศได้ควบคุมเครื่องบินไปแวะจอดเติมเชื้อเพลิงที่เมืองเบงกาซี ประเทศลิเบีย และอยู่ที่นั่นนานถึง 7 ชั่วโมง ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังประเทศยูกันดา และที่นี่เอง คือที่ซึ่งได้สร้างวีรกรรมของทหารหาญอิสราเอลใน ‘ปฏิบัติการเอมเทบเบ’ จนเป็นตำนานเล่าขานแก่คนรุ่นหลัง
ผู้ก่อการร้ายบนเครื่องทั้ง 4 คน ประกอบไปด้วย 2 สมาชิกแนวร่วมเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine /PFLP) ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธที่มีแนวคิดสุดโต่ง และเคียดแค้นชาวยิวเป็นทุนเดิม จากปมขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ เรื่องการแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล
นอกเหนือจากสมาชิกชาวปาเลสไตน์ 2 คนนี้แล้ว ยังมีสมาชิกกลุ่มกองโจร Revolutionary Cells (RZ) ที่เป็นชาวเยอรมันอีก 2 คน ซึ่งมีความจงเกลียดจงชังชาวยิวได้เข้าร่วมขบวนการก่อการร้ายยึดเครื่องบิน AF-139 นี้ด้วย
และปฏิบัติการจี้เครื่องบินครั้งนี้ อาจได้รับการสนับสนุนจากนาย อีดี อามิน ผู้นำเผด็จการทหารของยูกันดา
ผู้ก่อการร้ายจาก 2 กลุ่ม 4 คน ได้ประกาศข้อเรียกร้องขอแลกตัวประกันบนเครื่อง กับนักโทษการเมือง 53 คน (แบ่งเป็นนักโทษชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกักขังในอิสราเอล 40 คน และนักโทษที่ถูกขังในประเทศอื่นๆ อีก 13 คน)
หลังเครื่องลงจอดที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบ นายอีดี อามิน ผู้นำยูกันดา ได้เดินทางมาต้อนรับผู้ก่อการร้ายด้วยตัวเอง จากนั้นพวกเขาได้ควบคุมตัวประกันทั้งหมดไปยังอาคารพักผู้โดยสารเก่า เพื่อคัดแยกผู้โดยสารสัญชาติอิสราเอล และชาวต่างชาติที่มีเชื้อสายยิว ออกจากผู้โดยสารกลุ่มใหญ่ ก่อนจะคุมตัวพวกเขาไปแยกขังไว้ในอีกห้องหนึ่ง
ที่ประเทศอูกันดา ผู้ก่อการร้ายได้ตัดสินใจปล่อยตัวประกันกลุ่มแรก 48 คนที่ไม่ใช่ชาวยิวและส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้หญิงและเด็ก ให้บินกลับกรุงปารีส วันถัดมารัฐบาลอิสราเอลได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเจรจาด้วย ส่งผลให้ผู้ก่อการร้ายยอมปล่อยตัวประกันเพิ่มอีก 100 คน และเลื่อนกำหนดเส้นตายจากวันที่ 1 กรกฎาคม เป็น 4 กรกฎาคม แต่ขู่ว่า หากข้อเรียกร้องของพวกเขาไม่ได้รับการสนองตอบ พวกเขาก็จะเริ่มสังหารตัวประกันซึ่งมีอยู่ 106 คน แบ่งเป็นผู้โดยสารชาวยิว 84 คน ชาวฝรั่งเศส 10 คน และลูกเรือแอร์ฟรานซ์ 12 คน
ที่ประเทศอิสราเอลในช่วงเวลาเดียวกัน บรรดาเจ้าหน้าที่ข่าวกรองหน่วย Mossad (มอสสาด) แห่งอิสราเอลอันเลื่องชื่อลือลั่นในฝีมือ กำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆ เท่าที่จะเป็นประโยชน์มากที่สุด จากนั้นได้ประชุมกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อหาทางช่วยตัวประกัน
โดยหนึ่งในผู้ออกแบบภารกิจคือ เอฮุด บารัค อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยคอมมานโด ซึ่งมีประสบการณ์โชกโชนในปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน แต่คราวนี้เป็นภารกิจที่หนักหนาสาหัส เพราะพวกเขามีข้อมูลเกี่ยวกับยูกันดาไม่มาก แถมยังไม่รู้พิกัดทำเลที่ตั้งของเอนเทบเบเลยด้วยซ้ำ
ดังนั้นภารกิจครั้งนี้ จึงเป็นบททดสอบที่ท้าทายที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของ เอฮุด บารัค ผู้ซึ่งต่อมา เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอิสราเอล
"เอาแค่นี้ก่อนครับ ที่เหลือไปดูไปลุ้นในภาพยนตร์กัน ^^"
จากวันนั้น จนถึงวันนี้ แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 41 ปีแล้ว แต่สำหรับตัวประกันที่ยังมีชีวิตอยู่ ความทรงจำในวันนั้น ยังคงสดใหม่ราวกับเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน เพราะ 7 วันที่เอนเทบเบ ยาวนานราวกับถูกพันธนาการในคุกชั่วกัปชั่วกัลป์ เพราะตอนนั้นตัวประกันส่วนใหญ่คิดว่า พวกเขาจะมีจุดจบที่นั่น และไม่มีวันได้กลับบ้านอีก
7 Days in Entebbe จะพาเราย้อนกลับไปสัมผัสกับเหตุการณ์ครั้งนั้น ผ่านมุมมองของตัวละครต่างๆ และภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังได้นักแสดงระดับแม่เหล็กอย่าง โรซามันด์ ไพค์ (จาก Gone Girl) และ แดเนียล บรูห์ล (จาก Captain America: Civil War) มารับบทเป็น 2 ผู้ก่อการร้ายชาวเยอรมันจากกลุ่ม Revolutionary Cells ที่จี้เครื่องบิน
โรซามันด์ ไพค์ รับบทเป็น บริจิตต์ คุห์ลมันน์ / แดเนียล บรูห์ล รับบทเป็น วิลฟรีด โบเซ
7 Days in Entebbe เที่ยวบินนรกเอนเทบเบ้ มีกำหนดฉายวันที่ 5 เมษายน 2018
จบกระทู้การพรีวิวข้อมูล สวัสดีครับ