สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กไม่ได้อยากมีอาการเช่นนี้ ไม่ได้แกล้งทำ มีการศึกษาแล้ว พบว่าเด็กที่ป่วยเหล่านี้
มีความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Frontal lobes) ทำให้เด็กไม่สามารถหยุดยั้งหรือควบคุมตนเองได้
คล้ายกับรถที่เบรคไม่ดี ทำให้หยุดไม่ได้
อาการที่พบบ่อยจากคำบอกเล่าของพ่อแม่ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- พูดเข้าหูซ้าย ออกหูขวา
- สอนท่องศัพท์ ท่องสูตรคูณ เมื่อคืน ตอนเช้าลืมหมด
- ของเอาไปโรงเรียน ต้องมีหายได้ทุกวัน
- ของเล่นที่บ้านพังทุกชิ้น เวลาไปบ้านคนอื่นก็ทำของเขาพังหมด
- พูดเสียงดัง ชอบพูดขัดจังหวะพ่อแม่
- ทุกคนที่โรงเรียนรู้จักเขาหมด แต่ไม่มีใครชอบเขาเลย
- เลอะเทอะไม่มีระเบียบ ชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน
- เหมือนเหม่อลอย หรือฝันกลางวัน
- ต้องคอยอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลาทำการบ้าน
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD)
เป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งที่พบได้ตั้งแต่ในเด็กอายุ 4-5 ปีขึ้นไปและพบได้มากถึงร้อยละ 5 ในเด็กวัยเรียน
ซึ่งอาจมาพบแพทย์ด้วยปัญหาการเรียน เช่น ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่เสร็จ หรือปัญหาทางพฤติกรรม
เช่น อยู่ไม่นิ่ง เล่นรุนแรง ดื้อ-ต่อต้าน เป็นต้น
โรคสมาธิสั้นเกิดจากความไม่สมดุลของสาร Dopamine และ Norepinephrine ในสมองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ
และจัดลำดับขั้นตอน เชื่อว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลนี้
ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัญหาในการเลี้ยงดูหรือความกดดันจากผู้ปกครองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่การเลี้ยงดูที่ไม่ดีคือ (การไม่เคยฝึกวินัย)
โรคสมาธิสั้นมี 2 กลุ่มอาการ ได้แก่
กลุ่มอาการขาดสมาธิ (Inattention) ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นปัญหาการเรียน และ
กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/ หุนหันพันแล่น (Hyperactivity/ Impulsivity) ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นปัญหาพฤติกรรม
ทั้งสองกลุ่มอาการนี้เป็นแค่เพียงปัญหาเบื้องต้นที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านอื่น ๆ เช่น ขาดความมั่นใจในตัวเอง
ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมไปถึงโรงเรียนอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้
เพื่อการวินิจฉัยตั้งแต่อายุน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อไป ในอนาคตค่ะ
การรักษาโรคสมาธิสั้น ประกอบด้วย
- การปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน
- การใช้ยา
- การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง, ครู,ผู้ป่วย เกี่ยวกับโรคนี้
โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ เด็กที่เป็นสมาธิสั้นสามารถเรียนในระบบโรงเรียน
และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยทำได้ไม่ยาก ให้ผลดีและสามารถ
ป้องกันไม่ให้เกิดผลที่รุนแรงในอนาคต
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
https://bit.ly/3iaDFwH
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษา คือความใส่ใจ
ลูกเราสมาธิสั้นหรือเปล่า ?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กไม่ได้อยากมีอาการเช่นนี้ ไม่ได้แกล้งทำ มีการศึกษาแล้ว พบว่าเด็กที่ป่วยเหล่านี้
มีความผิดปกติของสมองส่วนหน้า (Frontal lobes) ทำให้เด็กไม่สามารถหยุดยั้งหรือควบคุมตนเองได้
คล้ายกับรถที่เบรคไม่ดี ทำให้หยุดไม่ได้
อาการที่พบบ่อยจากคำบอกเล่าของพ่อแม่ในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- พูดเข้าหูซ้าย ออกหูขวา
- สอนท่องศัพท์ ท่องสูตรคูณ เมื่อคืน ตอนเช้าลืมหมด
- ของเอาไปโรงเรียน ต้องมีหายได้ทุกวัน
- ของเล่นที่บ้านพังทุกชิ้น เวลาไปบ้านคนอื่นก็ทำของเขาพังหมด
- พูดเสียงดัง ชอบพูดขัดจังหวะพ่อแม่
- ทุกคนที่โรงเรียนรู้จักเขาหมด แต่ไม่มีใครชอบเขาเลย
- เลอะเทอะไม่มีระเบียบ ชอบทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน
- เหมือนเหม่อลอย หรือฝันกลางวัน
- ต้องคอยอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลาทำการบ้าน
โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD)
เป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งที่พบได้ตั้งแต่ในเด็กอายุ 4-5 ปีขึ้นไปและพบได้มากถึงร้อยละ 5 ในเด็กวัยเรียน
ซึ่งอาจมาพบแพทย์ด้วยปัญหาการเรียน เช่น ไม่มีสมาธิ เรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่เสร็จ หรือปัญหาทางพฤติกรรม
เช่น อยู่ไม่นิ่ง เล่นรุนแรง ดื้อ-ต่อต้าน เป็นต้น
โรคสมาธิสั้นเกิดจากความไม่สมดุลของสาร Dopamine และ Norepinephrine ในสมองที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิ
และจัดลำดับขั้นตอน เชื่อว่าปัจจัยทางกรรมพันธุ์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลนี้
ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัญหาในการเลี้ยงดูหรือความกดดันจากผู้ปกครองอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่การเลี้ยงดูที่ไม่ดีคือ (การไม่เคยฝึกวินัย)
โรคสมาธิสั้นมี 2 กลุ่มอาการ ได้แก่
กลุ่มอาการขาดสมาธิ (Inattention) ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นปัญหาการเรียน และ
กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง/ หุนหันพันแล่น (Hyperactivity/ Impulsivity) ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นปัญหาพฤติกรรม
ทั้งสองกลุ่มอาการนี้เป็นแค่เพียงปัญหาเบื้องต้นที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการในด้านอื่น ๆ เช่น ขาดความมั่นใจในตัวเอง
ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมไปถึงโรงเรียนอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้
เพื่อการวินิจฉัยตั้งแต่อายุน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อไป ในอนาคตค่ะ
การรักษาโรคสมาธิสั้น ประกอบด้วย
- การปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้าน และที่โรงเรียน
- การใช้ยา
- การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง, ครู,ผู้ป่วย เกี่ยวกับโรคนี้
โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ เด็กที่เป็นสมาธิสั้นสามารถเรียนในระบบโรงเรียน
และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่อายุยังน้อยทำได้ไม่ยาก ให้ผลดีและสามารถ
ป้องกันไม่ให้เกิดผลที่รุนแรงในอนาคต
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3iaDFwH
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษา คือความใส่ใจ