5 เหตุผลที่ทำไม ละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ฮิตกันเต็มบ้านเต็มเมือง

กราบสวัสดีทุกท่านครับ หลายๆท่านคงทราบแล้วครับ ละครไทยในตอนนี้ เป็นกระแสที่โด่งดังไปทั่วทุกภาค และล่าสุดได้ดังไกลไปทั่วโลกแล้ว คงหนีไม่พ้นละครไทยเรื่อง "บุพเพสันนิวาส"เรื่องนี้แน่นอนครับ  วันนี้ผมมาวิเคราะห์กันครับว่า เพราะเหตุใด เรื่องนี้ถึงได้รับความนิยมอย่างล้มหลามกลายเป็นฟีเวอร์ออเจ้ากันระงม ผมมี 5 เหตุผลกันครับ

1.ความลงตัวของตัวละคร และ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละคนนั้น
พูดง่ายๆก็คือ "ตีบทแตก"นั่นแหละครับ เพราะลักษณะนิสัยของตัวละครที่จะคล้ายๆกันกับชีวิตจริงแล้ว ไม่แปลกเลยครับ ที่จะทำให้ตีบทแตกอย่างง่ายดาย หนุ่มโป๊ป ที่เป็นลักษณะขรึมเงียบและขี้เล่นเป็นบางครั้งทำให้บทคุณหมื่นนั้น ออกมาได้ดีจนน่าตกใจเลยครับ
ส่วนสาวเบลล่าขวัญใจพี่เวียร์ของเราก็เป็นคนที่ขี้เล่นร่าเริงอยู่แล้ว ดังนั้นบทสาวเกศสุรางค์แล้ว ทำให้การทำงานง่ายขึ้นจนแทบจะไม่ต้องแกไขบุคลิคอะไรเลย ส่วนตัวละครอื่นนั้น ก็เข้าขารับลูกกันได้ดี ทำให้ละครดูสนุกขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ โดยเฉพาะ พี่ผิน พี่แย้ม
และ ไอ้จ้อย


2. ภาษาวัฒนธรรมและความเป็นอิเทรน ผสมผสานกลายเป็นความฮา
ไม่แปลกใจเลยที่ เกศสุรางค์ได้ใช้ภาษาแปลกๆฮาๆซึ่งในยุดสมัยนั้นไม่เคยใช้ ภาษาที่ดูเรียบง่ายอาจจะทำให้หนังจืดชืดไปเลยก็ได้ แต่สิ่งที่เกศสุรางค์ได้ใช้ภาษาใหม่ๆไปใช้ในสมัยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่แปลก ความเข้าใจในภาษามันออกไปคนละเรื่อง แต่คนดูนั้นเข้าใจแน่นอนครับว่ามันหมายความว่าอย่างไร
ภาษาที่พูดแปลกๆ เช่น ฉัน ดิฉัน แซบ ไดเอท บะรึ้มหึ้ม จุงเบย เก๊ก หรือ โคตร  เริด ประมาณนี้ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีในอยุธยาสมัยนั้น รวมไปถึง การโบกไม้โบกมือให้กับผู้อื่น ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรเช่นกัน
  
เพราะความไม่เข้าใจของคนสมัยก่อนนั่นแหละ ทำให้คนดูถึงกับฮาจนท้องแข็งเลยล่ะ
ใครเคยทำทรงแบบนี้มั่ง ฮาได้อีก 555+


3.สิ่งแปลกๆใหม่ๆในสมัยอยุธยา
หลายๆคนก็เคยกินหมูกระทะใช่ไหม คงไม่มีใครไม่เคยกินหรอกนะ แต่สมัยอยุธยานี่สิ มีด้วยหรอ หมูกระทะเนี่ย

จากการสันนิษฐานนั้น กระทะย่างหมูเข้ามาไทยในช่วงปี 2500 ครับ ซึ่งก่อนหน้านั้น ต้นกำเนิดคาดว่ามาจากมองโกล ซึ่งทหารสมัยนั้นเอาหมวกตัวเองที่ทำจากเหล็กและมีรูเอาเนื้อแกะมาย่างนั่นเอง
ส่วนเครื่องกรองน้ำ ในสมัยนั้น มีอยู่จริงนะครับ
และ กางาเกงใน ถ้าไม่ใส่มันโหวงเวง อายแผ่นดินตายเลย
ต่อมา สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ มะม่วงน้ำปลาหวาน ที่พี่หมื่นกินจนไม่ลืมหูลืมตา อันที่จริงแล้ว น้ำปลาหวานเนี่ย จุดเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ครับ ดังนั้น ในอยุธยาถือว่าเป็นเรื่องแปลกครับ
ส่วนน้ำจิ้มซีฟู้ดนั้น ไม่ปรากฎแน่ชัด คาดว่าในสมัยรัชกาลที่ 5-6 เพราะในสมัยนั้นอาหารทะเลถือว่ากำลังในช่วงบูมเลยครับ จึงทำให้เกิดน้ำจิ้มสูตรนี้ขึ้นมา  นี่คือคร่าวๆนะครับ อิอิ ร่ายยาวไม่ได้
  
พี่หมื่นเอาซะหิวเลยนะ

4.บทพ่อแง่ยิ้มอนของพระนางทั้งคู่
แน่นอนครับว่า เป็นฉากที่ทำให้ทุกคนสนใจเป็นพิเศษ การประจันหน้าของทั้งสอง เป็นอันต้องจบท้ายด้วยความฮาบังเกิด ซึ่งหลายๆฉากทางช่อง 3 เองก็เอามาลงยูทูปไว้หลายตอน ย้อนหลังไปชมได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นฉาก แม่หญิงเล่นโยคะ พี่หมื่นหึงแม่การะเกด เป็นต้น ไปชมกันได้ครับ

5.การมีตัวตนของตัวละครและสถานที่ประวัติศาสตร์
ไม่แปลกใจเลยครับ ว่าสถานที่นั้นมันย้อนยุดไปในสมัยพระนารายมหาราช ซึ่งได้เอาฉากที่อยู่ในสมัยอยุธยามาเป็นหลักแล้ว ยังให้คนมีประกอบฉากมากเหมือนกับว่าอยู่ในสมัยนั้นจริงๆ ส่วนตัวละครนั้น เป็นตัวละครที่อ้างอิงจากประวัติศาสตร์ทั้งหมด รวมไปถึงหมี่นสุนทรเทวาด้วย
จากรูปแล้ว หน้าเข้มเชียว พี่หมื่นเรา 555+
ส่วนออกญาโหราอธิบดี เป็นคนแต่งหนังสือ จินดามณี เล่มแรกของไทย ก็คือหนังสือเรียนนั่นแหลครับ

และตัวละครที่เป็นกวีไทยในสมัยนั้น ศรีปราชญ์ ก็มาปรากฎด้วยนะครับ รวมไปถึง ท้าวทองกีบม้า ราชินีแห่งขนมไทย
โกษาปานและโกษาเหล็ก ตามลำดับดับ ส่วนประวัตินั้น ไม่ขอเอ่ยละกันครับ มันจะยาวไป

นี่ก็คือ  5 เหตุผล ที่ทำไม ละครเรื่องนี้ถึงดังและได้รับการสนับสนุนจาก แฟนๆมากจนล้นเลยก็ว่าได้
หวังว่าละครไทยจะมีแบบนี้อีกนะครับ ตอนนี้พี่หมื่นง่วงมากขอไปพักผ่อนแล้วครับ ฝันดีทุกท่านครับ Seeyou
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่