ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 14/3/2018 (2 อัจฉริยะโลกไม่ลืม)

กระทู้คำถาม


ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น





สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องเพลงและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

วันนี้เป็นวันสำคัญที่เกี่ยวกับนักฟิสิกส์อัจฉริยะของโลก 2 ท่าน คือ
เป็นวันคล้ายวันเกิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498)
และเป็นวันจากไปของ สตีเฟน ฮอว์คิง (8 มกราคม 2485 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561)  ท่านได้เสียชีวิตในวันนี้ในวัย 76 ปี

เป็นเรื่องที่แปลกมากค่ะ 14 มีนาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดของอัจฉริยะท่านหนึ่ง แต่เป็นวันเสียชีวิตของอัจฉริยะอีกท่านหนึ่ง
และทั้งคู่อายุ 76 ปี เท่ากัน

ห้องเพลงคนรากหญ้าขอขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านที่สร้างผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อชาวโลก
และขอให้ท่านสู่สุคติค่ะ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ "บุรุษแห่งศตวรรษ"  

นักวิทยาศาสตร์ขวัญใจผู้คนมากมายทั่วโลก ผู้มีผลงานลือลั่นมีรางวัลโนเบลเป็นประกัน
เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20

เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ E = mc2 และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์
ทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เองต่อมาได้นำไปสู่การค้นคว้าเรื่อง "พลังงานปรมาณู" เพราะทฤษฎีนี้อธิบายว่ามวลเพียงเล็กน้อย
ของแร่ชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็น พลังงานมหาศาลที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย



พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งศตวรรษ"

เจ้าของคำคมอมตะ เช่น

“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ( Imagination is more important than knowledge)

"ชีวิตเหมือนการปั่นจักรยาน คุณจะต้องปั่นมันอย่างต่อเนื่อง มันถึงจะทรงตัวได้"
(Life is like riding a bicycle. To keep your balance you must keep moving.)

และอื่นๆ อีกมากมาย


ไอน์สไตน์กับความเกี่ยวข้องทางการเมือง

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ไอน์สไตน์ ได้รณรงค์เรื่องการต่อต้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
และลงนามในสัญญาที่ขอให้ยุติการใช้ระเบิดปรมาณู และให้หันมาใช้ปรมาณูเพื่อสันติแทน

เขาเขียนในสัญญาว่า "แน่นอนเราทุกคนมีความคิด ความรู้สึกไม่เหมือนกัน แต่เราก็มีฐานะเป็นมนุษย์เช่นกัน
เราควรจดจำไว้เสมอว่า ถ้าการเกี่ยวข้องระหว่างตะวันออกกับตะวันตกถูกตัดสินออกมาในรูปการณ์ใดก็ตาม
อันจะนำมาซึ่งความพึงพอใจมาสู่ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ หรือโลกเสรีก็ตาม
ผลแห่งการตัดสินใจไม่ควรออกมาในรูปของสงคราม"

เขายังคงชิงชังวิธีการทำลายล้างอันน่าสะพึงกลัว ของระเบิดนิวเคลียร์ ที่นักฟิสิกส์มีส่วนสร้างให้กับโลก

เขาเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า "หากข้าพเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าทฤษฎีของข้าพเจ้าจะนำไปสู่การทำลายล้างอย่างมหันต์เช่นนี้
ข้าพเจ้าขอเป็นช่างทำนาฬิกาเสียดีกว่า
"

ในปี พ.ศ.2495 ชาวยิวได้เลือกให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอิสราเอล
ประเทศที่เกิดขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เขาปฏิเสธ โดยกล่าวว่า

"สมการมีความสำคัญกับผมมากกว่า เพราะการเมืองเป็นเรื่องปัจจุบัน แต่สมการจะคงอยู่ไปชั่วนิรันดร์"
"Equations are more important to me, because politics are for the present, but an equation is something for eternity"


สตีเฟน ฮอว์คิง "อัจฉริยะบนรถเข็น"

นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
เขากวาดรางวัลมามากมาย และมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ก้องโลก



สตีเฟน ฮอว์คิง เกิดที่เมือง Oxford ประเทศอังกฤษ
เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่เขาได้รับฉายาว่าเป็นไอน์สไตน์ที่ยังมีชีวิตอยู่

ฮอว์คิงเกิดมาตอนที่ครอบครัวเริ่มประสบปัญหาการเงิน และสถานการณ์การเมืองตึงเครียดเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2
ตั้งแต่เด็กเขาสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และมักจะให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆนอกเหนือจากในห้องเรียน



ชีวิตดำเนินอย่างปกติสุขเรื่อยมาจนกระทั่งเขาอายุ 20 ต้นๆ เขาเริ่มสะดุดล้มบ่อยๆ และพูดไม่ค่อยชัด
เขาสูญเสียระบบสั่งการเรื่องการเคลื่อนไหวไปทีละนิด จากขาจนลามขึ้นไปถึงบริเวณทรวงอกทำให้หายใจแบบคนปกติไม่ได้
หมอบอกว่าเขาเป็นโรค Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) ซึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง
และจะมีชีวิตได้อยู่อีกเพียง 2 ปีเท่านั้น !!!

ฮอว์คิง อายุ 23 ปี แต่งงานกับ เจน ไวลด์ ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน ทั้งที่เจนรู้ว่าเขาอยู่ได้อีกไม่นานแต่เธอก็ไม่สนใจ
เจนคอยดูแลและเป็นกำลังใจให้เขาเรื่อยมา แต่ปัจจุบันทั้งคู่เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน



เมื่อทราบว่าเป็นโรคร้าย หากเป็นคนอื่นคงหมดอาลัยตายอยาก หรือปล่อยปละชีวิตกับสิ่งไร้สาระ
แต่เขาเกรงว่าตัวเองจะอยู่ได้ไม่นานพอที่จะเรียนจบปริญญาเอก นั่นทำให้เขาทุ่มเทชีวิตไปกับงานวิจัยของเขาอย่างเต็มที่

ฮอว์คิง เริ่มอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ลามไปถึงคอจนทำให้คอพับ เพราะสมองไม่สั่งการให้คอตั้งตรง และร่างกายอ่อนแรงลงเรื่อยๆ
จนต้องมาใช้รถ wheelchair แต่เขากลับยิ่งมุ่งมั่นสานฝันด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ของเขา



เมื่ออายุ 32 ปี เขาได้ช็อกโลกวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ เมื่องานวิจัยเขาแสดงให้เห็นว่า
"หลุมดำไม่ได้มีลักษณะเป็นสุญญากาศโดยสมบูรณ์อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ยุคก่อนหน้าเชื่อ"
ภายหลังเขาได้รับรางวัล ชื่อเสียง การยกย่องและจารึกชื่อ เทียบเท่าไอน์สไตน์ และเซอร์ไอแซค นิวตัน เลยทีเดียว

เขายังเผชิญโรคร้ายมากมาย เช่น ปอดอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ จนเมื่ออายุ 43 ปี เขาต้องผ่าตัดหลอดลม
ทำให้สูญเสียการใช้เสียงไปตลอดกาล แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้โดยสื่อสารกับผู้อื่นด้วยวิธีกระพริบตาเลือกอักษรทีละตัว

ต่อมาเขาใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียง ช่วงแรกเขาบังคับอุปกรณ์ด้วยนิ้วมือ โอย น่าจะเหนื่อยมากๆ
แต่ยังค่ะ ทุกวันนี้เมื่อเขาแทบจะไม่สามารถควบคุมอะไรได้แล้ว นิ้วก็กระดิกได้นิดหน่อย ทายซิว่าเขาทำยังไง ...

เขาควบคุมอุปกรณ์โดยการใช้กล้ามเนื้อแก้มขวาที่ติด sensorไว้ !!! ก็แก้มขวายังทำงานได้นี่นะ

เซนเซอร์ที่ติดตั้งอยู่บนแว่นตาจะเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์ จากนั้นเซนเซอร์จะตรวจวัดการกระตุกของแก้ม
ซึ่งเป็นการเลือกคำที่แสดงอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ จากนั้นคำที่ถูกเลือกก็จะถูกสังเคราะห์ออกมาเป็นเสียง  
ฮอว์คิงต้องใช้เวลา 10 นาทีเพื่อสร้างคำพูด 1 ประโยค OMG !!!

ฮอว์คิงมีความฝันอยากท่องอวกาศ จนเมื่ออายุ 65 ปี เขาเข้าใกล้ความฝัน โดยได้อยู่บนเครื่องบินโบอิ้งดัดแปลง
เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ได้สัมผัสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง เป็นช่วงที่เขามีอิสระจาก wheelchair



ฮอว์คิงใช้ชีวิตปกติ ทุ่มเทงานวิจัย ตีพิมพ์ผลงาน บรรยายให้ความรู้ ฯลฯ
เขาได้กระตุ้นให้ผู้ฟังให้ความสำคัญและใส่ใจในอาชีพอันน่าประทับใจของเขา
และอนาคตของวิทยาศาสตร์มากกว่าการต่อสู้ดิ้นรนกับโรคร้ายของเขา



บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มอบเหรียญสดุดีพลเรือนให้แก่เขา (เอเอฟพี)
สังเกตดูจะเห็นเซนเซอร์ที่แก้มขวาค่ะ



ช่วงย่ำรุ่งของวันนี้ (14 มี.ค.) ครอบครัวของของ ศ.สตีเฟน ฮอว์คิง แจ้งว่า เขาเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพักในเคมบริดจ์
พวกเขากล่าวว่า "ความยอดเยี่ยมและอารมณ์ขัน" ของฮอว์คิงได้สร้างแรงบันดาลให้กับผู้คนทั่วโลก


ขอบคุณที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.bluerollingdot.org/articles/inspiration/246
http://ppantip.com/topic/33326564
https://blog.eduzones.com/GlobalAcademyLadphrao/140412
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000006696
http://www.rimkhobfabooks.com/974-484-198-2
http://www.bbc.com/thai/international-43396197
https://ppantip.com/topic/32521811 ห้องทดลองรากหญ้า

....................................................................


ชุนเทียน นับถือความคิดไอน์สไตน์ที่ว่าไม่ว่าผลระหว่างตะวันตกกับตะวันออกจะออกมาแบบใด
ผลของมันก็ไม่ควรอยู่ในรูปของสงคราม

นั่นแสดงถึงแนวคิดความรักในสันติ การเคารพสิทธิความเป็นมนุษย์อย่างยิ่งยวด สิ่งที่ผิดก็คือผิด
ต้องไม่มีข้ออ้างให้ฝ่ายใดในการมีสิทธิการทำลายล้างหรือสร้างความสูญเสียอย่างเด็ดขาด


ถึงแม้จะมีการเสนอตำแหน่งประธานาธิบดีให้ แต่ไอน์สไตน์ก็เลือกที่จะทำในสิ่งที่เขารัก
หากผู้คนพึงรำลึกได้ว่าสิ่งสำคัญกว่าตำแหน่งอันสูงส่ง คือผลงานที่น่าชื่นชม สังคมและโลกนี้คงน่าอยู่ขึ้นมาก


ส่วนฮอว์คิงนั้น ชุนเทียนชื่นชมและยึดถือเป็นแรงบันดาลใจ เพราะปู่ฮอว์คิงประสบโรคร้าย
ทั้งที่แพทย์ทำนายว่าอยู่ได้อีกแค่ 2 ปี แต่เขาอยู่ต่อมาได้อีก 50 กว่าปี
ไม่เพียงแค่มีชีวิตรอด แต่เขายังสร้างผลงานก้องโลกที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติมากมาย
นั่นก็เพราะ "การมองโลกในแง่ดี มีความหวัง ใจสู้ และความกระตือรือร้นตื่นตัวทางจิตใจและปัญญา"

ความหวังและใจสู้ คือของขวัญล้ำค่าที่ใครก็มาเอาจากเราไปไม่ได้

ขอชื่นชมสุดยอดอัจฉริยะที่ไม่เพียงเฉียบแหลมทางด้านปัญญา แต่ยังล้ำค่าทางด้านจิตใจ ทั้งสองท่านไว้ ณ ที่นี้ค่ะ




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่