สวัสดีทุกคนนะคะ กระทู้นี้ขออิงกระแสละครบุพเพสันนิวาสที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ พาไปชม "จิตรกรรมสมัยอยุธยาแท้ๆ" ที่ต้องเน้นว่าเป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยาแท้ๆเพราะจิตรกรรมบางแห่งนั้นวาดไว้แต่สมัยกรุงเก่าก็จริงแต่ถูกบูรณะในยุครัตนโกสินทร์จึงเป็นการผสมผสานกันจนยากที่จะแยกแยะว่าเป็นศิลปะในยุคใด แต่กระทู้นี้คัดเฉพาะจิตรกรรมอยุธยาแท้ๆค่ะ มาเริ่มชมกันเลย จขกท.คัดเฉพาะภาพที่ยังพอมองรายละเอียดได้ว่าเป็นภาพอะไรนะคะ
ปล.ขอแท็กสถานที่ท่องเที่ยวผู้สูงอายุด้วยนะคะ คิดว่าเป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ
มาเริ่มกันเลยที่สถานที่แรก
1.วัดราชบูรณะ จังหวัดอยุธยา
ความพิเศษของจิตรกรรมวัดราชบูรณะ : มีจิตรกรรมสมัยสุโขทัยตอนปลาย-อยุธยาตอนต้น(ราวรัชสมัยเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยา-พระมหาธรรมราชาบรมปาลแห่งอาณาจักรสุโขทัย) ที่สำคัญเป็นจิตรกรรมบนผนังห้องกรุหรือห้องลับใต้ฐานพระปรางค์ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมห้องกรุได้ค่ะ
ทางลงห้องกรุใต้ฐานพระปรางค์ค่ะ แบ่งเป็น 3 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทั้งหมด 3 ห้อง
พระปรางค์องค์นี้นั่นเองที่มีห้องกรุใต้ฐานพระปรางค์ ด้านนอกก็ยังงดงาม
ภาพเทวดาจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น มีความคล้ายคลึงกับจิตรกรรมสมัยสุโขทัยที่วัดศรีชุม(ปัจจุบันจิตรกรรมวัดศรีชุมไม่เปิดให้เข้าชมแบบวอล์คอิน เว้นแต่ขออนุญาตทัศนศึกษาเป็นกลุ่ม)
ภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นภาพนี้น่ารักค่ะ เป็นเด็กน้อยชาวจีน ภาพนี้ยังค่อนข้างชัดเมื่อเทียบกับอายุงานแต่ต้องสังเกตดีๆเพราะอยู่ใต้บันไดของห้องกรุชั้นที่1
2.ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดอยุธยา
ความพิเศษของจิตรกรรมในตำหนักพระพุทโฆษาจารย์: จิตรกรรมไทยมักพบในโบสถ์หรือวิหารแต่สำหรับวัดพุทไธสวรรย์พบในตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์หรือสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกุฏิของเจ้าอาวาสในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผนังในตำหนักแห่งนี้ยังครบถ้วนสมบูรณ์และคงไว้ซึ่งรายละเอียด เป็นภาพนิทานชาดกและการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่ลังกาของพระพุทธโฆษาจารย์ ส่วนตัวจขกท.คิดว่าจิตรกรรมที่นี่มีความคล้ายจิตรกรรมที่หอไตรวัดระฆังตรงรูปแบบเส้น-การลงสีแต่จิตรกรรมที่หอไตรนั้นเป็นจิตรกรรมในช่วงกรุงธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์
ภาพท้องทะเล สังเกตว่ามีคนกำลังว่ายน้ำด้วยน่าจะเป็นเงือกค่ะ ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับเงือกที่มีท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นปลามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
ภาพรอยพระพุทธบาทที่ประเทศลังกา
จิตรกรรมภาพสตรีสมัยอยุธยา ตัดผมสองชั้นแสกกลางผมชั้นบนกลางกระหม่อมสั้นส่วนชั้นล่างยาวประบ่า ทรงผมแบบเดียวกับแม่หญิงการะเกดนั่นเองลองสังเกตดีๆ
ภาพกินนร-กินนรี สังเกตทรงผมของนางกินนรีคล้ายกับว่าใส่กรอบหน้าด้วยน่าจะใช้อ้างอิงถึงทรงผมสตรีในสมัยอยุธยาได้
3.วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ
ความพิเศษของจิตรกรรมในวัดช่องนนทรี: จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางราวรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยังหลงเหลืออยู่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ จิตรกรรมบางช่วงยังสามารถเห็นได้ชัดว่าเป็นเหตุการณ์ใดในทศชาติชาดกเรื่องไหน
พระนารทพรหม(พระชาติที่8ในทศชาติชาดก)เหาะมาเตือนพระเจ้าอังคติราชให้เลิกหลงผิด
ปุณณกยักษ์ให้วิธูรบัณฑิต(พระชาติที่9ในทศชาติชาดก)ขึ้นม้าวิเศษ หวังจะให้วิธูรบัณฑิตตกม้าสิ้นชีพ
ขบวนเสด็จของพระเจ้าอังคติราช เมื่อพระองค์เสด็จไปหานักบวชทุศีล
ถ้าหากมีเวลาจขกท.จะมาต่อกระทู้หน้านะคะ ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านจ้ะ
อิงกระแสละครบุพเพสันนิวาส มาชมร่องรอยประวัติศาสตร์อยุธยา รวมช็อตเด็ดจิตรกรรมสมัยอยุธยาจากหลากหลายวัด
ปล.ขอแท็กสถานที่ท่องเที่ยวผู้สูงอายุด้วยนะคะ คิดว่าเป็นที่เที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ
มาเริ่มกันเลยที่สถานที่แรก
1.วัดราชบูรณะ จังหวัดอยุธยา
ความพิเศษของจิตรกรรมวัดราชบูรณะ : มีจิตรกรรมสมัยสุโขทัยตอนปลาย-อยุธยาตอนต้น(ราวรัชสมัยเจ้าสามพระยาแห่งอาณาจักรอยุธยา-พระมหาธรรมราชาบรมปาลแห่งอาณาจักรสุโขทัย) ที่สำคัญเป็นจิตรกรรมบนผนังห้องกรุหรือห้องลับใต้ฐานพระปรางค์ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมห้องกรุได้ค่ะ
ทางลงห้องกรุใต้ฐานพระปรางค์ค่ะ แบ่งเป็น 3 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ทั้งหมด 3 ห้อง
พระปรางค์องค์นี้นั่นเองที่มีห้องกรุใต้ฐานพระปรางค์ ด้านนอกก็ยังงดงาม
ภาพเทวดาจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น มีความคล้ายคลึงกับจิตรกรรมสมัยสุโขทัยที่วัดศรีชุม(ปัจจุบันจิตรกรรมวัดศรีชุมไม่เปิดให้เข้าชมแบบวอล์คอิน เว้นแต่ขออนุญาตทัศนศึกษาเป็นกลุ่ม)
ภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นภาพนี้น่ารักค่ะ เป็นเด็กน้อยชาวจีน ภาพนี้ยังค่อนข้างชัดเมื่อเทียบกับอายุงานแต่ต้องสังเกตดีๆเพราะอยู่ใต้บันไดของห้องกรุชั้นที่1
2.ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดอยุธยา
ความพิเศษของจิตรกรรมในตำหนักพระพุทโฆษาจารย์: จิตรกรรมไทยมักพบในโบสถ์หรือวิหารแต่สำหรับวัดพุทไธสวรรย์พบในตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์หรือสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกุฏิของเจ้าอาวาสในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผนังในตำหนักแห่งนี้ยังครบถ้วนสมบูรณ์และคงไว้ซึ่งรายละเอียด เป็นภาพนิทานชาดกและการเดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่ลังกาของพระพุทธโฆษาจารย์ ส่วนตัวจขกท.คิดว่าจิตรกรรมที่นี่มีความคล้ายจิตรกรรมที่หอไตรวัดระฆังตรงรูปแบบเส้น-การลงสีแต่จิตรกรรมที่หอไตรนั้นเป็นจิตรกรรมในช่วงกรุงธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์
ภาพท้องทะเล สังเกตว่ามีคนกำลังว่ายน้ำด้วยน่าจะเป็นเงือกค่ะ ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับเงือกที่มีท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นปลามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว
ภาพรอยพระพุทธบาทที่ประเทศลังกา
จิตรกรรมภาพสตรีสมัยอยุธยา ตัดผมสองชั้นแสกกลางผมชั้นบนกลางกระหม่อมสั้นส่วนชั้นล่างยาวประบ่า ทรงผมแบบเดียวกับแม่หญิงการะเกดนั่นเองลองสังเกตดีๆ
ภาพกินนร-กินนรี สังเกตทรงผมของนางกินนรีคล้ายกับว่าใส่กรอบหน้าด้วยน่าจะใช้อ้างอิงถึงทรงผมสตรีในสมัยอยุธยาได้
3.วัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ
ความพิเศษของจิตรกรรมในวัดช่องนนทรี: จิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนกลางราวรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ยังหลงเหลืออยู่แห่งเดียวในกรุงเทพฯ จิตรกรรมบางช่วงยังสามารถเห็นได้ชัดว่าเป็นเหตุการณ์ใดในทศชาติชาดกเรื่องไหน
พระนารทพรหม(พระชาติที่8ในทศชาติชาดก)เหาะมาเตือนพระเจ้าอังคติราชให้เลิกหลงผิด
ปุณณกยักษ์ให้วิธูรบัณฑิต(พระชาติที่9ในทศชาติชาดก)ขึ้นม้าวิเศษ หวังจะให้วิธูรบัณฑิตตกม้าสิ้นชีพ
ขบวนเสด็จของพระเจ้าอังคติราช เมื่อพระองค์เสด็จไปหานักบวชทุศีล
ถ้าหากมีเวลาจขกท.จะมาต่อกระทู้หน้านะคะ ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านจ้ะ