พิษสวาทกลายเป็นละครดราม่าน้ำดี ที่มีเนื้อหาสาระให้คนไทยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องสมบัติของชาติที่ถูกเก็บตามโบราณสถานต่างๆ แต่น่าเสียดายมากที่ทุกวันนี้เหลือให้คนรุ่นหลังได้ดูไม่เท่ากับที่มี
ไม่ว่าตัวละครคุณอุบล จะมีจริงตามประวัติศาสตร์หรือไม่ แต่เรื่องของการมีวิญญาณเฝ้าสมบัติของชาติเห็นทีจะไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเหมือนในนวนิยาย เพราะสมัยก่อนวัดหลวง และวัดของตระกูลคนชั้นสูงที่สร้างเจดีย์ และพระปรางค์ จะมีการสร้างห้องเก็บสมบัติเอาไว้ที่ใต้ฐานเจดีย์ และพระปรางค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเก็บไว้เพื่อเตรียมให้กับคนรุ่นหลัง สำหรับนำมาบูรณะบ้านเมืองหลังจากเกิดสงคราม และสมัยนั้นก็มีความเชื่อว่าจะต้องหาผู้ที่จงรักภักดีต่อชาติ เสียสละชีวิตเพื่อคอยเฝ้าทรัพย์สมบัติ เหมือนดังที่ในละครพิษสวาทที่มีการผูกปมเรื่องนี้เอาไว้เป็นชนวนให้เกิดเหตุการ์อาถรรพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการหวงแหนในสมบัติของชาติ ความจงรักภักดี ไปจนถึงความรักและควาามแค้น
ทั้งนี้การสร้างกรุสมบัติ จริงๆ แล้วไม่ได้เพิ่งมาเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งค้นพบที่เจดีย์หมายเลข 1 ณ เมืองโบราณ จ.ราชบุรีมาก่อนแล้ว โดยกรุของที่นี่จะเป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ใกล้ระดับพื้นดิน ภายในมีผอบ 2 ชั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาในสมัยล้านนา สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา ก็มีการพบกรุในเจดีย์หลายแห่ง ทั้งที่เจดีย์วัดพระยืน อ.เชียงแสน จ. เชียงราย,เจดีย์สุวรรณจังโกฏิ จ.ลำพูน,เจดีย์ทรงลังกา ด้านทิศใต้ จ.สุโขทัย,เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
สำหรับกรุสมบัติของวัดที่ถูกค้นพบในอยุธยา ตามหลักฐานที่ปรากฏนั้นพบมากที่สุดคือที่วัดราชบูรณะ ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานขนาดใหญ่ สภาพโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในยังมีบางส่วนค่อนข้างสมบูรณ์ ภายในพระปรางค์ส่วนฐานปรากฏว่ามีการสร้างกรุไว้เพื่อเก็บสมบัติ
ประกอบด้วย กรุชั้นที่ 1 หรือชั้นบนสุด อยู่ลึกลงไปจากพื้นเรือนธาตุประมาณ 3.70 เมตร ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.50 เมตร ผนังทั้ง 4 ด้าน เขียนภาพจิตรกรรมประกอบด้วย ภาพเทพชุมนุมและภาพบุคคลต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นคนจีน ทั้งขุนนาง เด็ก ผู้ใหญ่และคนรับใช้ กรุชั้นนี้บรรจุพระพิมพ์และพระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง
กรุชั้นที่ 2 หรือชั้นกลาง ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 2.75 เมตร ผนังทั้ง 4 ด้าน ทำเป็นซุ้มลึกเข้าไปประมาณ 37 เซนติเมตร รอบผนังและรอบซุ้มเขียนภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยสีชาด เพดานกรุมีลวดลายดาวเต็มเพดาน ภายในซุ้มทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีโต๊ะสำริดวางอยู่ซุ้มละ 1 ตัว สำหรับวางสิ่งของมีค่าต่างๆ
สุวรรณมาลา ทองคำถัก ค้นพบที่กกรุวัดราชบูรณะ เป็นศิราภรณ์สำหรับสตรี (ศิลปะอยุธยาตอนต้น)
ถัดจากซุ้มทั้ง 4 ออกมา เป็นห้องที่ปูด้วยหินทั้งหมด กรุชั้นนี้บรรจุเครื่องทองมากที่สุด ประกอบด้วยเครื่องราชูปโภคทองคำ เครื่องราชกุธภัณฑ์ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่งต่างๆ และปรางค์ทองคำจำลอง
ชิ้นส่วนประดับปรางค์จำลองทองคำ (กรุวัดราชบูรณะ)
ชิ้นส่วนเครื่องประดับทองคำ ฉลุลายประดับอัญมณี (ศิลปะอยุธยาตอนต้น)
แหวนทองคำ หัวแหวนสลักรูปสัตว์หิมพานต์
กรุชั้นที่ 3 หรือชั้นล่างสุด ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.20 เมตร ไม่มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแต่อย่างใด ภาพในกรุก่อเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ กว้างประมาณ 0.80 เมตร ประดิษฐานเจดีย์ทองคำ 1 องค์ ซึ่งถูกครอบด้วยวัสดุต่างๆ ภายในเจดีย์ทองคำบรรจุพระพุทธรูปทองคำ พระเจดีย์หินผลึก พระพุทธรูปหินผลึก และเครื่องทองขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง
เครื่องประดับอัญมณี และผอบทองคำที่พบในกรุวัดราชบูรณะ
นอกจากจะพบสมบัติล้ำค่าภายในพระปรางค์ของวัดราชบูรณะจำนวนมากแล้ว สิ่งที่มีค่าอีกอย่างที่พบก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเห็นชัดเจนอยู่หลายแห่ง แม้ว่าบางจุดจะเลือนลางไปตามกาลเวลาแล้วก็ตาม ซึ่งทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการเชื่อมโยงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นให้คนรุ่นหลังได้ทราบกันมาจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย
***ชอบละครพิษสวาทมาก จนอยากไปตามรอยอุบลที่อยุธยา
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล จาก
http://www.praew.com/46192/lifestyle/ayutthaya-treasures-pitsawat/
ตามรอยพิษสวาท ค้นประวัติชมกรุเก่าอยุธยา น่าเสียดายเหลือสมบัติให้ดูต่างหน้า ไม่เท่ากับที่เคยมี
พิษสวาทกลายเป็นละครดราม่าน้ำดี ที่มีเนื้อหาสาระให้คนไทยได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องสมบัติของชาติที่ถูกเก็บตามโบราณสถานต่างๆ แต่น่าเสียดายมากที่ทุกวันนี้เหลือให้คนรุ่นหลังได้ดูไม่เท่ากับที่มี
ไม่ว่าตัวละครคุณอุบล จะมีจริงตามประวัติศาสตร์หรือไม่ แต่เรื่องของการมีวิญญาณเฝ้าสมบัติของชาติเห็นทีจะไม่ใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเหมือนในนวนิยาย เพราะสมัยก่อนวัดหลวง และวัดของตระกูลคนชั้นสูงที่สร้างเจดีย์ และพระปรางค์ จะมีการสร้างห้องเก็บสมบัติเอาไว้ที่ใต้ฐานเจดีย์ และพระปรางค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเก็บไว้เพื่อเตรียมให้กับคนรุ่นหลัง สำหรับนำมาบูรณะบ้านเมืองหลังจากเกิดสงคราม และสมัยนั้นก็มีความเชื่อว่าจะต้องหาผู้ที่จงรักภักดีต่อชาติ เสียสละชีวิตเพื่อคอยเฝ้าทรัพย์สมบัติ เหมือนดังที่ในละครพิษสวาทที่มีการผูกปมเรื่องนี้เอาไว้เป็นชนวนให้เกิดเหตุการ์อาถรรพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการหวงแหนในสมบัติของชาติ ความจงรักภักดี ไปจนถึงความรักและควาามแค้น
ทั้งนี้การสร้างกรุสมบัติ จริงๆ แล้วไม่ได้เพิ่งมาเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ในพุทธศตวรรษที่ 12-16 ซึ่งค้นพบที่เจดีย์หมายเลข 1 ณ เมืองโบราณ จ.ราชบุรีมาก่อนแล้ว โดยกรุของที่นี่จะเป็นเพียงห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ใกล้ระดับพื้นดิน ภายในมีผอบ 2 ชั้น บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาในสมัยล้านนา สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา ก็มีการพบกรุในเจดีย์หลายแห่ง ทั้งที่เจดีย์วัดพระยืน อ.เชียงแสน จ. เชียงราย,เจดีย์สุวรรณจังโกฏิ จ.ลำพูน,เจดีย์ทรงลังกา ด้านทิศใต้ จ.สุโขทัย,เจดีย์วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
สำหรับกรุสมบัติของวัดที่ถูกค้นพบในอยุธยา ตามหลักฐานที่ปรากฏนั้นพบมากที่สุดคือที่วัดราชบูรณะ ซึ่งมีพระปรางค์เป็นประธานขนาดใหญ่ สภาพโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในยังมีบางส่วนค่อนข้างสมบูรณ์ ภายในพระปรางค์ส่วนฐานปรากฏว่ามีการสร้างกรุไว้เพื่อเก็บสมบัติ
ประกอบด้วย กรุชั้นที่ 1 หรือชั้นบนสุด อยู่ลึกลงไปจากพื้นเรือนธาตุประมาณ 3.70 เมตร ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.50 เมตร ผนังทั้ง 4 ด้าน เขียนภาพจิตรกรรมประกอบด้วย ภาพเทพชุมนุมและภาพบุคคลต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นคนจีน ทั้งขุนนาง เด็ก ผู้ใหญ่และคนรับใช้ กรุชั้นนี้บรรจุพระพิมพ์และพระพุทธรูปจำนวนหนึ่ง
กรุชั้นที่ 2 หรือชั้นกลาง ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 2.75 เมตร ผนังทั้ง 4 ด้าน ทำเป็นซุ้มลึกเข้าไปประมาณ 37 เซนติเมตร รอบผนังและรอบซุ้มเขียนภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยสีชาด เพดานกรุมีลวดลายดาวเต็มเพดาน ภายในซุ้มทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีโต๊ะสำริดวางอยู่ซุ้มละ 1 ตัว สำหรับวางสิ่งของมีค่าต่างๆ
สุวรรณมาลา ทองคำถัก ค้นพบที่กกรุวัดราชบูรณะ เป็นศิราภรณ์สำหรับสตรี (ศิลปะอยุธยาตอนต้น)
ถัดจากซุ้มทั้ง 4 ออกมา เป็นห้องที่ปูด้วยหินทั้งหมด กรุชั้นนี้บรรจุเครื่องทองมากที่สุด ประกอบด้วยเครื่องราชูปโภคทองคำ เครื่องราชกุธภัณฑ์ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่งต่างๆ และปรางค์ทองคำจำลอง
ชิ้นส่วนประดับปรางค์จำลองทองคำ (กรุวัดราชบูรณะ)
ชิ้นส่วนเครื่องประดับทองคำ ฉลุลายประดับอัญมณี (ศิลปะอยุธยาตอนต้น)
แหวนทองคำ หัวแหวนสลักรูปสัตว์หิมพานต์
กรุชั้นที่ 3 หรือชั้นล่างสุด ขนาดกว้าง 1.40 เมตร สูง 1.20 เมตร ไม่มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแต่อย่างใด ภาพในกรุก่อเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ กว้างประมาณ 0.80 เมตร ประดิษฐานเจดีย์ทองคำ 1 องค์ ซึ่งถูกครอบด้วยวัสดุต่างๆ ภายในเจดีย์ทองคำบรรจุพระพุทธรูปทองคำ พระเจดีย์หินผลึก พระพุทธรูปหินผลึก และเครื่องทองขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง
เครื่องประดับอัญมณี และผอบทองคำที่พบในกรุวัดราชบูรณะ
นอกจากจะพบสมบัติล้ำค่าภายในพระปรางค์ของวัดราชบูรณะจำนวนมากแล้ว สิ่งที่มีค่าอีกอย่างที่พบก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเห็นชัดเจนอยู่หลายแห่ง แม้ว่าบางจุดจะเลือนลางไปตามกาลเวลาแล้วก็ตาม ซึ่งทำให้นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการเชื่อมโยงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นให้คนรุ่นหลังได้ทราบกันมาจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย
***ชอบละครพิษสวาทมาก จนอยากไปตามรอยอุบลที่อยุธยา
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูล จาก http://www.praew.com/46192/lifestyle/ayutthaya-treasures-pitsawat/