- กรณีศึกษา บัตร KTC หุ้น 25 เด้ง / โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าหุ้นที่ร้อนแรงในตลาดหุ้นไทยในปีนี้มีตัวไหนบ้าง
คำตอบน่าจะมีหุ้น KTC รวมอยู่ด้วย
จากจุดต่ำสุดที่ 10 บาท กลางปี 2554
ให้ทายว่าตอนนี้ปี 2561 หุ้น KTC ราคาเท่าไร?
คำตอบ คือ 250 บาท
แปลว่าหุ้นตัวนี้ได้ขึ้นมา 25 เท่า ภายใน 7 ปี
ถ้าเราซื้อหุ้นตัวนี้ 1 ล้านบาท เวลาผ่านไป 7 ปี เราจะมีเงินมากถึง 25 ล้านบาท
ถามว่ามีใครได้ซื้อหุ้นนี้ไปตอนนั้นบ้างหรือไม่
คำตอบคือ มี และ มีหนึ่งในนั้นที่ได้กำไรจากหุ้นตัวนี้มาก มากพอที่จะเปลี่ยนชีวิตคนนั้นไปตลอดกาล
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อรับจ้างบริหารธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจอื่นๆ ภายใต้ชื่อของธนาคารกรุงไทย
จนในปี 2545 KTC ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยธนาคารกรุงไทยได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลง แต่ปัจจุบันยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ KTC ที่ 49.5%
ธุรกิจของ KTC ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลักคือ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และ ธุรกิจอื่นๆ (ธุรกิจทวงถามหนี้และธุรกิจสินเชื่ออื่นๆ)
รายได้ของ KTC มีรายได้มาจาก 2 ส่วนหลักคือ รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้ค่าธรรมเนียม
จำนวนบัตรเครดิตของทั้งอุตสาหกรรมและของ KTC
ปี 2558 ทั้งอุตสาหกรรม 18.9 ล้านใบ ของ KTC 1.9 ล้านใบ
ปี 2559 ทั้งอุตสาหกรรม 20.1 ล้านใบ ของ KTC 2.1 ล้านใบ
ปี 2560 ทั้งอุตสาหกรรม 20.3 ล้านใบ ของ KTC 2.2 ล้านใบ
ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลทั้งอุตสาหกรรมและของ KTC
ปี 2558 ทั้งอุตสาหกรรม 318,354 ล้านบาท ของ KTC 18,465 ล้านบาท
ปี 2559 ทั้งอุตสาหกรรม 332,997 ล้านบาท ของ KTC 21,978 ล้านบาท
ปี 2560 ทั้งอุตสาหกรรม 354,294 ล้านบาท ของ KTC 24,801 ล้านบาท
พอดูตัวเลขพวกนี้แล้ว เราก็คงประเมินได้คร่าวๆว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังเติบโต
KTC มีส่วนแบ่งในตลาดบัตรเครดิตประมาณ 10% และลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลประมาณ 6-7%
แต่การเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลของ KTC ที่ผ่านมาเติบโตเร็วกว่าอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม KTC เจอความท้ายทายในปีที่แล้ว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อ
ทั้งควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่ KTC จะเก็บลูกค้า ควบคุมเพดานวงเงินสินเชื่อ รวมถึงกำหนดให้ ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลให้ขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 3 แห่ง
ซึ่งหลายคนมองว่าจะส่งผลกระทบกับ KTC มาก เนื่องจากธุรกิจ KTC ส่วนใหญ่เป็นบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล
แต่ผลออกมาบริษัท KTC ไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไร แต่กลับกลายเป็นว่าบริษัทยังทำให้กำไรเติบโตได้เสียด้วยซ้ำ เพราะตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ KTC อยู่ในระดับต่ำมาก
รายได้และกำไรของ KTC
ปี 2558 รายได้ 15,559 ล้านบาท กำไร 2,073 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 25,203 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 17,580 ล้านบาท กำไร 2,495 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 35,581 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 19,525 ล้านบาท กำไร 3,304 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 47,957 ล้านบาท
ดูจากการเติบโตของรายได้และกำไรแล้ว ไม่แปลกใจว่า ทำไมที่ผ่านมาหุ้น KTC ถึงเป็นหุ้นที่ร้อนแรงตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์
แน่นอนว่า เมื่อธุรกิจมีโอกาสเติบโต ราคาหุ้นก็มักจะตอบสนองไปในทางบวกและนักลงทุนก็จะได้กำไร
หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารคือ คุณมงคล ประกิตชัยวัฒนา ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมโยธา ม.ขอนแก่น และปัจจุบันเป็นนักลงทุน ถือว่าเป็นคนที่ทำกำไรจากหุ้นตัวนี้ไม่น้อย
คุณมงคลได้ซื้อหุ้นจนเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน KTC ตั้งแต่ปี 2555 โดยจากวันนั้นจนถึงวันนี้มูลค่าหุ้น KTC ของเขาเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 หมื่นล้าน
เรามาดูมูลค่าทรัพย์สินของคุณมงคลย้อนหลังกัน
ปี 2555 ถือหุ้นอยู่ 29.6 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 31 บาท มูลค่าหุ้น 918 ล้านบาท
ปี 2556 ถือหุ้นอยู่ 33.8 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 29.75 บาท มูลค่าหุ้น 1,006 ล้านบาท
ปี 2557 ถือหุ้นอยู่ 17.2 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 64.00 บาท มูลค่าหุ้น 1,101 ล้านบาท
ปี 2558 ถือหุ้นอยู่ 20.8 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 97.75 บาท มูลค่าหุ้น 2,033 ล้านบาท
ปี 2559 ถือหุ้นอยู่ 25.9 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 138 บาท มูลค่าหุ้น 3,574 ล้านบาท
ปี 2560 ถือหุ้นอยู่ 42.7 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 186 บาท มูลค่าหุ้น 7,942 ล้านบาท
หมายความว่าถ้าวันนี้คุณมงคลยังถือหุ้นอยู่จำนวนเท่าเดิม ที่ราคาหุ้น 250 บาท คุณมงคล จะมีมูลค่าหุ้นทั้งหมด 10,675 ล้านบาท ซึ่งเรียกได้ว่าทรัพย์สินของเขาเพิ่ม 10 เท่าตัว ภายใน 6 ปี..
บอกได้เลยว่านี่เป็นตัวอย่างของนักลงทุนที่ถือหุ้นจำนวนไม่มากตัว และไม่ต้องซื้อขายบ่อย ก็ประสบความสำเร็จได้
แต่ทั้งนี้เราก็ต้องมองให้ออกว่าหุ้นตัวไหนที่สามารถเป็นแบบนี้ได้ ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่จะให้ผลตอบแทนแบบนี้
ถ้าเรามองให้ขาด ซื้อทิ้งไว้เฉยๆ มาเปิดดูอีกก็อาจพบว่าเงินเราเพิ่ม 10 เท่าเหมือนคุณมงคลโดยไม่รู้ตัว..
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นที่กล่าวถึง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา.
http://longtunman.com/4626
Ktc หุ้น 25 เด้ง และวิสัยทัศน์ของ มงคล ประกิตชัยวัฒนา
ถ้าถามว่าหุ้นที่ร้อนแรงในตลาดหุ้นไทยในปีนี้มีตัวไหนบ้าง
คำตอบน่าจะมีหุ้น KTC รวมอยู่ด้วย
จากจุดต่ำสุดที่ 10 บาท กลางปี 2554
ให้ทายว่าตอนนี้ปี 2561 หุ้น KTC ราคาเท่าไร?
คำตอบ คือ 250 บาท
แปลว่าหุ้นตัวนี้ได้ขึ้นมา 25 เท่า ภายใน 7 ปี
ถ้าเราซื้อหุ้นตัวนี้ 1 ล้านบาท เวลาผ่านไป 7 ปี เราจะมีเงินมากถึง 25 ล้านบาท
ถามว่ามีใครได้ซื้อหุ้นนี้ไปตอนนั้นบ้างหรือไม่
คำตอบคือ มี และ มีหนึ่งในนั้นที่ได้กำไรจากหุ้นตัวนี้มาก มากพอที่จะเปลี่ยนชีวิตคนนั้นไปตลอดกาล
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อรับจ้างบริหารธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจอื่นๆ ภายใต้ชื่อของธนาคารกรุงไทย
จนในปี 2545 KTC ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยธนาคารกรุงไทยได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลง แต่ปัจจุบันยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ KTC ที่ 49.5%
ธุรกิจของ KTC ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มหลักคือ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล และ ธุรกิจอื่นๆ (ธุรกิจทวงถามหนี้และธุรกิจสินเชื่ออื่นๆ)
รายได้ของ KTC มีรายได้มาจาก 2 ส่วนหลักคือ รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้ค่าธรรมเนียม
จำนวนบัตรเครดิตของทั้งอุตสาหกรรมและของ KTC
ปี 2558 ทั้งอุตสาหกรรม 18.9 ล้านใบ ของ KTC 1.9 ล้านใบ
ปี 2559 ทั้งอุตสาหกรรม 20.1 ล้านใบ ของ KTC 2.1 ล้านใบ
ปี 2560 ทั้งอุตสาหกรรม 20.3 ล้านใบ ของ KTC 2.2 ล้านใบ
ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลทั้งอุตสาหกรรมและของ KTC
ปี 2558 ทั้งอุตสาหกรรม 318,354 ล้านบาท ของ KTC 18,465 ล้านบาท
ปี 2559 ทั้งอุตสาหกรรม 332,997 ล้านบาท ของ KTC 21,978 ล้านบาท
ปี 2560 ทั้งอุตสาหกรรม 354,294 ล้านบาท ของ KTC 24,801 ล้านบาท
พอดูตัวเลขพวกนี้แล้ว เราก็คงประเมินได้คร่าวๆว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังเติบโต
KTC มีส่วนแบ่งในตลาดบัตรเครดิตประมาณ 10% และลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลประมาณ 6-7%
แต่การเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลของ KTC ที่ผ่านมาเติบโตเร็วกว่าอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม KTC เจอความท้ายทายในปีที่แล้ว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับแนวทางในการกำกับดูแลธุรกิจสินเชื่อ
ทั้งควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่ KTC จะเก็บลูกค้า ควบคุมเพดานวงเงินสินเชื่อ รวมถึงกำหนดให้ ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลให้ขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 3 แห่ง
ซึ่งหลายคนมองว่าจะส่งผลกระทบกับ KTC มาก เนื่องจากธุรกิจ KTC ส่วนใหญ่เป็นบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล
แต่ผลออกมาบริษัท KTC ไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไร แต่กลับกลายเป็นว่าบริษัทยังทำให้กำไรเติบโตได้เสียด้วยซ้ำ เพราะตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ KTC อยู่ในระดับต่ำมาก
รายได้และกำไรของ KTC
ปี 2558 รายได้ 15,559 ล้านบาท กำไร 2,073 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 25,203 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 17,580 ล้านบาท กำไร 2,495 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 35,581 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 19,525 ล้านบาท กำไร 3,304 ล้านบาท มูลค่าบริษัท 47,957 ล้านบาท
ดูจากการเติบโตของรายได้และกำไรแล้ว ไม่แปลกใจว่า ทำไมที่ผ่านมาหุ้น KTC ถึงเป็นหุ้นที่ร้อนแรงตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์
แน่นอนว่า เมื่อธุรกิจมีโอกาสเติบโต ราคาหุ้นก็มักจะตอบสนองไปในทางบวกและนักลงทุนก็จะได้กำไร
หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารคือ คุณมงคล ประกิตชัยวัฒนา ซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมโยธา ม.ขอนแก่น และปัจจุบันเป็นนักลงทุน ถือว่าเป็นคนที่ทำกำไรจากหุ้นตัวนี้ไม่น้อย
คุณมงคลได้ซื้อหุ้นจนเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน KTC ตั้งแต่ปี 2555 โดยจากวันนั้นจนถึงวันนี้มูลค่าหุ้น KTC ของเขาเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 หมื่นล้าน
เรามาดูมูลค่าทรัพย์สินของคุณมงคลย้อนหลังกัน
ปี 2555 ถือหุ้นอยู่ 29.6 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 31 บาท มูลค่าหุ้น 918 ล้านบาท
ปี 2556 ถือหุ้นอยู่ 33.8 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 29.75 บาท มูลค่าหุ้น 1,006 ล้านบาท
ปี 2557 ถือหุ้นอยู่ 17.2 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 64.00 บาท มูลค่าหุ้น 1,101 ล้านบาท
ปี 2558 ถือหุ้นอยู่ 20.8 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 97.75 บาท มูลค่าหุ้น 2,033 ล้านบาท
ปี 2559 ถือหุ้นอยู่ 25.9 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 138 บาท มูลค่าหุ้น 3,574 ล้านบาท
ปี 2560 ถือหุ้นอยู่ 42.7 ล้านหุ้น ราคาหุ้นปิดที่ 186 บาท มูลค่าหุ้น 7,942 ล้านบาท
หมายความว่าถ้าวันนี้คุณมงคลยังถือหุ้นอยู่จำนวนเท่าเดิม ที่ราคาหุ้น 250 บาท คุณมงคล จะมีมูลค่าหุ้นทั้งหมด 10,675 ล้านบาท ซึ่งเรียกได้ว่าทรัพย์สินของเขาเพิ่ม 10 เท่าตัว ภายใน 6 ปี..
บอกได้เลยว่านี่เป็นตัวอย่างของนักลงทุนที่ถือหุ้นจำนวนไม่มากตัว และไม่ต้องซื้อขายบ่อย ก็ประสบความสำเร็จได้
แต่ทั้งนี้เราก็ต้องมองให้ออกว่าหุ้นตัวไหนที่สามารถเป็นแบบนี้ได้ ไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่จะให้ผลตอบแทนแบบนี้
ถ้าเรามองให้ขาด ซื้อทิ้งไว้เฉยๆ มาเปิดดูอีกก็อาจพบว่าเงินเราเพิ่ม 10 เท่าเหมือนคุณมงคลโดยไม่รู้ตัว..
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นที่กล่าวถึง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา. http://longtunman.com/4626