'ศรีสุวรรณ' ฟันธง ป.ป.ช.ไม่สรุปผลสอบนาฬิกาหรูเดือนนี้
https://www.matichon.co.th/news/859438
วันที่ 1 มีนาคม 2561 นาย
ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า จากการติดตามความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนาฬิกาหรู 25 เรือนและแหวนเพชรของ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ล่าสุดส่วนตัวยืนยันว่าจะไม่สามารถสรุปให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคมนี้อย่างแน่นอน ทั้งที่ ป.ป.ช.มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามเรื่องการปกปิดบัญชีทรัพย์สินและคณะที่ตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งตนได้ให้ถ้อยคำกับเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 คณะเรียบร้อยแล้ว
แต่ทราบว่าที่ผ่านมา ป.ป.ช.ทำหนังสือให้ พล.อ.
ประวิตรชี้แจงรายละเอียดแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ ป.ป.ช.มีหนังสือทวงถามรอบเดียวก็น่าจะเพียงพอ และ ป.ป.ช.สามารถเชิญตัวผู้ถูกร้องไปให้ถ้อยคำได้เพียงครั้งเดียว ก็จะนำข้อมูลไปวินิจฉัยได้ แต่ ป.ป.ช.มีหนังสือเชิญให้ชี้แจงหลายครั้ง อาจถูกมองว่าเป็นการประวิงเวลาหรือให้โอกาสกับ พล.อ.ประวิตรมากเกินไป ทำให้เป็นข้อสงสัยผิดสังเกตในพฤติการณ์การทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่ใช้อำนาจที่ไม่เด็ดขาด ทำให้ผู้ถูกร้องมีข้ออ้างยืดระยะเวลาการตรวจสอบ
“อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบของ ป.ป.ช.อยู่เหนือนักการเมืองและข้าราชการทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่ถูกเชิญรายอื่น หากถูกกล่าวหาหรือมีข้อสงสัยในกรณีเดียวกัน พบว่า ป.ป.ช.จะเชิญไปให้ข้อมูลประกอบพยานหลักฐานเพียงครั้งเดียว และหาก ป.ป.ช.สร้างบรรทัดฐานเช่นนี้ไว้ ในอนาคตนักการเมืองที่มาจาการเลือกตั้งจะใช้เป็นแบบอย่าง ก็จะไม่เป็นผลดีกับการปราบปรามการทุจริตอย่างแน่นอน ดังนั้น ประชาชนทั้งประเทศควรเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจรัฐในยุคของการปฏิรูปการเมือง หรือการประกาศนโยบายการปราบทุจริตอย่างเข้มข้น ที่อาจจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงจากปัญหาการตรวจสอบนาฬิกาหรู 25 เรือน ส่วนการประกาศว่ามีรัฐธรรมนูญที่อ้างว่าเป็นฉบับปราบโกงออกมาบังคับใช้ ก็อาจจะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเท่าที่ควร” นาย
ศรีสุวรรณกล่าว
ชี้ไม่เป็นธรรม'ผกก.ทองผาภูมิ'ลงโทษตร.เซ่นคดี'เปรมชัย'
https://www.dailynews.co.th/regional/630086
ทนายชื่อดังซัดผู้กำกับ สภ.ทองผาภูมิ ลงโทษร้อยเวรรับแจ้งความคดี “เปรมชัย”ข้อหาทารุณกรรมสัตว์ ก่อนจะมีการถอนแจ้งความ ขัดแย้งคำสั่งสตช.ที่ให้รับแจ้งความไว้ก่อน แนะควรยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีเพื่อความยุติธรรมของตนเอง
จากกรณี นาย
วิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เข้าจับกุม นาย
เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย พร้อมพวกรวม 4 คน ขณะลักลอบตั้งแคมป์พักแรมในเขตแล้วพบซากเสือดำ ปืน เครื่องกระสุน ต่อมานาย
เปรมชัย ถูกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาทารุณกรรมสัตว์ ก่อนจะมีการถอนแจ้งความในเวลาต่อมา ล่าสุดได้มีการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์กับร.ต.อ.
สุมิตร บุญยะนิจ รองสว.(สอบสวน)ข้อหา
บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่าผิดกฎหมาย หรือไม่ผิดกันแน่ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 1 มี.ค.นาย
รัชพล ศิริสาคร ทนายความชื่อดัง และเจ้าของเพจ “
สายตรงกฎหมาย”กล่าวว่า
ผมว่า คุณตำรวจต้องไปตกลงกันใหม่แล้ว ปัญหาข้อกฎหมาย ถ้ายังไม่แน่ชัด จะมาลงโทษร้อยเวรที่รับแจ้งความได้อย่างไร โดยปกติ คนมารับแจ้งความ ตำรวจจะต้องรับแจ้งความอยู่แล้ว จะปฏิเสธไม่รับแจ้งความได้อย่างไร หากปฏิเสธไม่รับแจ้งความต่างหากที่จะเป็นความผิดตามกฎหมาย
เปิดดูคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา เปิดดูบทที่ 2 การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา ข้อ 1 การรับแจ้งความ ข้อ 1.1.3 ระบุว่า "...พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามกฎหมาย.." ข้อ 1.1.5 มีหลักว่า การรับแจ้งความที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นคำร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ หรือเป็นเรื่องทางแพ่ง ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการรับแจ้งความไว้แล้วรีบนำเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งภายใน 24 ชม.
กรณีที่ผู้กำกับมีคำสั่งลงโทษ โดยระบุความผิดในคำสั่งว่า "ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ และรับคำร้องทุกข์ไว้" จึงขัดแย้งกับคำสั่ง สตช.เมื่อมีผู้มาแจ้งความ เมื่อยังไม่ได้สอบสวน จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นความผิดหรือไม่ผิด ก็เขาเพิ่งจะมาแจ้งความ ดังนั้น ตำรวจต้องรับเรื่องไว้ก่อน แล้วนำมาสอบสวนว่าเป็นความผิดจริงหรือไม่ หากเป็นว่าเป็นความผิด ก็ดำเนินคดีต่อไป แต่ถ้าเป็นว่าไม่เป็นความผิด ก็ไม่สามารถดำเนินคดีได้
และตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ 1.1.5 ก็ระบุว่า ถ้าไม่แน่ชัดให้นำเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาสั่งการ แล้วท่านผู้กำกับสั่งการไปอย่างไรครับ? กรณีนี้ ร้อยตำรวจเอกสุมิตร ควรยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีเพื่อความยุติธรรมของตนเอง
JJNY : 'ศรีสุวรรณ' ฟันธง ป.ป.ช.ไม่สรุปผลสอบนาฬิกาหรูเดือนนี้/ชี้ไม่เป็นธรรม'ผกก.ทองผาภูมิ'ลงโทษตร.เซ่นคดี'เปรมชัย'
https://www.matichon.co.th/news/859438
วันที่ 1 มีนาคม 2561 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า จากการติดตามความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบนาฬิกาหรู 25 เรือนและแหวนเพชรของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ล่าสุดส่วนตัวยืนยันว่าจะไม่สามารถสรุปให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคมนี้อย่างแน่นอน ทั้งที่ ป.ป.ช.มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามเรื่องการปกปิดบัญชีทรัพย์สินและคณะที่ตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งตนได้ให้ถ้อยคำกับเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 คณะเรียบร้อยแล้ว
แต่ทราบว่าที่ผ่านมา ป.ป.ช.ทำหนังสือให้ พล.อ.ประวิตรชี้แจงรายละเอียดแล้วหลายครั้ง ทั้งที่ ป.ป.ช.มีหนังสือทวงถามรอบเดียวก็น่าจะเพียงพอ และ ป.ป.ช.สามารถเชิญตัวผู้ถูกร้องไปให้ถ้อยคำได้เพียงครั้งเดียว ก็จะนำข้อมูลไปวินิจฉัยได้ แต่ ป.ป.ช.มีหนังสือเชิญให้ชี้แจงหลายครั้ง อาจถูกมองว่าเป็นการประวิงเวลาหรือให้โอกาสกับ พล.อ.ประวิตรมากเกินไป ทำให้เป็นข้อสงสัยผิดสังเกตในพฤติการณ์การทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่ใช้อำนาจที่ไม่เด็ดขาด ทำให้ผู้ถูกร้องมีข้ออ้างยืดระยะเวลาการตรวจสอบ
“อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบของ ป.ป.ช.อยู่เหนือนักการเมืองและข้าราชการทั้งหมด ขณะที่ผู้ที่ถูกเชิญรายอื่น หากถูกกล่าวหาหรือมีข้อสงสัยในกรณีเดียวกัน พบว่า ป.ป.ช.จะเชิญไปให้ข้อมูลประกอบพยานหลักฐานเพียงครั้งเดียว และหาก ป.ป.ช.สร้างบรรทัดฐานเช่นนี้ไว้ ในอนาคตนักการเมืองที่มาจาการเลือกตั้งจะใช้เป็นแบบอย่าง ก็จะไม่เป็นผลดีกับการปราบปรามการทุจริตอย่างแน่นอน ดังนั้น ประชาชนทั้งประเทศควรเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีอำนาจรัฐในยุคของการปฏิรูปการเมือง หรือการประกาศนโยบายการปราบทุจริตอย่างเข้มข้น ที่อาจจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิงจากปัญหาการตรวจสอบนาฬิกาหรู 25 เรือน ส่วนการประกาศว่ามีรัฐธรรมนูญที่อ้างว่าเป็นฉบับปราบโกงออกมาบังคับใช้ ก็อาจจะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเท่าที่ควร” นายศรีสุวรรณกล่าว
ชี้ไม่เป็นธรรม'ผกก.ทองผาภูมิ'ลงโทษตร.เซ่นคดี'เปรมชัย'
https://www.dailynews.co.th/regional/630086
ทนายชื่อดังซัดผู้กำกับ สภ.ทองผาภูมิ ลงโทษร้อยเวรรับแจ้งความคดี “เปรมชัย”ข้อหาทารุณกรรมสัตว์ ก่อนจะมีการถอนแจ้งความ ขัดแย้งคำสั่งสตช.ที่ให้รับแจ้งความไว้ก่อน แนะควรยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีเพื่อความยุติธรรมของตนเอง
จากกรณี นายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เข้าจับกุม นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย พร้อมพวกรวม 4 คน ขณะลักลอบตั้งแคมป์พักแรมในเขตแล้วพบซากเสือดำ ปืน เครื่องกระสุน ต่อมานายเปรมชัย ถูกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาทารุณกรรมสัตว์ ก่อนจะมีการถอนแจ้งความในเวลาต่อมา ล่าสุดได้มีการสั่งลงโทษภาคทัณฑ์กับร.ต.อ.สุมิตร บุญยะนิจ รองสว.(สอบสวน)ข้อหาบกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่าผิดกฎหมาย หรือไม่ผิดกันแน่ ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 1 มี.ค.นายรัชพล ศิริสาคร ทนายความชื่อดัง และเจ้าของเพจ “สายตรงกฎหมาย”กล่าวว่า
ผมว่า คุณตำรวจต้องไปตกลงกันใหม่แล้ว ปัญหาข้อกฎหมาย ถ้ายังไม่แน่ชัด จะมาลงโทษร้อยเวรที่รับแจ้งความได้อย่างไร โดยปกติ คนมารับแจ้งความ ตำรวจจะต้องรับแจ้งความอยู่แล้ว จะปฏิเสธไม่รับแจ้งความได้อย่างไร หากปฏิเสธไม่รับแจ้งความต่างหากที่จะเป็นความผิดตามกฎหมาย
เปิดดูคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา เปิดดูบทที่ 2 การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา ข้อ 1 การรับแจ้งความ ข้อ 1.1.3 ระบุว่า "...พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามกฎหมาย.." ข้อ 1.1.5 มีหลักว่า การรับแจ้งความที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นคำร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ หรือเป็นเรื่องทางแพ่ง ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการรับแจ้งความไว้แล้วรีบนำเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งภายใน 24 ชม.
กรณีที่ผู้กำกับมีคำสั่งลงโทษ โดยระบุความผิดในคำสั่งว่า "ไม่ตรวจสอบข้อกฎหมายให้แน่ชัดว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ และรับคำร้องทุกข์ไว้" จึงขัดแย้งกับคำสั่ง สตช.เมื่อมีผู้มาแจ้งความ เมื่อยังไม่ได้สอบสวน จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นความผิดหรือไม่ผิด ก็เขาเพิ่งจะมาแจ้งความ ดังนั้น ตำรวจต้องรับเรื่องไว้ก่อน แล้วนำมาสอบสวนว่าเป็นความผิดจริงหรือไม่ หากเป็นว่าเป็นความผิด ก็ดำเนินคดีต่อไป แต่ถ้าเป็นว่าไม่เป็นความผิด ก็ไม่สามารถดำเนินคดีได้
และตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ 1.1.5 ก็ระบุว่า ถ้าไม่แน่ชัดให้นำเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาสั่งการ แล้วท่านผู้กำกับสั่งการไปอย่างไรครับ? กรณีนี้ ร้อยตำรวจเอกสุมิตร ควรยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีเพื่อความยุติธรรมของตนเอง