Nissan MID4 and Nissan MID4 II

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับ วันนี้เรามาคุยเรื่องรถยนต์เครื่องวางกลางรุ่นหนึ่งของ NISSAN ชื่อรุ่น MID4 (มิดโฟร์) กันนะครับ

NISSAN มีความคิดที่จะทำรถสปอร์ตเครื่องวางกลาง ขับ AWD มาต่อกรกับบรรดา supercar จากค่ายยุโรป เช่น Porsche and Ferrari เป็นต้น

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี คศ. 1984, Shinichiro Sakurai (ผู้ให้กำเนิด Nissan Skyline) และทีมออกแบบของเขาก็ได้รับมอบหมายงานนี้ และในเดือนมีนาคม 1985, รถต้นแบบก็เสร็จออกมา 4 คัน แล้วนำไปโชว์ตัวครั้งแรกใน 1985 Frankfurt Auto Show มาพร้อมระบบ AWD (ล้อหน้า 33%, ล้อหลัง 67% ซึ่งเป็นต้นแบบระบบควบคุมแรงขับล้อที่มีใน Skyline และ Cefiro ในยุคต่อๆมา) และระบบ HICAS (เลี้ยวสี่ล้อ) เป็นคันแรกของ Nissan ในด้านเครื่องยนต์ออกแบบใหม่ให้โดยเฉพาะกับรหัส VG30DE (ตอนหลังที่โครงการพับไป ก็ยกไปใส่ Z31, Z32 และ Fairlady Z) ความเร็วสูงสุดที่ 249 km/h. เลยทีเดียว กับน้ำหนักตัว 1,230 kg. (คันสีแดง)

และในงาน 1987 Tokyo Motor Show, มีการปรับปรุงตัวรถหลายจุด โดยให้ชื่อว่า MID4 II และพก Twin Turbo มาด้วย กับ VG30DETT, แรงม้า 330 PS, 5 เกียร์ น้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 1,400 kg. (คันสีเทาเงิน)

แต่ปรากฎว่า Nissan คิดว่าต้นทุนในการสร้างรถรุ่นนี้เพื่อเป็น production car (รถออกจำหน่ายจริง) นั้นมันสูงเกินไป อาจจะทำตลาดไม่ได้ และ Nissan เองก็อาจจะเห็นว่าการขาย 300ZR/ZX (Z31/Z32) และ Skyline R32 นั้น พวกเขาก็มีความสุขดีอยู่แล้ว ก็เลยพับโครงการ MID4 and MID4 II เข้ากรุไปซะ)

ซึ่งความจริงเราจะเห็นบรรดาค่ายรถญื่ปุ่นช่วงยุค 80 ดิ้นรนเรื่องการพัฒนารถสปอร์ตใหม่ๆออกมา โดยเครื่องวางกลางและหน้าตาให้มันถูกใจฝั่งยุโรปหน่อยก็เป็นปัจจัยที่นำมาพิจารณาด้วย เช่น

Subaru ทำ sportscar ออกมา ได้แก่ Subaru Alcyone SVX ในปี 1989 โดยจ้าง Italian Desiner Giorgetto Giugiaro ออกแบบให้

Isuzu ก็ไม่ได้มีแต่รถกระบะ ในปี 1989 ก็ออก concept car: Isuzu 4200R เครื่องวางกลางออกมา 4,200 cc V8 เรียกว่า โฉบเฉียวกันเต็มขั้น ภายในมีอุปกรณ์ Hi-Tech หลายอย่างเช่น Navigation System and Fax Machine ครับอ่านไม่ผิดมันมีเครื่องแฟกซ์ในรถด้วย ในเวลานั้น Isuzu อยู่ภายใต้ GM Group และมี connection กับ Lotus ด้วย แต่ในปี 1992 เป็นต้นมา Isuzu เลิกสนใจที่จะพัฒนาและผลิตรถยนต์นั่ง และรถสปอร์ต ก็เลยเป็นอย่างที่เราเห็นทุกวันนี้

Mazda ที่เริ่มต้นความคิดตั้งแต่ปี 1976 ว่าจะทำรถสปอร์ตขนาดเบามาสักตัว (ส่วน flagship sportscar model มี RX-7 อยู่แล้ว) โดยทีม US Mazda เสนอเครื่องวางหน้า/ขับหลัง แต่ทีม JP Mazda เสนอเครื่องวางหน้า/ขับหน้า หรือไม่ก็เครื่องวางกลาง/ขับหลัง และเมื่อทีม US ชนะการนำเสนอในวันที่ 18 มกราคม 1986 การพัฒนาต่อเนื่องก็ดำเนินไปจนคลอดมาเป็น MX-5 (NA) ตัวแรกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1989 ที่งาน 1989 Chicago Auto Show นั่นเอง จะเห็นได้ว่าเรื่องเครื่องวางกลางก็มีในความคิดเหมือนกันสำหรับ Mazda

Mitsubishi เองก็มี MP-90X, HSR, HSR II และ HSX ซึ่งตัวหลังนี่พัฒนาออกมาเป็น 3000GTO (Z16A) ในปี 1990 แม้จะเป็นเครื่องวางหน้าแต่ตัวรถต้นแบบท้ายรถยาวๆที่ไม่ได้โชว์เครื่องก็อาจจะเป็นเครื่องวางกลางก็ได้

Toyota ในปี 1976 ก็อยากจะออกแบบรถที่ enjoyable to drive (สนุกที่จะขับ) สักคัน อยากจะให้ประหยัดน้ำมันด้วย ทรงสปอร์ตหรือไม่ก็ได้ (flagship model มี Supra อยู่แล้ว ปล่อยเขาไป) หัวหน้าแผนกออกแบบ Akio Yoshida ก็มาลงตัวกับ เครื่องวางกลาง/ขับหลัง concept car ในปี 1981 คือ Toyota SA-X และในปี 1983 คือ Toyota SV-3 และออกขายในปี 1984 คือ Toyota MR2 AW10 และ ปี 1989 Toyota MR2 SW20 นั้นเอง

Honda เจ้านี้มุ่งมั่นมาเลยเพราะยังไม่มี flagship sportscar model ไว้อวดชาวบ้าน ในปี 1984 จ้าง Italian Designer: Pininfarina ออกแบบ concept car: Honda HP-X ซะเลย ภายในบริษัท Honda เองก็ให้หัวหน้าวิศวกร Shigeru Uehara (ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการ S2000 ในเวลาต่อมาด้วย) ดูแล ทางบริษัทวางโจทย์มาเลยว่า เอาเครื่อง V6 วางกลาง แล้วก็ต้องเร็วเท่ากับอะไรๆที่มาจากอิตาลีและเยอรมันพวกนั้นด้วยนะ! ตัวเปรียบเทียบคือ Ferrari 328 และ 348 สุดท้ายออกมาเป็น NSX ในปี 1989, and the rest is history และ(เรื่องราวต่อมา)ที่เหลืออยู่ ก็คือประวัติศาสตร์

ฝาก Follows และ Likes
เพจรถยนต์และรถจักรยานต์


https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=260190691186053&id=260183984520057

ฝาก Follows และ Likes
เพจสอนภาษาอังกฤษ

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=988591887954723&id=950904501723462

========
Facebook Page: ทุกเรื่องที่มีล้อ และวิ่งได้

ขอบคุณทุก Follows และทุก Likes ครับ
========
Facebook Page: GTG and Students
.
Thanks for all your Follows and Likes
.
Instagram: GTG and Students
Twitter: GTG and Students
========
Photos are courtesy of
wikipedia.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่