มะลิลา, Malila The Farewell Flower (อนุชา บุญยวรรธนะ, 2018) คะแนน A
By Form Corleone
"หนังพาเราไปพบเจอกับห้วงความรู้สึกของความไม่มีตัวตน" อาลัยอาวรณ์และส่งมอบช่วงเวลาของการเข้าใจในความพลัดพรากจากกัน ข้อความของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นสวยงามมากๆ 'มะลิลา' เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน (เวียร์ ศุกลวัฒน์)' เจ้าของไร่มะลิที่มีเบื้องหลังจากความเจ็บปวดที่ต้องสูญเสียคนรัก กับ 'พิช (โอ อนุชิต)' คนทำบายศรีที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ทั้งสองคนต่างมีความสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงชายรักชายผ่านช่วงเวลาการทำบายศรีที่ชวนละเมียดละไม องค์ประกอบของ 'มะลิลา' ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างสวยงามและเป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งโทนสีของภาพที่ชวนสบายตาและเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องที่แฝงนัยยะซ่อนเร้นทั้งตรงไปตรงมาและอ้อมค้อมในบริบทให้เราพึงระลึกด้วยตัวเองตามสิ่งที่เห็นตรงหน้า หนังพาเราไปไกลกว่าที่เราคาดคิดไว้ และเราไม่สามารถหลีกหนีข้อความต่างๆเหล่านั้นได้เลย ทั้งๆที่เราพยายามต่อต้านประเด็นเหล่านั้นอยู่ตลอดก็ตาม แต่จนแล้วจนรอด หนังก็ชนะแรงต้านของเราโดยอาศัยงานภาพและความเนิบช้าให้เราพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเรายอมรับในสิ่งที่หนังนำเสนอได้ และตกตะลึงในความคิดต่อเนื้อหาสาระทั้งหมดเมื่อหนังจบลง ความไม่เที่ยงแท้ในสังขารของชีวิต ความไม่มีตัวตน จนไปถึงความสงสาร เวทนา
ความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน' และ 'พิช' อยู่นอกเหนือเพศสภาพและไม่ทำให้เรารู้สึกกระอักกระอ่วนในความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชาย-ชาย การแสดงของ 'เวียร์ ศุกลวัฒน์' คือการแสดงที่ดีที่สุดจริงๆ พลังในการส่งมอบอารมณ์ต่างๆทำให้เราสัมผัสช่วงอารมณ์ความคิดขณะหนึ่งได้เป็นอย่างดี ส่วน 'โอ อนุชิต' เป็นการแสดงสมทบที่ช่วยยกระดับข้อความให้มีพลังนัยยะมากขึ้น และเสริมให้นักแสดงคู่กันถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างเต็มเปี่ยม นอกจากการแสดงแล้วนั้น ดนตรีประกอบในเรื่องยังชวนพาเราให้เคลิบเคลิ้มไปกับช่วงเวลาของหนังได้อย่างลงตัว เสมือนการทำสมาธิให้ใจเราจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ตรงหน้า โลเคชั่นที่เลือกใช้ดูพิถีพิถันมีเอกลักษณ์ ทำให้องค์ประกอบศิลป์ในทุกส่วนสามารถสะท้อนข้อความที่ต้องการนำเสนอได้อย่างมีพลัง แม้ว่าจะเน้นหนักไปที่ประเด็นทางศาสนาแต่คนไม่เชื่อเรื่องศาสนาก็สามารถเข้าใจแก่นแท้ของสาระที่หนังต้องการนำเสนอได้ไม่ยาก ช่วงขณะหนึ่งเราอาจหลุดพ้นความมีเนื้อมีหนังของมนุษย์หรือความสวย-ความหล่อของมนุษย์ไปได้เลย
อย่างไรก็ตาม 'มะลิลา' อาจจะดูเป็นหนังอาร์ตที่มีสาระเนื้อหาธรรมะสอนใจที่เข้มข้น จนอาจไม่ถูกจริตสำหรับคนที่ไม่เชื่อเรื่องราวทางพุทธศาสนา แต่เราคงไม่สามารถหลีกหนีสิ่งที่หนังนำเสนอได้เลย เพราะสิ่งที่หนังเลือกมาให้เราประสบพบเจอนั้นคือความจริงที่เราหลีกหนีไม่พ้นและต้องพบเจอสักวันหนึ่ง ในแง่หนึ่ง หนังไม่ได้สั่งสอนคนดูด้วยชุดความคิดทางศาสนา หนังเพียงพาเราไปพบและให้เราคำนึงคิดตามสิ่งที่ตัวละครพบและเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งหมดจึงไม่ได้ดูแย่ในสายตาของคนที่ไม่เชื่อ ไม่เหมือนหนังที่ยกธรรมะมาสั่งสอนคนดูอย่างตรงไปตรงมามากจนรู้สึกถูกยัดเยียด สาระในเรื่องจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะเลือกเปิดใจยอมรับได้มากแค่ไหน แต่รับรองว่ายังไงก็แล้วแต่เราจะต้องยอมเปิดใจรับสิ่งเหล่านั้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี ถ้าเรามองข้ามความเป็นศาสนาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน กับ พิช' ในความเป็นปัจเจกธรรมดา ที่มีความแตกต่างทางความคิดที่เติมเต็มรอยแผลในจิตใจด้วยกันทั้งคู่ เราจะพบว่าช่วงเวลาของตัวละครทั้งสองนั้นเหมือนช่วงเวลาของการทำบายศรีที่ตัวละครมีความสุข ณ ขณะทำ และหลังเสร็จกิจกรรมบายศรีไปแล้ว ผลงานบายศรีที่ได้ทำก็จบลงและล่องลอยไปตามสายน้ำเสมือนการจากลาความสุขเพื่อพบความหลุดพ้นไม่ถือครองในความสัมพันธ์อีกแล้ว...ไม่มีความรู้สึกอีกแล้ว มีแต่ความปล่อยวางของชีวิต...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page:
https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog:
http://moviesdelightclub.blogspot.com/
Review: มะลิลา, Malila The Farewell Flower (อนุชา บุญยวรรธนะ, 2018) เขียนโดย Form Corleone
By Form Corleone
"หนังพาเราไปพบเจอกับห้วงความรู้สึกของความไม่มีตัวตน" อาลัยอาวรณ์และส่งมอบช่วงเวลาของการเข้าใจในความพลัดพรากจากกัน ข้อความของภาพยนตร์เรื่องนี้นั้นสวยงามมากๆ 'มะลิลา' เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน (เวียร์ ศุกลวัฒน์)' เจ้าของไร่มะลิที่มีเบื้องหลังจากความเจ็บปวดที่ต้องสูญเสียคนรัก กับ 'พิช (โอ อนุชิต)' คนทำบายศรีที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง ทั้งสองคนต่างมีความสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงชายรักชายผ่านช่วงเวลาการทำบายศรีที่ชวนละเมียดละไม องค์ประกอบของ 'มะลิลา' ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างสวยงามและเป็นธรรมชาติ พร้อมทั้งโทนสีของภาพที่ชวนสบายตาและเหตุการณ์ต่างๆในเรื่องที่แฝงนัยยะซ่อนเร้นทั้งตรงไปตรงมาและอ้อมค้อมในบริบทให้เราพึงระลึกด้วยตัวเองตามสิ่งที่เห็นตรงหน้า หนังพาเราไปไกลกว่าที่เราคาดคิดไว้ และเราไม่สามารถหลีกหนีข้อความต่างๆเหล่านั้นได้เลย ทั้งๆที่เราพยายามต่อต้านประเด็นเหล่านั้นอยู่ตลอดก็ตาม แต่จนแล้วจนรอด หนังก็ชนะแรงต้านของเราโดยอาศัยงานภาพและความเนิบช้าให้เราพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเรายอมรับในสิ่งที่หนังนำเสนอได้ และตกตะลึงในความคิดต่อเนื้อหาสาระทั้งหมดเมื่อหนังจบลง ความไม่เที่ยงแท้ในสังขารของชีวิต ความไม่มีตัวตน จนไปถึงความสงสาร เวทนา
ความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน' และ 'พิช' อยู่นอกเหนือเพศสภาพและไม่ทำให้เรารู้สึกกระอักกระอ่วนในความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชาย-ชาย การแสดงของ 'เวียร์ ศุกลวัฒน์' คือการแสดงที่ดีที่สุดจริงๆ พลังในการส่งมอบอารมณ์ต่างๆทำให้เราสัมผัสช่วงอารมณ์ความคิดขณะหนึ่งได้เป็นอย่างดี ส่วน 'โอ อนุชิต' เป็นการแสดงสมทบที่ช่วยยกระดับข้อความให้มีพลังนัยยะมากขึ้น และเสริมให้นักแสดงคู่กันถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างเต็มเปี่ยม นอกจากการแสดงแล้วนั้น ดนตรีประกอบในเรื่องยังชวนพาเราให้เคลิบเคลิ้มไปกับช่วงเวลาของหนังได้อย่างลงตัว เสมือนการทำสมาธิให้ใจเราจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ตรงหน้า โลเคชั่นที่เลือกใช้ดูพิถีพิถันมีเอกลักษณ์ ทำให้องค์ประกอบศิลป์ในทุกส่วนสามารถสะท้อนข้อความที่ต้องการนำเสนอได้อย่างมีพลัง แม้ว่าจะเน้นหนักไปที่ประเด็นทางศาสนาแต่คนไม่เชื่อเรื่องศาสนาก็สามารถเข้าใจแก่นแท้ของสาระที่หนังต้องการนำเสนอได้ไม่ยาก ช่วงขณะหนึ่งเราอาจหลุดพ้นความมีเนื้อมีหนังของมนุษย์หรือความสวย-ความหล่อของมนุษย์ไปได้เลย
อย่างไรก็ตาม 'มะลิลา' อาจจะดูเป็นหนังอาร์ตที่มีสาระเนื้อหาธรรมะสอนใจที่เข้มข้น จนอาจไม่ถูกจริตสำหรับคนที่ไม่เชื่อเรื่องราวทางพุทธศาสนา แต่เราคงไม่สามารถหลีกหนีสิ่งที่หนังนำเสนอได้เลย เพราะสิ่งที่หนังเลือกมาให้เราประสบพบเจอนั้นคือความจริงที่เราหลีกหนีไม่พ้นและต้องพบเจอสักวันหนึ่ง ในแง่หนึ่ง หนังไม่ได้สั่งสอนคนดูด้วยชุดความคิดทางศาสนา หนังเพียงพาเราไปพบและให้เราคำนึงคิดตามสิ่งที่ตัวละครพบและเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทั้งหมดจึงไม่ได้ดูแย่ในสายตาของคนที่ไม่เชื่อ ไม่เหมือนหนังที่ยกธรรมะมาสั่งสอนคนดูอย่างตรงไปตรงมามากจนรู้สึกถูกยัดเยียด สาระในเรื่องจึงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะเลือกเปิดใจยอมรับได้มากแค่ไหน แต่รับรองว่ายังไงก็แล้วแต่เราจะต้องยอมเปิดใจรับสิ่งเหล่านั้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี ถ้าเรามองข้ามความเป็นศาสนาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง 'เชน กับ พิช' ในความเป็นปัจเจกธรรมดา ที่มีความแตกต่างทางความคิดที่เติมเต็มรอยแผลในจิตใจด้วยกันทั้งคู่ เราจะพบว่าช่วงเวลาของตัวละครทั้งสองนั้นเหมือนช่วงเวลาของการทำบายศรีที่ตัวละครมีความสุข ณ ขณะทำ และหลังเสร็จกิจกรรมบายศรีไปแล้ว ผลงานบายศรีที่ได้ทำก็จบลงและล่องลอยไปตามสายน้ำเสมือนการจากลาความสุขเพื่อพบความหลุดพ้นไม่ถือครองในความสัมพันธ์อีกแล้ว...ไม่มีความรู้สึกอีกแล้ว มีแต่ความปล่อยวางของชีวิต...
ขอให้มีความสุขกับการรับชมภาพยนตร์ครับ
ตัวอย่างหนัง
ติดตามรีวิวภาพยนตร์ได้ที่
Page: https://www.facebook.com/MoviesDelightClub/
Blog: http://moviesdelightclub.blogspot.com/