"ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา (อิสลาม)"
(อัล-กุรอาน 2 : 256)
ถ้าวันหนึ่ง คุณได้หมดศรัทธาในศาสนาอิสลามแล้ว มีความประสงค์จะออกจากศาสนาด้วยดีและราบรื่นนั้นต้องทำอย่างไรและมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนต่างๆให้ฟัง
1.มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นมุสลิม
ในศาสนาอิสลามนั้น ความเป็นมุสลิมนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิดมาเป็นมุสลิม การเป็นคนมลายู การนับถือศาสนาอิสลามตามพ่อแม่ หรือ แม้แต่การแต่งงานเป็นมุสลิม ความเป็นมุสลิมนั้น อยู่ทีสถานะความศรัทธาที่แท้จริงภายในจิตใจของผู้เป็นมุสลิมนั้น คือ ผู้ที่ปฏิญาณตนว่า อัลลอฮ์ ซบคือ พระเจ้า และท่าน นบีมูฮัมหมัด ซล คือ ศาสนาฑูตของพระเจ้า ความเป็นมุสลิมนั้น จึงขึ้นอยู่กับ ในปัจจุบันนี เรายังรักษาสภาวะความศรัทธาและความสัมพันธ์ดังกล่านั้นได้หรือไม่ ในทางกลับกัน ถ้าบุคคลไม่ได้มีศรัทธาในสิ่งนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมไม่ใช่มุสลิม แม้จะมีการแต่งกายเป็นมุสลิมก็ตาม การออกจากการเป็นมุสลิมนั้นึงไม่ได้เกี่ยวกับบุคคล แต่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับอัลลอฮ์ซบ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน ไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดรับรอง เช่นเดียวกับ ตอนที่คุณเข้ารับอิสลามนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีใครรับรองเช่นกันนั้นเอง
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกจากอิสลามด้วยดี
เมื่อการเข้ารับอิสลามหรือออกจากศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามได้วางรากฐานไว้ว่าเรื่องนี้ไม่ต้องพึ่งพา มนุษย์คนใดทั้งสิ้น คุณจึงเพียงแค่จัดการความคิดตัวเองอย่างสงบก็เพียงพอ อย่างไรก็ดี การออกจากศาสนาอิสลามในทางสังคมและกฏหมายเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากความเป็นมุสลิมนั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในเรื่องการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ เช่น การจัดการศพเมื่อเสียชีวิต มรกดก การจัดการเรื่องบุตร ภรรยา ครอบครัว และอื่นๆ ดังนั้นกระบวนออกจากศาสนาอิสลามในประเด็นทางสังคมนั้นย่อมต้องมีขั้นมีตอนที่เหมาะสม และมีการแจ้งผู้เกี่ยวข้องรวมถึง การ จัดการการสื่อสารที่ ทำให้ทุกอย่างราบรื่นและไม่บานปลายนั่นเอง
ประวัติสายสกุลบุนนาค ลูกหลานของท่านเฉกอะหมัด(เจ้าพระยาบวรราชนายก -เจ้ากรมท่าขวาและ จุฬาราชมนตรี สมัยพระเจ้าทรงธรรม)นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึง พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ถือเป็นตระกูลเฉกอะหมัดชั้นที่ ๔ ท่านเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และท่านให้ลูกชายท่าน ๒ คน คือ เสน กับ หนู เปลี่ยนมาเป็นพุทธ ส่วนคนโตคือ เชน ให้นับถืออิสลามต่อไป
3.โฟกัสที่ การสื่อสารที่ดี และไม่ทำร้ายน้ำใจกันและกัน
การออกจากศาสนาอิสลามที่มักจะนำไปสู่ความผิดพลาดและวุ่นวายนั้นคือ การด่าทอกันไปมาเมื่อเปลี่ยนศาสนา จากการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ผู้ที่ออกจากศาสนาอิสลามบางท่านตัดสินใจ ออกจากประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ได้รับการอบรมในเรื่องศีลธรรมตามวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ อย่างไรก็ดี หลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่นิยมกันอยู่ในสังคมนั้น บ้างก็มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น บ้างก็มาจากทรรศคติส่วนบุคคล บ้างก็มาจากสถาบันในหมู่บ้าน บ้างก็มาจาก ข้อมูลที่หลากหลาย แม้ผู้เป็นมุสลิมจะยืนยันว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องแต่ในทางเป็นจริง แม้แต่การละหมาดยังไม่ตรงกันในบางรายละเอียด ดังนั้นเมื่อคุณออกจากอิสลามแล้ว ไม่จำเป็นต้อง แสดงความเกลียดชัง เพราะบางครั้งเรื่องที่คุณเกลียดชังนั้น อาจเเป็นเรื่องเข้าใจผิด จากหลักการอิสลามที่นิยมใช้ในสังคมนั้นๆ นั่นเอง
4.จัดการเรื่องเอกสารให้ดี เมื่อตัดสินใจออกจากศาสนาอิสลามแล้ว
ให้ทำการบอกกล่าว อย่าเพียงด้วยวาจา แต่ด้วยการจัดการด้านเอกสารที่เหมาะสม การปรับบัตรประชาชน การเขียนจดหมายและเอกสารยืนยันชัดเจน ทั้งเรื่องการจัดการศพ บุตรและอื่นๆ เพื่อให้ผู้ที่อยู่รอบตัวและเบื้องหลัง หลังจากเราเสียชีวิตนั้นได้ดำเนินการไปได้อย่างเหมาะสมตามเจตจำนงค์ของผู้ออกจากศาสนาอิสลาม
5.แม้จะไม่ได้เป็นมุสลิมแล้วก็จงให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ความรู้ในโลกกว้างใหญ่ เราอาจจะเข้าใจว่าเราเข้าใจดีแล้วแต่เราอาจจะเพียงรู้ส่วนเดียว เราจึงไม่จำเป็นต้องขาดทุนในการนำความเข้าใจในชีวิตและพื้นที่ของเราไป กล่าวหาให้ร้ายสังคมอื่นๆรอบตัวเราอื่นๆที่เราไม่เคยได้ไปสัมผั มารยาทเป็นศีลธรรมพื้นฐานของ ทั้งผู้นับถือศาสนา และ ผู้ไม่นับถือศาสนา ผู้ไม่มีมารยาท การมีมารยาทนั้นเป็นเครื่องสะท้อนว่า เราจะไม่นำกิเลสของเราไป วางไว้กับบุคคลอื่นนั่นเอง เมื่อท่านตัดสินใจออกจากอิสลามแล้ว ขอให้ออกอย่างสงบ และอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่นนี้ ก็จะไม่เกิดความุว่นวายขึ้นในสังคม และ ท่านจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่ท่านต้องการโดยไม่ถูกคนไม่น่ารักรบกวนนั่นเอง
การออกจากศาสนาอิสลามด้วยดี , คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการการข้ามวัฒนธรรม และการแต่งงานอิสลาม
บทความโดย Yaoharee lahtee
ที่มา https://www.arayaweddingplanner.com/convert_to_nonmuslim/
(อัล-กุรอาน 2 : 256)
ถ้าวันหนึ่ง คุณได้หมดศรัทธาในศาสนาอิสลามแล้ว มีความประสงค์จะออกจากศาสนาด้วยดีและราบรื่นนั้นต้องทำอย่างไรและมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนต่างๆให้ฟัง
1.มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเป็นมุสลิม
ในศาสนาอิสลามนั้น ความเป็นมุสลิมนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิดมาเป็นมุสลิม การเป็นคนมลายู การนับถือศาสนาอิสลามตามพ่อแม่ หรือ แม้แต่การแต่งงานเป็นมุสลิม ความเป็นมุสลิมนั้น อยู่ทีสถานะความศรัทธาที่แท้จริงภายในจิตใจของผู้เป็นมุสลิมนั้น คือ ผู้ที่ปฏิญาณตนว่า อัลลอฮ์ ซบคือ พระเจ้า และท่าน นบีมูฮัมหมัด ซล คือ ศาสนาฑูตของพระเจ้า ความเป็นมุสลิมนั้น จึงขึ้นอยู่กับ ในปัจจุบันนี เรายังรักษาสภาวะความศรัทธาและความสัมพันธ์ดังกล่านั้นได้หรือไม่ ในทางกลับกัน ถ้าบุคคลไม่ได้มีศรัทธาในสิ่งนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นย่อมไม่ใช่มุสลิม แม้จะมีการแต่งกายเป็นมุสลิมก็ตาม การออกจากการเป็นมุสลิมนั้นึงไม่ได้เกี่ยวกับบุคคล แต่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับอัลลอฮ์ซบ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน ไม่จำเป็นต้องมีผู้ใดรับรอง เช่นเดียวกับ ตอนที่คุณเข้ารับอิสลามนั้นก็ไม่จำเป็นต้องมีใครรับรองเช่นกันนั้นเอง
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกจากอิสลามด้วยดี
เมื่อการเข้ารับอิสลามหรือออกจากศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามได้วางรากฐานไว้ว่าเรื่องนี้ไม่ต้องพึ่งพา มนุษย์คนใดทั้งสิ้น คุณจึงเพียงแค่จัดการความคิดตัวเองอย่างสงบก็เพียงพอ อย่างไรก็ดี การออกจากศาสนาอิสลามในทางสังคมและกฏหมายเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากความเป็นมุสลิมนั้นเกี่ยวข้องกับสังคมในเรื่องการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ เช่น การจัดการศพเมื่อเสียชีวิต มรกดก การจัดการเรื่องบุตร ภรรยา ครอบครัว และอื่นๆ ดังนั้นกระบวนออกจากศาสนาอิสลามในประเด็นทางสังคมนั้นย่อมต้องมีขั้นมีตอนที่เหมาะสม และมีการแจ้งผู้เกี่ยวข้องรวมถึง การ จัดการการสื่อสารที่ ทำให้ทุกอย่างราบรื่นและไม่บานปลายนั่นเอง
ประวัติสายสกุลบุนนาค ลูกหลานของท่านเฉกอะหมัด(เจ้าพระยาบวรราชนายก -เจ้ากรมท่าขวาและ จุฬาราชมนตรี สมัยพระเจ้าทรงธรรม)นับถือศาสนาอิสลามมาจนถึง พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) ถือเป็นตระกูลเฉกอะหมัดชั้นที่ ๔ ท่านเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และท่านให้ลูกชายท่าน ๒ คน คือ เสน กับ หนู เปลี่ยนมาเป็นพุทธ ส่วนคนโตคือ เชน ให้นับถืออิสลามต่อไป
3.โฟกัสที่ การสื่อสารที่ดี และไม่ทำร้ายน้ำใจกันและกัน
การออกจากศาสนาอิสลามที่มักจะนำไปสู่ความผิดพลาดและวุ่นวายนั้นคือ การด่าทอกันไปมาเมื่อเปลี่ยนศาสนา จากการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ผู้ที่ออกจากศาสนาอิสลามบางท่านตัดสินใจ ออกจากประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ได้รับการอบรมในเรื่องศีลธรรมตามวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ อย่างไรก็ดี หลักคำสอนของศาสนาอิสลามที่นิยมกันอยู่ในสังคมนั้น บ้างก็มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่น บ้างก็มาจากทรรศคติส่วนบุคคล บ้างก็มาจากสถาบันในหมู่บ้าน บ้างก็มาจาก ข้อมูลที่หลากหลาย แม้ผู้เป็นมุสลิมจะยืนยันว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องแต่ในทางเป็นจริง แม้แต่การละหมาดยังไม่ตรงกันในบางรายละเอียด ดังนั้นเมื่อคุณออกจากอิสลามแล้ว ไม่จำเป็นต้อง แสดงความเกลียดชัง เพราะบางครั้งเรื่องที่คุณเกลียดชังนั้น อาจเเป็นเรื่องเข้าใจผิด จากหลักการอิสลามที่นิยมใช้ในสังคมนั้นๆ นั่นเอง
4.จัดการเรื่องเอกสารให้ดี เมื่อตัดสินใจออกจากศาสนาอิสลามแล้ว
ให้ทำการบอกกล่าว อย่าเพียงด้วยวาจา แต่ด้วยการจัดการด้านเอกสารที่เหมาะสม การปรับบัตรประชาชน การเขียนจดหมายและเอกสารยืนยันชัดเจน ทั้งเรื่องการจัดการศพ บุตรและอื่นๆ เพื่อให้ผู้ที่อยู่รอบตัวและเบื้องหลัง หลังจากเราเสียชีวิตนั้นได้ดำเนินการไปได้อย่างเหมาะสมตามเจตจำนงค์ของผู้ออกจากศาสนาอิสลาม
5.แม้จะไม่ได้เป็นมุสลิมแล้วก็จงให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ความรู้ในโลกกว้างใหญ่ เราอาจจะเข้าใจว่าเราเข้าใจดีแล้วแต่เราอาจจะเพียงรู้ส่วนเดียว เราจึงไม่จำเป็นต้องขาดทุนในการนำความเข้าใจในชีวิตและพื้นที่ของเราไป กล่าวหาให้ร้ายสังคมอื่นๆรอบตัวเราอื่นๆที่เราไม่เคยได้ไปสัมผั มารยาทเป็นศีลธรรมพื้นฐานของ ทั้งผู้นับถือศาสนา และ ผู้ไม่นับถือศาสนา ผู้ไม่มีมารยาท การมีมารยาทนั้นเป็นเครื่องสะท้อนว่า เราจะไม่นำกิเลสของเราไป วางไว้กับบุคคลอื่นนั่นเอง เมื่อท่านตัดสินใจออกจากอิสลามแล้ว ขอให้ออกอย่างสงบ และอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน เช่นนี้ ก็จะไม่เกิดความุว่นวายขึ้นในสังคม และ ท่านจะได้ใช้ชีวิตในแบบที่ท่านต้องการโดยไม่ถูกคนไม่น่ารักรบกวนนั่นเอง