บริษัทเอกชน ประกาศเปิด ระบบการออกจากอิสลามด้วยดี เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

วันที่ 9 มิถุนายน 2567 บริษัทให้คำปรึกษาด้านครอบครัวพหุวัฒนธรรม และการแต่งงานอิสลาม  ได้ประกาศเตรียมเปิดระบบ การออกจากอิสลามด้วยดี เพื่อ ลดปัญหา ความเข้าใจผิด และอคติ ต่อศาสนาอิสลาม และ เพื่อยืนยัน คำสั่งของอัลลอฮ์ซบทีว่า " ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม"

บริษัทอารยาเป็น บริษัทที่ ให้คำแนะนำอบรมศาสนาอิสลาม และ จัดให้มีการเข้ารับอิสลาม กับมุสลิมใหม่ ทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยร่วม 200 คนต่อปีและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ มีผู้เข้ารับอิสลามกับบริษัทอารยาเป็นจำนวนมากท้ั้งคนไทยและต่างประเทศ 

""อย่างไรก็ดีในหลายปีที่ผ่านมาเราสังเกตในสื่อช่องทางต่างๆพบว่า มีมุสลิมที่ได้ออกจากอิสลาม มากขึ้นแต่เป็นการออกจากอิสลามด้วยความขัดแย้งรุนแรงในครอบครัว การด่าทอไปมาระหว่างศาสนาการทำคลิปกล่าวร้ายกันระหว่างศาสนา การทำร้ายน้ำใจกัน และ การสื่อสารที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด
เราเชื่อว่า การเล่าถึงความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกจากศาสนาอิสลามด้วยดีนี้จะช่วยลดปัญหาสังคมทีเ่กิดขึ้นได้ในอนาคต ในขณะเดียวกันก็จะได้ยืนยันถึงหลักการศาสนาอิสลามที่เข้มแข้ง ตามวจนะของ อัลลอฮ์ ซบที่ว่า “ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา (อิสลาม)” (อัล-กุรอาน 2 : 256)"
คุณเยาฮารี แหละตี มุสลิมแต่กำเนิด ผู้ก่อตั้งและ  กรรมการผู้จัดการบริษัทอารยานิกะห์ แพลนเนอร์แอนดค์คอนเซาท์ กล่าว

สำหรับ ขั้นตอนการออกจากอิสลามด้วย ดีตามระบบของบริษัทที่จะเริ่มใช้ปลายปีนี้นั้น มีขั้นตอนดังนี้ 

ระบบ การออกจากอิสลามด้วยดี ต้องทำอย่างไร (ขั้นตอนเบื้องต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
1.ติดต่อ เพื่อขอ ออกจากอิสลามกับบริษัทอารยา รับเฉพาะที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น (20 ปีบริบูรณ์)
2.เจ้าหน้าที่ ทำการนัดวันที่กำหนด
3.เข้าหลักสูตร การปรับความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามอีกครั้ง ใช้เวลา 2 ชั่วโมง (เพื่อให้เข้าใจมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง และปรับความเข้าใจสังคมมุสลิมทั้งส่วนที่น่ารักและไม่น่ารักตามความเป็นจริง ก่อนออกจากศาสนาอิสลาม)
4.กล่าวคำออกจากศาสนอิสลาม ต่อหน้าพยาน และทำการบันทึก
5.เซ็นต์รับรอง การออกจากอิสลาม และหนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จดหมายการออกจากอิสลามด้วยดี ด้วยความสมัครใจ ความประสงค์ในการจัดการศพตามรูปแบบที่ประสงค์ถ้ามี จดหมายถึงครอบครัว
6.กรณีประสงค์เข้ารับอิสลามอีกครั้ง สามารถติดต่อได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหว และอาจสร้างความไม่สบายใจต่อสังคมมุสลิมได้ จากการสอบถามเพิ่มเติม
คุณเยาฮารี ให้ความเห็นว่า

"เราผู้เป็นมุสลิม ต้องยึดมั่นใจ วจนะของ อัลลอฮ์ ซบ  ที่ได้บัญญัติไว้ในอัลกุรอาน ศาสนาอิสลามไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนา
การเป็นมุสลิมนั้นคือความสัมพันธ์ที่อยู่ลึกลงไปในจิตวิญาณของเรา เราบังคับใจใครไม่ได้ ถ้าเค้าจะไปแล้วอย่างน้อยก็ขอให้ ไปด้วยการให้เกียรติกัน ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน และก่อนไป ก็ขอโอกาสให้เราได้เล่า มุมมองอีกมุมมองหนึ่งของศาสนาอิลาม แทนในครอบครัว ในส่วนที่เรามั่นใจว่ามันดีจริงๆนะให้เค้าได้ฟังสักครั้ง เพื่อว่าแม้เค้าออกจากอิสลามแล้ว อย่างน้อยที่สุด เค้ายังมีความรักความสัมพันธ์ที่ดี กับคนมุสลิมที่อยู่รอบตัว และถ้าเค้าจะกลับมาเราก็มีพื้นที่ปลอดภัยที่พร้อมจะต้อนรับเค้าเสมอ  " 

ทางองค์กรให้ข้อมูลเพิ่มเติม ต่อหลักการและเหตุผลในการดำนเนิการเรื่องนี้ดังนี้
1.เพื่อยืนยันตาม วจนะของ อัลลอฮ์ ซบ อาลาว่า ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม
2.เพื่อแก้ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เช่น เรื่อง การซ้อมภรรยา อื่นๆ และให้ผู้ออกจากอิสลามเข้าใจวัตถุประสงค์ตามความเป็นจริง
3.เพื่อให้ผู้ออกจากอิสลามสามารถจัดการตัวเองได้ อย่างเป็นระบบ ตามเจตจำนงค์ และลดความขัดแย้งรุนแรงในครอบครัว
4 เพื่อให้การออกจาอิสลามนั้นเป็นการออกที่สงบ ไม่ใช่การออกด้วยความเกลียดชัง ความนรุนแรงทางกาย วาจาใจต่อคนในครอบครัว และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5.เพื่อลด การนำการออกจากอิสลาม ไปใช้ โจมตีศาสนาอิสลาม หรือกล่าวหาอิสลามในทางลบขององค์กรที่อาจไม่ประสงค์ดี
6.เพื่อให้โอกาส ผู้ที่ออกจากอิสลาม มีช่องทางกลับมาสู่ศษสนาอิสลามอีกครั้ง ด้วยการต้อนรับที่อบอุ่นและไม่ตัดสิน
7.เพื่อให้สังคมเข้าใจศาสนาอิสลามตามความเป็นจริง และ นำไปสู่การเรียนรู้ศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น

สุดท้ายนี้ ทางคุณเยาฮารี ได้แนะนำ สำหรับผู้ที่ ตัดใจออกจากอิสลามว่า ควรออกจากศาสนาด้วยความรักและความให้เกียรติกัน
โดยได้เล่าผ่านบทความดังนี้

ขั้นตอนการออกจากอิสลามด้วยดีถ้าวันหนึ่ง คุณได้หมดศรัทธาในศาสนาอิสลามแล้ว มีความประสงค์จะออกจากศาสนาด้วยดีและราบรื่นนั้นต้องทำอย่างไรและมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนต่างๆให้ฟัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา https://www.arayaweddingplanner.com/%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%a5/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่