สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เพิ่งอ่านจากเฟสคุณนิ้วกลม (roundfinger) เห็นว่าคุณนิ้วกลมเขียนไว้ดี
ขอคัดลอกมาแปะไว้นะครับ แต่ก็มีบางจุดที่ จขกท. สงสัย ที่น่าจะยังไม่ได้คำตอบจากข้อเขียนนี้นะครับ
มะลิลา: (หนังไทยที่ไม่อยากให้พลาด)
สวยงาม เน่าเฟะ เร่าร้อน ชืดซีด พระ ศพ ชีวิต และความปกติของธรรมชาติ
---
หาก Die Tomorrow ของนวพลคือหนังที่ชวน "คิด" เกี่ยวกับความตาย 'มะลิลา' คือหนังที่ชวน "กอด" ความตาย กระทั่งกลายเป็นหนึ่งเดียวกับมัน
นี่คือหนังที่ค่อยๆ พาเราเข้าใกล้ความตายมากขึ้นทีละนิด กระทั่งแนบชิดแบบที่ไม่เคยมาก่อน ผมเองไม่เคยเห็นความตายในระยะประชิดและ "จริง" เท่านี้มาก่อน
การกำกับภาพของหนังโดดเด่น สวยงาม ทำให้รู้สึก และบอกเล่าความหมายของสิ่งต่างๆ ได้อย่างหมดจด ฉายภาพป่า ทุ่งหญ้า ลำธารอันแสนธรรมดาให้กลายเป็นความงามราวภาพวาด
บรรทัดถัดจากนี้เผยเนื้อหาสำคัญในหนัง หากอยากชม แนะนำให้ไปชมกันในโรงภาพยนตร์เพื่อสนับสนุนหนังไทยดีๆ หากยังลังเลจะลองอ่านเพื่อประกอบการตัดสินใจก็ได้เช่นกัน
---
บายศรี:
หนังแสดงให้เห็นถึงความงามและละเอียดอ่อนของ "บายศรี" ความงดงามนี้ทำให้เราหลงรัก "พิช" ผ่านความประณีตในการทำบายศรีไปด้วย
บายศรีถูกใช้ในหลายพิธี แต่หนึ่งในความเชื่อคือบายศรีใช้ประกอบพิธีเรียกขวัญ โบราณเชื่อว่าคนเรามีองค์ประกอบหลักสองส่วนคือร่างกายกับขวัญ หากขวัญหนี ร่างกายก็จะไม่ดีไปด้วย จึงต้องเรียกขวัญกลับมาที่ตัวเพื่อมีชีวิตที่ดีสืบต่อไป
การที่พิชทำบายศรีให้เชนตอนบวชจึงเป็นตัวแทนของความรักและปรารถนาดีเพราะอยากให้เชนพ้นทุกข์จากอดีตเลวร้ายที่ลูกสาวตาย ภรรยาทิ้ง ขณะที่เชนเองก็บวชเพื่อต่ออายุให้กับพิชซึ่งเป็นมะเร็ง โดยหวังว่าจะทำให้เขาอาการดีขึ้น ทั้งคู่มอบความรักให้กันผ่านความเชื่อและประเพณีโบราณ นับเป็นความโรแมนติกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
...
แม่น้ำ:
ตัวละครหลักตั้งแต่ต้นเรื่องคือแม่น้ำ ซึ่งใช้รองรับบายศรีหลังจากประกอบพิธีเสร็จแล้ว จะต้องถูกนำมาลอยน้ำให้ไหลไป กลับคืนสู่ธรรมชาติ
พิชบอกว่า "เวลาทำบายศรี เราก็ภูมิใจ แต่เวลาเอาไปลอยน้ำ เรารู้สึกว่ามันเสร็จสมบูรณ์" คำกล่าวนี้มีความหมายลึกซึ้งและนับเป็นแก่นของเรื่องเลยทีเดียว
งานกำกับภาพที่ใช้เงาสะท้อนของผิวน้ำมาเล่าเรื่องทำให้รู้สึกได้ถึงมายาของชีวิต เหมือนชีวิตเป็นเพียงภาพสะท้อนบนผิวน้ำที่ไม่ใช่ความจริง พร้อมที่จะแตกกระจายหากมีหินสักก้อนโยนลงไป แต่ถึงอย่างไรสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือตัวแม่น้ำเองที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม คล้ายสัจธรรมหรือธรรมชาติอันเป็นนิรันดร์ แม้แผ่นผิวมีความเปลี่ยนแปลงนานัปการ แต่ตัวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ยังคงเป็นเช่นเดิม
...
มะลิลา:
ดอกมะลิถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่อยู่ในวัยที่กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นหอม แต่ในจุดสูงสุดของชีวิตก็เป็นจุดเริ่มต้นของการบอบช้ำ เน่าเละ โดนบดขยี้จากเหตุการณ์ต่างๆ
มะลิเป็นผลลัพธ์จากดิน น้ำ ลม ฟ้า แสงแดด การดูแล ฟูมฟัก แล้วผลิดอกออกมาให้ชื่นชม หลังจากนั้นมะลิอาจถูกนำไปทำประโยชน์ เช่น ทำบายศรี แต่แล้วก็จะเหี่ยวแห้งไป แล้วนำไปลอยแม่น้ำ ไม่ต่างจากการลอยอังคารของมนุษย์--กลับสู่ธรรมชาติ กลับสู่ดิน น้ำ ลม ฟ้า แสงแดด อีกครั้ง
...
ความตายและบายศรีที่ทำไม่เสร็จ:
พิชทำบายศรีให้สำหรับงานบวชของเชน แต่ต้องตายจากไปทั้งที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เหมือน "ขวัญ" ของเชนที่ยังไม่คืนกลับร่าง ยังคงอยู่ในภาวะขวัญหนีดีฝ่อ การตายของพิชยิ่งซ้ำเติมให้ขวัญกระเจิงเข้าไปใหญ่ บายศรีที่ค้างคาเหมือนความรักที่ค้างคา รวมถึงชีวิตที่แหว่งวิ่นไปเรื่อยๆ ของเชนที่ยังตามหาความสมบูรณ์เพื่อกลับสู่ความปกติไม่เจอ
...
ถาง:
ฉากที่สองคนกลับไป "ที่เดิม" ที่รู้กัน ซึ่งต้องถางหญ้าที่ขึ้นรกนั้นเปรียบเหมือนความสัมพันธ์เก่าที่ถูกทิ้งร้างจนรกเรื้อ ทั้งคู่ต้องช่วยกันถางเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับความสัมพันธ์อีกครั้ง แม้จะเหนื่อยอ่อน แต่สุดท้ายพวกเขาก็พบ "ที่เดิม" และได้แนบชิดกันอีกครั้ง โดยระหว่างทางเชนได้โยน "ซากงู" ที่เปรียบเสมือนอดีตของลูกเมียทิ้งไปข้างทาง เมื่อกลับไป "ที่เดิม" ของเขากับพิช
...
Chain:
ชื่อของเชนยังมีความหมายว่า "โซ่" ซึ่งล่ามตัวเองไว้กับความเจ็บปวดของอดีตที่ร้อยต่อเข้าด้วยกันเป็นสายโซ่ยาวต่อเนื่องตัดไม่ขาดอีกด้วย
...
พระ:
หนังเรื่องนี้นำเสนอความเป็นพระได้อย่างน่าสนใจและซับซ้อนอย่างยิ่ง เชนออกธุดงค์ ปักกลดในป่าเพื่อชำระล้างรอยแผลมากมายในใจที่เกิดขึ้นจากการจากไปของคนที่ตนรัก รวมถึงความตายที่เขาได้พบ "ตรงหน้า" ครั้งแล้วครั้งเล่า
ฉากที่น่าสนใจที่สุดคือฉากพระกอดกับแฟนหนุ่ม ซึ่งเป็นจินตนาการของศพที่ลุกขึ้นมากอดกับเขา ฉากนี้ซับซ้อนเหลือเกิน ปัจจุบันกอดกับอดีตด้วยความอาลัย เชนกอดกับพิชในฐานะคู่รัก พระกอดกับแฟนหนุ่ม (ซึ่งไม่สามารถทำได้หากเป็นแฟนสาว) พระในสถานะชายรักชาย และสุดท้าย เชนกอดกับความตายซึ่งเขาพยายามหลีกหนีมันมาตลอดชีวิต
นี่นับเป็นฉากหนึ่งของหนังไทยที่ "มาไกล" มาก และน่ายินดีที่ผ่านการเซ็นเซอร์ออกมาปรากฏต่อสายตาคนดู นับว่ากรรมการเซ็นเซอร์ให้เกียรติสติปัญญาผู้ชม
และนี่คือฉากที่ลึกซึ้งผสมไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย โรแมนติก เศร้าโศก ไล่เลยไปถึงความเข้าใจในชีวิต มีทั้งมิติของศาสนาและโลกย์ๆ ในห้วงเวลาเดียวกัน
...
ศพ:
ฉากศพที่เน่าหนอนนับเป็นศพที่ "จริง" อย่างยิ่งในจอภาพยนตร์เท่าที่เคยชมภาพยนตร์มา หนังทำให้คนดูร่วมพิจารณาซากศพไปพร้อมกับพระในเรื่อง หนอนที่ไชใบหน้าและเรือนร่างทำให้รู้สึกปลงกับชีวิต ร่างกายเน่าหนอนที่นอนอยู่ตรงนั้นเหมือนมะลิที่กำลังเน่าสลายกลับคืนสู่ "ธรรมชาติ"
ภาพหนอนไชหัวใจแสดงถึงความรักที่เสื่อมสลายไปพร้อมกับเจ้าของร่างกาย แน่นอนว่าผู้มีชีวิตอาจยังรักษาความรักไว้ในหัวใจตนเอง แต่สำหรับผู้ตายนั้นไร้การรับรู้แล้ว เหมือนที่พิชบอกว่า "ถึงตอนนั้นเราก็ไม่รู้แล้วล่ะว่าเธอจะบวชให้เราหรือเปล่า" ความจริงที่สุดของชีวิตคือกระทั่งหัวใจก็ถูกหนอนไชไม่มีเหลือ นับประสาอะไรกับความรักของคนคนนั้น
การกอดซากศพจึงนับเป็นการโอบกอด "ความตาย" รับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ส่วนหนึ่งของความจริง ไม่ผลักไสอย่างที่เคยเป็นมา เมื่อโอบกอด "ความตาย" เสียแล้วความตายก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป กระทั่งสามารถนอนกอดได้เช่นนั้นเนิ่นนาน
...
หายไปในธรรมชาติ:
ฉากสุดท้ายที่เชนแก้จีวรเพื่อลงแช่ร่างในแม่น้ำ หนังตั้งใจเล่นอารมณ์กับคนดู การนั่งชมพระปลดจีวรออกอย่างวาบหวามนั้นเล่นกับกิเลสในใจคนอย่างยิ่ง เมื่อปลดจีวรออกจนหมด เหลือเพียงร่างเปลือยเปล่า "พระ" ก็กลายเป็น "คน" ปกติ
และ "คน" คนนั้นก็ค่อยๆ เดินลงแม่น้ำไป ภาพตัดมาเป็นมุมกว้าง (สวยมาก) เห็นแม่น้ำเป็นสายเล็กๆ ไหลกลืนหายไปในป่าใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ธรรมชาติ" หรือ "ธรรม" หรือ "ความจริง"
เชนค่อยๆ นอนลงไปแช่ในสายน้ำนั้น ไม่ต่างจากมะลิลาทั้งหลายที่ผ่านวันเวลา ผลิดอก กลายเป็นบายศรีที่สวยงาม มีคนชื่นชม ดมกลิ่นหอม แล้วก็เหี่ยวแห้ง ถูกนำมาลอยในแม่น้ำให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง
ชีวิตก็เท่านี้
ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เชนหายไปในสายน้ำนั้นเพราะเขาเหมือนอณูขนาดเล็กจนเรามองไม่เห็น ในวินาทีนั้น ผมรู้สึกถึงความเบาในหัวใจ หลังจากที่แบกความหนักอึ้งมาตลอดทาง รู้สึกเหมือน "ขวัญ" ถูกนำพาสู่ร่างอีกครั้ง
ราวกับ "ขวัญ" จะกลับสู่ร่างของเรา เมื่อเรากลับสู่ "ความจริง" ของชีวิต เมื่อเรากลับสู่ "ธรรมชาติ"
"ธรรมชาติ" ซึ่งคือความปกติ หมุนวนอยู่เช่นนั้นตลอดกาล
เกิด ผลิบาน เสื่อมสลาย หายไป
เพียงแค่-ในช่วงเวลาแห่งการผลิบานของชีวิต เราเองนั่นแหละที่อยากจะตรึงโมงยามอันสวยงามนั้นไว้ให้ยาวนานที่สุด กระทั่งรับไม่ได้กับทุกความเปลี่ยนแปลง
เราต้องรอเวลานานแค่ไหน จึงจะนำตัวเองไปลอยลงในแม่น้ำ แล้วปล่อยให้ชีวิตเคลื่อนไหลไป...
...ในสายธารแห่งความจริงอันเป็นนิรันดร์
Credit Facebook roundfinger
ขอคัดลอกมาแปะไว้นะครับ แต่ก็มีบางจุดที่ จขกท. สงสัย ที่น่าจะยังไม่ได้คำตอบจากข้อเขียนนี้นะครับ
มะลิลา: (หนังไทยที่ไม่อยากให้พลาด)
สวยงาม เน่าเฟะ เร่าร้อน ชืดซีด พระ ศพ ชีวิต และความปกติของธรรมชาติ
---
หาก Die Tomorrow ของนวพลคือหนังที่ชวน "คิด" เกี่ยวกับความตาย 'มะลิลา' คือหนังที่ชวน "กอด" ความตาย กระทั่งกลายเป็นหนึ่งเดียวกับมัน
นี่คือหนังที่ค่อยๆ พาเราเข้าใกล้ความตายมากขึ้นทีละนิด กระทั่งแนบชิดแบบที่ไม่เคยมาก่อน ผมเองไม่เคยเห็นความตายในระยะประชิดและ "จริง" เท่านี้มาก่อน
การกำกับภาพของหนังโดดเด่น สวยงาม ทำให้รู้สึก และบอกเล่าความหมายของสิ่งต่างๆ ได้อย่างหมดจด ฉายภาพป่า ทุ่งหญ้า ลำธารอันแสนธรรมดาให้กลายเป็นความงามราวภาพวาด
บรรทัดถัดจากนี้เผยเนื้อหาสำคัญในหนัง หากอยากชม แนะนำให้ไปชมกันในโรงภาพยนตร์เพื่อสนับสนุนหนังไทยดีๆ หากยังลังเลจะลองอ่านเพื่อประกอบการตัดสินใจก็ได้เช่นกัน
---
บายศรี:
หนังแสดงให้เห็นถึงความงามและละเอียดอ่อนของ "บายศรี" ความงดงามนี้ทำให้เราหลงรัก "พิช" ผ่านความประณีตในการทำบายศรีไปด้วย
บายศรีถูกใช้ในหลายพิธี แต่หนึ่งในความเชื่อคือบายศรีใช้ประกอบพิธีเรียกขวัญ โบราณเชื่อว่าคนเรามีองค์ประกอบหลักสองส่วนคือร่างกายกับขวัญ หากขวัญหนี ร่างกายก็จะไม่ดีไปด้วย จึงต้องเรียกขวัญกลับมาที่ตัวเพื่อมีชีวิตที่ดีสืบต่อไป
การที่พิชทำบายศรีให้เชนตอนบวชจึงเป็นตัวแทนของความรักและปรารถนาดีเพราะอยากให้เชนพ้นทุกข์จากอดีตเลวร้ายที่ลูกสาวตาย ภรรยาทิ้ง ขณะที่เชนเองก็บวชเพื่อต่ออายุให้กับพิชซึ่งเป็นมะเร็ง โดยหวังว่าจะทำให้เขาอาการดีขึ้น ทั้งคู่มอบความรักให้กันผ่านความเชื่อและประเพณีโบราณ นับเป็นความโรแมนติกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
...
แม่น้ำ:
ตัวละครหลักตั้งแต่ต้นเรื่องคือแม่น้ำ ซึ่งใช้รองรับบายศรีหลังจากประกอบพิธีเสร็จแล้ว จะต้องถูกนำมาลอยน้ำให้ไหลไป กลับคืนสู่ธรรมชาติ
พิชบอกว่า "เวลาทำบายศรี เราก็ภูมิใจ แต่เวลาเอาไปลอยน้ำ เรารู้สึกว่ามันเสร็จสมบูรณ์" คำกล่าวนี้มีความหมายลึกซึ้งและนับเป็นแก่นของเรื่องเลยทีเดียว
งานกำกับภาพที่ใช้เงาสะท้อนของผิวน้ำมาเล่าเรื่องทำให้รู้สึกได้ถึงมายาของชีวิต เหมือนชีวิตเป็นเพียงภาพสะท้อนบนผิวน้ำที่ไม่ใช่ความจริง พร้อมที่จะแตกกระจายหากมีหินสักก้อนโยนลงไป แต่ถึงอย่างไรสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือตัวแม่น้ำเองที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม คล้ายสัจธรรมหรือธรรมชาติอันเป็นนิรันดร์ แม้แผ่นผิวมีความเปลี่ยนแปลงนานัปการ แต่ตัวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ยังคงเป็นเช่นเดิม
...
มะลิลา:
ดอกมะลิถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่อยู่ในวัยที่กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นหอม แต่ในจุดสูงสุดของชีวิตก็เป็นจุดเริ่มต้นของการบอบช้ำ เน่าเละ โดนบดขยี้จากเหตุการณ์ต่างๆ
มะลิเป็นผลลัพธ์จากดิน น้ำ ลม ฟ้า แสงแดด การดูแล ฟูมฟัก แล้วผลิดอกออกมาให้ชื่นชม หลังจากนั้นมะลิอาจถูกนำไปทำประโยชน์ เช่น ทำบายศรี แต่แล้วก็จะเหี่ยวแห้งไป แล้วนำไปลอยแม่น้ำ ไม่ต่างจากการลอยอังคารของมนุษย์--กลับสู่ธรรมชาติ กลับสู่ดิน น้ำ ลม ฟ้า แสงแดด อีกครั้ง
...
ความตายและบายศรีที่ทำไม่เสร็จ:
พิชทำบายศรีให้สำหรับงานบวชของเชน แต่ต้องตายจากไปทั้งที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เหมือน "ขวัญ" ของเชนที่ยังไม่คืนกลับร่าง ยังคงอยู่ในภาวะขวัญหนีดีฝ่อ การตายของพิชยิ่งซ้ำเติมให้ขวัญกระเจิงเข้าไปใหญ่ บายศรีที่ค้างคาเหมือนความรักที่ค้างคา รวมถึงชีวิตที่แหว่งวิ่นไปเรื่อยๆ ของเชนที่ยังตามหาความสมบูรณ์เพื่อกลับสู่ความปกติไม่เจอ
...
ถาง:
ฉากที่สองคนกลับไป "ที่เดิม" ที่รู้กัน ซึ่งต้องถางหญ้าที่ขึ้นรกนั้นเปรียบเหมือนความสัมพันธ์เก่าที่ถูกทิ้งร้างจนรกเรื้อ ทั้งคู่ต้องช่วยกันถางเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับความสัมพันธ์อีกครั้ง แม้จะเหนื่อยอ่อน แต่สุดท้ายพวกเขาก็พบ "ที่เดิม" และได้แนบชิดกันอีกครั้ง โดยระหว่างทางเชนได้โยน "ซากงู" ที่เปรียบเสมือนอดีตของลูกเมียทิ้งไปข้างทาง เมื่อกลับไป "ที่เดิม" ของเขากับพิช
...
Chain:
ชื่อของเชนยังมีความหมายว่า "โซ่" ซึ่งล่ามตัวเองไว้กับความเจ็บปวดของอดีตที่ร้อยต่อเข้าด้วยกันเป็นสายโซ่ยาวต่อเนื่องตัดไม่ขาดอีกด้วย
...
พระ:
หนังเรื่องนี้นำเสนอความเป็นพระได้อย่างน่าสนใจและซับซ้อนอย่างยิ่ง เชนออกธุดงค์ ปักกลดในป่าเพื่อชำระล้างรอยแผลมากมายในใจที่เกิดขึ้นจากการจากไปของคนที่ตนรัก รวมถึงความตายที่เขาได้พบ "ตรงหน้า" ครั้งแล้วครั้งเล่า
ฉากที่น่าสนใจที่สุดคือฉากพระกอดกับแฟนหนุ่ม ซึ่งเป็นจินตนาการของศพที่ลุกขึ้นมากอดกับเขา ฉากนี้ซับซ้อนเหลือเกิน ปัจจุบันกอดกับอดีตด้วยความอาลัย เชนกอดกับพิชในฐานะคู่รัก พระกอดกับแฟนหนุ่ม (ซึ่งไม่สามารถทำได้หากเป็นแฟนสาว) พระในสถานะชายรักชาย และสุดท้าย เชนกอดกับความตายซึ่งเขาพยายามหลีกหนีมันมาตลอดชีวิต
นี่นับเป็นฉากหนึ่งของหนังไทยที่ "มาไกล" มาก และน่ายินดีที่ผ่านการเซ็นเซอร์ออกมาปรากฏต่อสายตาคนดู นับว่ากรรมการเซ็นเซอร์ให้เกียรติสติปัญญาผู้ชม
และนี่คือฉากที่ลึกซึ้งผสมไปด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย โรแมนติก เศร้าโศก ไล่เลยไปถึงความเข้าใจในชีวิต มีทั้งมิติของศาสนาและโลกย์ๆ ในห้วงเวลาเดียวกัน
...
ศพ:
ฉากศพที่เน่าหนอนนับเป็นศพที่ "จริง" อย่างยิ่งในจอภาพยนตร์เท่าที่เคยชมภาพยนตร์มา หนังทำให้คนดูร่วมพิจารณาซากศพไปพร้อมกับพระในเรื่อง หนอนที่ไชใบหน้าและเรือนร่างทำให้รู้สึกปลงกับชีวิต ร่างกายเน่าหนอนที่นอนอยู่ตรงนั้นเหมือนมะลิที่กำลังเน่าสลายกลับคืนสู่ "ธรรมชาติ"
ภาพหนอนไชหัวใจแสดงถึงความรักที่เสื่อมสลายไปพร้อมกับเจ้าของร่างกาย แน่นอนว่าผู้มีชีวิตอาจยังรักษาความรักไว้ในหัวใจตนเอง แต่สำหรับผู้ตายนั้นไร้การรับรู้แล้ว เหมือนที่พิชบอกว่า "ถึงตอนนั้นเราก็ไม่รู้แล้วล่ะว่าเธอจะบวชให้เราหรือเปล่า" ความจริงที่สุดของชีวิตคือกระทั่งหัวใจก็ถูกหนอนไชไม่มีเหลือ นับประสาอะไรกับความรักของคนคนนั้น
การกอดซากศพจึงนับเป็นการโอบกอด "ความตาย" รับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ส่วนหนึ่งของความจริง ไม่ผลักไสอย่างที่เคยเป็นมา เมื่อโอบกอด "ความตาย" เสียแล้วความตายก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป กระทั่งสามารถนอนกอดได้เช่นนั้นเนิ่นนาน
...
หายไปในธรรมชาติ:
ฉากสุดท้ายที่เชนแก้จีวรเพื่อลงแช่ร่างในแม่น้ำ หนังตั้งใจเล่นอารมณ์กับคนดู การนั่งชมพระปลดจีวรออกอย่างวาบหวามนั้นเล่นกับกิเลสในใจคนอย่างยิ่ง เมื่อปลดจีวรออกจนหมด เหลือเพียงร่างเปลือยเปล่า "พระ" ก็กลายเป็น "คน" ปกติ
และ "คน" คนนั้นก็ค่อยๆ เดินลงแม่น้ำไป ภาพตัดมาเป็นมุมกว้าง (สวยมาก) เห็นแม่น้ำเป็นสายเล็กๆ ไหลกลืนหายไปในป่าใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ธรรมชาติ" หรือ "ธรรม" หรือ "ความจริง"
เชนค่อยๆ นอนลงไปแช่ในสายน้ำนั้น ไม่ต่างจากมะลิลาทั้งหลายที่ผ่านวันเวลา ผลิดอก กลายเป็นบายศรีที่สวยงาม มีคนชื่นชม ดมกลิ่นหอม แล้วก็เหี่ยวแห้ง ถูกนำมาลอยในแม่น้ำให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง
ชีวิตก็เท่านี้
ท่ามกลางความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เชนหายไปในสายน้ำนั้นเพราะเขาเหมือนอณูขนาดเล็กจนเรามองไม่เห็น ในวินาทีนั้น ผมรู้สึกถึงความเบาในหัวใจ หลังจากที่แบกความหนักอึ้งมาตลอดทาง รู้สึกเหมือน "ขวัญ" ถูกนำพาสู่ร่างอีกครั้ง
ราวกับ "ขวัญ" จะกลับสู่ร่างของเรา เมื่อเรากลับสู่ "ความจริง" ของชีวิต เมื่อเรากลับสู่ "ธรรมชาติ"
"ธรรมชาติ" ซึ่งคือความปกติ หมุนวนอยู่เช่นนั้นตลอดกาล
เกิด ผลิบาน เสื่อมสลาย หายไป
เพียงแค่-ในช่วงเวลาแห่งการผลิบานของชีวิต เราเองนั่นแหละที่อยากจะตรึงโมงยามอันสวยงามนั้นไว้ให้ยาวนานที่สุด กระทั่งรับไม่ได้กับทุกความเปลี่ยนแปลง
เราต้องรอเวลานานแค่ไหน จึงจะนำตัวเองไปลอยลงในแม่น้ำ แล้วปล่อยให้ชีวิตเคลื่อนไหลไป...
...ในสายธารแห่งความจริงอันเป็นนิรันดร์
Credit Facebook roundfinger
ความคิดเห็นที่ 3
1. ชื่อภาษาอังกฤษคือ the farewell flower ดอกไม้แห่งการอำลาประมาณนั้น
คือเป็นการเล่นคำน่ะครับ มะลิ+ลา(จาก) ไม่ได้เกี่ยวกับดอกมะลิลา
2.คงเป็นไบมั้งครับ แต่จริงๆก็อาจแค่ความรักความผูกพันธ์ไม่จำกัดเพศมั้งครับ
3.คงเป็นสัญลักษณ์มากกว่าครับ
4.ก็คงสื่ออะไรบางอย่างด้วยล่ะครับ เพราะจริงๆพิชเป็นะมเร็ง ก็ไม่น่าจะต้องผ่าหัวใจ
แต่ผมก็ตีความไม่ออกเหมือนกัน เดาว่าคงเกี่ยวกับความรัก หัวใจหายไปเมื่อวันที่เธอจากไปไรงิ(มั่ว 55)
5.ตอนดูหนังผมคิดว่าตายก่อนบวช
แต่เจอกระทู้นึงบอกว่าน่าจะตายหลังบวชมากกว่า
พอลองนึกสภาพศพก็น่าจะอย่างหลังมั้งครับ
6.ลืมสังเกตเลยครับ เพิ่งนึกออกตอนอ่านกระทู้นี้เหมือนกัน
7.ทราบแค่คุณโอลดน้ำหนัก แต่หุ่นคุณเวียร์ผมว่ายังฟิตดีนะครับ เท่ดี
คือเป็นการเล่นคำน่ะครับ มะลิ+ลา(จาก) ไม่ได้เกี่ยวกับดอกมะลิลา
2.คงเป็นไบมั้งครับ แต่จริงๆก็อาจแค่ความรักความผูกพันธ์ไม่จำกัดเพศมั้งครับ
3.คงเป็นสัญลักษณ์มากกว่าครับ
4.ก็คงสื่ออะไรบางอย่างด้วยล่ะครับ เพราะจริงๆพิชเป็นะมเร็ง ก็ไม่น่าจะต้องผ่าหัวใจ
แต่ผมก็ตีความไม่ออกเหมือนกัน เดาว่าคงเกี่ยวกับความรัก หัวใจหายไปเมื่อวันที่เธอจากไปไรงิ(มั่ว 55)
5.ตอนดูหนังผมคิดว่าตายก่อนบวช
แต่เจอกระทู้นึงบอกว่าน่าจะตายหลังบวชมากกว่า
พอลองนึกสภาพศพก็น่าจะอย่างหลังมั้งครับ
6.ลืมสังเกตเลยครับ เพิ่งนึกออกตอนอ่านกระทู้นี้เหมือนกัน
7.ทราบแค่คุณโอลดน้ำหนัก แต่หุ่นคุณเวียร์ผมว่ายังฟิตดีนะครับ เท่ดี
แสดงความคิดเห็น
Spoil ครับ...ไปชม มะลิลา มาแล้ว มีหลายจุดที่สงสัย อยากฟังความเห็นเพื่อนสมาชิกครับ...
แต่ทำใจไว้แล้วว่าหนังรางวัลมักดูยาก
หลายปีมาแล้วหนังเรื่อง สัตว์ประหลาด ได้ัรางวัล
เหมือนเข้าไม่กี่โรง ผมต้องเดินทางจากบ้านชานกรุงเข้าเมืองไปดูที่ไม่ลิโด้ก็สกาล่า จำไม่ได้แน่นอนครับ
แต่จำได้ว่าดูไม่รู้เรื่องเลย มะลิลาดูง่ายขึ้นมาหน่อย แต่ก็มีหลายจุดที่สงสัยครับ คือ
1. ทำไมหนังชื่อ มะลิลา เชนเป็นเจ้าของสวนมะลิ ไม่ใช่สวนมะลิลาไม่ใช่หรือครับ
คหสต. น่าจะชื่อ บายศรี ไปเลยนะครับ
2. เชนเคยมีสัมพันธ์ทางเพศกับพิทมาก่อน แล้วต่อมาเชนมีเมียและมีลูก
เชนติดเหล้า เมีย และแม้พิท เลยทิ้งไปใช่ไหมครับ
ถ้าตามนี้เชนน่าจะเป็น bisexual
3. เชนฆ่างูตัวนั้นไปตั้งแต่งูรัดลูกตาย ซึ่งน่าจะนานมากแล้ว
แต่ทำไมพอถางป่าซากงูถึงยังไม่เน่าเปื่อยเท่าที่จะเป็น
4. พิทบอกมีแผลเป็นที่หัวใจ แต่เหมือนไม่ได้บอกว่าผ่าไปทำไม
แต่ตอนเชนทำอสุภกรรมฐาน ศพนั้นเหมือนมีแผลที่หัวใจ
เป็นไปได้ไหมว่าศพนั้นเป็นศพของพิทจริง
และถ้าเป็นศพของพิทจริง พระสัญชัยร้องไห้ทำไม
หรือพระสัญชัยเองก็เคยเป็นคนรักของพิทครับ
5. ดูแล้วยังสับสนว่าพิทตายก่อนเชนบวช หรือตายหลังเชนบวช
และความตายของพิททำให้เชนบวชไม่สึกใช่ไหมครับ
ถ้าดูตามนี้เหมือนเชนจะรักพิทมากกว่าเมีย บทเมียพิทนี่แทบไม่มีรายละเอียดเลยนะครับ
6. ห่อยาที่พระเชนให้ชาวบ้านตอนตักบาตร คือห่อยาที่หลวงพ่อให้เชนไปให้พิท
แต่ไม่ได้ให้ หรือให้แล้วแต่ยังใช้ไม่หมดหรือครับ
7. คหสต. เหมือนเรื่องนี้เวียร์ปล่อยตัวให้อ้วน น่าจะจากการรับบทคนที่กินเหล้าเมาหัวราน้ำใช่ไหมครับ
ส่วนโอผอมจริงเหมือนคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายจริงนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยคลายความสงสัยนะครับ