“หนังไทยห่วย” จริงบางส่วน แต่พอหนังนอกห่วยบ้างกลับไม่ค่อยโดนซัดหนักเท่ากับที่หนังไทยโดน เรารวมการแสดงเหล่านี้มายืนยันว่าหนังไทยดีๆยังมีจนเรารวมการแสดงดีๆมาได้ถึง 100 ขอร่วมสมัยหน่อยเน้อ แต่อาจมีหนังเก่าที่มีโอกาสได้ดูบ้างจ้า
ก่อนจะเริ่มยาว ๆ ฝากติดตามเพจก่อนนะครับ:
https://www.facebook.com/TrustGuAndGoWatchIt
พลอย - เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
“ไม่มีสมุยสำหรับเธอ”
“ผู้หญิงของเป็นเอก” คือวลีที่พูดกันเล่นๆในหมู่แฟนหนังไทย แต่พรข้อนี้ก็มีส่วนจริงไม่น้อย พิสูจน์จากนักแสดงหญิงแทบทุกคนที่ให้การแสดงที่ยอดเยี่ยมเสมอในหนังของเป็นเอก รัตนเรือง
ใน “ไม่มีสมุยสำหรับเธอ” พลอยเล่นเป็น “วิยะดา” นักแสดงละครน้ำเน่าที่สามีฝรั่งของเธอหลงงมงายในลัทธิหนึ่งจนโงหัวไม่ขึ้น พลอยต้องเล่นล้อตัวเองเนื่องจากในฟากหนึ่ง เธอชอบได้บทร้ายๆเล่นใหญ่ในละครน้ำเน่า แต่อีกฟากหนึ่ง เธอก็เล่นน้อยเปี่ยมด้วยความดำมืดในหัวใจแบบภาพยนตร์ เธอเล่นสลับไปมาระหว่างสองโหมดนี้แบบชำนิชำนาญ
ถึงนักข่าวจะแบน ถึงจะไม่ได้รางวัล แต่ฝีมือของเธอก็เยี่ยมยอดเสมอ
โอ - อนุชิต สพันธุ์พงษ์
“มะลิลา”
โอ อนุชิต เล่นหนังเรื่อง “มะลิลา” ห่างจากเรื่องก่อนหน้าคือ “โหมโรง” นานถึง 14 ปี นี่เป็นบทที่เขารอคอยมานานแสนนนาน และเขาก็ไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดมือ
“พิช” เป็นคนทำบายศรีที่กลับมาเจอคนเคยรักของเขา ความยากคือหนังไม่มีฉากแฟลชแบ็คย้อนอดีตของตัวละครเขาแม้แต่นิดเดียว แต่โอ อนุชิต บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของพิชเพียงแค่สายตาที่เปี่ยมล้นด้วยอารมณ์หลากหลาย แม้จะป่วยเจียนตาย แต่พิชก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและความหวัง
การแสดงของโอ อนุชิตนั้นงดงามไม่แพ้บายศรีที่ตัวละครของเขาบรรจงทำ เป็นการหวนคืนจอหนังอย่างสวยงาม
เวียร์ - ศุกลวัฒน์ คณารศ
“มะลิลา”
แม้จะเคยเล่นหนังมาบ้าง แต่ดาราละครทีวีตัวทอปอย่างเวียร์ ศุกลวัฒน์ ก็เพิ่งได้รับบทนำเป็นเรื่องแรกใน “มะลิลา” การแสดงออกแต่น้อยอย่างภาพยนตร์เรียกร้องการเค้นศักยภาพในคนละแนวทางกับการแสดงละครทีวีแบบใหญ่โตและชัดเจนที่เขาคุ้นชิน
“เชน” ในครึ่งแรก หรือ “พระเชน” ในครึ่งหลังของมะลิลา เรียกร้องพัฒนาการของตัวละครที่สูงลิบลิ่ว ครึ่งแรกเขาต้องจมจ่อมอยู่กับความเศร้า ได้พบคนรักเก่าที่พอจะชุบชูหัวใจได้บ้าง แต่ยังไม่ทันไรเขาก็ต้องเสียคนรักไปให้กับความตายอีกครั้ง นั่นนำมาสู่การออกบวชและธุดงค์เพื่อเข้าใจในความไม่จีรังของสรรพสิ่ง โดยไม่กระโตกกระตาก คนดูซึมซับการเปลี่ยนแปลงของตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่เขาไม่ต้องเล่นใหญ่เล่นโตแม้แต่นิดเดียว และหัวใจสำคัญของการแสดงตัวละครนี้คือความจริงใจในการแสดง ที่เขาทำมาตลอดตั้งแต่แสดงละครทีวีแล้ว ครั้งนี้เขาได้ปรับมันให้เข้ากับความสมจริง (และเหนือจริง) ในแบบภาพยนตร์
เวียร์พิสูจน์แล้วว่าถ้าได้รับบทและการกำกับที่ดีพอ การแสดงที่ดีงอกเงยจากนักแสดงที่มีศักยภาพได้ทุกคน
ออกแบบ - ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง
“ฉลาดเกมส์โกง”
ถ้าพูดถึงตัวละครที่เป็นที่จดจำในหนังไทยร่วมสมัย จะไม่พูดถึง “ครูพี่ลิน” ใน ”ฉลาดเกมส์โกง” คงไม่ได้
บท “ลิน” เป็นตัวละครที่ต้องเก็บความโกรธแค้นต่อระบบการศึกษาไทยอันแสนฉ้อฉลไว้ใต้สีหน้าเกือบจะเรียบนิ่ง ออกแบบ ‘ออกแบบ’ การแสดงครูพี่ลินได้อย่างเฉียบขาดแม้จะเป็นบทนำในหนังเรื่องแรก ไม่ว่าช่วงท้ายๆเรื่องบทหนังจะไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใด แต่เธอก็โน้มน้าวให้คนดูเชื่อว่าลินจะต้องตัดสินใจทำแบบนี้ได้อยู่หมัด นับว่าออกแบบเล่นได้ลึกกว่า ตีความได้เกินกว่าตัวบท
เป็นการแสดงตัวละครฉลาดๆได้อย่างชาญฉลาดเกินตัวนักแสดงหน้าใหม่
เอก - ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
“ฉลาดเกมส์โกง”
บทพ่อตัวเอกในหนังหลายเรื่อง มีโอกาสจะกลายเป็นพ่อใจร้ายแบนราบขาดมิติได้สูงมาก แต่ที่หนักกว่าคือบทพ่อผู้คอยช่วยเหลือ สนับสนุนและรักลูกอย่างไร้เงื่อนไข พ่อแม่ประเภทนี้ถ้าเป็นละครไทยมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของคนเขียนบทใช้เทศนาสั่งสอนคนดู
...แต่ไม่ใช่ “อาจารย์ประวิทย์” พ่อของครูพี่ลิน ที่ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ รับบทใน “ฉลาดเกมส์โกง”
เขาผลักดันตัวละครที่มีสิทธิ์จะกลายเป็นคุณพ่อตัวประกอบ A ทั่วๆไป จนกลายเป็นตัวละครที่ถึงแม้จะมีเวลาบนจอน้อยกว่าคนอื่นๆ แต่ก็โดดเด่นฉายแสงไม่น้อยหน้าใคร ภายใต้สีหน้าแววตาคนยอมจำนนต่อระบบจนคล้ายจะเป็นคนขี้แพ้ อาจารย์ประวิทย์ก็เป็นคนที่เข้าใจโลกคนหนึ่ง ผ่านการเพิ่มเติมรายละเอียดทางการแสดงเล็กๆน้อยๆของธเนศ
รุ่นเก๋าไว้ลายจริงๆ
[กระทู้ยาว] 100 การแสดงในหนังไทยร่วมสมัย
ก่อนจะเริ่มยาว ๆ ฝากติดตามเพจก่อนนะครับ: https://www.facebook.com/TrustGuAndGoWatchIt
“ไม่มีสมุยสำหรับเธอ”
“ผู้หญิงของเป็นเอก” คือวลีที่พูดกันเล่นๆในหมู่แฟนหนังไทย แต่พรข้อนี้ก็มีส่วนจริงไม่น้อย พิสูจน์จากนักแสดงหญิงแทบทุกคนที่ให้การแสดงที่ยอดเยี่ยมเสมอในหนังของเป็นเอก รัตนเรือง
ใน “ไม่มีสมุยสำหรับเธอ” พลอยเล่นเป็น “วิยะดา” นักแสดงละครน้ำเน่าที่สามีฝรั่งของเธอหลงงมงายในลัทธิหนึ่งจนโงหัวไม่ขึ้น พลอยต้องเล่นล้อตัวเองเนื่องจากในฟากหนึ่ง เธอชอบได้บทร้ายๆเล่นใหญ่ในละครน้ำเน่า แต่อีกฟากหนึ่ง เธอก็เล่นน้อยเปี่ยมด้วยความดำมืดในหัวใจแบบภาพยนตร์ เธอเล่นสลับไปมาระหว่างสองโหมดนี้แบบชำนิชำนาญ
ถึงนักข่าวจะแบน ถึงจะไม่ได้รางวัล แต่ฝีมือของเธอก็เยี่ยมยอดเสมอ
“มะลิลา”
โอ อนุชิต เล่นหนังเรื่อง “มะลิลา” ห่างจากเรื่องก่อนหน้าคือ “โหมโรง” นานถึง 14 ปี นี่เป็นบทที่เขารอคอยมานานแสนนนาน และเขาก็ไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดมือ
“พิช” เป็นคนทำบายศรีที่กลับมาเจอคนเคยรักของเขา ความยากคือหนังไม่มีฉากแฟลชแบ็คย้อนอดีตของตัวละครเขาแม้แต่นิดเดียว แต่โอ อนุชิต บอกเล่าเรื่องราวในอดีตของพิชเพียงแค่สายตาที่เปี่ยมล้นด้วยอารมณ์หลากหลาย แม้จะป่วยเจียนตาย แต่พิชก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและความหวัง
การแสดงของโอ อนุชิตนั้นงดงามไม่แพ้บายศรีที่ตัวละครของเขาบรรจงทำ เป็นการหวนคืนจอหนังอย่างสวยงาม
“มะลิลา”
แม้จะเคยเล่นหนังมาบ้าง แต่ดาราละครทีวีตัวทอปอย่างเวียร์ ศุกลวัฒน์ ก็เพิ่งได้รับบทนำเป็นเรื่องแรกใน “มะลิลา” การแสดงออกแต่น้อยอย่างภาพยนตร์เรียกร้องการเค้นศักยภาพในคนละแนวทางกับการแสดงละครทีวีแบบใหญ่โตและชัดเจนที่เขาคุ้นชิน
“เชน” ในครึ่งแรก หรือ “พระเชน” ในครึ่งหลังของมะลิลา เรียกร้องพัฒนาการของตัวละครที่สูงลิบลิ่ว ครึ่งแรกเขาต้องจมจ่อมอยู่กับความเศร้า ได้พบคนรักเก่าที่พอจะชุบชูหัวใจได้บ้าง แต่ยังไม่ทันไรเขาก็ต้องเสียคนรักไปให้กับความตายอีกครั้ง นั่นนำมาสู่การออกบวชและธุดงค์เพื่อเข้าใจในความไม่จีรังของสรรพสิ่ง โดยไม่กระโตกกระตาก คนดูซึมซับการเปลี่ยนแปลงของตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่เขาไม่ต้องเล่นใหญ่เล่นโตแม้แต่นิดเดียว และหัวใจสำคัญของการแสดงตัวละครนี้คือความจริงใจในการแสดง ที่เขาทำมาตลอดตั้งแต่แสดงละครทีวีแล้ว ครั้งนี้เขาได้ปรับมันให้เข้ากับความสมจริง (และเหนือจริง) ในแบบภาพยนตร์
เวียร์พิสูจน์แล้วว่าถ้าได้รับบทและการกำกับที่ดีพอ การแสดงที่ดีงอกเงยจากนักแสดงที่มีศักยภาพได้ทุกคน
“ฉลาดเกมส์โกง”
ถ้าพูดถึงตัวละครที่เป็นที่จดจำในหนังไทยร่วมสมัย จะไม่พูดถึง “ครูพี่ลิน” ใน ”ฉลาดเกมส์โกง” คงไม่ได้
บท “ลิน” เป็นตัวละครที่ต้องเก็บความโกรธแค้นต่อระบบการศึกษาไทยอันแสนฉ้อฉลไว้ใต้สีหน้าเกือบจะเรียบนิ่ง ออกแบบ ‘ออกแบบ’ การแสดงครูพี่ลินได้อย่างเฉียบขาดแม้จะเป็นบทนำในหนังเรื่องแรก ไม่ว่าช่วงท้ายๆเรื่องบทหนังจะไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าใด แต่เธอก็โน้มน้าวให้คนดูเชื่อว่าลินจะต้องตัดสินใจทำแบบนี้ได้อยู่หมัด นับว่าออกแบบเล่นได้ลึกกว่า ตีความได้เกินกว่าตัวบท
เป็นการแสดงตัวละครฉลาดๆได้อย่างชาญฉลาดเกินตัวนักแสดงหน้าใหม่
“ฉลาดเกมส์โกง”
บทพ่อตัวเอกในหนังหลายเรื่อง มีโอกาสจะกลายเป็นพ่อใจร้ายแบนราบขาดมิติได้สูงมาก แต่ที่หนักกว่าคือบทพ่อผู้คอยช่วยเหลือ สนับสนุนและรักลูกอย่างไร้เงื่อนไข พ่อแม่ประเภทนี้ถ้าเป็นละครไทยมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของคนเขียนบทใช้เทศนาสั่งสอนคนดู
...แต่ไม่ใช่ “อาจารย์ประวิทย์” พ่อของครูพี่ลิน ที่ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ รับบทใน “ฉลาดเกมส์โกง”
เขาผลักดันตัวละครที่มีสิทธิ์จะกลายเป็นคุณพ่อตัวประกอบ A ทั่วๆไป จนกลายเป็นตัวละครที่ถึงแม้จะมีเวลาบนจอน้อยกว่าคนอื่นๆ แต่ก็โดดเด่นฉายแสงไม่น้อยหน้าใคร ภายใต้สีหน้าแววตาคนยอมจำนนต่อระบบจนคล้ายจะเป็นคนขี้แพ้ อาจารย์ประวิทย์ก็เป็นคนที่เข้าใจโลกคนหนึ่ง ผ่านการเพิ่มเติมรายละเอียดทางการแสดงเล็กๆน้อยๆของธเนศ
รุ่นเก๋าไว้ลายจริงๆ