คำว่า "ประชานิยม" "สวัสดิการแห่งรัฐ" หรือแม้แต่ "ประชารัฐ" ในแง่ของการปฏิบัติ มันก็คือการที่รัฐให้กับประชาชน อาจจะให้กับประชาชนทั้งหมดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ให้เป็นประจำ ให้เป็นบางโอกาส จะเป็นการให้เงิน ให้ความช่วยเหลือ ให้โอกาส หรือให้อื่นๆ จะให้แบบมีเงื่อนไข หรือให้เปล่าๆ ก็อาจจะแตกต่างกันเป็นเรื่องๆไป
สรุปสั้นๆบรรทัดเดียว มันก็คือการที่รัฐให้กับประชาชนนั่นแหละ
ส่วนไอ้คำนิยามต่างๆที่สรรหาตั้งกันขึ้นมา แล้วบอกว่าแบบนั้นดีกว่าแบบนี้ แบบนี้ดีกว่าแบบนั้น มันก็แค่เป็นเรื่องโจมตีกันทางการเมืองแค่นั้นแหละ คือไอ้คำนิยามในทางการเมืองเนี่ย ผมมองว่ามันนิยามได้ไม่ขาด(ไม่ได้บอกว่าผิดนะ) คำว่าไม่ขาดคือมันยังมีช่องให้ถกเถียงกันได้ ทำได้เต็มที่แค่ยอมรับในการใช้ร่วมกัน
เพราะฉะนั้นในทางการเมืองผมว่าอย่าไปสนใจคำนิยามมาก ดูที่การปฏิบัติดีกว่า ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างคำว่า "แผ่ขยายอาณาเขต” กับคำว่า “รุกรานอาณาเขตอื่น” ถ้าฟังดูมันให้อารมณ์ในด้านบวก ลบ ต่างกันพอสมควรนะ แต่ถ้าจะให้มาถกเถียงกันเรื่องของการปฏิบัติ ผมว่าเผลอๆมันจะเหมือนกัน 100% หรือไม่ก็ใกล้เคียง 100% แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน เถียงกันให้ตายก็ไม่จบ มันไม่เหมือนนิยามทางวิทยาศาสตร์ที่มันพิสูจน์ได้ชัดเจน เช่น นิยามของของแข็ง นิยามของของเหลว นิยามของแก็ส มันเป็นอะไรที่พิสูจน์แยกออกจากกันได้ชัดเจน ใครอยากถกเถียงกันมันก็ไม่ยากแค่จูงมือกันเข้าห้อง LAB ทดลองดูรู้เลย
ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดเนี่ย ผมอยากจะให้เราๆท่านๆในฐานะประชาชน อย่าไปหลงทางกับคำนิยามต่างๆในทางการเมืองให้มากนักเลย ให้พิจารณาดูที่การปฏิบัติและผลลัพธ์ของมันดีกว่า ขอวกกลับเข้ามาหาสามคำของกระทู้นี้เลยแล้วกัน “ประชานิยม” “สวัสดิการแห่งรัฐ” และ “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติมันไม่ต่างกันหรอก แต่ผลลัพธ์อาจจะต่างกันแล้วแต่ฝีมือหรือความสามารถของรัฐบาลในแต่ละชุด ผลลัพธ์ที่ว่ายกตัวอย่างเช่น ให้ไปแล้วคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ให้ไปแล้วช่วยเหลือเรื่องปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ ให้ไปแล้วประชาชนเอาไปต่อยอดสร้างงานสร้างอาชีพเงินหมุนเวียนกลับเข้ามาหารัฐได้ หรืออื่นๆ และที่สำคัญไม่ใช่แค่รัฐบาลให้อย่างเดียวแล้วจบ รัฐบาลต้องมีหน้าที่หาเงินเข้ารัฐด้วย แน่นอนรายได้หลักของรัฐคือการเก็บภาษี เพราะฉะนั้นรัฐบาลมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือต้องพาประเทศไปอยู่ในสถาณการณ์ที่สามารถเก็บภาษีได้เยอะๆโดยที่ประชาชนไม่เดือดร้อน เช่น สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชาติ ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ไม่ใช่ว่ารายได้หลักของรัฐมาจากการเก็บภาษีแล้วรัฐบาลก็จะมาหาช่องทางเก็บภาษีกับประชาชนเพิ่มโดยไม่ได้ช่วยสร้างโอกาสอะไรให้กับประชาชนเลย
สรุปสุดท้าย จากที่เล่ามาทั้งหมดโดยเฉพาะในย่อหน้ารองสุดท้ายนั่นมันทำให้เราจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่เก่งเรื่องการบริหารจัดการ เพื่อที่จะมาทำหน้าที่ “ให้เป็น” และ “หาเป็น” ไม่ใช่ต้องการรัฐบาลที่เก่งแต่ใช้กำลังกับประชาชน หรือเอะอะไรก็สร้างวาทกรรม “คนดี” “เสียสละ” “แทนคุณแผ่นดิน” แต่พอดูผลงานไม่ได้เรื่องซักอย่าง บางทีนอกจากผลงานไม่ได้เรื่องแล้วแม้แต่วาทกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเองยังทำเองไม่ได้เลย
ประชานิยม/สวัสดิการแห่งรัฐ/ประชารัฐ แบบไหนดีแบบไหนแย่?
สรุปสั้นๆบรรทัดเดียว มันก็คือการที่รัฐให้กับประชาชนนั่นแหละ
ส่วนไอ้คำนิยามต่างๆที่สรรหาตั้งกันขึ้นมา แล้วบอกว่าแบบนั้นดีกว่าแบบนี้ แบบนี้ดีกว่าแบบนั้น มันก็แค่เป็นเรื่องโจมตีกันทางการเมืองแค่นั้นแหละ คือไอ้คำนิยามในทางการเมืองเนี่ย ผมมองว่ามันนิยามได้ไม่ขาด(ไม่ได้บอกว่าผิดนะ) คำว่าไม่ขาดคือมันยังมีช่องให้ถกเถียงกันได้ ทำได้เต็มที่แค่ยอมรับในการใช้ร่วมกัน
เพราะฉะนั้นในทางการเมืองผมว่าอย่าไปสนใจคำนิยามมาก ดูที่การปฏิบัติดีกว่า ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างคำว่า "แผ่ขยายอาณาเขต” กับคำว่า “รุกรานอาณาเขตอื่น” ถ้าฟังดูมันให้อารมณ์ในด้านบวก ลบ ต่างกันพอสมควรนะ แต่ถ้าจะให้มาถกเถียงกันเรื่องของการปฏิบัติ ผมว่าเผลอๆมันจะเหมือนกัน 100% หรือไม่ก็ใกล้เคียง 100% แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน เถียงกันให้ตายก็ไม่จบ มันไม่เหมือนนิยามทางวิทยาศาสตร์ที่มันพิสูจน์ได้ชัดเจน เช่น นิยามของของแข็ง นิยามของของเหลว นิยามของแก็ส มันเป็นอะไรที่พิสูจน์แยกออกจากกันได้ชัดเจน ใครอยากถกเถียงกันมันก็ไม่ยากแค่จูงมือกันเข้าห้อง LAB ทดลองดูรู้เลย
ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดเนี่ย ผมอยากจะให้เราๆท่านๆในฐานะประชาชน อย่าไปหลงทางกับคำนิยามต่างๆในทางการเมืองให้มากนักเลย ให้พิจารณาดูที่การปฏิบัติและผลลัพธ์ของมันดีกว่า ขอวกกลับเข้ามาหาสามคำของกระทู้นี้เลยแล้วกัน “ประชานิยม” “สวัสดิการแห่งรัฐ” และ “ประชารัฐ” ในทางปฏิบัติมันไม่ต่างกันหรอก แต่ผลลัพธ์อาจจะต่างกันแล้วแต่ฝีมือหรือความสามารถของรัฐบาลในแต่ละชุด ผลลัพธ์ที่ว่ายกตัวอย่างเช่น ให้ไปแล้วคนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ให้ไปแล้วช่วยเหลือเรื่องปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ ให้ไปแล้วประชาชนเอาไปต่อยอดสร้างงานสร้างอาชีพเงินหมุนเวียนกลับเข้ามาหารัฐได้ หรืออื่นๆ และที่สำคัญไม่ใช่แค่รัฐบาลให้อย่างเดียวแล้วจบ รัฐบาลต้องมีหน้าที่หาเงินเข้ารัฐด้วย แน่นอนรายได้หลักของรัฐคือการเก็บภาษี เพราะฉะนั้นรัฐบาลมีหน้าที่อย่างหนึ่งคือต้องพาประเทศไปอยู่ในสถาณการณ์ที่สามารถเก็บภาษีได้เยอะๆโดยที่ประชาชนไม่เดือดร้อน เช่น สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชาติ ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศที่ดีในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ไม่ใช่ว่ารายได้หลักของรัฐมาจากการเก็บภาษีแล้วรัฐบาลก็จะมาหาช่องทางเก็บภาษีกับประชาชนเพิ่มโดยไม่ได้ช่วยสร้างโอกาสอะไรให้กับประชาชนเลย
สรุปสุดท้าย จากที่เล่ามาทั้งหมดโดยเฉพาะในย่อหน้ารองสุดท้ายนั่นมันทำให้เราจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่เก่งเรื่องการบริหารจัดการ เพื่อที่จะมาทำหน้าที่ “ให้เป็น” และ “หาเป็น” ไม่ใช่ต้องการรัฐบาลที่เก่งแต่ใช้กำลังกับประชาชน หรือเอะอะไรก็สร้างวาทกรรม “คนดี” “เสียสละ” “แทนคุณแผ่นดิน” แต่พอดูผลงานไม่ได้เรื่องซักอย่าง บางทีนอกจากผลงานไม่ได้เรื่องแล้วแม้แต่วาทกรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นมาเองยังทำเองไม่ได้เลย