สมมุติ ให้เปิดร้านขายก๋วยเตียว ระหว่างพ่อค้าทั่วไปกับนักธุรกิจ จะจัดการร้านแตกต่างกันอย่างไรครับ

เป็นทำเล ที่มีออฟฟิศค่อนข้างมาก ผู้คนค่อนข้างเยอะ ถนนธรรมดา รถวิ่งสวนกันได้ แต่รถเยอะขับเร็วกันไม่ได้
สถานที่ตั้งร้านเป็น อาคารพานิชย์ 2 คูหา ติดถนน

คือสงสัย อ่ะ ครับ ว่าถ้าเป็น พ่อค้าทั่วไป กับนักธุรกิจ หากต้องมาทำเรื่องเดียวกัน จะมีการจัดตั้งกิจการ วิธีการคิดวางแผน จัดการแตกต่างกันใหม

เนื่องจากผมความรู้ด้านทางนี้น้อย จึงขอให้ผู้รู้ ช่วยอธิบายให้เห็นภาพ หน่อยครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้ล่วงหน้าครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
พ่อค้าแม่ค้า
-ขายตามปกติ เช่นหากมีที่ 2 คูหา ก็อาจติดป้ายร้าน ทำเมนูง่ายๆ เอาโต๊ะเก้าอี้มาลง
-พ่อค้าแม่ค้ามักลงมาทำอาหารเอง
-ไม่มีการวางแผนธุรกิจ แค่คิดคร่าวๆว่าจะขายอะไร น่าจะได้กำไรหรือไม่
-มักขาดระบบบัญชีที่ดี บ่อยครั้งนำไปสู่ปัญหาลูกจ้างโขมยเงินในตอนที่ร้านใหญ่ขึ้นเพราะการตรวจสอบไม่ละเอียด
-มักโตช้า เพราะขาดการวางแผนการตลาดที่ดี ทำให้ไม่มีใครรู้จัก และไม่มีอะไรที่จูงใจให้ร้านดังขึ้น สินค้าดังขึ้น
-การทำงานและบริหารงานไม่ค่อยเป็นระบบ ส่วนใหญ่ใช้ระบบเดียวกันคือขายได้เท่าไร หักค่าต้นทุนค่าแรง ส่วนที่เหลือเข้ากระเป๋าเจ้าของหมด ซึ่ง Sme ส่วนใหญ่เจ๊งเพราะแบบนี้

นักธุรกิจ
-เจ้าของไม่มีหน้าที่ทำอาหาร แต่มีหน้าที่กำหนดทิศทางของแบรนด์ วางแผนกลยุทธ์ บริหารทีมงานทั้งหมด
-มีการวางแผนธุรกิจ ศึกษาเทรนด์การซื้อของลูกค้า รู้ถึงปริมาณกำไรตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจว่าจะได้กำไรต่อเดือนประมาณเท่าไหร่
-มีการวางแผนการตลาดที่ดี เจาะกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุด ตรงความต้องการ และถูกจริตนิสัยของลูกค้า ทำให้ร้านกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างในเวลาสั้นกว่ามากหากเทียบกับไม่รู้กลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน เช่น พ่อค้าร้านธรรมดา อาจใช้เวลา 2 ปีทำให้คน 20,000 คนรู้จักร้าน แต่หากเป็นธุรกิจที่ผู้บริหารเก่งอาจทำให้คน 500,000 - 800,000 คนรู้จักร้านในเวลาแค่ 6 เดือน แถมด้วยลูกค้ายังรู้สึกดีต่อแบรนด์อีกด้วย
-มีระบบบัญชีที่ดี เป็นขั้นตอน โอกาสรั่วน้อยกว่ามาก (ไม่มีอะไรในโลกที่ 100% แม้แต่ระบบกันโกงที่ดีที่สุดในโลกก็ตาม)
-ระบบการจ่ายเงินเดือน ทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีการกำหนดค่าจ้างแต่ละตำแหน่งอย่างละเอียด มีระบบ career path แม้แต่ CEO ก็มีเงินเดือน
-รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด และค่าแรงทั้งหมด จะเข้าบัญชีธุรกิจ *** เพื่อเป็นต้นทุนในการพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแกร่งมากขึ้น ร้านอื่นสู้ยากขึ้นเรื่อยๆ ขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ กำไรเพิ่มขึ้นมหาศาลจากจุดนี้ คิดดูถ้าร้านอาหารดีๆ กำไรต่อเดือน 30000+ / สาขา หากเพิ่มเป็น 500 สาขาละ? ไม่ว่าร้านอะไรก็ทำเงินให้เจ้าของเป็น 100 ล้าน / เดือนได้ หากมีการบริหารจัดการที่ดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่